เรื่องน่ารู้:
- ฮอร์โมน DHEAs หรือฮอร์โมนดีเอชอีเอ เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงภาวะชรา และมีความสามารถช่วยต้านความชรา ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง และส่งเสริมประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาทและสมองในด้านความจำ
- ระดับฮอร์โมน DHEAs ปกติลดลงตามอายุในทั้งชายและหญิง ลดระดับลงเฉลี่ยปีละ 1-2% จนกระทั่งอายุ 90 ปี
- บางครั้งความแปรปรวนของฮอร์โมน ก็สร้างปัญหาในเรื่องความสวยงาม เช่น ผมบาง ความมั่นใจในเรื่องเพศสัมพันธ์ และส่งผลร้ายแรงต่อการเป็นโรคไตวายในอนาคต
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร DHEAs ที่มีขายทั่วไป บางครั้งก็มีการส่งเสริมการขายด้วยการระบุถึงสรรพคุณชะลอความแก่ ต่อต้านริ้วรอยก่อนวัย โปรดสังเกตว่า ส่วนใหญ่จะไม่มีหลักฐานที่แสดงความน่าเชื่อถือที่จะสามารถสนับสนุนการสรรพคุณตามที่กล่าวอ้าง และในความเป็นจริงอาหารเสริมเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง จากสารที่สังเคราะห์ หากคุณมีข้อสงสัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมฮอร์โมน DHEAs ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ฮอร์โมน DHEAs หรือฮอร์โมนดีเอชอีเอ (Dehydroepiandrosterone Sulfate ชื่ออื่น ๆ : DHEAS, DHEA-S, DHEA, DHEA-SO4,) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายและฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง และฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาของลักษณะทางเพศของผู้ชายในวัยแรกรุ่น
ฮอร์โมน DHEAs ส่วนใหญ่ผลิตในต่อมหมวกไตซึ่งเป็นต่อมเล็ก ๆ สองอันที่อยู่เหนือไตของคุณ ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและการทำงานของร่างกายอื่น ๆ ฮอร์โมน DHEAs ปริมาณน้อยผลิตในอัณฑะของผู้ชายและรังไข่ของผู้หญิง หากระดับ DHEAs ของคุณไม่ปกติอาจหมายถึงมีปัญหากับต่อมหมวกไตหรืออวัยวะเพศของคุณ (อัณฑะหรือรังไข่) ซึ่งสามารถค้นหาปัญหาหรืออาการต่างๆ ได้อย่างง่ายดายเมื่อตรวจสุขภาพ
ความแปรปรวนของฮอร์โมน DHEAs มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนในเพศชายและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ รวมถึงภาวะเสื่อมถอยด้านกระบวนความคิดและการรับรู้ ฮอร์โมน DHEAs จะมีมากสุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ และลดระดับลงเฉลี่ยปีละ 1-2% จนกระทั่งอายุ 90 ปี จุดนี้เอง จึงนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้การเกิดภาวะชรา และประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะช่วยต้านความชรา ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมองในด้านความจำ
ปัญหาสุขภาพจากความแปรปรวนของฮอร์โมน DHEAs
ที่มีมากหรือต่ำไป จะสร้างปัญหาได้ ดังนั้น หากเราสังเกตอาการเราสามารถรับรู้ได้ในเบื้องต้น โดยมี 2 กรณีที่เราจะสามารถแยกได้ ได้แก่
กรณี การมีฮอร์โมน DHEAs ในระดับต่ำ
- อาการ
- น้ำหนักลดมากผิดปกติและหาสาเหตุไม่ได้
- มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนบ่อยๆ
- เวียนหัว
- เกิดภาวะขาดน้ำ
- อยากเกลือหรือของเค็มๆ
- ผิวหนังแห้งเหี่ยว หรือริ้วรอยก่อนวัยอันควร
- เกิดอาการซึมเศร้า
- ความต้องการทางเพศลดลง หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- เกิดการบางของเนื้อเยื่อช่องคลอดในผู้หญิง ที่จะทำให้ขาดหรืออักเสบได้ง่าย
- การบ่งบอกโรค
- ภาวะผิดปกติของต่อมหมวกไต
- โรคกระดูกพรุน
- โรคแอดดิสัน คือ โรคที่ทำให้ต่อมหมวกไตไม่สามารถทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนจำเป็นต่างๆ ได้เพียงพอ
- เกิดภาวะ Hypopituitarism ที่จะมีอาการที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อาการเบื่ออาหาร ไม่มีแรง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผิวแห้ง ปวดตามข้อ ความดันโลหิตต่ำ เวียนหัวเวลาลุกขึ้น ระดับเกลือโซเดียมในเลือดต่ำ ความต้องการทางเพศลดลง มีบุตรยาก
กรณี การมีฮอร์โมน DHEAs ในระดับสูง
ส่วนใหญ่ผู้ชายจะไม่มีอาการของการมีฮอร์โมน DHEAs ในระดับสูง แต่จะแสดงอาการชัดเจนในผู้หญิงและเด็กผู้หญิง โดนมีรายละเอียด ดังนี้
- อาการ
- การเจริญเติบโตของร่างกายและขนบนใบหน้ามากเกินไป
- เสียงพูดเล็กหรือแหบผิดปกติ
- ความผิดปกติของประจำเดือน
- สิวเห่อ
- กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นคล้ายผู้ชาย
- ผมร่วงที่ส่วนบนของศีรษะ
- การบ่งบอกโรค
- ความผิดปกติของต่อมหมวกไต
- เนื้องอกหรือเป็นมะเร็งต่อมหมวกไต
- กลุ่มอาการรังไข่ Polycystic (PCOS) PCOS เป็นโรคฮอร์โมนทั่วไปที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการมีบุตรยากหญิง
- การตรวจ
เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องของแพทย์ ควรตรวจวัดระดับของฮอร์โมน DHEAs จากเลือดของคุณ เพื่อเป็นแนวทางการรักษาต่อ
- การรักษา
หากเลือกรักษาโดยฮอร์โมน DHEAs แบบสังเคราะห์แบบเม็ดหรือครีมทา บ่อยครั้งที่บรรดาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมฮอร์โมน DHEAs ระบุว่าสามารบำบัดและต่อต้านริ้วรอยได้ และยังอ้างว่าช่วยป้องกันโรคเรื้อรังและปรับปรุงสมรรถภาพทางกาย ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพื่อความปลอดภัย
พาธแล็บยินดีให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากสนใจบริการของเราสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์บริการพาธแล็บ: 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox: bit.ly/PathlabMessenger
LINE Official: https://lin.ee/7foBIeB
Website: www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ: bit.ly/2Otfw77
อ้างอิงจาก:
- ศิริพร ตันติพัฒนานนท์ และคณะ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2558). “DHEAs: สารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ ในบริบทของการเป็นดัชนีชี้วัดความชรา DHEAs: Sex Hormone Precursor as Biomarker of Aging”. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2563. จากเว็บไซต์: http://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_43_No_3_P_352-365.pdf
- Mayo Clinic. (2017). “DHEA”. Retrieved August 03, 2020, from
https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-dhea/art-20364199 - MedlinePlus. “DHEA Sulfate Test”. Retrieved August 03, 2020, from https://medlineplus.gov/lab-tests/dhea-sulfate-test/