Skip to main content

กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ

โดย 23/10/2022มีนาคม 17th, 2024บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • “จงให้อาหารเป็นยารักษา หรือท่านปรารถนาให้ยารักษาเป็นอาหารแด่ท่าน”
  • การแพทย์ที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อน การรู้จักอดอาหาร และการเลือกกินอาหารจากธรรมชาติมากที่สุด โดยไม่มีอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งหรือผ่านการแปรรูปหรือใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสูง ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ อาหารขยะหรือประเภท Junk Food
  • การอดอาหารเป็นช่วงเวลาหรือการกินแบบ IF จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณให้ดีในระยะยาวก็จริง แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องตระหนักคือ คุณควรต้องรับคำแนะนำหรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณก่อนจะเลือกการกินแบบ IF และคุณต้องไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการกินแบบ IF เพื่อที่คุณจะรับคุณประโยชน์มากกว่าจะได้รับผลข้างเคียงจนสุขภาพคุณจะแย่แทน คุณควรเรียนรู้และทำความเข้าใจศาสตร์แห่งการกินเพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายให้ได้มากที่สุดและหมั่นอัพเดตความรู้ด้านสุขภาพใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ทางด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
  • การอดอาหารเป็นช่วงเวลาหรือการกินแบบ IF มีหลักการพื้นฐาน คือ การจัดเวลาการกินอาหารโดยมีช่วงเวลาการอดอาหารเป็นช่วงเวลา ที่จะทำให้ระดับอินซูลินลดลงมากเพียงพอและนานพอหรือเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมง ที่ร่างกายเราจะเผาผลาญไขมันสะสมได้
  • การอดอาหารเป็นช่วงเวลา เป็นกลยุทธ์การลดน้ำหนักได้เร็วและมั่นคงพร้อมทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกายที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันทั้งในหมู่คนดัง แวดวงดารา เซเลป และผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อการกินแบบ IF

✗  ผู้ป่วยจากโรคบางชนิดที่ได้รับการประเมินจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าไม่ควรกินแบบ IF เช่น โรคความดันโลหิตต่ำ ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
✗  ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร
✗  ผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าค่ามาตรฐาน BMI
✗  เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
✗  มีความผิดปกติหรือมีความวิตกกังวลในด้านการกิน เช่น มีภาวะของโรคคลั่งผอม มีอาการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
✗  ผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาหลักการกินแบบ IF อย่างถูกต้อง หรือทำตามผู้อื่นอย่างไม่เข้าใจในวิธีการ

  • รูปแบบการกินแบบ IF (Intermittent Fasting)

⓵   การกินแบบเว้นช่วงเวลาการอดอาหาร

✧  IF 16/8 คือ การอดอาหาร 16 ชั่วโมง และกิน 8 ชั่วโมง (เป็นวิธีที่นิยม เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น)

○  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกิน ประมาณ 10.00 น. ถึง 18.00 น. 

✧  IF 14/10 คือ การอดอาหาร 14 ชั่วโมง และกิน 10 ชั่วโมง

○  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกิน ประมาณ 9.00 – 19.00 น

✧  IF 19/5 คือ การอดอาหาร 19 ชั่วโมง และกิน 5 ชั่วโมง

✧  Warrior Diet คือ การอดอาหาร 20 ชั่วโมง และกิน 4 ชั่วโมง

⓶   การกินแบบจำกัดมื้อ

✧  OMAD (One Meal a Day) คือ การกินอาหารมื้อเดียวต่อวันในมื้อเที่ยง

✧ 2MAD (Two Meals a Day) คือ การงดอาหารเช้า กิน 2 มื้อ ได้แก่ มื้อเที่ยง และมื้อเย็นก่อน 2 ทุ่ม

⓷   การกินอาหารแบบวันเว้นวัน

✧  5:2 คือ การกิน 5 วัน และอดหาร 2 วัน

✧  ADF (Alternate Day Fasting) คือ การอดอาหารแบบวันเว้นวันหรือกำหนดรูปแบบเฉพาะตามที่คุณสะดวก โดยวันที่อดอาหารอาจจะอดทั้งวันหรือสามารถกินอาหารที่มีแคลอรีต่ำในปริมาณน้อยๆ ประมาณ 500-600 แคลอรีต่อ 2 วันในสัปดาห์ และต้องไม่ทำให้ร่างกายคุณขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งเป็นรูปแบบการปูทางไปสู่การกินแบบ Prolonged Fasting (รูปแบบการกินที่เว้นว่างเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 72 ชั่วโมงขึ้นไป)

หลักการกินแบบ IF (Intermittent Fasting) ช่วยสนับสนุนสุขภาพคุณได้อย่างไร ?

Let food be thy medicine and medicine be thy food
“จงให้อาหารเป็นยารักษา
หรือท่านปรารถนาให้ยารักษาเป็นอาหารแด่ท่าน”

การกินแบบ IF หลักการพื้นฐาน คือ การจัดเวลาการกินอาหารโดยมีช่วงเวลาการอดอาหารเป็นช่วงเวลา ที่จะทำให้ระดับอินซูลินลดลงมากเพียงพอและนานพอหรือเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมง ที่ร่างกายเราจะเผาผลาญไขมันสะสมได้

การอดอาหารเป็นช่วงเวลา เป็นกลยุทธ์การลดน้ำหนักได้เร็วและมั่นคงพร้อมทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกายที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันทั้งในหมู่คนดัง แวดวงดารา เซเลป และผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี จากการที่ร่างกายไม่มีอาหารเป็นระยะเวลานานพอหรือเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มเผาผลาญน้ำตาลสะสมและไขมันให้กลายเป็นพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานจากไขมันจะเป็นพลังงานที่บริสุทธิ์แก่ร่างกายคุณ นอกเหนือจากการลดน้ำหนักแล้ว การเลือกอาหารสำหรับการกินแบบ IF ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ การชะลอวัย การลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง (์NCDs) เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น ก็จะผลิตอินซูลินที่เยอะขึ้นเพื่อการเผาผลาญน้ำตาล ทำให้เราเสี่ยงที่จะดื้อต่ออินซูลิน และร่างกายก็จะสะสมไขมันเยอะจนเกิดภาวะลงพุง และโรคอ้วนได้

ผู้ที่เสี่ยงต่อการกินแบบ IF

✗ ผู้ป่วยจากโรคบางชนิดที่ได้รับการประเมินจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าไม่ควรกินแบบ IF เช่น โรคความดันโลหิตต่ำ ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
✗ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร
✗ ผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าค่ามาตรฐาน BMI
✗ เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
✗ มีความผิดปกติหรือมีความวิตกกังวลในด้านการกิน เช่น มีภาวะของโรคคลั่งผอม มีอาการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
✗ ผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาหลักการกินแบบ IF อย่างถูกต้อง หรือทำตามผู้อื่นอย่างไม่เข้าใจในวิธีการ

รูปแบบการกินแบบ IF (Intermittent Fasting)

(สิ่งสำคัญ) คุณควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเริ่มรูปแบบการกิน IF  โดยการกินแบบ IF แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. การอดอาหารเป็นระยะเป็นช่วงเวลา
2. การกินแบบจำกัดมื้อ
3. การกินแบบวันเว้นวัน

  • การกินแบบเว้นช่วงเวลาการอดอาหาร

【 IF 16/8 】 คือ การอดอาหาร 16 ชั่วโมง และกิน 8 ชั่วโมง (เป็นวิธีที่นิยม เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้น)

○  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกิน ประมาณ 10.00 น. ถึง 18.00 น. 

【 IF 14/10 】 คือ การอดอาหาร 14 ชั่วโมง และกิน 10 ชั่วโมง

○  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกิน ประมาณ 9.00 – 19.00 น

【 IF 19/5 】 คือ การอดอาหาร 19 ชั่วโมง และกิน 5 ชั่วโมง

○  Warrior Diet คือ การอดอาหาร 20 ชั่วโมง และกิน 4 ชั่วโมง

  • การกินแบบจำกัดมื้อ

【 OMAD 】 (One Meal a Day) คือ การกินอาหารมื้อเดียวต่อวันในมื้อเที่ยง หรือไม่เกินบ่าย 4 โมงเย็นจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการกินแบบวิธีนี้
【 2MAD 】 (Two Meals a Day) คือ การงดอาหารเช้า กิน 2 มื้อ ได้แก่ มื้อเที่ยง และมื้อเย็นก่อน 2 ทุ่ม

  • การกินอาหารแบบวันเว้นวัน

【 5:2 】 คือ การกิน 5 วัน และอดหาร 2 วัน
【 ADF 】 (Alternate Day Fasting) คือ การอดอาหารแบบวันเว้นวันหรือกำหนดรูปแบบเฉพาะตามที่คุณสะดวก โดยวันที่อดอาหารอาจจะอดทั้งวันหรือสามารถกินอาหารที่มีแคลอรีต่ำในปริมาณน้อยๆ ประมาณ 500-600 แคลอรีต่อ 2 วันในสัปดาห์ และต้องไม่ทำให้ร่างกายคุณขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งเป็นรูปแบบการปูทางไปสู่การกินแบบ Prolonged Fasting (รูปแบบการกินที่เว้นว่างเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 72 ชั่วโมงขึ้นไป)

  • การกินอาหารแบบวันเว้นวัน

【 PF 】 (Prolonged Fasting) คือ รูปแบบการกินที่เว้นว่างเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 72 ชั่วโมงขึ้นไป โดยเน้นการดื่มน้ำแร่หรือน้ำผสมเกลือแร่ เช่น เกลือชมพู เกลือทะเล เป็นต้น รวมถึงการดื่มชาเขียว กาแฟดำ หรือเครื่องดื่มที่ไม่ผสมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานที่จะกระตุ้นให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงาน โดยช่วงที่อดอาหารที่มากกว่า 72 ชั่วโมง สามารถกินอาหารในปริมาณที่เล็กน้อย เช่น ไขมันดี เช่น เนยแท้ กี วิปครีม น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (EVOO) น้ำมันมะพร้าวแบบ MCT  น้ำซุปกระดูกสัตว์ ที่ต้องให้ความสำคัญกับสารอิเล็คโทรไลต์หรือเกลือแร่และไม่ทำให้ร่างกายคุณขาดวิตามินที่จำเป็น จุดประสงค์การทำ PF เพื่อให้ร่างกายได้รีเซ็ทระบบทุกส่วน ให้เกิดกำจัดเซลล์เสื่อมสภาพหรือกลายพันธุ์ นำไปสู่การสร้างเซลล์ใหม่ ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ย้อนกลับระบบเผาผลาญพลังงานร่างกายเสื่อม (Metabolic Syndrome) เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ไขมันสะสมในร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงต่อร่างกายเมื่อทำคู่ออกกำลังกายรูปแบบ HIIT ปรับความอยากอาหารประเภทของหวาน Junk Food ได้ดี ซึ่งการทำ PF คุณควรให้ความสำคัญต่อแนวทางที่ถูกต้องและเข้าใจหลักการอย่างถ่องแท้ และควรอยู่ใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจประเมินสุขภาพทั้งก่อน-หลังการทำการอดอาอาหารเป็นช่วงระยะเวลานานในแนวทาง Prolonged Fasting ซึ่งหากคุณมองข้ามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างช่วงระยะเวลาการอดอาหารที่ยาวจะเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก

  • จัดการรูปแบบการกิน IF สำหรับบุคคล

⫸   ผู้ที่สามารถจัดเวลาการกินอาหารได้แน่นอนและสม่ำเสมอ อาจใช้รูปแบบ IF 16/8, 14/10, OMAD, 2MAD, ADF

⫸   ผู้ที่ไม่มีเวลาที่ไม่แน่นอน อาจใช้รูปแบบ IF 19/5, Warrior Diet

โดยรูปแบบการกิน IF นั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ ความชอบ และความสะดวกสำหรับบุคคล บางคนพบว่าการอดอาหารเป็นเวลา 16 ชั่วโมงเป็นเรื่องง่ายที่จำกัดเวลาการกินอาหารไว้เพียง 8 ชั่วโมงต่อวัน เช่น 9.00 น. ถึง 17.00 น. ในขณะที่บางคนมีช่วงเวลาที่ไม่สะดวก และการทำงานที่ไม่เป็นเวลา โดยสามารถจัดการเวลาการกินได้สามารถความเหมาะสม เพียงแค่คุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการกินแบบ IF

ระวังข้อผิดพลาดที่จะเกิดจากการกินแบบ IF

  • จัดการความหิวไม่ดี  หากปล่อยให้ร่างกายเหนื่อยล้าอ่อนเพลียจากความหิว จะทำให้ไม่สามารถควบคุมความหิวได้ แต่สามารถจัดการได้โดยการดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำมะนาวผสมเกลือธรรมชาติ ชาไม่เติมน้ำตาล กาแฟดำ ให้ความขมและความเปรี้ยวเค็มช่วยลดความหิว และการดื่มน้ำแอบเปิ้ลหมัก (Apple Cider Vinegar: ACV) ที่มีประสิทธิภาพลดความหิวได้อย่างรวดเร็ว
  • ไม่งดน้ำตาลหรือกินมื้อที่จัดเต็มไปด้วยความหวาน  หากเป็นมือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงถอนน้ำตาล จะทำให้คุณโหยอยากน้ำตาลอย่างรุนแรง และจะส่งผลต่อการควบคุมการอดอาหารเป็นช่วงเวลาไม่ได้ผล
  •  นอนดึกหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ  เนื่องจากระบบฮอร์โมนที่ซ่อมแซมร่างกาย และระบบควบคุมความอิ่มในร่างกายจะแปรรวนหากนอนดึกมากไป จะทำให้ร่างกายโหยอยากน้ำตาล อาหารหวาน ที่จะทำให้ร่างกายกลับมาสู่ภาวะการกินจุและสร้างภาวะอินซูลินพุ่งสูง (Insulin Spike) ซึ่งเวลาทองของการนอน จะอยู่ระหว่าง 22:00 – 02.00 น.ซึ่งหากคุณได้นอนหลับสนิทภายในช่วงเวลานี้จะดีต่อสุขภาพคุณในเรื่องของการซ่อมแซมของร่างกาย การปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ที่จะช่วยมอบความอ่อนเยาว์ให้คุณ
  •  ไม่ออกกำลังกายในการกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อบ้าง  เช่น การออกกำลังกายแบบใช้ Weight การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน การฝึกโยคะ แน่น่อนการอดอาหารเป็นช่วงเวลาจะทำให้มวลกล้ามเนื้อบางส่วนหดหายไป และยิ่งหากคุณกินอาหารได้น้อยด้วยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความน่ากังวลไปอีก เนื่องจากร่างกายได้ดึงเอาโปรตีนหรือกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทนอาหารเพื่อให้พลังงานที่เพียงพอ ดังนั้นหากคุณไม่ออกกำลังกายเพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อบ้าง จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณดูลีบไปและหากเกิดการกินจุก็จะทำให้เกิดภาวะโยโย่เอฟเฟกต์หรือภาวะที่น้ำหนักตัวเด้งขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างรวดเร็วและแปรปรวน จากการที่ร่างกายรีบกักเก็บน้ำตาลและไขมันในปริมาณที่มากกว่าปกติเพื่อป้องกันเมื่อเกิดการอดอาหารในครั้งต่อไป
  • กินมากเกินไป  การกินอาหารจนอิ่มมากเกินไปในระหว่างการกินแบบ IF จะทำให้คุณเกิดอาการเวียนหัว มึนงง และอาเจียนได้ หากอาเจียนอย่างรุนแรงนั่นก็จะทำให้สารอาหารที่คุณพึงจะได้รับหายไปในมื้อนั้นๆ
  • ขาดสารอาหาร  เป็นผลข้างเคียงที่มองข้ามไม่ได้หากจะปรับการกินอาหารแบบ IF เพราะการอดอาหารมากไปหรือการกินในปริมาณที่น้อยจากคำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้แนะนำ อาจทำให้คุณขาดสารอาหาร ทำให้ร่างกายสร้างระดับคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนกระตุ้นความเครียด ทำให้ร่างกายคุณเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย และหากรุนแรงอาจะเป็นลมหมดสติได้ แต่คุณสามารถป้องกันภาวะการขาดสารอาหารจากการกินแบบ IF ได้โดยการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินระดับสารอาหารที่สำคัญในร่างกายว่าอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่จะไม่ต่ำเกินไปจนร่างกายคุณทรุดโทรมจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ

ภาวะร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นแบบไม่รู้ตัวเป็นระยะเวลานานที่เสริมสร้างร่างกายให้มีการเจริญเติบโต เสริมความแข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่จะตามมาอย่างที่คุณคาดไม่ถึง เช่น ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ ภูมิแพ้ ป่วยง่ายออดๆ แอดๆ อาการเวียนหัวบ่อย อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ รู่สึกหดหู่ซึมเศร้า กระวนกระวาย นอนหลับๆ ตื่นๆ หรือนอนไม่หลับอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หากปล่อยไว้จะอาจเสี่ยงต่อโรค NCDs โรคระบบเผาผลาญอาหารเสื่อม โรคกระดูกพรุน อาการเป็นลมหมดสติบ่อย เป็นต้น เพื่อให้คุณแน่ใจและติดตามการได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอสำหรับคุณ เราขอแนะนำ “รายการตรวจประเมินสารอาหารในร่างกาย” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

รายการตรวจประเมิน
สารอาหารในร่างกาย

“ทุกวันนี้คุณได้รับสารอาหารที่จำเป็น
จากอาหารที่คุณกินเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันแล้วหรือไม่ ?”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนดูแล
เพื่อรักษาระดับสารอาหารและแร่ธาตุให้เหมาะสมกับร่างกายคุณ

✔  ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

9 ประโยชน์การกินแบบ IF (Intermittent Fasting)

⓵  สามารถช่วยลดน้ำหนักและและไขมันในช่องท้อง (ลงพุง) ได้ดีที่สุด

การอดอาหารเป็นช่วงเวลา ตราบใดที่เราไม่กินของว่างและอดให้นานอย่างน้อย 16 ชั่วโมง จะทำให้ระดับอินซูลินของเราจะลดลง และเซลล์ไขมันของเราสามารถปลดปล่อยน้ำตาลที่เก็บไว้ออกมาเพื่อใช้เป็นพลังงานได้ เราจะสามารถลดน้ำหนักได้เมื่อระดับอินซูลินของเราลดลง และนี้หลักการหลักของการกินแบบ IF เพื่อทำให้ระดับอินซูลินลดลงมากเพียงพอและนานพอที่เราจะเผาผลาญไขมันของเรา

⓶  ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังและความรุนแรงของโรคติดเชื้อ

  • โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

♾  โรคเบาหวานชนิดที่ 2
♾  โรคดันโลหิตสูง
♾  โรคหัวใจและหลอดเลือด
♾  ระดับไขมันเลว (LDL) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ที่มีระดับสูง
♾  โรคมะเร็ง
♾ โรคภูมิแพ้
♾  โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด (โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคไขมันในเลือดสูง) โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง)
♾  อื่นๆ

  • โรคทางเมตาบอลิซึม (Metabolic Syndrome)

♾  โรคอ้วน
♾  โรคอ้วนลงพุง
♾  ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes)
♾  การเกิดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ภาวะอาการก่อนที่นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
♾  ภาวะการดื้อเลปติน (กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม กินจุมากขึ้นเรื่อยๆ และต้องการอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่าคนปกติ (ยกเว้นผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา และนักเพาะกาย)

  • โรคติดเชื้อโรคติดต่อ (Infectious Diseases)

♾  ไวรัสตับอักเสบประเภทเอ (เชื้อ HAV) บี (เชื้อ HBV) ซี (เชื้อ HCV)
♾  โรคเอดส์ (เชื้อ HIV)
♾  โรคซิฟิลิส (เชื้อ Treponema Polidum)
♾  โรคโควิด-19 (เชื้อ SARS-CoV-2)
♾  วัณโรค
♾  อื่นๆ

⓷  ลดการอักเสบเรื้อรังในระดับเซลล์

การที่ได้รับสารอาหารตลอดเวลาหรือไม่เคยให้ร่างกายอดอาหารเกิน 16 ชั่วโมง ยิ่งคุณกินแป้งและน้ำตาลในทุกมื้อด้วยแล้ว จะทำให้ร่างกายลดความสามารถที่จะดึงพลังงานบริสุทธ์ของไขมันสะสมมาใช้ ร่างกายจึงใช้พลังงานจากน้ำตาลสะสมที่หมุนเวียนในร่างกายได้อย่างเดียว นั้นหมายถึงการเกิดสารอนุมูลอิสระที่จะเกิดปฎิกิริยาในด้านลบทำให้เกิดการทำลายเซลล์โปรตีนและ DNA ในร่างกายคุณ จนเกิดการอักเสบเสียหายไปเรื่อยๆ และเมื่อใดที่คุณเริ่มมีภาวะดื้ออินซูลินแล้ว จะถึงจุดหนึ่งที่ร่ายกายคุณจะเสื่อมอย่างชัดเจนและแสดงออกมารูปของปัญหาสุขภาพพื้นฐานต่างๆ เช่น การเกิดโรคเรื้อรัง (์NCDs) โรคทางเมตาบอลิซึม การเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม อาการอักเสบการต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น โรคกระเพาะอาหาร การเกิดอาการภูมิแพ้ การก่อเกิดเซลล์มะเร็งในส่วนต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนในข้อนี้เราจะเปรียบเทียบหลอดเลือดเหมือนคลองที่มีเรือบรรทุกน้ำตาล เมื่อใดที่เรือลำนี้ล่มนั้นหมายความว่าบริเวณน่านน้ำนั้นจะต้องเต็มด้วยน้ำตาลที่แปรสภาพน้ำที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำให้เป็นกรดพิษ สัตว์น้ำบริเวณนั้นจะลอยขึ้นมาตายเป็นจำนวนมาก

⓸   เพิ่มกระบวนปรับสมดุลและทำความสะอาดในทุกระบบของร่างกายได้อย่างมหัศจรรย์  เช่น

มีโอกาสเกิดกระบวนการ Autophagy หรือกระบวนการหมุนเวียนและการกลืนกินเซลล์ หากคุณจัดการรูปเวลาการกิน IF แบบ 19/5, Warrior Diet OMAD, ADF จะมีโอกาสที่ร่างกายจะเริ่มสร้างกระบวนการที่เป็นเหมือนการรีเซ็ทสุขภาพคุณให้ดีเยี่ยมกลับมาได้อีก โดยเป็นกลไกการกินตัวเองของเซลล์ที่จะกำจัดเซลล์ที่สลายตัวได้ไม่สมบูรณ์ เป็นเศษซากเซลล์ หรือเป็นเซลล์ที่อ่อนแอ มีอายุมาก กำจัดโปรตีนและออร์แกเนลล์ที่เสียหาย และเริ่มนำส่วนประกอบของเซลล์ที่กลืนกินนั้นกลับมาใช้ใหม่ อีกทั้งสามารถทำลายแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ ที่กำลังฝังตัวเพื่อก่อโรคในอนาคต

การชะลอวัย ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีความอ่อนเยาว์จากเซลล์ที่ถูกสร้างใหม่ทุกส่วนจากกระบวนการนี้ ควบคู่กับประเภทอาหารที่ถูกแนวทางแบบ IF จะช่วยลดการอักเสบเรื้อรังในระดับเซลล์ได้ โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ในระดับที่สูงขึ้น ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของสมอง ควบคุมปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อเนื้อเยื่อ และกระดูกภายในร่างกาย และการทำงานยีนเซอร์ทูอิน (Sirtuin) ที่มีมากขึ้น จะช่วยฟื้นฟูเซลล์ การซ่อมแซมในระดับดีเอ็นเอ ควบคู่กับการได้รับสารอาหารประเภทการต้านอนุมูลอิสระก็จะยิ่งทำให้คุณดูอ่อนเยาว์จากภายในสู่ภายนอกได้

⓹   กระตุ้นการทำงานของระบบสมองและประสาทให้มีประสิทธิภาพ

เกิดกระบวนการ Brain-derived Neurotrophic Factor (BDNF) เป็นการสร้างโปรตีนที่ควบคุมกระบวนการสร้างเซลล์ระบบประสาทใหม่ การจัดเรียงและส่งต่อข้อมูลของระบบประสาทให้มีความเร็วและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ความจำ และไหวพริบ ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบประสาทและสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน เป็นต้น

⓺  ช่วยป้องกันและสนับสนุนการบำบัดรักษามะเร็ง

มะเร็ง คือ ภาวะที่เซลล์ๆ หนึ่งหรือกลุ่มเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างที่ร่างกายคุณไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งที่เกิดจากกรรมพันธุ์และเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกิน การนอน การทำงาน ความเครียด และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยรอบๆ ตัวคุณ เป็นต้น การกินหรืออดอาหารเป็นช่วงเวลาแบบ IF ที่เป็นเวลามากกว่า 20 ชั่วโมงไป จนเป็นวันหรือถึงสัปดาห์ในบางคน อาจจะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง ได้โดยการชะลอการเจริญเติบโต การแพร่กระจาย และปรับตัวยึดครองร่างกายของเซลล์มะเร็ง และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายและช่วยลดผลข้างเคียงต่างๆ ของเคมีบำบัดในกรณี เช่น คีโม ในการรักษาโรคมะเร็ง

สิ่งสำคัญในข้อนี้ที่ต้องตระหนักสำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนจะกินแบบ IF เพื่อคุณประโยชน์ตามข้อนี้

⓻   ทำให้คุณสามารถควบคุมความหิวได้เป็นอย่างดี

เพราะการกินแบบ IF จะเป็นฝึกจิตใจและความเข้าใจในศาสตร์แห่งการกินและการอดอาหารที่มีมานับตั้งแต่การที่เผ่ามนุษย์ถือกำเนิดขึ้น ผ่านการวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด นอกจากการต้องเอาตัวรอดที่บรรพบุรษของมนุษย์จะสามารถวิวัฒนาการในการใช้สมองเรียนรู้และการจดจำที่เป็นดั่งอาวุธอันแหลมคมที่สามารถต่อกรกับสัตว์ร้ายร่วมยุคได้ทุกชนิดแล้ว ก็จะมีวิวัฒนาการให้เกิดความหิว และความอดอยากที่จะเป็นวิธีที่จะสามารถสนับสนุนและเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย การพักฟื้นระบบภายในร่างกาย รักษาฟื้นฟูสุขภาพจากโรคภัยหรือการอักเสบและบาดเจ็บต่างๆ เพื่อรักษาชีวิตให้อยู่ในโลกยุคโบราณให้ได้นานที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสการขยายเผ่าพันธุ์ของคุณได้อีกไม่ว่าคุณจะต้องเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายหรือสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งและขาดแคลนอาหารและใช้ชีวิตอยากยากลำบากสักแค่ไหน

ดังนั้น ถ้าคุณเกิดความเข้าใจและเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมสมองอันเป็นสุดยอดนวัตกรรมเพื่อการอยู่รอดและเป็นความมหัศจรรย์แห่งร่างกายคุณ ที่มาพร้อมกับความหิวและการอดอาหารอย่างถูกวิธีที่ศาสตร์เหล่านี้จะสามารถมอบคุณประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพคุณอย่างสูงสุด เพื่อให้เข้าใจได้อย่างดีว่าความหิวนั้นไม่ได้เกิดจากว่าจะมีหรือไม่มีอาหารอยู่ในกระเพาะหรือไม่ หรือถ้าท้องว่างแล้วถ้าคุณไม่กินจะต้องเป็นโรคกระเพาะอาหารจากกรดที่ร่างกายหลั่งมาย่อยอาหารแต่ถ้าท้องว่างมันก็จะย่อยผนังท้องคุณเองให้เป็นโรคกระเพาะรั่วไปเลยหรือเปล่านะ? (ต้นเหตุนี้มาจากการอักเสบเรื้อรังในระดับเซลล์ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้) หรือการอดอาหารจะทำให้ร่างกายไม่ขาดสารอาหารและสุขภาพเสื่อมโทรมจะทำได้จริงหรือไม่?

แต่นั่นเกิดจากสัญชาตญาต การเรียนรู้ การจดจำจากสมองคุณที่ได้ผลลัพธ์เป็นอารมณ์ความหิวหรือคล้ายกับอารมณ์ชั่ววูบนั่นเอง ที่คุณสามารถเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ทำมันที่จะได้ผลลัพธ์จากการกระทำอะไรที่จะดีกว่า ในเมื่อสิ่งที่สมองคุณได้เรียนรู้มาจากการถ่ายทอดสืบต่อกันมาไม่ว่าจากการเรียนรู้ โฆษณาชวนเชื่อ และจากพฤติกรรมการกินของคุณเอง ว่าคุณจะหิวตอนไหน หิวอย่างไร มีความสุขกับการกินอาหารประเภทใด เพื่อจะกระตุ้นให้คุณเกิดความหิว และต้องกินตรงตามเวลา เพราะสมองสั่งการเตรียมหลั่งน้ำย่อยจากการที่ได้เรียนรู้ และจดจำซ้ำๆ เพื่อกำหนดให้คุณต้องทำตามหรือกินทันที (หากคุณยังไม่รู้วิธีจัดการกับความหิวอย่างถูกวิธี คุณก็จะเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ทำตามที่สมองสั่งการ) เพื่อที่จะให้ได้รับรางวัลที่เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ที่ชื่อ “โดพามีน (Dopamine)” ที่เกิดจากความอิ่ม ความชอบและความพึงพอใจในอาหารประเภทนั้นๆ ตามช่วงเวลาเดิมๆ หรือตามความถี่มื้ออาหารปริมาณเดิมๆ สมองจึงเป็นฝ่ายกำหนดให้คุณทำแบบเดิมซ้ำๆ

เหตุนี้จึงทำให้คุณเสพติดอาหารได้อย่างไม่สามารถที่ “อดมื้อกินมื้อ” ได้ (และนอกจากสมองจะเรียนรู้และจดจำในด้านพฤติกรรมและขับดันออกมาในรูปแบบอารมณ์ต่างๆ แล้ว นี่คือตัวอย่างการเรียนรู้ของสมองกับคำว่า “อดมื้อกินมื้อ” ที่สมองคุณและคนส่วนใหญ่ได้เคยรับรู้ เรียนรู้ และสั่งสมเป็นประสบการณ์ในช่วงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมาว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อการดำรงชีวิต ซึ่งมีความหมายว่าร่างกายคุณจะอดอยากและขาดสารอาหารหรืออยู่ในแหล่งอาหารที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ที่สมองจะสร้างความเข้าใจว่าคุณจะไม่สามารถมีชีวิตรอดและขยายเผ่าพันธุ์ของคุณได้อีกต่อไป หากคุณไม่ได้รับอาหารตลอดเวลาครบ 3 มื้อหรือจะได้กินอาหารได้แบบถี่ๆ มากกว่า 3 มื้อที่จะสามารถครอบคลุมได้ภายใน 24 ชั่วโมง ให้สมองรู้สึกถึงความปลอดภัยและเกิดความพึงพอใจ เพื่อให้ชีวิตคุณไม่ดูแย่และล้มเหลวในการอยู่ในสังคมหรือเผชิญหน้ากับความเครียดหรือความอัตคัดขัดสนต่างๆ (สมองได้สร้างความกลัวและมโนภาพอย่างแย่ไว้กอ่นแก่คุณในภาวะที่ความหิวทำงานนั้นก็คือโหมดสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอดนั่นเอง) หากไม่ฝึกการกินแบบ IF และเรียนรู้ศาสตร์แห่งการอดอาหารเป็นช่วงเวลาแล้วจะทำให้การตีความด้วยเหตุและผลตามหลักการทางชีวภาพและกายภาพที่เป็นแง่ของการวิวัฒนาการของมนุษย์ แม้แต่วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์นั้น ก็จะโดนสมองคุณปิดกั้นไปจากความรู้ที่เชื่อมโยงและสืบทอดจากโฆษณาชวนเชื่อเรื่องการบริโภคอาหารจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่ยุคทุนนิยม

⓼  มอบประสิทธิภาพการนอนที่ดี

เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากสมองโดยธรรมชาติ เพื่อช่วยควบคุมการนอนและเป็นเหมือนนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ของร่างกาย ทำหน้าที่กระตุ้นร่างกายรู้สึกง่วงและทำให้หลับสนิท เมื่อร่างกายคุณอดอาหารเป็นช่วงเวลา จะทำให้ระบบสมองและประสาททำงานได้มีความสมดุลและมีประสิทธิภาพ โดยปกติฮอร์โมนเมลาโทนินจะหลั่งออกมาในช่วงเวลาประมาณ 21.00-22.00 น. และจะคงอยู่ในกระแสเลือดเป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ก่อนที่จะค่อยๆ ลดลงและเจือจางไปพร้อมๆการเจอแสงแดดในยามเช้าวันใหม่

⓽  มีความรู้สึกสดชื่นแจ่มใส มีสมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ พลังบวก เข้าใจและใช้ชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ

มีความเชื่อมโยงจากประสิทธิภาพร่างกายของคุณที่แข็งแรงจากการกินแบบ IF และการกินอีกหลากรูปแบบที่จะส่งเสริมสุขภาพคุณให้ดียิ่งกว่า เช่น การกินแบบ Ketogenic Diet (คีโต) แบบ Low-carb Diet และแบบ Prolonged Fasting เป็นต้น จะช่วยเลี่ยงการเกิดอาการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายที่จะลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังได้ นั่นทำให้ในทุกๆ วันหลังจากตื่นนอนคุณจะรับรู้ถึงความสดชื่นพร้อมความไหลลื่นของความคิดอย่างมีเหตุมีผลจากการประมวลในระบบสมองและประสาทของคุณ ทำให้คุณมีสมาธิในทุกการใช้ชีวิต หากเป็นการกิน คุณก็จะมีรสสัมผัสที่ดีอิ่มเอมกับรสชาติที่เป็นธรรมชาติไร้การปรุงแต่งและแปรรูป พร้อมรับพลังงานบริสุทธิ์ที่ร่างกายต้องการอย่างไขมันดีได้อย่างเต็มที่ พร้อมที่จะใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพนี้สร้างผลงานที่จะส่งเสริมการทำงานของคุณอย่างมีประสิทธิภาพมีสมาธิจดจ่ออย่างตั้งใจ สร้างแนวทางการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเหตุมีผล มีไหวพริบ และความคิดที่สร้างสรรค์ของคุณ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในอาชีพของคุณ และการมองโลกในแง่ดี เมื่อคุณรู้ว่าคุณสามารถใช้ชีวิตให้กลมกลืมกับธรรมชาติของวิวัฒนาการมนุษย์ได้มากที่สุดจะส่งเสริมให้คุณอายุยืนอย่างแข็งแรงที่จะส่งต่ออนาคตและความสำเร็จไปยังคนที่คุณรักและห่วงใยได้ ไปจนถึงวงศ์ตระกูลรุ่นหลังของคุณ อีกทั้งคุณยังสามารถลดการพึ่งพาทางการแพทย์ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของคุณ ในทางกลับกันเมื่อระบบร่างกายของคุณเสื่อมโทรมจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณ ที่คุณไม่สามารถเลี่ยงการกินน้ำตาล อาหารแปรรูป และการอดอาหารในแต่ละมื้อได้ และหากคุณยิ่งเสพติดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มมึนเมาเป็นประจำร่วมด้วย คุณก็ไม่สามารถเลี่ยงที่จะได้รับยาถุงหลากหลายชนิดจากแพทย์ในช่วงท้ายชีวิตของคุณไปได้

Let food be thy medicine and medicine be thy food
“จงให้อาหารเป็นยารักษา หรือท่านปรารถนาให้ยารักษาเป็นอาหารแด่ท่าน”

นี่คือประโยคที่ถูกจารึกไว้เมื่อประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว มาจนถึงปัจจุบันที่ยังคงสะท้อนความเป็นจริงด้านสุขภาพของมนุษย์ในทุกยุคสมัยได้เป็นอย่างดี จาก ”ฮิปโปเครติส” (Hippocrates ประมาณ 460-370 ก่อนคริตศักราช) บิดาทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ กล่าวไว้สำหรับมอบแนวทางการดูแลรักษาสุขภาพอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมา และเป็นพื้นฐานการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพที่ดีไปตลอดแก่เหล่าผู้ติดตามและศิษยานุศิษย์

The best of all medicines is resting and fasting
“การแพทย์ที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อนและการรู้จักอดอาหาร”

จากประสบการณ์สุดท้ายในชีวิตและด้านสุขภาพของ “เบนจามิน แฟรงคลิน” (Benjamin Franklin ค.ศ. 1706-1790) ผู้เป็นรัฐบุรุษตลอดกาลแห่งยุคประกาศเอกราชและการเริ่มต้นอันรุ่งโรจน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมา เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งประเทศสหรัฐฯ คนที่ 6 และยังเป็นพหูสูตรในสาขาวิชาหลายแขนง ได้แก่ นักเขียน นักปรัชญา นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักปฏิรูป นักการทูต ช่างพิมพ์ และช่างเรียงพิมพ์ เขาได้รับรู้ถึงความมหัศจรรย์ของศาสตร์การอดอาหารและหลักการใช้ชีวิตที่ควรมีความสมดุล (คล้ายกับประสบการณ์ที่สตีฟ จ๊อบส์* ได้ค้นพบในช่วงท้ายของชีวิต) แต่นั่นก็สายเกินไปสำหรับชีวิตของแฟรงคลินที่จะสามารถใช้หลักการดังกล่าวมายับยั่งและบำบัดรักษาโรคเรื้อรัง (NCDs) ได้อย่างทันท่วงที (โรคเรื้อรัง (NCDs) เป็นกลุ่มโรคที่คนในสมัยนั้นยังไม่รู้จักมันดีพอและแฟรงคลินได้เป็นโรคอ้วน และโรคเก๊าท์ในระยะสุดท้าย) และในช่วงเวลาสุดท้ายนี้เองที่เขาได้ส่งต่อประสบการณ์สุดล้ำค่าด้านการดูแลสุขภาพแก่คนรุ่นหลังให้ได้ศึกษาข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

* (Steve Jobs ค.ศ.1955 – 2011) นักประดิษฐ์และนักพัฒนาเทคโนโลยีชาวอเมริกัน และอดีตประธานฝ่ายบริหารบริษัทแอปเปิล (Apple Inc.)

สรุป

การอดอาหารเป็นช่วงเวลาหรือการกินแบบ IF จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณให้ดีในระยะยาวก็จริง แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องตระหนักคือ คุณควรต้องรับคำแนะนำหรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณก่อนจะเลือกการกินแบบ IF และคุณต้องไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการกินแบบ IF เพื่อที่คุณจะรับคุณประโยชน์มากกว่าจะได้รับผลข้างเคียงจนสุขภาพคุณจะแย่แทน คุณควรเรียนรู้และทำความเข้าใจศาสตร์แห่งการกินเพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายให้ได้มากที่สุดและหมั่นอัพเดตความรู้ด้านสุขภาพใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ทางด้านการดูแลสุขภาพของคุณ และคุณไม่ควรเคร่งกับการอดอาหารและจำกัดประเภทอาหารมากเกินไป ให้มีทางเลือกสำหรับคุณอย่างยืดหยุ่นได้บ้าง สามารถเลือกรูปแบบการกินหรืออดอาหารเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสมและตามกาลเทศะในแต่ละช่วงเวลาการใช้ชีวิตของคุณ

หากคุณหิวหรืออยากกินอาหารระหว่างการอดหารเป็นช่วงเวลา รวมถึงอาการอยากน้ำตาล อาหารหวาน ธัญพืชหรือแป้งขัดขาว และอาหารแปรรูปต่างๆ ก็จะมีวิธีและเคล็ดลับที่จะช่วยทำให้คุณไม่อยากกินหรือคิดถึงพวกมัน รวมถึงหากอยากกินจริงๆ จะมีวิธีการจัดการกับอาหารเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการทำลายสุขภาพคุณจากอาหารเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด หากคุณมีความสนใจวิธีการและเคล็ดลับดังกล่าวเป็นพิเศษ เราจะยกไปไว้ให้ในเนื้อหาสาระสุขภาพในตอนหน้า (สำหรับเนื้อหาสาระเพื่อสุขภาพตอนนี้จะขอกล่าวถึงการกินแบบ IF หรือการอดอาหารเป็นช่วงเวลาการฝึกตามหลักการเบื้องต้นเท่านั้น)

ที่สุดแห่งความโชคดีในชีวิต คือ การที่คุณมี “สุขภาพดีทุกช่วงวัย” ที่คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และมีความสุข เพราะสุขภาพคือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในโลก และความโชคดีนี้คุณสามารถกำหนดได้ด้วยตัวคุณเองด้วยการดูแลสุขภาพ เราขอแนะนำคุณ ตรวจสุขภาพพื้นฐาน” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ 

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ตรวจสุขภาพพื้นฐาน

“เริ่มสร้างสุขภาพดีตามช่วงวัย”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก

✔  เพื่อลดเสี่ยงหรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก

✔  การตรวจเลือดช่วยเตือนคุณได้

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • Grant Tinsley, Ph.D., CSCS,*D, CISSN. Medical News Today. (2022). How to begin intermittent fasting”. Retrieved August 1, 2022, from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/324882#side-effects
  • Harvard Health Publishing (HHP), Harvard Medical School. (2021). Intermittent fasting: The positive news continues”. Retrieved August 1, 2022, from: https://www.health.harvard.edu/blog/intermittent-fasting-surprising-update-2018062914156
  • John Hopkins Medicime, The Johns Hopkins University, The Johns Hopkins Hospital. (2022). “Intermittent Fasting: What is it, and how does it work?”. Retrieved August 1, 2022, from: https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/intermittent-fasting-what-is-it-and-how-does-it-work#:~:text=Studies%20discovered%20that%20intermittent%20fasting,as%20other%20heart%2Drelated%20measurements
  • Rafael de Cabo, Ph.D., and Mark P. Mattson, Ph.D. (2019).  “Effects of Intermittent Fasting on Health, Aging, and Disease”. Retrieved August 1, 2022, from: https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1905136

แสดงความคิดเห็น

Close Menu