Skip to main content

ระดับออกซิเจนในเลือดไม่สมดุล
อันตรายใกล้ตัว ที่ทุกคนควรรู้

โดย 17/07/2023มีนาคม 19th, 2024บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • ผู้ที่มีสุขภาพดีพร้อมกับปอดที่แข็งแรงเมื่อวัดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ควรจะมีระดับออกซิเจนในเลือด 80-100 มม.ปรอท หรือ 95-100% ไม่ควรต่ำหรือสูงมากไปกว่านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็จะบ่งบอกถึงสัญญาณผิดปกติของระดับออกซิเจนในเลือดที่ไม่สมดุล
  • ระดับออกซิเจนในเลือดมีความเป็นปกติ (Normal ABG oxygen level) ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 96-99%เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อร่างกาย เป็นค่าวัดสำหรับผู้ที่มีสุขภาพและปอดที่แข็งแรงจะอยู่ระหว่าง 80 ถึง 100 มิลลิเมตรปรอท หากวัดระดับออกซิเจนในเลือด (SpO2) ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 95-100%
  • ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxemia) คือ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยกว่าปกติ คือการมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% โดยหากระดับออกซิเจนในร่างกายมีค่าต่ำกว่าระหว่าง 90% มีแนวโน้มที่อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน โรคที่เกี่ยวกับปอดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ
  • ระดับออกซิเจนสูง (Hyperoxia) คือ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่าปกติ คือมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่สูงว่า 100 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดสูงกว่า 99% มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะออกซิเจนเป็นพิษ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณมากหรือการรับออกซิเจนบริสุทธิ์เป็นเวลานานต่อเนื่อง

ระดับออกซิเจนในร่างกายคืออะไร ?

ผู้ที่มีสุขภาพดีพร้อมกับปอดที่แข็งแรงเมื่อวัดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ควรจะมีระดับออกซิเจนในเลือด 80-100 มม.ปรอท หรือ 95-100% ไม่ควรต่ำหรือสูงมากไปกว่านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็จะบ่งบอกถึงสัญญาณผิดปกติของระดับออกซิเจนในเลือดที่ไม่สมดุล ระดับออกซิเจนในเลือดเป็นการวัดระดับฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนซึ่งจะช่วยบอกว่าเม็ดเลือดแดงขนส่งออกซิเจนไปให้ร่างกายเพียงพอหรือไม่ ร่างกายของคุณจะควบคุมระดับออกซิเจนและรักษาความสมดุลของเลือดให้พร้อมไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงระบบอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย เมื่อใดที่คุณมีอาการผิดปกติหรือปัญหาของสุขภาพ เช่น อาการหายใจถี่หรือเจ็บหน้าอก เวียนหัวเรื้อรัง เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย อย่างไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงผู้ที่มีภาวะสุขภาพเรื้อรังอื่นๆ อาจจะต้องติดตามระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยการตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ ซึ่งสามารถช่วยคัดกรองโรครุนแรง เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ได้ก่อนโรคเหล่านี้จะกำเริบรุนแรง พร้อมกับการติดตามหลังการรักษาได้เช่นกัน

ระดับออกซิเจนเท่าไหร่ในร่างกายที่สมดุลที่คุณควรมี ?

การวัดค่าออกซิเจนในเลือดเรียกว่าระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน ในทางการแพทย์ อาจเรียกว่า ค่าความดันแก๊สออกซิเจนในเลือด (PaO2) และ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด O2 sat (SpO2) โดยมีหลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้เข้าใจว่าผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการตรวจประเมินสุขภาพคืออะไร
  • ระดับออกซิเจนในเลือดมีความเป็นปกติ (Normal ABG oxygen level)

    ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 96-99% เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อร่างกาย เป็นค่าวัดสำหรับผู้ที่มีสุขภาพและปอดที่แข็งแรงจะอยู่ระหว่าง 80 ถึง 100 มิลลิเมตรปรอท หากวัดระดับออกซิเจนในเลือด (SpO2) ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 95-100% และหากเกิดสัญญาณของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคปอดอื่น ๆ อาจจะต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญสุขภาพ เพราะหากวัดได้ค่าระหว่าง 88-92% หรือยิ่งต่ำลงเท่าใดก็มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน โรคปอดหรือโรคระบบทางเดินหายใจที่จะรุนแรงขึ้นตามลำดับเปอร์เซ็นต์ที่ลดต่ำลง

  • ผลดีต่อร่างกาย

⟴  สมองทำงานดี สดชื่นกระฉับกระเฉง การคิดวิเคราะห์และความจำดี การเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว

⟴   ผิวพรรณดี

⟴   ร่างกายแข็งแรงในทุกระบบ เช่น ระบบเผาผลาญพลังงานมีประสิทธิภาพ เซลล์ต่างๆ ซ่อมแซมตัวเอง เอนไซม์ต่างๆ ทำหน้าที่ได้อย่างไม่บกพร่อง

⟴   เพิ่มระดับพลังงาน ปรับความสมดุลทางอารมณ์ และสมาธิ

⟴   ลดความตึงเครียด ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและไมเกรน ส่งเสริมการนอนหลับที่ดีขึ้น

ระวังและสังเกต !! ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ขาดความสมดุล

  • ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxemia)

    คือ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยกว่าปกติ คือการมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% โดยหากระดับออกซิเจนในร่างกายมีค่าต่ำกว่าระหว่าง 90% มีแนวโน้มที่อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน โรคที่เกี่ยวกับปอดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ

  • สาเหตุ

❆  อยู่ในพื้นที่ที่ออกซิเจนในอากาศมีไม่เพียงพอ

❆  การทำงานของระบบปอดและทางเดินหายใจเสื่อมลง

❆  ผลข้างเคียงจากโรคเครียดเรื้อรัง เมื่อคุณมีภาวะเครียดสะสม จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตที่จะสูบฉีดเลือดได้ไม่มีประสิทธิภาพ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างพอเพียง ซึ่งจะส่งผลเคียงหรือก่อโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรน โรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า เป็นต้น

❆   การทำงานของระบบไหลเวียนเลือดไปยังปอด ประสิทธิภาพการสร้างเม็ดเลือด หรือความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดที่อาจจะเกิดความผิดปกติในการจับออกซิเจนเพื่อขนส่งไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย

❆   การเกิดโรคที่เกี่ยวกับปอดหรือโรคระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง

ความเสี่ยงและอาการของระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ

  • ระดับการสังเกต

⫸  มีอาการมึนงง ไม่มีสมาธิ

⫸  มีอาการหายใจถี่เมื่อพักผ่อน เช่น นั่งหรือนอน 

⫸  หายใจถี่อย่างรุนแรงระหว่างการออกกําลังกาย

⫸  ตื่นขึ้นมาอย่างกะทันหันด้วยการหายใจถี่หรือเกิดความรู้สึกสําลักของเหลว มีอาการไอหัวใจเต้นเร็วหรือช้ามาก หรือใจสั่น

  • ระดับขั้นรุนแรง

⊝  มีอาการเกิดรอยคล้ำหรือแดงตามร่างกาย เช่น เล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปาก ผิวหนังส่วนต่างๆ เป็นต้น

⊝  เกิดอาการหายใจถี่อย่างรุนแรงและฉับพลัน

⊝  เป็นลมหรือหมดสติ

แนวทางการป้องกันความเสี่ยง

  • ตรวจโรคและการติดตามอาการ จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ โดยกลุ่มอาการของโรคที่อาจจะเสี่ยง ได้แก่

⟴  กลุ่มโรคปอด เช่น โรคโควิด-19 ภาวะ Long COVID (อาการหลังป่วยโควิด) มะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคผังพืดที่ปอด ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม การอุดตันของหลอดเลือดแดงในปอด ปอดอักเสบจากติดเชื้อ มีภาวะน้ำท่วมปอด เป็นต้น

⟴  กลุ่มโรคระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคโลหิตจาง โรคความดันสูง

⟴  กลุ่มโรคหัวใจ รวมถึงโรคหัวใจพิการแต่กําเนิด

⟴  กลุ่มอาการหายใจลําบากเฉียบพลัน (ARDS)

⟴  กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจทำงานผิดปกติ โรคหอบหืด 

⟴  ภาวะภูมิแพ้อาหารฉับพลัน

⟴  ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

⟴  ยารักษาโรคบางชนิด

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่เสี่ยง

⟴  นำพาตนเองออกจากพื้นที่ที่ออกซิเจนในอากาศไม่เพียงพอ ที่เริ่มทำให้รู้สึกอึดอัด มึนงง และต้องหายใจถี่ เช่น พื้นที่ที่มีความรุนแรงของการปนเปื้อนฝุ่น PM 2.5 รวมถึงมลพิษทางอากาศต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ หากจำเป็นต้องผ่านหรือเข้าพื้นที่ดังกล่าวจำเป็นต้องป้องกันตนเองอย่างมิดชิด

⟴  ทำความรู้จักข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและสารพิษที่อาจจะเสี่ยงต่อการสัมผัสสารหรือสูดดมหรือเป็นสารต้องห้ามตามประกาศจากกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น สารไซยาไนด์ เมทานอล น้ำมันก๊าด ยาเบื่อหนู เป็นต้น ที่อาจจะเจอกับการปนเปื้อนของสารดังกล่าวทั้งในอาหาร น้ำดื่ม และทางอากาศ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ และไม่ควรมีไว้ครอบครองสำหรับบุคคล เสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย

  • ระดับออกซิเจนสูงเกินไป (Hyperoxia)

    คือ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่าปกติ คือมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่สูงว่า 100 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดสูงกว่า 99% มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะออกซิเจนเป็นพิษ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณมากหรือการรับออกซิเจนบริสุทธิ์เป็นเวลานานต่อเนื่อง

  • สาเหตุ

❆  การได้รับออกซิเจนเสริม หรือการรักษาโรคโดยออกซิเจนบำบัด ที่อาจจะทำให้มากเกิน จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย​ได้ โดยจะก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระ (สารพิษระดับเซลล์) ที่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรใช้ออกซิเจนเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และไม่ให้มากจนเกินความจำเป็น

ความเสี่ยงและอาการของระดับออกซิเจนในเลือดสูง

  • ระดับการสังเกต

⫸  เกิดการอักเสบของหลอดลมและปอด ที่จะมีผลรุนแรงต่อชีวิตได้

แนวทางการดูแลรักษาระดับออกซิเจนในร่างกายให้สมดุลเพื่อสุขภาพ

  • งดการสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
  • กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืดหรือเป็นโรคปอด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เพราะน้ำมีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบหลัก จึงช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกายได้อย่างทันที
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัย การปนเปื้อนสารพิษในอาหาร เครื่องดื่ม อากาศ ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
  • เลือกบริโภคอาหารที่ช่วยสนับสนุนในเรื่องของการขนส่งออกซิเจนในร่างกาย คือ เหล็ก วิตามินบี 12 วิตามินซี CoQ10 ไนอาซิน แมกนีเซียม โดยแหล่งอาหารควรเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ เช่น ผักสีเขียว บรอกโคลี พืชตระกูลถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และผลไม้ เช่น สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ และกีวี
  • ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ

แนวทางการตรวจสุขภาพเพื่อความสมดุลของระดับออกซิเจนในร่างกาย

  • ความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count: CBC)

⟴   ตรวจวัดระดับฮีโมโกลบินในเลือด

⟴  ตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดแดง ( Total RBC: Total Red Blood Cell Count)

⟴   ตรวจวัดระดับความเข้มข้นเลือด (PCV: Packed Cell Volume)

⟴  ตรวจวัดขนาดเม็ดเลือดแดง (MCV: Mean Corpuscular Volume)

⟴  ตรวจความซีดจางเม็ดเลือดแดง (MCHC: Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration)bulll

  • ธาลัสซีเมีย (Thalassemia Screening)

⟴   ตรวจประเมินเพื่อดูโรคโลหิตจางทางพันธุกรรม ชนิดเบต้าธาลัสซีเมีย (Beta-Thalassemia) และชนิดแอลฟ่าธาลัสซีเมีย (Alpha-Thalassemia) ที่อาจเป็นโรคโลหิตจางแฝงทางพันธุกรรมที่คุณไม่เคยรู้ เพื่อวางแผนการดูแลและการรักษาต่อไป

  • ระดับโลหะหนักปนเปื้อนในร่างกาย (Levels of Heavy Metals Test)

⟴  หากร่างกายของคุณเกิดการสะสมโลหะหนักไม่ว่าจะมาจากอาหารเครื่องดื่ม การสูดดม หรือสัมผัส ที่จะทำให้คุณได้รับโลหะหนักในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพ จนทำให้การทำงานของระบบส่วนต่างๆ ในร่างกายผิดปกติ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิตในการจับออกซิเจน การดูดซึมสารอาหาร และภาพรวมของสุขภาพแย่ลงจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต

  • ระดับสารอาหารที่จำเป็นในร่างกาย (ระดับวิตามินและแร่ธาตุ) ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการสร้างความแข็งแรงของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่จะสามารถการรักษาความสมดุลของออกซิเจนในร่างกาย ได้แก่

⟴  ธาตุเหล็ก

⟴  ทองแดง

⟴  วิตามิน A (VIT A: Vitamin A)

⟴  วิตามินบี 9 (VIT B9: Folic Acid)

⟴  วิตามินบี 12 (VIT B12: Vitamin B12 Test)

⟴  วิตามินซี (VIT C: Vitamin C Test)

⟴  เกลือแร่ในเลือด (Electrolyte Test) (โซเดียม โปแตสเซียม คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต) (Na,K,Cl,CO2)

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ

✧  ประเมินอนาคตสุขภาพคุณจากความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/forcasting-your-health-by-your-complete-blood-count-cbc/

✧ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/

✧  Burnout VS ต่อมหมวกไตล้า
2 ความเครียดที่ทั้งสร้างและทำลายสุขภาพคุณ

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/burnout-adrenal-fatigue-chronic-stress/

✧ 5 อันดับโรคร้าย NCDs !!
ที่คนไทยเสี่ยงเป็นสูง ตรวจก่อนป้องกันได้

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/global-top-5-most-dangerous-ncds-diseases/

สรุป

ระดับออกซิเจนในเลือดเป็นอีกตัวชี้วัดการมีสุขภาพที่ควรให้ความสำคัญ เพราะออกซิเจนคือพื้นฐานของการการมีชีวิตและสุขภาพดี จึงเป็นเรื่องดีหากได้รู้ถึงการดูแลรักษาระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับปกติ รวมถึงการรับรู้ถึงอาการที่แสดงออกจากภาวะออกซิเจนที่ขาดความสมดุล และหากเกิดสถานการณ์ที่เป็นสัญญาณดังกล่าว ควรเข้ารับการประเมินจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างทันท่วงที เพื่อค้นหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ตรงกับอาการ เพื่อให้การรักษาโรคเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด

การได้รับออกซิเจนหรือการบำบัดโรคโดยออกซิเจนบำบัด ควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท่านั้น

รู้ทัน สังเกต และป้องกัน “ยิ่งรู้เร็ว ป้องกันได้” ดูแลรักษาระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับปกติอีกตัวชี้วัดการมีสุขภาพที่ควรให้ความสำคัญ เพราะออกซิเจนคือพื้นฐานของการการมีชีวิตและสุขภาพดี เราขอแนะนำ “รายการตรวจสุขภาพพื้นฐาน” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ตรวจสุขภาพระดับความสมดุลออกซิเจนในเลือด

“เริ่มสร้างพื้นฐานสุขภาพดีจากความสมดุลของออกซิเจนในเลือดคุณ”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก

✔  เพื่อลดเสี่ยงหรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก

✔  การตรวจเลือดช่วยเตือนคุณได้

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • กรมกิจการผู้สูงอายุ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). “สาระน่ารู้…กับกรมกิจการผู้สูงอายุ วันนี้ขอนำเสนอ เรื่อง ค่าออกซิเจนในเลือด กับ covid-19 เกี่ยวข้องกันอย่างไร สำคัญแค่ไหน?”. สืบค้นเมื่อวันที่ 5  พ.ค. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.dop.go.th/th/gallery/1/4217
  • กรมโรงงานอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม. (2565). “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๕
    . สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.diw.go.th/webdiw/wp-content/uploads/2022/12/hazv7-211265.pdf
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). “ปอดอักเสบจากโควิด-19 การรักษาระดับ ‘ออกซิเจนในเลือด’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ!”. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2566. จากเว็บไซต์: https://tu.ac.th/thammasat-030864-med-expert-talk-spo2-covid19
  • Cleveland Clinic. (2022). “Blood Oxygen Level. Retrieved May 5, 2023, from: https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/22447-blood-oxygen-level
  • Healthline Media. (2023). “Is My Blood Oxygen Level Normal?. Retrieved May 5, 2023, from: https://www.healthline.com/health/normal-blood-oxygen-level#symptoms

แสดงความคิดเห็น

Close Menu