Skip to main content

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย

โดย 13/10/2022ตุลาคม 21st, 2022บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • การมีชีวิตที่มี “สุขภาพดีทุกช่วงวัย” เป็นได้ได้จากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่ การเลือกโภชนาการที่มีประโยชน์ กินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม หรือจะเลือกการกินอาหารแบบคีโต ไดเอต (Healthy Ketogenic Diet) การฝึกวิธีอดหรือกินอาหารเป็นช่วงๆ โดยมีการกำหนดเวลาในการกินอาหารและรับประทานอาหารเป็นช่วงๆ อย่างถูกวิธี (IF; Intermittent Fasting) การออกกําลังกาย การดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาสุขภาพจิต การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี และแน่นอนแต่ละช่วงวัยของคุณจะได้รับการดูแลที่แตกต่างกันในรายละเอียด นั่นคือหัวใจสําคัญสําหรับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองที่จะลดโอกาสการเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง
  • การดูแลสุขภาพตามช่วงวัยสามารถใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลตนเองและคนที่คุณรัก คนในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละบคุลล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ลดการสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากในการรักษาพยาบาล ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าสุขภาพดี สุขภาพจิตจะดีตามมา ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจจะลดลง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการติดตามดูแลสุขภาพตามช่วงวัยเป็นส่วนกระตุ้นและสนับสนุนการอัพเดตความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวัยได้อย่างเหมาะสม

ทำไม ? คุณต้องเริ่มดูแลสุขภาพตามช่วงวัยตั้งแต่ตอนนี้เลย

1.  สามารถใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก คนในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสมสำหรับแต่ละบุคลล และที่สำคัญจะเป็นวิธีที่ทำให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น อาหารการกิน ความสมดุลของสารอาหาร ความเครียด การพักผ่อน และสิ่งปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมรอบๆ คุณ หากเกิดสิ่งผิดปกติในร่างกายก็จะสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ทันท่วงที ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต 2 กลุ่มโรคที่สำคัญ ไม่ให้เกิดขี้นหรือลุกลามจนยากแก่การรักษาได้ ได้แก่

1)  กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs; Non-communicable Diseases) เช่น โรคเบาหวาน โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง (ไขมันพอกตับ) โรคโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคไขมันในเลือดสูง) โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง) โรคภูมิแพ้ต่างๆ

2)  กลุ่มโรคระบบเผาผลาญในร่างกายพัง (Metabolic Syndrome) เช่น โรคอ้วนลงพุง ภาวะก่อนการเกิดโรคเบาหวาน (Prediabetes) ได้แก่ ภาวะการดื้ออินซูลิน (มีอาการเสพติดของหวานตลอดเวลา มีอาการระดับน้ำตาลในเลือดที่แปรปรวนอย่างผิดปกติ) ภาวะการดื้อเลปติน (กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม กินจุมากขึ้นเรื่อยๆ และต้องการอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่าคนปกติ (ยกเว้นผู้ใช้แรงงานและนักเพาะกาย))

2.  ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น เพราะหากคุณรับรู้จากการสังเกตอาการผิดปกติที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับคุณในวัยต่างๆ หรือรับรู้จากตรวจสุขภาพเป็นประจำจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ลดการสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากในการรักษาพยาบาล

3. ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าสุขภาพดี สุขภาพจิตจะดีตามมา ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจจะลดลง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การติดตามดูแลสุขภาพตามช่วงวัยเป็นส่วนกระตุ้นและสนับสนุนการอัพเดตความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวัยได้อย่างเหมาะสม และความรู้ด้านการดูแลสุขภาพรวมถึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยในช่วงวัยต่างๆ ของคุณเช่นกัน ที่คุณอาจจะประยุกต์มาใช้ในการดูแลสุขภาพคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพไดดียิ่งขึ้น

การได้ใช้ชีวิตที่มี “สุขภาพดีในทุกช่วงวัย” เป็นเรื่องที่เป็นไปได้และทุกคนควรจะเป็นตั้งแต่การให้กำเนิดในครรภ์ วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ คุณสามารถทำได้ เพราะนี่จะนําคุณไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มโอกาสความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในทุกด้านในการใช้ชีวิต และคุณสามารถทำได้ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่ การเลือกโภชนาการที่มีประโยชน์ การออกกําลังกาย การดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาสุขภาพจิต การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี และแน่นอนแต่ละช่วงวัยของคุณจะได้รับการดูแลที่แตกต่างกันในรายละเอียด นั่นคือหัวใจสําคัญสําหรับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองที่จะลดโอกาสการเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างยาวนาน ถ้าคุณอยากได้แนวทางสําหรับทางเลือกในการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดี ทางพาธแล็บขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบให้คุณและครอบครัวของคุณด้านการดูแลสุขภาพในแต่ละ “ช่วงวัยของชีวิต” พร้อมคําแนะนําเพิ่มเติมด้านการดูแสุขภาพและโภชนาการ ที่จะช่วยดูแลสุขภาพคุณได้ เพื่อให้คุณเข้าใจและเห็นภาพในเบื้องต้น เราขอเริ่มจากการแบ่งช่วงวัยอายุ ดังนี้

○ ช่วงอายุ 0-9 เดือน = เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด
○ ช่วงอายุหลังคลอด-11 เดือน = ช่วงวัยทารก (ช่วงให้นม)
○ ช่วงวัยอายุ 1-4 ปี = ช่วงวัยเด็กเล็ก (เริ่มทักษะการทรงตัวและเคลื่อนไหว)
○ ช่วงวัยอายุ 5-12 ปี = ช่วงวัยเด็กโต
○ ช่วงวัยอายุ 13-19 ปี = ช่วงวัยรุ่น
○ ช่วงวัยอายุ 20-29 ปี
○ ช่วงวัยอายุ 30-39 ปี
○ ช่วงวัยอายุ 40-49 ปี
○ ช่วงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป

ช่วงอายุ 0-9 เดือน = เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด

การใช้ชีวิตที่มีคุณภาพและได้รับโภชนาการที่ดีของคุณแม่ จะส่งผลต่อสุขภาพในช่วงแรกเริ่มของทารกในครรภ์อย่างมาก โดยส่งผลถึงสุขภาพที่แข็งแรงหรืออ่อนแอของชีวิตที่กำลังถือกำเนิดขึ้นได้

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • โภชนาการและการกิน*

●  อาหารที่สำคัญสำหรับคุณแม่ ได้แก่

ธัญพืช, ข้าวไม่ขัดสี,
○ ผักใบเขียวหรือผักหลากสี และพืชตระกูลถั่ว
○ ผลไม้ที่ให้เส้นใยอาหารและไม่หวานจัด เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อะโวคาโด แอปเปิ้ล เป็นต้น
○ นม โยเกิร์ต ชีส จากกระบวนการผลิตอย่างธรรมชาติ

○ โปรตีนจากเนื้อ ปลา สัตว์ปีก ไข่

●  สารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก โปรตีน ไอโอดีน โฟเลต

●  หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา น้ำอัดลม ขนมคบเคี่ยว และอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป

●  งดอาหารรสจัด ของดิบ และของหมักดอง เช่น อาหารหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ผลไม้ดอง ปลาร้า เนื้อดิบ เป็นต้น

●  ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การทำงานหรือยกของหนัก

●  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย

●  พักผ่อนให้เพียงพอ

*ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชของคุณก่อนพิจารณา

โดยการกินอาหารสำหรับคุณแม่และลูกในครรภ์ ควรเน้นที่คุณภาพทางโภชนาการมากกว่าการที่จะต้องกินในจำนวนที่เยอะๆ ที่ให้แคลอรี่สูง และคุณภาพทางสารอาหารต่ำ

  • หมั่นเสริมทักษะทางการสื่อสารกับทารกในครรภ์

เช่น พูดคุย เล่านิทาน ร้องเพลงหรือเปิดเพลงเพราะๆ เบาๆ กล่อมลูกในครรภ์ พร้อมลูบครรภ์เพื่อสร้างความผูกพันธ์ผ่านทางระบบประสาทการการสัมผัสและการได้ยินระหว่างแม่กับลูก

ช่วงอายุหลังคลอด-11 เดือน = ช่วงวัยทารก (ช่วงให้นมบุตร)

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับ 6 เดือนแรก น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดและเป็นธรรมชาติที่สุดซึ่งมีสารอาหารทั้งหมดที่ทารกต้องการในช่วง 6 เดือนแรก และหากคุณแม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมจากเต้าได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชของคุณ สำหรับผลิตภัณฑ์นมผงและสารอาหารที่ลูก ควรได้รับในแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันบ้างในด้านโภชนาการสำหรับเด็กแรกเกิด
  • ตั้งแต่อายุประมาณ 12 เดือนเป็นต้นไป ให้เด็กวัยหัดเดินได้รับอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย ผู้ปกครองของเด็กควรเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้เด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงความคุ้นชินอาหารที่อาจทำลายสุขภาพ เช่น อาหารหวาน อาหารแปรรูป อาหารสังเคราะห์ ขนมอบกรอบหรือขบเคี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น การแนะนำเด็กให้รู้จักประโยชน์อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น การเลือกกินเนื้อสัตว์ ผักออแกนิค ผลไม้ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือสังเคราะห์ทางสารเคมี ฝึกการดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอต่อวันอย่างมีวินัย การให้คำแนะนำที่ดีกับเด็กวัยนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างลักษณะนิสัยการรักสุขภาพในระยะยาวได้
  • เมื่ออายุประมาณ 6 เดือนทารกมีร่างกายและการพัฒนาพร้อมที่จะกินอาหารแบบอื่นๆ ได้ เช่น อาหารปั่นหรือบดละเอียด และมีพัฒนาการในขั้นนี้ ได้แก่

○  ความสามารถในการใช้มือกุมหรือสัมผัสศรีษะตัวเอง พยายามดึงลำตัวขึ้นหรือนั่ง
○  มองหาและคว้าสิ่งของ
○  นอกจากการร้องเมื่อต้องการอาหาร ทารกก็ร้องเพื่อเรียกความสนใจ
○  ทารกสามารถการดูดหรือกัด

  • ไม่ควรให้อาหารที่มีความหวานหรือรสจัด อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือผสมสารเคมีในอาหาร ของดิบ ผลิตภัณฑ์จากข้าว ธัญพืช และถั่ว อาหารที่แข็งหรือมีกาก และเครื่องดื่มต้องเป็นน้ำนมและน้ำเปล่าเท่านั้น
  • ระมัดระวังสิ่งของเล็กที่ทารกอาจนำเข้าปากที่จะเสี่ยงต่อสิ่งของติดคอได้

ช่วงอายุ 1-4 ปี = ช่วงวัยเด็กเล็ก (เริ่มทักษะการทรงตัวและเคลื่อนไหว)

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • การเล่นในที่สาธารณะอย่างสวนสาธารณะเป็นวิธีที่ดีให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนทักษะการเข้าสังคม หลีกเลี่ยงการให้เด็กวัยนี้เล่นสมาร์ทโฟนมากกว่าการเล่นที่ต้องฝึกการเคลื่อนไหวทางกายภาพและการเข้าสังคมกับเด็กหรือเพื่อนๆ ในช่วงวัยเดียวกัน ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการพัฒนาสติปัญญา การสร้างกล้ามเนื้อ ทักษะการเคลื่อนไหว และความมั่นใจในการเข้าสังคมได้ และเด็กควรอยู่ในสายตาของคุณหรือผู้ปกครอง
  • ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนในแต่ละวันได้อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยในด้านสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ช่วงอายุ 5-12 ปี = ช่วงวัยเด็กโต

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • การที่ผู้ปกครองได้มีเวลาในการทำกิจกรรมและการอบรมแนะนำแนวทางที่ต่างๆ ที่ดีแก่เด็กวัยนี้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่ดี เพื่อที่เด็กจะสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้ต่อไปในระยะยาว เพื่อกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตข้างหน้า
  • การกินอาหารที่ดีตามคำแนะนำด้านโภชนา โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายสุขภาพ เช่น อาหารหวานหรือรสจัด อาหารแปรรูป อาหารสังเคราะห์ ขนมอบกรอบหรือขบเคี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น การแนะนำเด็กให้รู้จักประโยชน์อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น การเลือกกินเนื้อสัตว์ ผักออแกนิค ผลไม้ที่ไม่ก่อโรคเรื้อรัง อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือสังเคราะห์ทางสารเคมี หรือหากเด็กอยากลองกินก็ควรจำกัดปริมาณ พร้อมกับคำแนะนำในด้านผลเสียที่จะเกิดขึ้นได้หากบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มเหล่านั้นมากเกินไป ฝึกการดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอต่อวัน ฝึกกินอาหารเป็นมื้อๆ และเริ่มการออกกำลังกายอย่างมีวินัย
  • เพิ่มทักษะการการดูแลสุขภาพ ทักษะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และการรักการอ่าน
  • เมื่อเด็กเริ่มหัดใช้เวลาอยู่หน้าจออุปกรณ์สื่อสาร ควรได้รับคำแนะนำและได้รับการดูแลจากผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด เพื่อคัดกรองเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยและเพื่อให้ความรู้ได้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงวิธีการใช้งานอย่างรู้ทันสื่อ มีการคัดกรองการเข้าถึงข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่น เฟคนิวส์ การขโมยข้อมูล การล่อลวง เป็นต้น

ช่วงอายุ 13-19 ปี = ช่วงวัยรุ่น

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • ชีวิตและประสบการณ์ในช่วงวัยรุ่นเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายภาพ ฮอร์โมนที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมและความอยากรู้อยากลอง การเลียนแบบ ให้ความสนใจในกระแสแฟชั่น รสนิยมหรือไลฟ์สไตล์ด้านต่างๆ แนวความคิดต่อสังคม ความสนใจรายได้ และเรื่องเพศศึกษา
  • สิ่งที่จะส่งเสริมการกินและการดูแลสุขภาพของวัยได้อย่างเข้าถึง คือ การเปิดใจของผู้ปกครอง แลกเปลี่ยนเรื่องราวด้านสุขภาพและด้านต่างๆ พร้อมแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การให้เวลาและหาโอกาสพาวัยรุ่นตรวจสุขภาพประจำปีและพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อได้คำปรึกษาและคำแนะนำแนวทางการกิน การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่วัยรุ่นต้องการ
  • การหาสิ่งที่เป็นแรงจูงใจทั้งจากครอบครัวหรือตัววัยรุ่นเองในการดูแลสุขภาพของวัยรุ่น ย่อมทำให้วัยรุ่นมีความภาคภูมิใจและเต็มใจที่จะทำมากกว่า

ช่วงวัยอายุ 20-29 ปี

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • สร้างวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีโดยการกินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม หรือจะเลือกการกินอาหารแบบคีโต ไดเอต (Healthy Ketogenic Diet) การฝึกวิธีอดอาหารเป็นช่วงๆ โดยมีการกำหนดเวลาในการอดอาหารและรับประทานอาหารอย่างถูกวิธี (Intermittent Fasting) ออกกําลังกายเป็นประจํา จัดเวลาการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะความรู้การดูแลรักษาสุขภาพด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง – จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของคุณและฝึกให้ร่างกายสามารถใช้พลังงานทั้งในรูปแบบไขมันและน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณพลาดการฝึกวิธีดังกล่าวไปในช่วงนี้ จะผลต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณ ที่อาจเพิ่มความเสียงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเมแทบอลิกซินโดรม (โรคระบบเผาผลาญพัง) โรคข้อต่อ เช่น โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ รวมถึงความผิดปกติของอารมณ์และอื่น ๆ จึงควรเริ่มป้องกันโรคเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วงวัยนี้
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป – ชีวิตในวัย 20 ปีของคุณอาจสนุกมากด้วยกิจกรรมทางสังคม เช่น การพบปะสังสรรค์ปาร์ตี้และการพบปะเพื่อนเก่าเพื่อนใหม่หรือกับเพื่อนร่วมงาน คุณจึงจำเป็นต้องฝึกควบคุมการร่วมกิจกรรมเหล่านี้อย่างรู้ทันด้านสุขภาพ และหากบ่อยครั้งไปคุณควรรู้จักการปฏิเสธเพื่อสุขภาพที่ดี สิ่งสําคัญคือต้องคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของคุณเมื่อคุณรู้ว่ากิจกรรมการนัดเจอนั้นอาจจะไม่ดีต่อสุขภาพรวมถึงผลกระทบเวลาการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ ที่คุณจะต้องเสียไป
  • ดูแลสุขภาพผิวของคุณให้ดีที่สุด – การแก่ก่อนวัยหรือสภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมนั้นส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและบุคลิกความมั่นใจได้ คุณจึงต้องดูแลผิวของคุณด้วยการทําความสะอาด ให้ความชุ่มชื้น จากการกินอาหารที่ดีมีคุณภาพตามหลักโภชนาการ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน ปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด การกินอาหาร และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การละเลยเรื่องสุขภาพผิว สามารถนําไปสู่การเกิดการปัญหาสุขภาพผิวอื่นๆ เช่น การเกิดฝ้ากระ การเกิดสิวอักเสบ สิ้วเสี้ยน หรือโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื่อน อาการแพ้คัน เป็นต้นรใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ ที่คุณจะต้องเสียไป
  • การปฏิบัติกิจกรรมทางเพศอย่างปลอดภัย – สําหรับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ควรตรวจคัดกรองเซลล์ปากมดลูก ถ้าหากเกิดความผิดปกติแล้วปล่อยถึงไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจนําไปสู่มะเร็งปากมดลูกได้ เซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้มักเกิดจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากการมีเพศสัมพันธ์ และสําคัญมากสําหรับทั้งเพศหญิงและชาย ในการตระหนักถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ เช่น ถุงยางอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) และหมั่นตรวจคัดกรองเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อ HIV เชื้อ HPV เชื้อเริม เชื้อซิฟิลิส อย่างสม่ำเสมอ
  • การฉีดวัคซีน – ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ วัคซีนหัดคางทูมหัดเยอรมัน (MMR) บาดทะยัก Diphteria ไอกรน (Tdap), อีสุกอีใสและวัคซีนไวรัสต้านเชื้อ Human papillomavirus (HPV) ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อที่จะส่งผลต่อภูมิคุ้มกันและป้องกันการแพร่กระจายของโรคเหล่านี้ไปสู่ผู้อื่นได้
  • เริ่มทําการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับผู้หญิง – ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อทําความคุ้นเคยและสังเกตความผิดปกติในส่วนหน้าอกของคุณ หากคุณสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ เช่น หัวนมมีการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือสี คลำเจอก้อนหรือรอบบุ๋มบริเวณเต้านม เพื่อให้ทันต่อการตรวจหรือรักษา เนื่องจากการตรวจเจอก้อนที่เต้านมในวัยนี้ อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องของฮอร์โมนและการมีรอบเดือน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสําคัญที่จะต้องได้รับการประเมินทางคลินิกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณ
  • หมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพประจําปี – แนะนําให้ตรวจคัดกรองค่าดัชนีมวลกาย การวัดรอบเอว และความดันโลหิต สําหรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป การทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อการตรวจคัดกรองที่ละเอียดยิ่งขึ้น และคุณจะได้รู้แนวทางในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง หากเกิดความผิดปกติอันเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต คุณก็จะสามารถรักษาและวางแผนกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ เพื่อปรับการรักษา การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม สำหรับการตรวจสุขภาพพื้นฐานที่คุณควรจะได้รับรู้เกี่ยวกับสุขภาพคุณ ได้แก่
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)

● วัดความเข้มข้น ปริมาณของเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง
● ดูขนาด รูปร่างและสีของเม็ดเลือดแดง
● วัดและแยกประเภทเม็ดเลือดขาว แสดงถึงภาวะการอักเสบ การติดเชื้อต่างๆ พยาธิและโรคทางพันธุกรรม เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว
● วัดปริมาณเกล็ดเลือด เพื่อประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด
● ตรวจหมู่โลหิต ABO กับหมู่ Rh

  • ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)

● เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงโรคเบาหวานเบื้องต้น

  • ระดับไขมันในเส้นเลือด (Lipid Profile)

● ตรวจเพื่อประเมินอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
● ตรวจระดับไขมันรวมในเลือด (Total Cholesterol) ระดับไขมันชนิดดี (HDL) ระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ซึ่งถ้าสูงเกินไป จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมอง

  • การทำงานของตับ (Liver Function Tests)

● ตรวจประสิทธิภาพการทำงานของตับ ภาวะตับอักเสบ เอนไซม์ที่สร้างจากตับ

  • การทำงานของไต (Renal Function Tests)

● ตรวจการทำงานและประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไต
● ตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเพื่อดูแนวโน้มการเกิดโรคเกาต์

  • ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)

● ตรวจเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคไต และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ช่วงวัยอายุ 30-39 ปี

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

    (เพิ่มเติมจากช่วงวัยอายุ 20-29 ปี)

  • ดูแลสุขภาพและติตตามประสิทธิภาพในส่วนระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย (Metabolism) ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจของคุณ (Circulatory and Cardiac System) – ในช่วงวัย 30 ปีคุณอาจทุ่มเทเวลาและพลังงานทั้งหมดให้กับการทำงานของคุณอย่างจริงจัง จนอาจมีภาวะเครียดสะสม รวมถึงการกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ที่คุณอาจจะไม่ได้เลือกอาหารที่จะช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพของคุณ เพราะความเร่งรีบในการทำงาน และการไม่มีเวลาเพียงพอสําหรับการออกกําลังกาย และการนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของคุณ แม้ว่าคุณจะยังคงดูแข็งแรง แต่หากอาการกำเริบนั้นไม่ดีต่อชีวิต และหน้าที่การงานของคุณเป็นแน่ คุณต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตในช่วงวัยนี้
  • รับการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (์NCDs) และกลุ่มโรคระบบเผาผลาญในร่างกายพัง (Metabolic Syndrome) สม่ำเสมอ
  • การดูแลสุขภาพคุณให้ดีที่สุดคือการลงทุนในระยะยาว ทำให้การกินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม การฝึกวิธีอดอาหารอย่างถูกวิธี (IF) ออกกําลังกายเป็นประจํา จัดการการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะความรู้การดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีความเข้าใจแท้จริงนั้น เป็นสิ่งที่เป็นที่คุณต้องให้ความใส่ใจอย่างแท้จริง
  • ดูแลสุขภาพจิตของคุณ – ความผิดปกติของสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดสะสมหรือเรื้อรังที่ถูกกระตุ้นโดยปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สําคัญในชีวิต ชีวิตที่เครียดจากการทํางานตามสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การแข่งขันสูง เบื้องต้นคุณจัดการได้โดยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลายในแบบที่คุณคุณชอบที่จะไม่สร้างผลเสียต่อสังคมหรือคนรอบข้างคุณ เช่น การอ่านหนังสือเพื่อส่งเสริมความคิดและจิตใจ การนั่งสมาธิ การท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่จะสามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายและมีทัศนคติด้านบวก แต่หากคุณรู้สึกว่ามันยากเกินไปที่จะรับมือได้คุณควรปรึกษาแพทย์หรือที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตของคุณ
  • การพิจารณาการวางแผนครอบครัว – หากคู่สมรสที่กําลังพิจารณาที่จะมีครอบครัวควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงหรือโรคทางพันธุกรรมที่สามารถเพิ่มภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกในครรภ์ได้

ช่วงวัยอายุ 40-49 ปี

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • ให้ความใส่ใจต่อสุขภาพของคุณเป็นสิ่งสําคัญเป็นอันดับต้นๆ – ในวัยนี้ให้พิจารณาไปที่แพ็คเกจตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมมากขึ้น เพราะนี่จะช่วยคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (์NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนิ่วภายในอวัยวะภายใน สำหรับผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 49 ปีควรขอคําแนะนําจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสตรีในการตรวจเต้านม และแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เป็นประจําทุกปี
  • ตรวจผลข้างเคียงหรือความเสี่ยงสุขภาพจากยาที่คุณกำลังตัดสินใจใช้ – หากคุณเริ่มต้นใช้ยาใด ๆ ควรปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์ของคุณ
  • คิดให้เหมือนว่าสุขภาพคุณคือสิ่งเดียวที่ไม่สามารถจะซื้อเวลาย้อนกลับไปได้ในช่วงวัยก่อนหน้านี้ เลือกการกินอาหารจากธรรมชาติที่มีคุณภาพ ไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม การฝึกวิธีอดอาหารอย่างถูกวิธี (IF) ออกกําลังกายเป็นประจํา จัดตารางการการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะความรู้การดูแลรักษาสุขภาพด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งที่คุณต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตบั้นปลายกับคนที่คุณรัก อย่างมีสุขภาพแข็งแรงและยั่งยืน

ช่วงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป

  • คำแนะนำดูแลสุขภาพเบื้องต้น

  • การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัยให้ปลอดภัยพร้อมไปกับการมีสุขภาพที่ดี – ในวัยนี้ความเสี่ยงของการหกล้มและกระดูกหักของคุณอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา รวมถึงความไม่มั่นคงในการทรงตัว คุณอาจต้องการพิจารณาการออกกําลังกายที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระเทือนต่อข้อต่อของคุณ. กิจกรรมต่าง ๆที่แนะนำ เช่น การปั่นจักรยานในร่มในความเร็วที่เหมาะสม การรำไทเก็ก รวมถึงวิธีการเคลื่อนไหวสำหรับการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัยได้อย่างปลอดภัยพร้อมได้สุขภาพที่ดี
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกายของคุณ – หากคุณมีอาการผิดปกติที่มากขึ้น เช่น หายใจถี่ เจ็บหน้าอกและปวดท้อง สิ่งเหล่านี้อาจต้องมีการประเมินสุขภาพเพิ่มเติมโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อหาสาเหตุเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  • การฉีดวัคซีน – นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนตามกําหนดเวลาแล้ว เมื่อคุณมีอายุครบ 65 ปีขึ้นไป ควรพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม (การติดเชื้อในปอด) เพราะเมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในกลุ่มอายุที่มีอาการติดเชื้อในปอด เช่น การติดเชื้อโควิด-19 วัณโรค โรคปอดบวม เป็นต้น
  • การตรวจคัดกรองโรคที่มีความเสี่ยงสูง – นอกจากการตรวจหาโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ในวัยนี้คุณควรตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก และผู้หญิงควรได้รับการมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม สําหรับผู้ที่มีอาการหรือประวัติครอบครัวการตรวจคัดกรองมะเร็งควรเป็นสิ่งที่ต้องตรวจอย่างละเอียด

สรุป

ในแต่ละช่วงวัยของคุณจะมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกันในรายละเอียด นั่นคือหัวใจสําคัญสําหรับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองที่จะลดโอกาสการเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง ถ้าคุณพอจะได้แนวทางสําหรับการดูแลสุขภาพ การเพิ่มโอกาสในการรักษาสุขภาพที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนเป็นผู้สูงวัยที่คงความแข็งแรง ความกระฉับกระเฉงของร่างกายและสติปัญญา การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ การฝึกการกินอาหารให้เป็นเวลา การนอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การหมั่นอัพเดตความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามแต่ละช่วงวัยที่กล่าวมานี้ สามารถที่จะสนับสนุนการเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุอย่างมีสุขภาพแข็งแรง แบบยั่งยืนได้

ที่สุดแห่งความโชคดีในชีวิต คือ การที่คุณมี “สุขภาพดีทุกช่วงวัย” ที่คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และมีความสุข เพราะสุขภาพคือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในโลก และความโชคดีนี้คุณสามารถกำหนดได้ด้วยตัวคุณเองด้วยการดูแลสุขภาพ เราขอแนะนำคุณ ตรวจสุขภาพพื้นฐาน” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ 

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ตรวจสุขภาพพื้นฐาน

“เริ่มสร้างสุขภาพดีตามช่วงวัย”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก

✔  เพื่อลดเสี่ยงหรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก

✔  การตรวจเลือดช่วยเตือนคุณได้

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • สถาบันอาหาร, กระทวงอุตสาหกรรม. (2563).  “รายงานฉบับสมบูรณ์ กลยุทธ์การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการ ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563”. สืบค้นเมื่อวันที่ 1  ต.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.oie.go.th/assets/portals/1/files/study_report/Healthyfood_Strategy.pdf
  • อรวรรณ มุงวงษา วทม. สาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยเพชรบุรี. (2563). “การส่งเสิรมสุขภาพในวัยต่างๆ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 1  ต.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://nurse.pbru.ac.th/th/wp-content/uploads/2020/05/ครั้งที่-3-การส่งเสริมสุขภาพในวัยต่างๆ.pdf
  • Johns Hopkins Medicine. The Johns Hopkins University. (2021). “It’s Never Too Late: Five Healthy Steps at Any Age”. Retrieved October 01, 2022, from:  https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/its-never-too-late-five-healthy-steps-at-any-age
  • National Institute on Aging (NIA). National Institutes of Health (NIH).  the United States government. (2022). “What Do We Know About Healthy Aging?”.  Retrieved October 01, 2022, from: https://www.nia.nih.gov/health/what-do-we-know-about-healthy-aging
  • SA Health. Government of South Australia. (2022). “Surprising Health Challenges of Aging”. Retrieved October 01, 2022, from: https://www.sahealth.sa.gov.au/wps/wcm/connect/public+content/sa+health+internet/healthy+living/healthy+eating/healthy+eating+at+different+ages+and+stages+of+your+life/healthy+eating+at+different+ages+and+stages
  • WebMD. (2022). “Surprising Health Challenges of Aging”. Retrieved October 01, 2022, from: https://www.webmd.com/healthy-aging/challenges-of-aging

แสดงความคิดเห็น

Close Menu