Skip to main content

“ภาวะต่อมหมวกไตล้า”
หากเครียดสะสม อาจป่วยโดยไม่รู้ตัว

โดย 13/02/2023มีนาคม 17th, 2024บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • ร่างกายของคุณผลิตฮอร์โมนที่แตกต่างกันมากกว่า 50 ชนิด
  • กลุ่มฮอร์โมนที่สำคัญที่คุณควรรู้และดูแลสุขภาพเพื่อสร้างความสมดุลให้กับกลุ่มฮอร์โมนเหล่านี้ ได้แก่
  • กลุ่มฮอร์โมนเกี่ยวกับอารมณ์
    กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข

○ เอ็นโดรฟิน (Endorphin)
○ โดพามีน (Dopamine)
○ เซโรโทนิน (Serotonin)
○ ออกซิโทซิน (Oxytocin)

กลุ่มฮอร์โมนแห่งเผชิญความเครียดหรือสถานการณ์คับขัน

○ คอร์ติซอล (Cortisol)
DHEA; Dehydroepiandrosterone (ฮอร์โมนต้านความเครียดและชะลอวัย)

กลุ่มฮอร์โมนเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย

○ อะดรีนาลิน (Adrenalin)
○ อินซูลิน (Insulin)
○ กลูคากอน (Glucagon)
○ อดิโนเพคติน (Adiponectin)
○ ไทรอยด์ / พาราไทรอยด์ (Thyroid / Parathyroid)
○ ไทรอกซีน (Thyroxin)

✦ กลุ่มฮอร์โมนประเภทสร้างภูมิคุ้มกัน

○ ฮอร์โมนไทโมซิน (Thymosin)

  • ฮอร์โมน Cortisol จะทำหน้าที่เผชิญหน้าและปรับความสมดุลเคมีในร่างกายต่อความเครียดในระยะสั้นและระยะยาว
  • ฮอร์โมน DHEA จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับฮอร์โมน Cortisol คือ ฟื้นฟูระดับฮอร์โมน Cortisol ให้กลับมาสมดุลจากภาวะความเครียดบีบคั้นต่างๆ เพื่อให้กลไกร่างกายทำงานได้ปกติโดยเร็วที่สุด
    ผลข้างเคียงที่สำคัญเมื่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) เกิดความไม่สมดุลกับฮอร์โมน DHEA หรือเกิดภาวะเครียดเรื้อรังอย่างที่คุณไม่รู้ตัวที่จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบเผาผลาญร่างกายพัง โรคอ้วนลงพุง โรคกระดูกพรุน การแก่ก่อนวัย เกิดอารมณ์แปรปรวนหรือภาวะวัยทอง เกิดการอักเสบระดับเซลล์และผิวหนัง เช่น การเกิดสิวอักเสบและขึ้นเห่อ อาการผดผื่น อ่อนเพลียเหนื่อล้าเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพร่วงบาง เป็นต้น
    การดูแลสุขภาพเพื่อสร้างสมดุลระดับฮอร์โมน Cortisol และ DHEA ของคุณให้มีประสิทธิภาพรับมือกับความเครียดประจำวันได้ในเบื้องต้น ได้แก่
  • 【การปรับรูปแบบการกินอาหาร】ที่จะสร้างการอักเสบภายในเซลล์ได้ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มีระดับน้ำตาลสูง โซดา ผลิตภัณฑ์กลูเตนหรือแป้งขัดสาว นม (ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้) อาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปเป็นที่มีสารชูรสและอาหารสังเคราะห์จากสารเคมี และลองเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ที่สามารถพบได้ในอาหารประเภทหมัก เช่น โยเกิร์ตธรรมชาติ กิมจิ ชีส มิโซะ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้สนับสนุนการดูแลและฟื้นฟูการเกิดภาวะระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย (Dysbiosis) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต่อมหมวกไตอ่อนล้าและขาดสารอาหารได้
  • 【การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต】การจัดการความเครียดในบางสถานณ์หรือที่เป็นความเครียดอย่างรุนแรง ที่จะขาดไม่ได้สำหเลยคือทัศนคติที่เป็นเหตุและผลตามสัจธรรมความจริง ความคิดเชิงบวกร่วมกับเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) และการปล่อยวาง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการไขปัญหาต่างๆ ได้ ที่เปิดประตูไปสู่การมองเห็นปัญหาเป็นภาพกว้าง และนั่นจะทำให้คุณแนวทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมสำหรับคุณ และคุณสามารถสนับสนับแนวคิดนี้ได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอและมีคุณภาพ การออกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ การเดินทางท่องเที่ยวในธรรมชาติหรือที่แปลกใหม่ หรือเพียงใช้เวลากับคนที่คุณสบายใจหรือสัตว์เลี้ยง และหากเหนือบ่ากว่าแรงคุณควรเปิดโอกาสพูดคุยกับใครสักคนไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน คนรู้จัก หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 (ได้ตลอด 24 ชั่วโมง) หน่วยงานที่ให้บริการรับฟังและเป็นที่ปรึกษาในยามที่คุณต้องการใครสักคน ที่ให้คุณได้ระบายและได้รับแนวทางการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมได้ ที่สำคัญคุณต้องไม่พึ่งสารเสพติดหรือสิ่งมึนเมาหรือการพนัน การปลีกวิเวกตัดขาดสังคม ใช้ความรุนแรงเป็นทางออก และความอคติที่ส่งเสริมความคิดเชิงลบ ที่จะส่งผลให้ชีวิตคุณจมดิ่ง ซึมเศร้า เกิดการขาดสติ เกิดเสี้ยววินาที่พลาดในการไตร่ตรองถึงความสำคัญของชีวิตของคนที่คุณรักและตัวคุณเอง
  • เข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย (ตรวจระดับฮอร์โมน Cortisol DHEA รวมถึงโรคออฟฟิศซินโดรม) และด้านจิตใจ (ปัญหาสุขภาพจิต โรคเครียดเรื้อรัง โรคย้ำคิดย้ำทำ) ประเมินสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพ หากเกิดอาการเครียดแบบไม่ทราบสาเหตุ มีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปอย่างไม่สามารถจัดการได้ หรือเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างผิดปกติจาการทำงานหนัก นอนไม่หลับ รู้สึกหมดไฟ เป็นต้น

ร่างกายของคุณผลิตฮอร์โมนที่แตกต่างกันมากกว่า 50 ชนิดซึ่งแต่ละชนิดมีบทบาทเฉพาะในการสนับสนุนการทำงานของร่างกายและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม โดยฮอร์โมนต่างๆ ทำหน้าที่ตั้งแต่การซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อไปจนถึงการเผาผลาญพลังงาน การย่อยและการกักเก็บพลังงานจากอาหาร เมื่อเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ เพียงชนิดเดียวก็จะสามารถนําไปสู่ปัญหาสุขภาพจากเจ็บป่วยเล็กน้อยการเกิดการอักเสบภายในร่างกาย จนถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอย่างเช่นการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) และเซลล์มะเร็งตามจุดต่างๆ ในร่างกาย

ก่อนอื่นเราจะจำแนกประเภทของฮอร์โมนที่สำคัญจากทั้งหมด 50 กว่าชนิดที่มีร่างกายเราผลิตขึ้นมาเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตอย่างปกติ จากฮอร์โมนที่เราคุ้นเคยและสำคัญเหล่านี้ที่คุณควรจะดูแลสุขภาพเพื่อให้ระดับฮอร์โมนเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุลอยู่เสมอก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณดีได้ในระยะยาว ได้แก่

ร่างกายของคุณผลิตฮอร์โมนที่แตกต่างกันมากกว่า 50 ชนิดซึ่งแต่ละชนิดมีบทบาทเฉพาะในการสนับสนุนการทำงานของร่างกายและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม โดยฮอร์โมนต่างๆ ทำหน้าที่ตั้งแต่การซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อไปจนถึงการเผาผลาญพลังงาน การย่อยและการกักเก็บพลังงานจากอาหาร เมื่อเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ เพียงชนิดเดียวก็จะสามารถนําไปสู่ปัญหาสุขภาพจากเจ็บป่วยเล็กน้อยการเกิดการอักเสบภายในร่างกาย จนถึงปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอย่างเช่นการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) และเซลล์มะเร็งตามจุดต่างๆ ในร่างกาย

ก่อนอื่นเราจะจำแนกประเภทของฮอร์โมนที่สำคัญจากทั้งหมด 50 กว่าชนิดที่มีร่างกายเราผลิตขึ้นมาเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตอย่างปกติ จากฮอร์โมนที่เราคุ้นเคยและสำคัญเหล่านี้ที่คุณควรจะดูแลสุขภาพเพื่อให้ระดับฮอร์โมนเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุลอยู่เสมอก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณดีได้ในระยะยาว ได้แก่

กลุ่มฮอร์โมนเกี่ยวกับอารมณ์
✦ กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข

○ เอ็นโดรฟิน (Endorphin)
○ โดพามีน (Dopamine)
○ เซโรโทนิน (Serotonin)
○ ออกซิโทซิน (Oxytocin)

✦ กลุ่มฮอร์โมนแห่งเผชิญความเครียดหรือสถานการณ์คับขัน

○ คอร์ติซอล (Cortisol)
DHEA; Dehydroepiandrosterone (ฮอร์โมนต้านความเครียดและชะลอวัย)

✦ กลุ่มฮอร์โมนเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย

○ อะดรีนาลิน (Adrenalin)
○ อินซูลิน (Insulin)
○ กลูคากอน (Glucagon)
○ อดิโนเพคติน (Adiponectin)
○ ไทรอยด์ / พาราไทรอยด์ (Thyroid / Parathyroid)
○ ไทรอกซีน (Thyroxin)

✦ กลุ่มฮอร์โมนประเภทสร้างภูมิคุ้มกัน

○ ฮอร์โมนไทโมซิน (Thymosin)

โดยในเนื้อหาความรู้สุขภาพนี้ พาธแล็บจะนำเสนอข้อมูลในส่วนของกลุ่มฮอร์โมนเผชิญความเครียดหรือในสถานการณ์คับขันที่กลไกร่างกายคุณจะทำงานช่วยคุณ นั่นก็คือ ฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) และฮอร์โมนแห่งสุขภาพและความเยาว์วัย (DHEA) ส่วนกลุ่มฮอร์โมนอื่นๆ เราจะนำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลความรู้สำหรับสุขภาพคุณในครั้งถัดไป

มาทำความรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) และฮอร์โมนแห่งสุขภาพและความเยาว์วัย (DHEA)

โดยความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมน Cortisol และ DHEA คือ ฮอร์โมนทั้งสองนี้เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากต่อมหมวกไตและทั้งสองมีบทบาทในการตอบสนองต่อความเครียด

โดยฮอร์โมน Cortisol จะทำหน้าที่เผชิญหน้าและปรับความสมดุลเคมีในร่างกายต่อความเครียดในระยะสั้นและระยะยาว และหากต้องเผชิญความเครียดเรื้อรังหรือความเครียดที่รุนแรง ก็จะทำให้เกิด

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • หายใจถี่ หอบ
  • ภาวะสมองล้า
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง (เกิดภาวะการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารอย่างผิดปกติ)


ในส่วนฮอร์โมน DHEA จะทำหน้าที่ตรงกันข้าม คือ ฟื้นฟูระดับฮอร์โมน Cortisol ให้กลับมาสมดุลจากภาวะความเครียดบีบคั้นต่างๆ เพื่อให้กลไกร่างกายทำงานได้ปกติโดยเร็วที่สุด


การศึกษาจากสถาบัน National Library of Medicine พบว่า อัตราส่วนระดับฮอร์โมน DHEA สูงกว่าระดับฮอร์โมน Cortisol จะลดผลกระทบจากความเครียด โดยการเปรียบเทียบอาสาสมัครที่มีอัตราส่วนระดับฮอร์โมน DHEA ต่ำ ต่อระดับฮอร์โมน Cortisol สูงมีความเสี่ยงต่ออาการของความเครียด และมีส่วนเกี่ยวข้องในเกิดโรคซึมเศร้า การศึกษายังแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างระดับฮอร์โมน Cortisol ที่สูงอย่างเรื้อรัง เข้ากับกลุ่มอาการ Metabolic syndrome (โรคระบบเผาผลาญร่างกายพัง) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) รวมไปถึงเสี่ยงของปัญหาหัวใจและหลอดเลือด และปัญหาภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง

ผลข้างเคียงเมื่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) เกิดความไม่สมดุล หรือเกิดภาวะเครียดเรื้อรังอย่างที่คุณไม่รู้

ทางระบบร่างกาย

  • ภาวะที่เครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด
    เป็นลม เจ็บหน้าอก ระบบหายใจทำงานผิดปกติ
  • สร้างความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน แผลในกระเพาะอาหาร
  • ระบบการผลิตฮอร์โมนต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายแปรปรวน และไม่สมดุล ทำให้ร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดความคิดเชิงลบหรือภาวะซึมเศร้าได้ง่าย

ทางจิตใจ

  • ขาดสมาธิ หงุดหงิดโมโหโกรธง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล สูญเสียความเชื่อมั่นและความภาคภูมิในตนเอง ในบางรายที่ตกอยู่ในภาวะเครียดอย่างยาวนานมาก อาจก่อให้เกิดอาการทางจิตได้

ทางพฤติกรรม

  • เบื่ออาหาร กินได้น้อย หรือไม่อยากรับประทานทั้งน้ำหรือาหารเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลต่อการทำงานของระบบร่างกายและภูมิคุ้มกันโรค
  • เกิดอาการเสพติดอาหารหวาน ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการพนันได้
  • ปลีกวิเวกอยู่คนเดียว ปฎิเสธการเข้าสังคม และซึมเศร้า
  • เกิดอาการก้าวร้าว ต่อต้านสังคมอย่างไม่มีเหตุผล รวมถึงอาจใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นและการ
    ทำร้ายตนเองได้

ผลข้างเคียงเมื่อฮอร์โมนเพื่อสุขภาพและความเยาว์วัย (DHEA) เกิดความไม่สมดุล

เช่นกันฮอร์โมน DHEA ก็ควรมีในระดับที่สมดุลจะเป็นประโยชน์มากต่อการรับมือและสามารถปรับความสมดุลจากความเครียดต่างๆ ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งหากฮอร์โมน DHEA ในร่างกายมีมากเกินไปหรือต่ำเกินไปก็สามารถนําไปสู่ปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน เช่น 

  • เกิดผลข้างเคียงในผู้หญิง

  • ผิวมัน และสิวอักเสบเรื้อรัง
  • การเพิ่มขึ้นของขนหรือขนดกอย่างผิดปกติ
  • เสียงทุ้ม
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ขนาดของหน้าอกเล็กลง
  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS; Polycystic Ovary Syndrome)s
  • เกิดผลข้างเคียงในผู้ชาย

  • อาการเจ็บเต้านม หรือเต้านมโตผิดปกติ
  • ความผิดปกติในการควบคุมการขับปัสสาวะ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • การลดขนาดของอัณฑะ
  • ผลข้างเคียงอื่นๆ

  • อาการเมื่อยล้า หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาการปวดหัว คลื่นไส้
  • ผมร่วงอย่างผิดปกติ เส้นผมบางลง เส้นผมแห้งเสีย
  • ตาแห้ง ผิวหนังแห้ง ขาดความชุ่มชื้น จะเกิดอาการคันและอักเสบที่ผิวหนังและใบหน้า รวมถึงริ้วรอยต่างๆ ตามมา
  • เกิดโรคอ้วนและลงพุงง่ายขึ้น
  • ตรงกันข้ามเมื่อระดับฮอร์โมน DHEA ต่ำหรือถูกทำลายจากความเครียด ก็จะนําไปสู่อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภาวะการแก่ก่อนวัย โรคกระดูกพรุน เป็นต้น

ในสถานการณ์ตึงเครียดในระยะสั้นๆ ระดับคอร์ติซอลจะสูงขึ้นได้เป็นปกติ แต่เมื่อร่างกายคุณมีสุขภาพที่เป็นปรกติดีก็จะจัดการกับความเครียดได้ โดยการผลิตฮอร์โมน DHEA มาช่วยปรับระดับฮอร์โมน Cortisol ให้สมดุล แต่กรณีเข้าภาวะความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานานจะไม่เกิดกระบวนการดังกล่าว รวมถึงกรณีที่ระดับฮอร์โมน DHEA จะลดลงตามธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้นในช่วงวัยทอง (ช่วงอายุประมาณ 40 – 50 ปีขึ้นไป) ก็จะส่งผลต่อการควบคุมความเครียดในช่วงอายุที่กล่าวมา หรือที่เราได้ยินกันว่า “เข้าสู่วัยทอง” หรือ “ภาวะวิกฤตวัยกลางคน”

〖 ข้อมูลเพิ่มเติม 〗 ≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ ฮอร์โมน DHEAs : บ่งบอกถึงความชรา ถ้าไม่อยากแก่ก่อนวัยต้องรู้ !!!

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าระดับฮอร์โมน Cortisol และ DHEA ของคุณ จะสามารถปรับความความสมดุลได้ดีเมื่อเจอสถานการณ์ตึงเครียด

『 จุดสำคัญ 』 ควรดูแลให้ฮอร์โมน Cortisol เกิดความสมดุลกับระดับฮอร์โมน DHEA
การสร้างสมดุลฮอรโมน Cortisol ต่อ DHEA อาจทำได้โดยการปรับเปลี่ยนและพฤติกรรมการกินและรูปแบบการใช้ชีวิตโดยเน้นไปที่การฟื้นฟูสุขภาพจากความเครียด และลดสิ่งกระตุ้นความเครียด (ซึ่งอาจเป็นสิ่งแวดล้อม อารมณ์ อาการสะเทือนใจ) และที่จะส่งผลต่อการเพิ่มระดับของฮอร์โมน DHEA ซึ่งจัดการกับความเครียดหรือควบคุมฮอร์โมน Cortisol สามารถทำได้ง่ายกว่าการจัดการกับฮอร์โมน DHEA ที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนการจัดการความเครียดในชีวิตประจําวันของคุณ และเป็นเรื่องปกติที่คุณสามารถจะเผชิญความเครียดจากปัญหามรสุมชีวิตอย่างหนักหรือความผิดหวัง หากต้องรู้จักการปล่อยวางความเครียดหรือปัญหาต่างๆ เหล่านั้นที่สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นสัจธรรมแห่งชีวิตคุณและกับทุกคนที่เกิดมามีชีวิตและจิตใจ การพัฒนาเทคนิคการจัดการความเครียดที่สร้างสรรค์จะรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณ โดยเทคนิคจัดการความเครียดที่คุณควรลองประยุกต์ใช้สำหรับคุณ ได้แก่

  • การปรับเปลี่ยนรูปแบบการกิน

  • การหลีกเลี่ยงอาหารที่จะสร้างการอักเสบภายในเซลล์จะช่วยสนับสนุนการทำงานของร่างกายและฮอร์โมน Cortisol กับ DHEA เพื่อประสิทธิภาพต่อการรับมือกับความเครียดที่จะถาโถมเข้าหาคุณ หากแต่ประเภทอาหารที่คุณคุ้ยเคย ได้แก่ อาหารเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มีระดับน้ำตาลสูง โซดา ผลิตภัณฑ์กลูเตนหรือแป้งขัดขาว นม (ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้) อาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปเป็นที่มีสารชูรสและอาหารสังเคราะห์จากสารเคมี เหล่านี้จะสร้างความเครียดและการอักเสบในระดับเซลล์ร่างกายของคุณ โดยเฉพาะความหวานหรือน้ำตาลนั้นจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบระดับเซลล์ หากกินเป็นประจำก็จะก่อให้เกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) จากที่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าร่างกายจะรับไหว (ภาวะ Hyperglycemia) รวมถึงหากเสพติดน้ำตาลหรือความหวานแล้ว ก็จะเพิ่มภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำฉับพลันขึ้นได้ (ภาวะ Hypoglycemia) นั่นคือความเครียดสำคัญต่อระบบภายในร่างกายของคุณที่ต่อมาจะแสดงออกมาสู่ภายนอกได้อย่างที่คุณไม่รู้ตัว เช่น อาการเจ็บป่วย ความรู้สึกเศร้า ความสิ้นหวัง หรือความคิดในแง่ลบ และบ่อยครั้งที่เราได้รับรู้มาว่าความหวานจะเยียวยาทุกสิ่ง แต่หากคุณลองดูสักครั้งที่จะหลีกเลี่ยงความเคยชินนี้เมื่อคุณต้องเผชิญความเครียด เพื่อการรับรู้และประสบการณ์แบบใหม่ที่อาจเป็นวิธีฟื้นฟูความเครียดที่คุณกำลังเผชิญ เราแนะนำสำหรับตัวอย่างการกินดื่มในข้อถัดไปเพื่อให้คุณได้พิจารณาและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของคุณ〖 ข้อมูลเพิ่มเติม 〗 ≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ ปิด!! ประตูรับโรค น้ำตาลและอินซูลิน ต้นเหตุสร้างโรคเรื้อรัง
  • แก้ไขปัญหาระบบทางเดินอาหารหรือภาวะขาดสารอาหาร หากคุณเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้รั่วหรือภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย (Dysbiosis) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต่อมหมวกไตอ่อนล้า (Adrenal Fatigue) จะส่งผลต่อการตอบสนองต่อความเครียดบกพร่อง และหากไม่ได้รับการฟื้นฟูหรือรักษา ก็จะทำให้กระบวนการปรับความสมดุลของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายเกิดการแปรปรวนได้เช่นกัน และหากคุณขาดสารอาหารก็จะส่งผลต่อสุขภาพและระบบทางเดินอาหารของคุณได้ หากคุณมีข้อสงสัยว่าคุณได้รับสารอาหารในแต่ละมื้อแต่ละวันครบถ้วนเหมาะสมสำหรับร่างกายคุณหรือไม่ คุณควรได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเพื่อพบปัญหาได้อย่างตรงจุดที่นำไปสู่การฟื้นฟูและรักษาสุขภาพคุณได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วอาการเจ็บเต้านม หรือเต้านมโตผิดปกติ
  • การกินอาหารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น ขมิ้นชัน ขิง ผักใบเขียว ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์วอลนัท แมคคาเดเมีย ชาสมุนไพรหรือชาเขียวปราศจากคาเฟอีน เป็นต้น เป็นอีกวิธีที่ง่ายที่ช่วยสร้างความสมดุลระดับฮอร์โมน DHEA
  • กินไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น โดยที่ไม่ผ่านความร้อนสูง และไขมันดีจากสัตว์ที่จำเป็นต่อการสร้างคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาโอเมก้า 3 ที่ได้รับรองคุณภาพก็อาจเป็นตัวเลือกสำหรับคุณ โดยร่างกายต้องการมันเพื่อสร้าง DHEA การรับรับรู้ได้ว่าคุณจะได้รับไขมันดีที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคุณ สามารถตรวจประเมินสุขภาพเพื่อหาระดับไขมันดีในร่างกายคุณ〖 ข้อมูลเพิ่มเติม 〗 ≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ “ไขมัน” สารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์
  • หากกำลังเข้ารับการรักษาโรคประจำตัว บางทียยาตามใบสั่งแพทย์บางชนิดที่คุณใช้รักษา อาจส่งผลต่อความเหนื่อยล้าของต่อมหมวกไตและความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน Cortisol ที่สูงขึ้นอย่างเรื้อรัง ที่อาจจะทำให้ความเครียดเกิดขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุ หรือสามารถรู้ได้จาการตรวจประเมินสุขภาพ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับยานั้นเพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคต่อไป
  • การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

  • เล่าปัญหาหรือความไม่สบายใจให้คนในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ที่เราไว้ใจ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการให้คำปรึกษาและแนะนำทางด้านสุขภาพจิต
  • นัดสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อน หรือชวนกันท่องเที่ยวในสถานที่ธรรมชาติหรือในสถานที่แปลกใหม่
  • หลีกเลี่ยงการหาเพื่อนที่เป็นคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ประเภท เช่น แอพหาเพื่อน แอพหาคู่ เพื่อหวังให้ผู้คนเหล่านั้นมาปลอบใจคุณในช่วงที่คุณกำลังอยู่ในความเครียดกดดัน ซึมเศร้า จริงอยู่ คนแปลกหน้าในออนไลน์ก็มีทั้งคนดีและคนไม่ดีถ้าเรามีสติแยกแยะได้ และหากเมื่อคุณได้พูดคุยกับพวกเขาเหล่านี้ในช่วงที่สติคุณไม่อยู่กับเนื้อกับตัวเพราะความเครียดกังวล ความซึมเศร้าหม่นหมองจะทำให้คุณอาจหลงกลต่อการล่อลวงหรือคารมณ์ของเหล่ามิจฉาชึพมาแฝงมาในรูปแบบของคนที่รัก หวังดี และห่วงใยคุณที่สุดได้อย่างง่ายๆ ที่เขาจะอาจจะชวนคุณให้ดาวน์โหลดแอพหรือเข้าชมเว็บไซต์แปลกๆ เพื่อจุดประสงค์บางอย่างที่ตรงกับสิ่งคุณกำลังต้องการ ที่จะเสี่ยงสูงต่อการเจอการฝังโปรแกรมแฮ็กหรือขโมยเงินในบัญชีธนาคารและข้อมูลส่วนตัวสำคัญๆ ของคุณได้ นี่ยิ่งจะทำให้คุณมีอารมณ์ด่ำดิ่งเกินกว่าความเครียดและยิ่งตอกย้ำความโศกเศร้าอย่างยิ่ง
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลลบต่อความรู้สึก เช่น การใช้สารเสพติดหรือสิ่งมึนเมาหรือการพนันทุกชนิด ปิดการการรับชม รับรู้ รับฟัง ในสิ่งที่จะกระตุ้นความเศร้า ความรุนแรง และความอคติที่จะทำให้อารมณ์คุณยิ่งจมดิ่ง
  • บริจาคทานให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัว จิตอาสา หรือการส่งต่อวิทยาทานความรู้ความชำนาญที่คุณมี
  • ออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ
  • การฝึกสมาธิ ฝึกท่าโยคะ รวมถึงได้รับการนวดผ่อนคลายในศาสตร์ต่างๆ
  • นอนให้เต็มอิ่ม ให้ความสำคัญกับการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ บางทีคุณอาจการนอนหลับแล้วก็จริง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าคุณจะนอนได้อย่างมีคุณภาพ 6-8 ชั่วโมงในทุกคืน และนี้อาจเป็นจุดเชื่อมต่อกับความเครียดเรื้อรังที่คุณมองข้ามไป การได้นอนอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยตอบสนองความเครียดและความสมดุลของฮอร์โมนสำคัญต่างๆ อีกมากมายอย่างที่เราคาดไม่ถึง ที่จะส่งผลดีให้สุขภาพคุณ การปิดอุปกรณ์สื่อสาร การสร้างบรรยากาศห้องให้เงียบไร้เสียงเท่าที่ทำได้ และการทำจิตใจให้ว่างปล่อยวาง จะทำช่วยการนอนของคุณได้
  • หากคุณชื่นชอบกับการอยู่หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก ปลา หรือสัตว์เลี้ยงประเภทอื่นๆ ที่อาจจะเยียวยาความเครียดสะสมของคุณได้ หรือหากคุณไม่มีสัตว์เลี้ยงคุณอาจหาโอกาสไปใช้บริการร้านเช่าสัตว์เลี้ยงหรือคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ที่อาจจะช่วยบำบัดความเครียดคุณได้อย่างคาดไม่ถึง
  • ใช้เวลาอ่านหนังสือ ฟังพอดแคสต์ ฟังบทเพลงหรือดูรายการที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดเชิงบวกหรือปล่อยวางทางอารมณ์
  • ศึกษาหรือฝึกเทคนิคการกำจัดความเครียดและความเศร้าตามหลักแนวคิดสัจธรรมและการปล่อยวาง เพื่อที่สามารถเข้าใจและมองโลกตามความเป็นจริง
  • ปรับและจัดการความคาดหวังหรือแผนการที่ต้องทำให้สำเร็จ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ความเป็นจริงในปัจจุบันของคุณ
  • การรู้จักศิลปะแห่งการปฏิเสธในการใช้ชีวิต เพื่อป้องกันผลกระทบจากความเครียดและทำให้คุณต้องเดือดร้อนหรือเสียเปรียบในภายหลัง เช่น หากคุณไม่พร้อมที่จะยื่นมือช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ ต่อคำร้องขอใดก็ต้องปฎิเสธอย่างชัดเจนและสุภาพ การปฏิเสธการทำงานที่หนักหรือ Overload งานมากไปเกินกว่าที่คุณคนเดียวจะรับไหว ควรต้องบอกกับหัวหน้างานสำหรับการแก้ปัญหานี้ร่วมกันนี้ ปฎิเสธคนสนิทในการลงทุนที่มีความเสี่ยงหรือมีผลตอบแทนที่ไม่ชัดเจนหรือมีผลตอบแทนที่มากผิดปกติที่เราจะต้องศึกษาให้ละเอียดและรู้ให้จริงก่อนการลงทุนต่างๆ ระมัดระวังการช่วยคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จักค้ำประกันหนี้สินหรือให้การกู้ยืมสินทรัพย์มูลค่ามากเกินไปที่อาจจะทำคุณผิดหวังต่อความไว้ใจในประเด็นละเอียดอ่อนนี้ได้ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลลบต่อความรู้สึก เช่น การใช้สารเสพติดหรือสิ่งมึนเมาหรือการพนันทุกชนิด ปิดการการรับชม รับรู้ รับฟัง ในสิ่งที่จะกระตุ้นความเศร้า ความรุนแรง และความอคติที่จะทำให้อารมณ์คุณยิ่งจมดิ่ง
  • เข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย (ตรวจระดับฮอร์โมน Cortisol DHEA รวมถึงโรคออฟฟิศซินโดรม) และด้านจิตใจ (ปัญหาสุขภาพจิต โรคเครียดเรื้อรัง โรคย้ำคิดย้ำทำ) ประเมินสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพ หากเกิดอาการเครียดแบบไม่ทราบสาเหตุ มีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปอย่างไม่สามารถจัดการได้ หรือเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างผิดปกติจาการทำงานหนัก ปวดหัวและอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับและไม่เต็มอิ่ม รู้สึกหมดไฟ เป็นต้น
  • กรณีที่รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เผชิญหน้าหนักกว่าชีวิตเกินไป ณ วินาทีที่คุณรู้สึกว่าไม่อยากจะไปต่อ และไม่เหลือใครที่คุณจะพูดคุยหรือช่วยคุณได้ ขอลองคุณให้เวลาตัวเองก่อนและโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ

✧  Burnout VS ต่อมหมวกไตล้า

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/burnout-adrenal-fatigue-chronic-stress/

✧  ประเมินอนาคตสุขภาพคุณจากความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/forcasting-your-health-by-your-complete-blood-count-cbc/

✧ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/

✧ กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/eating-with-if-is-great-for-your-health/

✧  ผมร่วง! รีบเลย! แก้ที่สาเหตุให้ตรงจุด ก่อนผมบางจนสายไป

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/find-the-truth-cause-of-your-hair-loss/

สรุป

คุณสามารถฟื้นฟูความเครียดและผลกระทบจากความเครียดทีได้ก่อตัวเป็นฮอร์โมนความเครียดหรือฮอร์โมน Cortisol แต่ขณะเดียวกันตอนที่คุณเครียดร่างกายก็สร้างฮอร์โมนต้านความเครียดและชะลอวัยหรือฮอร์โมน DHEA เพื่อปรับความตึงเครียดที่จะส่งผลต่อการอักเสบของเซลล์ในร่างกายในส่วนต่างๆ ตามมา ที่จะทำลายสุขภาพคุณอย่างไม่รู้ตัวได้ ร่างกายจึงผลิต 2 ฮอร์โมนนี้เพื่อสร้างความสมดุลให้กับสุขภาพของคุณ โดยทั้ง 2 ฮอร์โมนต่างก็ผลิตจากที่ต่อมหมวกไต การที่คุณจะฟื้นฟูความเครียดได้อย่างดีนี้น คุณจะควบคุมในส่วนของฮอร์โมน Cortisol ได้โดยการควบคุมและจัดการกับความรู้สึก นึกคิด และอารมณ์แง่ลบที่อาจจะกินเวลานานไปที่ทำให้ที่ความสมดุลของฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) นั้นหลั่งมามากเกินไปหรือเรื้อรังที่ไม่ได้รับการปรับให้อยู่ในระดับที่จะความสมดุลกับฮอร์โมนต้านความเครียดและชะลอวัย (DHEA) และรักษาจากความเหนื่อยล้าหรืออาการอักเสบเรื้อรังจากต่อมหมวกไต ที่เป็นอวัยวะสำคัญที่ผลิตฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ และยังเป็นอวัยวะที่รักษาระดับความสมดุลของฮอร์โมน DHEA และฮอร์โมน Cortisol หากระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ทำงานประสานกันได้อย่างราบรื่นคุณก็จะควบคุมความเครียดที่จะไม่ก่อเป็นความเครียดเรื้อรัง โรคซึมเศร้า โรคเกี่ยวกับเส้นประสาทและสมอง รวมถึงการมีระบบการเผาผลาญอาหารที่มีประสิทธิภาพและการควบคุมน้ำหนักได้อย่างดี ไปจนถึงการต้านความชราหรือชะลอวัย เมื่ออารมณ์คุณกลับมาดี มีความรู้สึกนึกคิดที่ดีขึ้น ที่จะค่อยๆ เกิดสติปัญญาที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) มีอยู่ในตัวทุกคน ที่สำคัญคือการรู้ว่าตนเองมีความเครียดเพื่อที่จะการจัดการความเครียดนั้นๆ อย่างตรงจุด มีเหตุและผล ร่วมถึงการวางแผนเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดเหล่านั้นขึ้นอีก แล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าคุณไม่ได้จะกำลังเผชิญกับความเครียดที่หนักอึ้งอย่างไม่รู้ตัวที่กลายเป็นโรคเครียดเรื้อรังไปแล้ว เราขอแนะนำ “รายการตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมนต้านความเครียดและช่วยชะลอวัย (DHEA)” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

รายการตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)
และฮอร์โมนต้านความเครียดและช่วยชะลอวัย (DHEA)

“อย่ารอให้ป่วย การตรวจเลือดให้รู้ก่อน ป้องกันได้”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกัน รักษา ฟื้นฟูระดับความเครียดที่คุณกำลังเผชิญ

✔  ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). “สำรวจโลกฮอร์โมน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15  พ.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter1/chapter1.3.htm
  • ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์, ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ความเครียด และวิธีแก้ความเครียด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15  ม.ค. 2566. จากเว็บไซต์: https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/47/ความเครียด-วิธีแก้ความเครียด/
  • Farooqie, et al., National Libraty Of Medicine, National Center for Biotechnology Information (NCBI) . (2018). “Role of DHEA and Cortisol in Prefrontal-Amygdalar Development and Working Memory. Retrieved January 15, 2023, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6204313/
  • MedilinePlus. (2021). DHEA Sulfate Test”. Retrieved January 15, 2023, from: https://medlineplus.gov/lab-tests/dhea-sulfate-test/
  • National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. (2018). “Definition & Facts of Adrenal Insufficiency & Addison’s Disease“. Retrieved January 15, 2023, from: https://www.niddk.nih.gov/health-information/endocrine-diseases/adrenal-insufficiency-addisons-disease/definition-facts
  • O. Jin, et al., National Libraty Of Medicine, National Center for Biotechnology Information (NCBI). (2016). Cortisol/DHEA ratio and hippocampal volume: A pilot study in major depression and healthy controls. Retrieved January 15, 2023, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5203799/
  • Yanagita, et al. (2019). “A High Serum Cortisol/DHEA-S Ratio Is a Risk Factor for Sarcopenia in Elderly Diabetic Patients. Retrieved January 15, 2023, from: https://academic.oup.com/jes/article/3/4/801/5368377

แสดงความคิดเห็น

Close Menu