Skip to main content

“ดูแลและป้องกัน 5 สิ่งนี้”
ก่อนเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance)

Table of contents

เรื่องน่ารู้:

  • โรคภูมิแพ้อาหาร จำแนกได้ 2 ประเภท คือ

❈ ภูมิแพ้อาหารเฉียบพลัน (Food Allergy) เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่ออาหารที่เฉพาะเจาะจง และอาจจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงอย่างทันทีที่จะสามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ และคุณจำเป็นต้องระมัดระวังอาหารที่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรงนี้ และควรได้รับการประเมินสาเหตุการแพ้อย่างเข้มงวดจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ขณะที่

การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) จะเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและลำไส้มากกว่าระบบภูมิคุ้มกัน จะไม่แสดงอาการในทันทีและไม่มีความรุนแรง การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝงจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแพ้แลคโตส การแพ้กลูเตน การแพ้น้ำตาล เป็นต้น

  • ดูแลและป้องกัน 5 สิ่งนี้ ก่อนเกิดภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง ได้แก่

 ดูแลสุขภาพระบบลำไส้  โดยการหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น อาหารประเภท Fast Food หรือ Junk Food ร่วมกับการให้ระบบย่อยอาหารและสำไส้ได้หยุดพักเป็นระยะหรือการฝึกกินแบบ Intermittent Fasting หรือ Prolonged Fasting

การปรับสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี  ภายในระบบย่อยอาหารและลำไส้ เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ “ลำไส้” ถ้าคุณมีสุขภาพลำไส้ที่ดีเท่ากับว่า คุณมีชีวิตที่ดีไปกว่าครึ่งที่จะไม่ต้องเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รวมถึงภูมิแพ้อาหารด้วย เริ่มการสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญนี้ได้จากการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยเส้นใยจากผัก ผลไม้ และวัตถุดิบอาหารธรรมชาติปรุงเอง ช่น พืชใบเขียว ธัญพืชหรือถั่วเปลือกแข็ง (ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ GMO) กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเป็นอาหารให้เหล่าพันธมิตรเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้คุณ จะช่วยฟื้นฟูอาการแพ้อาหารผ่านกลไกอันซับซ้อน

การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance)  จะเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและลำไส้มากกว่าระบบภูมิคุ้มกัน จะไม่แสดงอาการในทันทีและไม่มีความรุนแรง การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝงจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแพ้แลคโตส การแพ้กลูเตน การแพ้น้ำตาล เป็นต้น

ระวังสารพิษสารโลหะหนักหรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อน  ที่มากับอาหารรวมถึงความเสี่ยงต่อการอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เกิดมลพิษหรือมีสารเคมีปนเปื้อน หากเลี่ยงไม่ได้คุณต้องป้องกันตนเองให้ดีที่สุดที่ลดการสัมผัส สูดดม หรือการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน

ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง  ร่วมกับการตรวจประเมินสุขภาพประจำปี เพื่อประเมินหาสาเหตุอาการและแนวทางการป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพและวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้

  • การฟื้นฟูเยื่อบุลำไส้โดยวิธีการธรรมชาติ คือ “การให้ระบบย่อยอาหารและสำไส้ได้หยุดพัก” หยุดการกินและย่อยอาหารในระยะเวลาหนึ่ง ทำได้ด้วยการฝึกกินและอดอาหารเป็นระยะ (Intermitent fasting “IF”) และการทำ (Prolonged fasting “PF”) ซึ่งการฝึกกินแบบ IF และ PF ได้อย่างปลอดภัยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ระหว่างนั้นควรกินอาหารทีเป็นธรรมชาติและมีโภชนาการที่ดี เช่น กินผักใบเขียวเพื่อรับใยอาหารประมาณ 25-38 กรัม ทุกๆ วัน งดอาหารประเภท Fast Food/Junk Food อาหารรสหวาน อาหารทอดผัดผ่านความร้อนสูง หรืออาหารที่ผ่านการกระบวนการแปรรูปหรือใช้สารเคมีปรุงแต่งอาหารหรือที่ผสมวัตถุกันเสีย กินอาหารที่เสริมสร้างโปรไบโอติกเพื่อให้แบคทีเรียในลําไส้มีสุขภาพดี ออกกําลังกายเป็นประจําเพื่อให้ระบบทางเดินอาหารแข็งแรง เลิกสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง 

 ผู้ที่มีเป็นโรคภูมิแพ้หรืออาการผิดปกติเรื้อรังต่างๆ หลังมื้ออาหาร

⟴ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่มีลำไส้รั่วซึมเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ (Leaky Gut Syndrome)

⟴ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (SLE)

⟴ ผู้ที่มีปัญหาโรคเรื้อรังที่มีลำไส้รั่วซึมเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ (Leaky Gut Syndrome)

⟴ ผู้ที่มีความเครียดสะสม

⟴ ผู้ที่ปัญหาด้านผิวพรรณ เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผื่นคัน ผิวบวมน้ำ กลากเกลื้อน ผิวคล้ำ เป็นต้น

⟴  ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักโดยการเลือกกินอาหารประเภทต่างๆ

⟴  ผู้ที่ทำงานอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษหรือสารเคมีปนเปื้อน

คุณเคยสังเกตไหมว่า “ทำไมอาหารที่เคยชอบตอนเด็กหรือช่วงวัยรุ่นถึงกินได้แบบไม่อั้น แต่ปัจจุบันทำไมถึงมีอาการแพ้ต่ออาหารที่ชอบนี้?” ในสาระความรู้เพื่อสุขภาพนี้จะแนะนำแนวทางที่คุณต้องการที่ป้องกันหรือฟื้นฟูภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณรู้ว่า “ควรจะป้องกันหรือจัดการอาการภูมิแพ้อาหารแฝงในเบื้องต้นเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมอย่างไร?”

ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) แตกต่างจากภูมิแพ้อาหารเฉียบพลัน (Food Allergy) อย่างไร?

โรคภูมิแพ้อาหาร จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
  • ภูมิแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน (Food Allergy)

เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่ออาหารที่เฉพาะเจาะจง จะเกิดขึ้นหลังจากกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไปสักระยะจนถึงภายใน 1 ชั่วโมง ที่ส่งผลต่ออาการแพ้ที่แสดงให้เห็นค่อนข้างรุนแรงจนถึงเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การแพ้อาหารทะเล ที่จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงตามมาอย่างทันที เช่น ระคายเคืองช่องปาก ลำคอ แสบจมูก ตาอักเสบแดง ปาก มือ เท้ามีอาการบวมน้ำ เกิดลมพิษพุพองหรือผื่นคันตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และไปจนถึงอาการช็อก หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ภูมิแพ้อาหารประเภทนี้คุณจำเป็นต้องระมัดระวังอาหารที่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง และควรได้รับการประเมินสาเหตุหรือได้รับการรักษาอาการแพ้อย่างเร่งด่วนจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

  • ภูมิแพ้อาหารแบบแบบแฝง (Food Intolerance) 

จะเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและลำไส้มากกว่าระบบภูมิคุ้มกัน และจะไม่แสดงอาการในทันทีและไม่มีความรุนแรง แต่จะค่อยๆ แสดงอาการหรือเป็นอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ อาการดังต่อไปนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น

ระบบผิวหนัง สิวอักเสบเรื้อรัง ผิวแห้ง ปากแตก ติดเชื้อราเป็นๆ หายๆ เช่น กลาก เกลื้อน มีผื่นคัน หรือโรคสะเก็ดเงิน ลมพิษ ผิวมีรอยจ้ำ บวมน้ำ

ระบบทางเดินหายใจ  เช่น ไอ จาม คัดจมูก แสบจมูก น้ำมูกไหล ไซนัสอักเสบ หอบหืด

ระบบทางเดินอาหาร  เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องร่วง จุกเสียดท้อง ลำไส้แปรปรวน ลำไส้ระคายเคือง (IBS) ลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease)

ระบบกระดูกและข้อต่อ ปวดข้อ เข่าหรือบริเวณข้อต่ออักเสบ มีอาการปวดร้าวเรื้อรัง

ระบบประสาทและสมอง ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดไมเกรน โรคซึมเศร้า เบลอ สมาธิสั้น เหน็บชาปลายมือ ขา หลังมื้ออาหาร นอนไม่หลับ

อาการอื่นๆ เช่น ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดผันผวน ปวดเมื่อยตัว ตะคริว ตาแดง ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง เรอเปรี้ยว ผายลมมีกลิ่นคล้ายไข่เน่า เหงื่อออกอย่างต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น

โดยภูมิแพ้อาหารแบบแบบแฝงอาจจะยังคงภาวะอาการเรื้อรังและไม่รุนแรง แต่ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลรักษา ปล่อยไว้ในระยะยาวก็ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ที่จะทำให้คุณมีสุขภาพที่มีลักษณะที่เจ็บป่วยบ่อย สุขภาพดูไม่แข็งแรงและไม่สดชื่นเท่าที่ควรจะเป็น ในที่นี้เราขอแนะนำการตรวจเกี่ยวกับภูมิแพ้อาหารแบบแฝงที่คุณสามารถป้องกันและรักษาอาการของโรคเรื้อรังต่างๆได้ในเบื้องต้น

จุดเริ่มต้นการเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง

การแพ้อาหารแบบเรื้อรัง เป็นการแพ้ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านอาหารที่กินเข้าไป โดยร่างกายจะสร้างแอนติบอดีอิมมูโนโกบูลินชนิดจี (Immunoglobulin G “IgG”) ออกมาที่มีหน้าที่ในการดักจับสิ่งแปลกปลอมเพื่อให้ภูมิคุ้มกันได้ต่อสู้และกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ส่วนมากอาการที่แสดงออกมาจะไม่รุนแรงและจะไม่ได้แสดงขึ้นมาในทันทีตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่อาจเกิดหลังจากกินอาหารเข้าไปแล้วสักระยะเวลาหลายชั่วโมง หรือเป็นวันไปจนถึงสัปดาห์ ทำให้หลายคนมองข้ามอาการของภูมิแพ้อาหารแฝงนี้ไปหรืออาจจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นจนผู้ป่วยคุ้นชินในชีวิตประจำวันได้

เนื่องจากร่างกายจะไม่แสดงอาการในทันทีที่ได้กินอาหารที่เป็นสาเหตุนั้นๆเข้าไป แต่จะค่อย ๆ ส่งผลต่อร่างกายโดยทำให้มีอาการผิดปกติเรื้อรังไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารชนิดนั้นติดต่อกันซ้ำ ๆ เป็นเวลานานจนไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้นที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น การเกิดผดผื่นคัน เกิดสิวอักเสบเรื้อรัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และยังส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้อีกเช่นกัน ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ท้องเสีย เรอเปรี้ยว เวียนหัวเรื้อรัง ปัญหาโรคอ้วนหรือการควบคุมน้ำหนักได้ยาก ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โดยอีกสาเหตุที่สอดคล้องกับภูมิแพ้อาหารแฝงตามกันมาก็คือภาวะลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome) เนื่องจากทั้ง 2 โรคนี้มีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือภูมิแพ้อาหารแฝงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคลำไส้รั่ว หรืออาจจะเกิดภาวะลำไส้รั่วก่อน ส่งผลให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝงตามมาก็ได้

อาการของภูมิเเพ้อาหารแฝงดังที่กล่าวข้างต้นจะเกิดได้อย่างหลากหลายและไม่เฉพาะเจาะจง ฉะนั้นก่อนที่เเพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้ตรวจประเมินอาการ จะทำการส่งตรวจภูมิเเพ้อาหารแฝง จึงต้องมีการซักประวัติ ตรวจสุขภาพ และประเมินอาการเบื้องต้นก่อน เพราะอาจจะเป็นโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภูมิเเพ้อาหารแฝงเกิดร่วมด้วยก็อาจเป็นไปได้

การตรวจความเสี่ยงภูมิแพ้อาหารแฝงนั้น จะประเมินชนิดอาหารที่อาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้ จากการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปทดสอบและตรวจหาชนิดของอาหารที่คุณอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงอยู่ โดยสามารถตรวจได้มากกว่า 200 ชนิดอาหาร โดยผลตรวจจะออกมาตามรายการของอาหาร และระดับความเสี่ยงต่อการแพ้อาหารนั้นๆ ซึ่งควรได้รับการเเปลผลโดยเเพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ต้องใช้การวิเคราะห์เพื่อให้คำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพการกินอาหาร ที่ต้องแยกได้อย่างมั่นใจว่าอาหารชนิดไหนที่ทำให้เกิดอาการภูมิเเพ้อาหารจริง หรืออาการที่คุณเป็นนั้นอาจเป็นอาการของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ หรือไม่

ดูแล 5 สิ่งนี้ให้ดี ป้องกันภูมิแพ้อาหารแฝงในเบื้องต้น

① ฟื้นฟูเยื่อบุลำไส้ที่ได้รับความเสียหายเรื้อรังมาโดยตลอด โดยที่คุณไม่รู้ตัว

ระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพแย่ลงตามอายุที่มากขึ้นซึ่งแตกต่างจากในอดีต ก็เพราะว่าลําไส้ของคุณจำเป็นต้องรับมือกับสารอาหารที่ก่อสารอนุมูลอิสระ (สารก่อการอักเสบภายในระดับเซลล์อย่างที่คุณไม่รู้ตัวหรือไม่แสดงอาการเจ็บป่วยเรื้อรังในทันที) เช่น น้ำตาล อาหารแปรรูป อาหารที่มีส่วนผสมวัตถุหรือสารเคมีปรุงแต่งเจือปนอาหาร ยาปฏิชีวนะหรือยารักษาโรคต่างๆ และสารเคมีสารพิษ สารโลหะหนักที่ปนเปื้อนรอบตัวซึ่งสารเหล่านี้ต่างมีฤทธิ์ทําลายผนังลําไส้รวมถึงระบบต่างๆ ในร่างกายให้เสียหายได้หากได้รับเป็นประจำและสะสมเป็นเวลานาน

จากนั้นก็จะมีภาวะอาหารไม่ย่อยหรือย่อยอาหารได้ไม่ดีซึ่งจะส่งผลให้มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุลําไส้ของคุณ สร้างความเสียหายให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเกิดภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ตัวอย่าง คือ ภาวะการย่อยและกระบวนการดูดซึมสารอาหารชนิดคาร์โบไฮเดรตที่เสื่อมลง (Carbohydrat Maldigestion / Malabsorption) ดังนั้นเมื่อกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาล) อาหารประเภทธัญพืช (แป้ง) และนมสัตว์ (แลคโตส) สารเหล่านี้จะไม่
สามารย่อยได้อย่างสมบูรณ์ จะได้โมเลกุลน้ำตาลคู่สะสม (แลคโตสเป็นหนึ่งในนั้น และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารแฝง) ที่ไม่สามารถดูดซึมได้เหมือนโมเลกุลน้ำตาลเดี่ยว (ได้จากการย่อยคาร์โบไฮเดรตอย่างสมบูรณ์ ในภาวะสุขภาพลำไส้ปกติ) ซึ่งอาการจากสาเหตุนี้ คือ ท้องเสียถ่ายเหลว กรดไหลย้อน และมีความเชื่อมโยงกับการแพร่ของเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ (แคนดิดา) ที่จะสร้างก๊าซหรือเป็นเหตุของกรดไหลย้อนที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหารได้

การฟื้นฟูเยื่อบุลำไส้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรืออาหารเสริมใดๆ โดยวิธีการธรรมชาติ คือ “การให้ระบบย่อยอาหารและสำไส้ได้หยุดพัก” หยุดการกินและย่อยอาหารในระยะเวลาหนึ่ง ทำได้ด้วยการฝึกกินและอดอาหารเป็นระยะ (Intermittent fasting “IF”) และการทำ (Prolonged fasting “PF”) ซึ่งการฝึกกินแบบ IF และ PF ได้อย่างปลอดภัยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ระหว่างนั้นควรกินอาหารทีเป็นธรรมชาติและมีโภชนาการที่ดี เช่น กินผักใบเขียวเพื่อรับใยอาหารประมาณ 25-38 กรัม ทุกๆ วัน งดอาหารประเภท Fast Food Junk Food อาหารรสหวาน อาหารทอดผัดผ่านความร้อนสูง หรืออาหารที่ผ่านการกระบวนการแปรรูปหรือใช้สารเคมีปรุงแต่งอาหาร วัตถุกันเสีย กินอาหารที่เสริมสร้างโปรไบโอติกเพื่อให้แบคทีเรียในลําไส้มีสุขภาพดี ออกกําลังกายเป็นประจําเพื่อให้ระบบทางเดินอาหารแข็งแรง เลิกสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

② ปรับปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีในลําไส้คุณอย่างเหมาะสม

70% ของภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ “ลำไส้” ถ้าคุณมีสุขภาพลำไส้ที่ดีเท่ากับว่า คุณมีชีวิตที่ดีไปกว่าครึ่งที่จะไม่ต้องเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รวมถึงภูมิแพ้อาหารด้วย เริ่มการสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญนี้ในทารกที่บริโภคอาหารที่อุดมด้วยเส้นใยจากผัก ผลไม้ และวัตถุดิบอาหารธรรมชาติปรุงเองในปีแรกหลังคลอดมีโอกาสน้อยที่จะเกิดอาการแพ้อาหาร มากกว่าทารกที่กินอาหารเหล่านี้น้อยกว่า หากเทียบกับการที่ทารกได้อาหารอเมริกันหรืออาหารประเภท Fast Food หรือ Junk Food (Standard American Diet: SAD) โดยเฉลี่ยซึ่งอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านกระบวนการแปรรูปและประกอบด้วยสารอาหารที่มีความสําคัญต่ำ มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่มากขึ้นในการเกิดอาการแพ้อาหารได้ในช่วงวัยที่กำลังเติบโตนี้

การวิจัยได้สังเกตเห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในจุลินทรีย์ในลําไส้ของผู้ที่มีสุขภาพลำไส้ที่ดีจะส่งผลต่อความเสี่ยงในการแพ้อาหารต่างๆ ได้ ลักษณะลำไส้ที่มีสุขภาพดีจะประกอบด้วยแบคทีเรียหลายชนิด ได้แก่ Bacteroides, Enterobacteria, Bifidobacteria และ Lactobacilli ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียเหล่านี้กับระบบภูมิคุ้มกันในลําไส้จะสนับสนุนร่างกายให้สามารถทนต่อสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้อาหารได้

ดังนั้นการเสริมโปรไบโอติกส์ (Probiotics) (กลุ่มแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี มีประโยชน์ต่อร่างกายดังตัวอย่างที่ได้กล่าวไป) ซึ่งแหล่งที่ดีของโปรไบโอติกส์ ได้แก่ กรีกโยเกิร์ตหรือโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติ ซุปมิโซะ กิมจิ น้ำหมักคัมบูชา น้ำหมักแอปเปิ้ลผสมหัวเชื้อ และการเพิ่มพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) (แหล่งอาหารที่สำคัญของโพรไบโอติกส์ ซึ่งจะส่งเสริมสภาพการเจริญเติบโตที่เหมาะสม สำหรับแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีในลำไส้) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อโปรไบโอติกส์ โดยการกระตุ้นการเจริญเติบโตในลําไส้ได้ดีและเหมาะสม

กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น พืชใบเขียว ธัญพืชหรือถั่วเปลือกแข็ง (ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ GMO) กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเป็นอาหารให้เหล่าพันธมิตรเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้คุณ จะช่วยฟื้นฟูอาการแพ้อาหารผ่านกลไกอันซับซ้อนจากการทำงานของเหล่าจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีที่ช่วยปรับระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันในลําไส้ให้มีสุขภาพที่ดีได้

③ ระวังสารพิษ สารโลหะหนัก หรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหาร

จุลินทรีย์ชนิดดีในลําไส้มีบทบาทสําคัญในการบํารุงรักษาสภาวะสมดุลของระบบการทำงานของลําไส้ และการสัมผัสกับมลพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีการเกษตรที่มีส่วนผสมโลหะหนักอาจนําไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งอาจนําไปสู่ความผิดปกติในลําไส้และภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ (Dysbiosis) รวมถึงการได้รับเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อราที่จะส่งผลให้เกิดอาหารเป็นพิษมากกว่า 250 ชนิด เช่น ซัลโมเนลลา อีโคไล เอช.ไพโรไล (H.Pylori) ไวรัสตับอักเสบเอ เป็นต้น

ดังนั้นคุณควรจะทำความสะอาดวัตถุดิบในการประกอบอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ให้สะอาด ปรุงอาหารให้สุก และหมั่นล้างมือทุกครั้งทั้งก่อน-หลังการประกอบอาหาร ไปจนถึงการกินแบบร้อน ใช้ช้อนกลาง และการถนอมอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ รวมถึงหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อมลพิษ เช่น ฝุ่น PM 2.5 การสูดดมควันรถ ควันบุหรี่ การสัมผัสสารเคมีปนเปื้อน เป็นต้น

④ ควบคุมฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ให้เหมาะสม

ฮอร์โมนคอร์ติซอลเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตมามากกว่า 125 ชนิด ที่ผลิตโดยต่อมหมวกไตและเป็นฮอร์โมนที่รับมือและจัดการความเครียดที่ร่างกายต้องเผชิญ หากคอร์ติซอลอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมมันจะเสริมสร้างให้คุณมีสุขภาพดี ช่วยให้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันของคุณให้แข็งแรง ควบคุมน้ำหนัก และลดการอักเสบในระดับเซลล์

อย่างไรก็ตามปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณอยู่มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน หรือเมื่อร่างกายผลิตคอร์ติซอลมากเกินไป จะทำให้ต่อมหมวกไตหมดแรงและระดับคอร์ติซอลจะลดลง หากร่างกายไม่มีคอร์ติซอลเพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองความต้องการนั้นได้ เราจะเริ่มรู้สึกไม่สบาย อาการที่พบบ่อยที่สุดของความไม่สมดุลของคอร์ติซอลคือ ความเหนื่อยล้าความผิดปกติ การติดเชื้อหรือเจ็บป่วยได้บ่อย ความเครียดวิตกกังวล ความอยากน้ำตาล และภาวะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งมันก็จะสร้างการอักเสบที่เพิ่มขึ้นที่เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของภาวะอาการลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Syndrome) คือ การที่อาหารที่เรากินเข้าไปไม่สามารถถูกย่อยสลายได้อย่างปกติ ทำให้โมเลกุลอาหารมีขนาดใหญ่แต่ก็เล็กพอที่จะถูกดูดซึ่มเข้าสู่กระแสเลือดและจะกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน IgG ที่เรียกให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมากำจัดสิ่งแปลกปลอมทางลำไส้นี้พร้อมกับจดจำสิ่งแปลกปลอมนี้ในครั้งต่อๆไป ว่าเป็นภัยต่อร่างกาย จึงเกิดภูมิแพ้อาหารแฝงต่ออาหารชนิดนั้นๆ และลำไส้จะถูกทำลายจากอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือมีสารปนเปื้อน เช่น พวกที่มีสารเคมีปะปนมากับอาหาร หรือไขมันจำพวกที่มีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นคุณจำเป็นต้องควบคุมความเครียดของคุณให้ดี

⑤ หมั่นตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงเพื่อประเมินสุขภาพของคุณ

 การตรวจเลือด  การตรวจเลือดสามารถวัดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของคุณต่ออาหารบางชนิดโดยการวัดแอนติบอดีที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ที่เรียกว่าอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) และอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG)

การตรวจประวัติครอบครัวของคุณ  มีความผิดปกติของกระบวนการย่อยสลายสารอาหารหรือเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) บางอย่าง รวมถึงการเกิดภาวะบกพร่องของเอนไซม์ เอนไซม์ย่อยอาหารจะถูกหลั่งโดยระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal system: GI) เป็นระบบขนาดใหญ่ที่มีอวัยวะต่างๆ ทำงานเชื่อมโยงกัน ได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ที่เป็นระบบช่วยในการย่อยและสลายสารอาหารประเภทไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต เอนไซม์ต่างๆ ในระบบนี้ยังช่วยในการดูดซึมสารอาหารเพื่อใช้เป็นพลังงานและซ่อมแซมเซลล์ทั่วร่างกาย

การแพ้อาหารบางอย่างเกิดจากการขาดเอนไซม์ย่อยอาหาร ตัวอย่าง คนที่แพ้แลคโตสมักจะขาดเอนไซม์ย่อยอาหารแลคเตสที่พบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์นม เช่น น้ำนมสัตว์ เนย ชีส หรือการแพ้ฟรุกโตสหรือที่เรียกว่าภาวะแพ้น้ำตาล ก็เกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรมที่เกิดจากการขาดพร่องเอนไซม์ Aldolase B ย่อยฟรุกโตส คาดว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ในยีน ALDOB ซึ่งจะส่งผลต่ออาการภูมิแพ้ และสร้างความเสื่อมในระดับเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว

 การทดสอบทางผิวหนัง การทดสอบทางผิวหนัง  สามารถทดสอบปฏิกิริยาของคุณต่ออาหารนั้นๆ โดยเฉพาะเจาะจง ในการทดสอบนี้จะวางอาหารที่ต้องการทดสอบจํานวนเล็กน้อยไว้บนผิวหนัง จากนั้นแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านดูแลสุขภาพจะสะกิดผิวหนังด้วยเข็มเพื่อให้สารอาหารจํานวนเล็กน้อยอยู่ใต้ผิวของคุณ

นอกจากนี้คุณยังสามารถตรวจหาสาเหตุและการรักษาภูมิแพ้อาหารแฝงจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณได้อีกหลากหลายวิธี ตามการประเมินและความเหมาะสม

สรุป

การเกิดภูมิแพ้อาหารเฉียบพลัน (Food Allergy) เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่ออาหารที่เฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอาหารที่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง และควรได้รับการประเมินสาเหตุการแพ้อย่างเข้มงวด 

การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) จะเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและลำไส้มากกว่าระบบภูมิคุ้มกัน การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝงจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแพ้แลคโตส การแพ้กลูเตน การแพ้น้ำตาล เป็นต้น จึงควรดูแลและป้องกัน 5 สิ่งนี้ ก่อนเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง ได้แก่ 

  1. การดูแลสุขภาพระบบลำไส้โดยการหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น อาหารประเภท Fast Food หรือ Junk Food ร่วมกับการให้ระบบย่อยอาหารและสำไส้ได้หยุดพักเป็นระยะหรือการฝึกกินแบบ Intermittent Fasting หรือ Prolonged Fasting 
  2. การปรับสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีภายในระบบย่อยอาหารและลำไส้ 
  3. ระมัดระวังการได้รับหรือสัมผัส สารพิษ สารโลหะหนัก หรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหารและเครื่องดื่ม  
  4. การจัดการกับความเครียดที่มีผลต่อสุขภาพและจิตใจ
  5. รับการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง รวมการตรวจประเมินสุขภาพประจำปี เพื่อประเมินสุขภาพของคุณ เพื่อการติดตามด้านสุขภาพของคุณและวางแผนต่อการใช้ชีวิตของคุณได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้

แม้ว่าจะมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาภูมิแพ้อาหารที่ดีกว่า เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้อาหารที่อาจเกิดขึ้นด้วยอาการที่รุนแรง และสถาบันวิจัยด้านสุขภาพต่างๆ ยังคงวิจัยและพัฒนากันอยู่อย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่สำคัญที่คุณไม่อาจจะละเลยคือ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมยังคงเป็นแนวทางที่สามารถทำให้คุณลดความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้อาหารที่อาจจะก่ออาการที่รุนแรงรวมถึงปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ได้

รู้ทัน สังเกต และป้องกัน “ยิ่งรู้เร็ว ป้องกันได้” ก่อนที่โรคภูมิแพ้อาหารแฝงจะทำให้คุณสุขภาพแย่ลง เราขอแนะนำ “โปรแกรมตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

โปรแกรมตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด

“อย่ารอให้ป่วย การตรวจเลือดให้รู้ก่อน ป้องกันได้”

✔  รู้ทันก่อนสัญญาณเริ่มต้นสู่การก่อโรคภูมิแพ้อาหารแฝง

✔  วางแผนและจัดการกับมื้ออาหารของคุณอย่างเหมาะสมและส่งเสริมสุขภาพคุณได้

✔  ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). “การแพ้อาหารคืออะไร”. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OBS/admin/knowledges_files/25_65_1.pdf
  • สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). “พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) VS โพรไบโอติกส์ (Probiotics)”. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://il.mahidol.ac.th/th/i-learning-clinic/general-articles/พรีไบโอติกส์-prebiotics-vs-โพรไบโอต/
  • ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์. (2563). “ภูมิแพ้อาหารแฝง. สืบค้นเมื่อวันที่ 9  เม.ย. 2566. จากเว็บไซต์: http://chan.nfe.go.th/thamai_lib/?name=knowledge&file=readknowledge&id=145
  • ห้องสมุดประชาชน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. (2565). “ภูมิแพ้อาหารแฝง. สืบค้นเมื่อวันที่ 9  เม.ย. 2566. จากเว็บไซต์: http://chan.nfe.go.th/thamai_lib/?name=knowledge&file=readknowledge&id=145
  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2564). “ภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/6319
  • Caminero, et al. National Library of Medicine (NLM). (2019). “Mechanisms by which gut microorganisms influence food sensitivities. Retrieved April 11, 2023, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6767923/
  • Costanzo, et al. ​The Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition (JPGN). (2016). “Gut Microbiota as a Target for Food Allergy. Retrieved April 11, 2023, from: https://journals.lww.com/jpgn/Pages/articleviewer.aspx?year=2016&issue=07001&article=00005&type=Fulltext
  • Harvard Health Publishing. Harvard Medical School. (2020). “How to get more probiotics. Retrieved April 11, 2023, from: https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-to-get-more-probiotic
  • Rinninella, et al. National Library of Medicine (NLM). (2019). “What is the Healthy Gut Microbiota Composition? A Changing Ecosystem across Age, Environment, Diet, and Diseases. Retrieved April 11, 2023, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6351938/
  • The Kresser Institute. (2017). “The Gut Flora-Food Allergies Connection. Retrieved April 11, 2023, from: https://kresserinstitute.com/gut-flora-food-allergies-connection/

Leave a Reply

Close Menu