Skip to main content

ผมร่วง! รีบเลย! แก้ที่สาเหตุให้ตรงจุด
ก่อนผมบางจนสายไป

โดย 28/09/2022ตุลาคม 21st, 2022บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • การฟื้นฟูหรือรักษาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมของคุณจะยิ่งมีประสิทธิภาพเห็นผลได้ดีและรวดเร็ว คุณควรตรวจประเมินสุขภาพกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณให้แน่ใจว่าปัญหาผมร่วงคุณมาจากสาเหตุใด แต่หากคุณสามารถพบหรือเจอสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดปัญหาผมนั้นจากเนื้อหาสาระความรู้สุขภาพของเรานี้จะเป็นเรื่องดีถ้าเป็นสาเหตุที่แท้จริงและต้องไม่ลองผิดลองถูก ไม่สายเกินไปจนปัญหาผมร่วงนั้นบานปลาย
  • ประเภทผมร่วงที่แก้ไขได้
  •  ระบบร่างกายแปรปรวนหรือเกิดความผิดปกติในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ ที่แปรปรวนไปความเครียด การขาดสารอาหาร การเข้าสู่วัยทอง เป็นต้น
  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  • ความเครียด
  • อาการแพ้
  • การใช้ยาคุมกำเนิด
  • หลังการตั้งครรภ์
  • หลังการผ่าตัดหรือศัลยกรรมความงามบางอย่าง
  • การติดเชื้อราหรือเชื้อโรคบางชนิดบนหนังศีรษะ เช่น โรคกลาก แผลหรือสิวอักเสบเรื้อรัง
  • การขาดสารอาหาร เช่น Vitamin B12, Vitamin D, Vitamin A, Vitamin C, Vitamin E และแร่ธาตุ เช่น เหล็ก (Iron) สังกะสี (Zinc) ซีลีเนียม (Selenium)
  • การเกิดโรคเรื้อรัง (์โรค NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคต่อมไทรอยด์ โรคไต โรคตับ โรคลูปัส (SLE) โรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก โรคความผิดปกติของการกินอาหาร โรคมะเร็ง เป็นต้น
  • การทำลายสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมให้เสียหายโดยไม่รู้ตัว เช่น การตกแต่งทรงผมด้วยความร้อนและสารเคมี การดึงผมเพื่อควบคุมอารมณ์หรือผ่อนคลาย การเลือกบริโภคอาหารทีสร้างการอักเสบแก่ร่างกายและพร่องสารอาหารจำเป็นที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน เช่น อาหารจานด่วนหรือฟาสต์ฟู๊ด อาหารที่หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด และอาหารที่ผ่านการแปรรูป
  • มีภาวะโรคทางจิต เช่น โรคเครียดเรื้อรัง โรคซึมเศร้า โรคดึงผม (ภาวะย้ำคิดย้ำทำ) โรคทำร้ายตัวเอง (NSSI)  โรคหลงผิดคิดว่ามีพยาธิหรือแมลงใต้ผิวหนัง เป็นต้น
  • ปัญหาผมร่วงบางประเภทสามารถป้องกันได้โดยการการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ จัดการความเครียดอย่างถูกต้อง และใช้เทคนิคการตกแต่งทรงผมที่อ่อนโยน หรือพยายามเลี่ยงการใช้สารเคมีในการตกแต่งทรงผม หรืออาจจะทำผมด้วยสารเคมีไม่บ่อยจนเกินไป ปัญหาผมร่วงจากการติดเชื้อราหรือไวรัสสามารถป้องกันได้โดยการรักษาความสะอาดของเส้นผม และไม่ใช้หมวก หวี ร่วมกับผู้อื่น และการเกิดโรคทางจิตก็ต้องได้รับการรักษาจากนักจิตเวชให้ผู้ป่วยนั้นหายเป็นปกติก็ช่วยรักษาการทำลายเส้นผม
  • หากคุณประสบกับปัญหาผมร่วงจากสาเหตุพันธุกรรมต้องได้รับการรักษาในเทคนิคขั้นสูงทางการแพทย์ เช่น วิธีศัลยกรรมผ่าตัดปลูกผม วิธี Minoxidil วิธี Finasteride วิธี Spironolactone วิธี Cyproterone acetate และรวมถึงการกินยา หรือฮอร์โมนตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมของคุณ

“ผมจะร่วงปกติในระหว่างวันจะมีปริมาณไม่ควรเกินประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน”
“และผมร่วงจะต้องไม่กินบริเวณบนหนังศีรษะของคุณเป็นกระจุกหรือหย่อมๆ”

นั้่นจะหมายถึงความผิดปกติต่อสุขภาพหนังศีรษะเส้นผมของคุณอย่างแน่นอน 

ปัญหาผมร่วง สามารถส่งผลกระทบต่อเส้นผมที่เงางามของคุณที่จะเสริมบุคลิกของคุณให้ดูดี เมื่อคุณเกิดปัญหาผมร่วง คุณอาจจะโชคดีที่แค่ประสบกับปัญหาผมร่วงชั่วคราวแล้วรีบแก้ไขปัญหาผมร่วงให้ตรงจุด หรือไม่ก็น่าเสียดายหากคุณปล่อยละเลยปัญหาผมร่วงหรือแก้ไขแบบไม่ตรงจุดและทันท่วงที การรักษาเองโดยการลองผิดลองถูกเป็นระยะเวลานานอาจจะเกิดปัญหาผมบางหรือหัวล้านถาวรได้เลย หากไม่นับปัญหาผมร่วงจากกรรมพันธุ์แล้ว เนื้อหาสาระความรู้สุขภาพนี้จะช่วยแนะนำการแก้ปัญาหาผมร่วงให้ได้ และการฟื้นฟูหรือรักษาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมของคุณจะยิ่งมีประสิทธิภาพเห็นผลได้ดีและรวดเร็ว คุณควรตรวจประเมินสุขภาพกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณให้แน่ในว่าปัญหาผมร่วงคุณมาจากสาเหตุใด เรามาดูกันว่าสาเหตุเบื้องต้นที่คุณได้เกิดปัญหาผมร่วงและสามารถแก้ไขได้

ประเภทผมร่วงที่แก้ไขได้

  • ประเภทผมร่วงที่แก้ไขได้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ   ผู้หญิงอาจเกิดปัญหาผมร่วงหลังคลอดบุตรหรือการเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจําเดือน และฮอร์โมนทางเพศเกิดการแปรปรวนจากการเพิ่มสูงขึ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่จะทำลายความสมดุลฮอร์โมนทางเพศหญิงได้

สำหรับผู้ชายสามารถสูญเสียเส้นผมเป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนของพวกเขาเปลี่ยนไปตามอายุ. ผมร่วงเกิดจากการตอบสนองของรูขุมขนต่อฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone; DHT)

  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์   ซึ่งผู้ประสบปัญหาผมร่วงชั่วคราวมักเกิดจากสาเหตุจากโรคต่อมไทรอยด์ การรักษาฮอร์โมนไทรอยด์ เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนที่พบได้มากที่สุดสําหรับปัญหาผมร่วง คือ การทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism หรือ Hyperthyroidism) และภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) สามารถนําไปสู่การการเกิดปัญหาผมร่วง
  • ความเครียด   หากมีมากไปจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนคอติซอล (Coritsol) ในระดับสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงให้เส้นผมอ่อนแอจนเกิดปัญหาผมร่วงผมบาง และยังส่งผลให้การหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokine) ทำงานอย่างผิดปกติที่กลับกลายมาทำลายระบบภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอลง ทำให้คุณต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงจากภูมิคุ้มกัน จะส่งผลให้ฮอร์โมนแอนโรเจน (Androgen) สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงบาง ผมไม่แข็งแรงตามมา
  • อาการแพ้  ภาวะภูมิแพ้อวัยวะภายใน ที่อาจจะส่งผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันมาทำลายหรือต่อต้านเซลล์รากผมเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือส่งผลไปทั่วร่างกาย โดยอาการแพ้ที่สำคัญจะมาจาก

○  การแพ้ภูมิตัวเอง
○  การแพ้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาสําหรับความดันโลหิตหรือโรคมะเร็ง เป็นต้น
○  การแพ้สารเคมีสำหรับตกแต่งทรงผม เครื่องสำอางค์ เป็นต้น
○  การแพ้มลพิษหรือสารเคมีบางอย่างจากสิ่งแวดล้อม ที่พักอาศัย หรือที่ทำงาน เช่น ฝุ่น PM 2.5 อากาศและฝนมีภาวะเป็นกรด สารเคมีตกค้างในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

  • การใช้ยาคุมกำเนิด   ยาที่มีส่วนผสมของแอนโดรเจนสูงจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาผมร่วง ตัวอย่างอย่างเช่น ยาคุมกำเนิดประเภท Ovral และ Loestrin แต่หากคุณใช้แล้วไม่เจอปัญหาผมร่วงคุณสามารถใช้ได้อย่างสบายใจ แต่สำหรับผู้ที่มีความรู้สึกไวต่อแอนโดรเจน คุณอาจจะมองหายาคุมกำเนิดที่มีแอนโดรเจนในระดับต่ำ เช่น ยาคุมกำเนิดประเภทเดสเจน ประเภทออร์โธ-เซปต์ ประเภทออร์โธ-ไซเลน เป็นต้น
  • หลังการตั้งครรภ์  ในระหว่างตั้งครรภ์ผมร่วงอาจเกิดขึ้นเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง หลายคนยังมีผมร่วงชั่วคราวประมาณ 3 เดือนหลังคลอดบุตร
  • หลังการผ่าตัดหรือศัลยกรรมความงามบางอย่าง อาการผมร่วงอาจจะเกิดได้หลังการผ่าตัดหรือศัลยกรรมความงามบางอย่าง หากระดับสังกะสีและทองแดงในร่างกายคุณสูญเสียมากไประหว่างนี้ แต่เป็นเรื่องปกติที่แพทย์ของคุณจะแนะนําอาหารหรือยาเสริมสังกะสีและทองแดงเพื่อช่วยหยุดการปัญหาผมร่วงของคุณ
  • การติดเชื้อราหรือเชื้อโรคบางชนิดบนหนังศีรษะ

การติดเชื้อราประเภท Capitis การเป็นโรคกลาก โรคสะเก็ดเงิน โรคสิวอักเสบที่ศีรษะ และเชื้อไวรัสบางชนิด อาจทําให้เกิดปัญหาผมชั่วคราวเป็นหย่อมๆ จนกว่าจะรักษาและกำจัดเชื้อให้หายขาด

  • การขาดสารอาหาร 

  • Vitamin B12
  • Vitamin D
  • Vitamin A
  • Vitamin C
  • Vitamin E
  • เหล็ก (Iron)
  • สังกะสี (Zinc)
  • ซีลีเนียม (Selenium)
  • การเกิดโรคเรื้อรัง (โรค NCDs) และโรคแฝงในร่างกาย

เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคต่อมไทรอยด์ โรคไต โรคตับ โรคลูปัส (SLE) โรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก โรคความผิดปกติของการกินอาหาร โรคมะเร็ง เป็นต้น จะสามารถเป็นสาเหตุที่จะทําให้ผมร่วง จากการเป็นต้นเหตุที่ทำให้เซลล์รากผมเกิดความเสื่อมและไม่แข็งแรงที่จะยึดบนหนังศีรษะได้ บางทีหากคุณเป็นโรคเรื้อรัง (NCDs) เหล่านี้ ก่อนที่คุณจะรักษาอาการผมร่วง อาจจะต้องรักษาโรคเรื้อรังที่คุณกำลังเป็นควบคู่ไปด้วย

  • การทำลายสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมให้เสียหายโดยไม่รู้ตัว

  • การตกแต่งทรงผมด้วยสารเคมีที่ไม่ได้มาตรฐานหรือใช้สารเคมีตกแต่งทรงผมมากเกินไปหรือถี่ไป เช่น การฟอกหรือย้อมสีผม เป็นต้น
  • การรัดผมอย่างแน่น การยืดผมด้วยความร้อน การดัดหรือเสยผมให้อยู่ในแบบใดแบบหนึ่งนานเกินไปหรือถาวร
  • การไม่รักษาความสะอาดหรือสระผมเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากจะเป็นการสะสมของเชื้อโรคและสารเคมีตกค้างบนหนังศีรษะและเส้นผม หากคุณต้องออกไปข้างนอกบ้านเป็นประจำ ซึ่งควรสระผมอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และหลังการสระผมควรเช็ดหรือเป่าผมให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ
  • การบริโภค การใช้ชีวิต

○  อาหารมักดอง
○  อาหารที่มีผงชูรสเกินปริมาณที่แนะนำต่อวัน
○  อาหารที่หวานจัด เค็มจัด
○  นอนดึกมากไปจนพลาดช่วงเวลา 22.00 – 02.00 น. เป็นประจำ ที่เป็นช่วงเวลาทองที่ร่างกายจะสร้างสมดุลฮอร์โมนสำคัญๆ ที่ช่วยในการการซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ในร่างกายและการชะลอวัย โดยเป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของเส้นผมคุณ และการพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดปัญหาผมร่วงได้
○  จัดการความเครียดและความวิตกกังวลได้ไม่ดีพอ
○  การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติดเป็นประจำ

  • มีภาวะโรคทางจิต

  • โรคเครียดเรื้อรัง  เป็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยทำงาน การดึงผมเป็นวิธีการคลายเครียด แต่ถ้าดึงบ่อยๆ ก็จะเกิดปัญหาผมร่วงตามมานั่นเอง
  • โรคซึมเศร้า โรคทำร้ายตัวเอง (NSSI)
  • โรคดึงผมตนเอง  ที่อาจมีภาวะทางจิตอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น โรควิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ โรคซึมเศร้า โรคทำร้ายตัวเอง (NSSI) หรืออาการลงแดงจากการใช้ยาเสพติด
  • โรคหลงผิด เช่น คิดว่ามีแมลง พยาธิ หรือปรสิตออกมาจากเส้นผมหรือใต้ผิวหนัง ที่ทำเกิดความกลัว หวาดระแวงและกังวล (ผู้ป่วยอาจมีอาการหลักของโรคกลัวรู (Trypophobia) อยู่ก่อนแล้ว) ผู้ป่วยมีความคิดที่ว่ายิ่งผมยาวขึ้นมากเท่าไหร่ก็จะแหล่งเพาะพันธุ์หรือหลบซ่อนปรสิตที่จะชอนไชไปทั่วศรีษะและร่างกายจึงต้องตัดผมให้สั้นจนเห็นหนังศีรษะหรือบางรายจะใช้วิธีการโกนหัวไปตลอด เพื่อจะได้สังเกตเห็นความผิดปกติใต้หนังศีรษะตามความเชื่อหรือตามความคิดที่หลงผิดนั้น

วิธีการฟื้นฟูปัญหาผมร่วงจากสาเหตุข้างต้น

การฟื้นฟูสภาพหนังศีรษะและวงจรเจริญเติบโตของเส้นผมที่จะสามารถงอกใหม่ด้วยตัวเอง ไม่ให้ผมบางหรือหัวล้านได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วที่คุณจะหาสาเหตุของปัญหาผมร่วงได้ทันเวลา สิ่งสำคัญที่สุดคุณต้องตรวจประเมินสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมเพื่อหาสาเหตุผมร่วงที่คุณกำลังเป็นให้แน่ใจ (ต้องให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางพันธุ์กรรม ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณอาจจะต้องศัลยกรรมปลูกเส้นผมถึงจะเห็นผล) โดยได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมจากแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเส้นผมของคุณ เพื่อประเมินสาเหตุและจัดการปัญหาศีรษะและผมร่วงได้ตรงหรือสามารถอาจจะงอกใหม่ด้วยตัวเองหรือไม่

ประเภทการประเมินสาเหตุของปัญหาผมร่วงอย่างตรงจุด

จุดเริ่มต้นการรักษาที่สำคัญ คือ ตรวจประเมินหาสาเหตุอย่างตรงจุดโดยมีหลายวิธี เช่น

  • การตรวจเลือด   การทำเช่นนี้อาจช่วยให้ค้นพบสภาวะทางการแพทย์ที่อาจทำให้ผมร่วงได้
  • การตรวจสะเก็ดหนังศีรษะ   แพทย์ของคุณจะขูดตัวอย่างจากผิวหนังหรือจากขนสองสามเส้นที่ดึงออกมาจากหนังศีรษะเพื่อตรวจดูรากผมด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะช่วยระบุได้ว่าการติดเชื้อทำให้ผมร่วงหรือไม่
  • กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง   แพทย์ของคุณใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจดูขนที่เล็มที่โคนผม กล้องจุลทรรศน์ช่วยเปิดเผยความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของเส้นผ

สรุป

การฟื้นฟูหรือรักษาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมของคุณจะยิ่งมีประสิทธิภาพเห็นผลได้ดีและรวดเร็ว คุณควรตรวจประเมินสุขภาพกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณให้แน่ใจว่าปัญหาผมร่วงคุณมาจากสาเหตุใด แต่หากคุณสามารถพบหรือเจอสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดปัญหาผมนั้นจากเนื้อหาสาระความรู้สุขภาพของเรานี้จะเป็นเรื่องดีถ้าเป็นสาเหตุที่แท้จริงและต้องไม่ลองผิดลองถูก ไม่สายเกินไปจนปัญหาผมร่วงนั้นบานปลาย

ปัญหาผมร่วงบางประเภทสามารถป้องกันได้โดยการการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ จัดการความเครียดอย่างถูกต้อง และใช้เทคนิคการตกแต่งทรงผมที่อ่อนโยน หรือพยายามเลี่ยงการใช้สารเคมีในการตกแต่งทรงผม หรืออาจจะทำผมด้วยสารเคมีไม่บ่อยจนเกินไป ปัญหาผมร่วงจากการติดเชื้อราหรือไวรัสสามารถป้องกันได้โดยการรักษาความสะอาดของเส้นผม และไม่ใช้หมวก หวี ร่วมกับผู้อื่น และการเกิดโรคทางจิตก็ต้องได้รับการรักษาจากนักจิตเวชให้ผู้ป่วยนั้นหายเป็นปกติก็ช่วยรักษาการทำลายเส้นผม หากคุณประสบกับปัญหาผมร่วงจากสาเหตุพันธุกรรมต้องได้รับการรักษาในเทคนิคขั้นสูงทางการแพทย์ เช่น วิธีศัลยกรรมผ่าตัดปลูกผม วิธี Minoxidil วิธี Finasteride วิธี Spironolactone วิธี Cyproterone acetate และรวมถึงการกินยาหรือฮอร์โมนตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมของคุณ

หากคุณหรือคนที่คุณรักกำลังเผชิญกับอาการผมร่วงบ่อยๆ หรือผมร่วงเรื้อรังจนเกิดปัญหาผมบาง เราขอแนะนำ ตรวจประเมินสาเหตุ “ผมร่วงเบื้องต้น” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินหาสาเหตุเบื้องต้นที่คุณอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ 

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ตรวจประเมินสาเหตุ
“ผมร่วงเบื้องต้น”

หาสาเหตุผมร่วงต้องตรงจุด ทันท่วงที เพื่อการดูแลรักษาเส้นผมของคุณไม่ให้จากไป

✔  หาสาเหตุผมร่วงเจอเร็ว ใช้ระยะเวลาน้อยลง ลดการคาดเดาที่อาจทำให้คุณเสียเวลาและค่าใช้จ่าย

✔  เพื่อวางแผนการรักษาอาการผมร่วง ลดความเสี่ยงปัญหาเส้นผมบานปลายจากการลองผิดลองถูก

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • คณะแพทยศาสตร์. โรงพยาบาลรามาธิบดี. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2560).  “โรคดึงผม” โรคทางจิตเวชที่คนเป็นอาจไม่รู้ตัว”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/โรคดึงผม-โรคทางจิตเวช/
  • รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม. ภาควิชาตจวิทยา. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). “หัวจ๋า…ผมลาก่อน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=405
  • Cynthia Cobb, DNP. Medical News Today. (2019). “Causes and treatments for hair loss”. Retrieved September 06, 2022, from:  https://www.medicalnewstoday.com/articles/327005
  • Harvard Health Publish. Harvard Medical School. (2022). “Hair Loss”.  Retrieved September 06, 2022, from: https://www.health.harvard.edu/a_to_z/hair-loss-a-to-z
  • The Department of Health. State Government of Victoria, Australia. (2020). “Patterned hair loss” September July 06, 2022, from:  https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/patterned-hair-loss

แสดงความคิดเห็น

Close Menu