Burnout VS ต่อมหมวกไตล้า
2 ความเครียดที่ทั้งสร้างและทำลายสุขภาพคุณ

เนื้อหา

เรื่องน่ารู้:

  • ⌜ภาวะ Burn out และต่อมหมวกไตล้า⌟  มีสาเหตุร่วมกันจากความเครียดที่มีหลายรูปแบบ เช่น

  • เชิงอารมณ์

○ ความกดดัน ความรุนแรง ความขัดแย้ง และความอับอายในชีวิตประจำวัน การทำงาน ความสัมพันธ์
○ อารมณ์ทางลบ เช่น ความหวาดกลัว ซึมเศร้า ผิดหวัง ความสูญเสีย ความโดดเดี่ยว วิกฤตวัยกลางคนหรือวัยทอง เป็นต้น

  • เชิงกายภาพ

○ กินอาหารแปรรูป อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งสูง หรือมีสัดส่วนผสมน้ำตาลสูง ผสมสารสังเคราะห์ทางเคมี และสารกันเสีย
○ การกินอาหารหลายมื้อต่อวัน
○ ภาวะขาดสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย
○ ภาวะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่อับ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก โรคเลือดจาง โรคหืด อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนสารพิษในอากาศสูงหรือมลภาวะฝุ่น PM2.5 เป็นต้น
○ ได้รับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเวลาเช้าตรู่และช่วงเย็นน้อยเกินไป
○ การติดเชื้อ โรคภูมิแพ้

○ การได้รับสารพิษ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม นิโคติน ไซยาไนด์ แอลกอฮอล์เป็นพิษ เป็นต้น
○ การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ
○ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น

  • ⌜พัฒนาการความเครียด⌟  ความเครียดของมนุษย์ยุคก่อนในประวัติศาสตร์มีเพื่อการตอบสนองภัยคุกความต่อชีวิตหรือความปลอดภัย เช่น การเผชิญหน้ากับสัตว์ป่าดุร้าย เช่น เสือ สิงโต การโดนบุกรุกถ้ำหรือที่อยู่จากชนเผ่าอื่น หรือการเผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติ ไฟไหม้ป่า พายุลมแรง ที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางกายภาพเบื้องต้น จากร่างกายโดยระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System : ANS) เพื่อรักษาการมีชีวิตอยู่ แต่ในยุคสมัยใหม่ ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์ต้องมีการปรับตัวสูง เช่น สภาวะการแข่งขันพร้อมความเร่งรีบ การจราจรที่หนาแน่น มลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม อาหารจานด่วนที่ถูกแปรรูปและผ่านการสังเคราะห์ทางเคมี โรคระบาด การเกิดสภาพสังคมโดดเดี่ยวท่ามกลางความเป็นอยู่ที่แออัดแต่ห่างเหิน ความตกต่ำหรือการหดตัวของเศรษฐกิจ ความไม่สงบทางการเมืองและการคอรัปชั่นที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ระดับภาคครัวเรือน ทำให้ต้องเผชิญกับความเครียดอย่างต่อเนื่องเรื้อรังอย่างยาวนานจากสภาวะดังกล่าว

  • ⌜กระบวนการเกิดความเครียดเรื้อรัง⌟
    ความเครียด ≫ การอักเสบและความเสื่อมของเซลล์ ≫ ระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic Nervous System (SNS) ≫ สัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอด 5 F’s (สู้-หนี-กลัว-หยุดนิ่ง-ยอมจำนน) ≫ ฮอร์โมนความเครียด–จัดการความเครียดไม่ได้ ≫ ความเครียดเรื้อรัง ≫ ก่อภาวะการอักเสบเรื้อรังระดับเซลล์, เซลล์มะเร็ง, ภูมิแพ้, ภาวะต่อมหมวกไตล้า, โรคเรื้อรัง NCDs โรคระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายเสื่อม, โรคจิตเภท, โรคซึมเศร้า, ภาวะ Burnout หมดไฟ เป็นต้น ≫ ระบบฟื้นฟูสุขภาพร่างกายจิตใจ ระบบเผาผลาญพลังงาน เสื่อมประสิทธิภาพลง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

  • ⌜กระบวนการปกติในการฟื้นฟูจากความเครียด⌟
    ความเครียด ≫ การอักเสบและความเสื่อมของเซลล์ ≫ ระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic Nervous System (SNS) ≫ สัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอด 5 F’s (สู้-หนี-กลัว-หยุดนิ่ง-ยอมจำนน) ≫ ฮอร์โมนความเครียด–จัดการความเครียดได้ ≫ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Parasympathetic Nervous System (PNS) ร่างกายอยู่ในภาวะ (Rest-Digest) ≫ ผ่อนคลาย พักผ่อน ผ่อนคลาย พักผ่อน การกิน ย่อย และดูดซึมสารอาหาร ≫ เข้าสู่ภาวะการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงและสมบูรณ์สำหรับการดำรงชีพและเผ่าพันธุ์

  • ⌜การรับมือกับความเครียดจากบทบาทระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System : ANS)⌟  เป็นระบบที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ โดยการควบคุมคือไฮโปธาลามัสเป็นส่วนสมองที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ความดันเลือด การเต้นของหัวใจ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ สมดุลร่างกาย ความต้องการพื้นฐาน หิว, อิ่ม, นอน,หลับ,ความต้องการทางเพศ) โดยตอบสนองความเครียดผ่านแกน HPA เชื่อมต่อกับระบบประสาทส่วนกลางและระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดหลายตัว ให้ตื่นตัวตลอดเวลาด้วย ทำให้เกิดสัญชาตญาณเพื่อรับมือกับความเครียด ได้แก่ Fight-Flight-Fear-Freeze-Fawn (สัญชาตญาณ 5F: The 5 F’s) หรือ สู้-หนี-กลัว-หยุดนิ่ง-ยอมจำนนอย่างไม่มีข้อแม้

  • ⌜ภาวะต่อมหมวกไตล้า⌟ เริ่มต้นขึ้นเมื่อร่างกายคุณเผชิญกับความเครียดในหลากหลายรูปแบบมากมายเกินกว่าที่ร่างกายจะรับมือได้ โดยต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะเล็กๆ ที่อยู่เหนือไต โดยมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนความเครียดที่สำคัญ เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลีน นอร์เอพิเนฟริน เมื่อคุณต้องเผชิญกับความเครียดอย่างต่อเนื่องยาวนาน ต่อมหมวกไตจะไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายสำหรับรับมือกับความเครียดนี้ได้ โดยภาวะภาวะต่อมหมวกไตล้าจะเกิดจากการผลักดันจากสัญชาตญาณการเอาตัวรอด Fight-Flight (สู้-หนี) และ Fear-Freeze (หยุดนิ่ง-ยอมจำนน) เป็นสัญชาตญาณที่ร่างกายสร้างขึ้นอัตโมมัติเพื่อสร้างโอกาสการอยู่รอดมาตั้งแต่ยุคมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์จนปัจจุบัน

  • ⌜ภาวะหมดไฟ Burnout⌟  เป็นภาวะที่ความเครียดเกินควบคุม ภายใต้สภาวะของความเครียดที่ยืดเยื้อนี้ ร่างกายจะตอบสนองโดยการลดระดับการผลิตคอร์ติซอลให้เหลือระดับต่ำอย่างมากที่สุดหรือเป็นระดับที่ราบเรียบที่ขาดความสมดุล ซึ่งเรียกว่า ภาวะ “ไฮโปคอร์ติซอล (Hypocortisolism) ที่เป็นการบ่งบอกว่าระบบที่ตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายได้ถูกปิดตัวลงแล้วแม้ร่างกายจะยังมีระดับความเครียดสูงอยู่มาก (ร่างกายเลือกที่ตัดการรับรู้ความเครียดที่เกินรับมือแบบปิดสวิชต์ยอมแพ้เพื่อพยายามให้ระบบอื่นๆ ได้รับฟื้นฟูแล้วกลับไปรับมือกับความเครียดได้อีกครั้ง) เพราะคอร์ติซอลยังสูงเกินไปอย่างต่อเนื่องยาวนานจะมีผลเสียต่อร่างกายที่รุนแรงทั้งอาการอักเสบต่อเซลล์ และความเสี่ยงต่อการเกิดระบบภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม สร้างความเสียหายกับระบบประสาทและความจำ ทำลายมวลกล้ามเนื้อ มวลระดูก และเอ็นข้อต่อ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มหลอดเลือด หัวใจ และโรค Cushing เป็นต้น โดยภาวะ Burn out หมดไฟจะเกิดจากการผลักดันจากสัญชาตญาณการเอาตัวรอดที่ปรับเปลี่ยให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ คือสัญชาตญาณ Fawn (ยอมจำนนอย่างไม่มีข้อแม้) มารับมือกับความเครียดที่มากมายซับซ้อนต่อเนื่องยาวนานในยุคสมัยใหม่นี้

  • ⌜ความเชื่อมโยง⌟ ภาวะหมดไฟ Burn Out และต่อมหมวกไตล้า การมีจุดเริ่มต้นจากการรับมือกับความเครียด เริ่มจากการมีความเครียดสะสมเรื้อรังจนส่งผลกระทบกับร่างกาย แต่ภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมีผลกระทบกับทางร่างกายมากกว่าภาวะ Burn out หมดไฟ หากสะสมภาวะความเครียดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานอาจเสี่ยงต่อโรคที่ร้ายแรงตามมาได้

  • ⌜จุดสังเกตอาการที่มีร่วมกัน⌟

⌕  อารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวล ตื่นตระหนก และมีภาวะซึมเศร้า เก็บตัว ไม่มีสมาธิและความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
⌕  ปวดหัวเรื้อรัง อาจคิดมากจนไม่มีสติหรือเหม่อลอย
⌕  ปวดร้าวไปตามกล้ามเนื้อคอ กราม ไหล่ หลัง
⌕  สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูก
⌕  เหนื่อยล้ามาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกักเก็บแร่ธาตุสำคัญหรืออิเล็กโทรไลต์ไว้ได้
⌕  โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง นอนกรนหรือกัดฟัน
⌕  อาการของไข้หวัด ภูมิแพ้ ที่เป็นๆ หายๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มอ่อนแอหรือทำงานผิดเพี้ยน และเพิ่มการตอบสนองที่ผิดปกติจนอาจทำให้เกิดภูมิแพ้ต่างๆ
⌕  ปัญหาผิว เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผิวหมองคล้ำแห้งกร้าน ฟกช้ำง่าย
⌕  ผมร่วง ผมเปราะบาง
⌕  ใจสั่น
⌕  ความดันเลือดต่ำ
⌕  ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน
⌕  ไม่อยากอาหาร หรือมีความอยากอาหารที่ต่างจากเดิมหรืออยากกินในปริมาณที่มากและถี่กว่าปกติ เช่น อยากอาหารประเภทของหวาน-มัน-เค็มจัด ทอดกรอบ อาหารดิบหรืออาหารแสลงต่างๆ มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สิ่งมึนเมา เช่น กัญชา บุหรี่
⌕  ท้องไส้ปั่นป่วน เสียดท้อง ท้องผูก รวมถึงประสิทธิภาพระบบการย่อยอาหาร การเผาผลาญพลังงานที่ต่ำลง
⌕  การควบคุมอุณหภูมิร่างกายที่แปรปรวน เช่น อาจมีเหงื่อมากหรือรู้สึกอาการเย็นหรือร้อน ตลอดเวลาเนื่องจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์และการไหลเวียนโลหิตไม่ดี
⌕  การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภาวะการมีบุตรยาก
⌕  ประจำเดือนมาไม่ปกติ
⌕  มีความคิดในเชิงลบ เบื่อหน่ายสังคม คิดถึงความรุนแรง และการคิดสั้น

  • ⌜รายการตรวจเลือดประเมินระดับความเครียด⌟ เช่น

✧  Cortisol
✧  DHEA
✧  TSH, FT3, FT4
✧  Vitamin B
✧  Vitamin D
✧  Potassium
✧  Magnesium

  • ⌜แนวทางการป้องกันและจัดการ⌟ กับภาวะ Burn out และต่อมหมวกไตล้า

⟳  รับประทานอาหารจากธรรมชาติ (Whole Foods) คือ อาหารที่ปราศจากการปรุงแต่งไม่เป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูป ขัดขาว หรือใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี รวมถึงไม่ผสมสารกันเสีย ไม่มีน้ำตาลปริมาณที่สูง

⟳  หลีกเลี่ยงการกินอาหารต่อวันที่มีหลายมื้อหรือถี่มากไป ตัดขนมของว่าง เป็นดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายสดชื่นและอยู่ท้องไปถึงอาหารมื้อต่อไป

⟳  พิจารณาการกินอาหารแบบ IF, Low-Carb Diet, Ketogenic Diet หลักการร่วม คือ เน้นกินอาหารจากธรรมชาติ (Whole Foods) และทำให้ร่างกายลดการพึ่งสารอาหารจำประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักและลดปริมาณน้ำตาลที่สะสมในร่างกาย (HbA1C) ที่จะสามารถสร้างการอักเสบต่อเซลล์อย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมถึงการเป็นการปรับภาวะร่างกายเพื่อปิดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกเพื่อให้ร่างกายอยู่ในภาวะ (Rest-Digest) ที่ทำให้ร่างกายมีช่วงฟื้นฟูจากความเครียดไปสู่ภาวะผ่อนคลาย สิ่งสำคัญที่คุณต้องตระหนักคือ คุณต้องได้คำแนะนำหรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนการเริ่มปฎิบัติ

⟳  เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงจากผัก ผลไม้ ได้รับโปรตีนเพียงพอทั้งโปรตีนจากพืชและจากสัตว์อย่างเพียงพอ โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความหลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่เพียงพอ

⟳  ออกรับแสงแดดตอนเช้า ในช่วงเวลา 06.00 – 08.00 น.หรือช่วงก่อน 9 โมงเช้า และ แสงแดดช่วงเย็น หลัง 16.00 น. เป็นเวลา 10-20 นาที

⟳  เล่าปัญหาหรือความไม่สบายใจให้คนในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ที่เราไว้ใจ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการให้คำปรึกษา แนะนำทางด้านสุขภาพจิต

⟳  นัดสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อน หรือชวนกันท่องเที่ยวในสถานที่ธรรมชาติหรือในสถานที่แปลกใหม่

⟳  หลีกเลี่ยงการหาเพื่อนที่เป็นคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงการโดนหลอกลวงในช่วงที่คุณอยู่ในความเครียด คิดมาก หรือสติยังไม่พร้อมพิจารณา

⟳  หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลลบต่อความรู้สึก เช่น การใช้สารเสพติดหรือสิ่งมึนเมาหรือการพนันทุกชนิด ปิดการรับชม รับรู้ รับฟัง ในสิ่งที่จะกระตุ้นความเศร้า ความรุนแรง ความคิดเชิงลบและความอคติที่จะทำให้อารมณ์คุณยิ่งจมดิ่ง

⟳  พยายามพาตัวเองไปพบผู้คนใหม่ๆหรือทำงานจิตอาสา ช่วยเหลือหรือบริจาคให้ทานแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส

⟳  ออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ หรือพิ้นที่ที่เปิดโล่งให้ได้พบปะผู้คน ท่ามกลางธรรมชาติเพื่อความผ่อนคลายความกังวล

⟳  ฝึกท่าโยคะ ฝึกสมาธิ ฝึกสติ ฝึกจิตให้อยู่เหนืออารมณ์ความนึกคิด รวมถึงได้รับการนวดผ่อนคลายในศาสตร์ต่างๆ

⟳  ศึกษาหรือฝึกเทคนิคการกำจัดและปล่อยวางความเครียดและความเศร้าตามหลักแนวคิดสัจธรรม

⟳  ปรับและจัดการความคาดหวังหรือแผนการที่ต้องทำให้สำเร็จ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ความเป็นจริงในปัจจุบันของคุณ

⟳  ใช้ศิลปะแห่งการปฏิเสธในการใช้ชีวิต

⟳  หางานอดิเรกที่ชอบทำ เช่น ใช้เวลาอ่านหนังสือ ฟังพอดแคสต์ ฟังบทเพลงหรือดูรายการที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดเชิงบวก ปล่อยวางทางอารมณ์

⟳  การเล่นกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก ปลา

⟳  หากคุณพบว่าคุณมีอาการข้างเคียงจากความเครียดที่เกินกว่าคุณต้องรับมือไหว ปรึกษาสายด่ฟวนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

สาเหตุร่วม ภาวะ Burn out และต่อมหมวกไตล้า

ความเครียดที่กระตุ้นสัญชาติความอยู่รอดที่สำคัญของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้มนุษย์อยู่รอดโดยการสร้างพลังงานฉุกเฉินและกลยุทธ์ที่ทำให้เผ่าพันธุ์ดำรงอยู่ตลอดรอดฝั่งได้อย่างมหัศจรรย์เพียงในเสี้ยววินาทีแห่งชีวิตเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ดุร้ายหรือจากภัยธรรมชาติโดยสัญชาตญาณความอยู่รอด คือ สู้หรือหนี (Flight-Fight)

ความเครียดของมนุษย์ในยุคปัจจุบันไม่มีสัตว์ป่าดุร้ายให้ต้องเผชิญ แต่แทนที่ด้วยแรงกดดันทั้งด้านทรัพยากรและเวลาต่อภาวะที่มีความคาดหวังสูงหรือความสำเร็จตามที่ตนเองหรือผู้อื่นต้องการ การมีอุดมคติแบบผู้สมบูรณ์แบบไปจนถึงการตำหนิเมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปด้วยดี หรือไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเมื่อสิ่งต่างๆ ดำเนินการได้ด้วยดี ความกดดันจากอำนาจที่สูงกว่าหรือในการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านของชีวิตและการทำงานที่ไม่คุ้นเคย และการเผชิญกับสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม รวมถึงความสมดุลระหว่างชีวิต-การทำงาน และการไร้เครือข่ายหรือความสัมพันธ์ทางสังคม ความเครียดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความเครียดที่เป็นเชิงอารมณ์ที่คนยุคใหม่ต้องพบเจอ โดยภาวะเครียดนี้จะพบได้ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น และจะพบความเครียดที่รุนแรงในช่วงวัยทำงาน และภาวะหมดไฟสามารถพบได้มากในสังคมเมือง และยังมีความเครียดจากปัจจัยอื่นอีกหลายมิติ เช่น สภาวะการแข่งขัน ความเร่งรีบ การจราจรที่หนาแน่น มลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม อาหารจานด่วนที่ถูกแปรรูปและผ่านการสังเคราะห์ทางเคมีอย่างห่างจากธรรมชาติ โรคระบาด การเกิดสภาพสังคมโดดเดี่ยวท่ามกลางความเป็นอยู่ที่แออัดแต่ห่างเหิน ความตกต่ำหรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ความไม่สงบทางการเมืองและการคอรัปชั่นที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ระดับภาคครัวเรือน และความเครียดเหล่านี้จะส่งผลต่อการปรับตัวของสัญชาตญาณการเอาตัวรอดมาเป็น Fight-Flight-Fear-Freeze-Fawn หรือ สู้-หนี-กลัว-หยุดนิ่ง-ยอมจำนนอย่างไม่มีข้อแม้

กล่าวได้ว่ามนุษย์ยุคใหม่จะต้องเผชิญความเครียดที่ซับซ้อนมากมายและต่อเนื่องยาวนานกว่ามนุษยชาติยุคก่อนประวัติศาสตร์ อย่างน่าประหลาดใจที่ความเครียดในยุคปัจจุบันนี้ผันแปรมาเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยกระตุ้นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้สูงกว่าหลายเท่า ก่อภาวะการเผาผลาญอาหารในร่างกายที่ผิดปกติ (Metabolic Syndrome) และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เช่น โรคเครียดเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคความดัน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และกลุ่มโรคทางจิต และโรคเครียดต่อความกดดัน การไร้การควบคุม นำไปสู่ความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อส่วนรวม สังคมต่อบุคคล และสังคมต่อสังคมที่มีความแตกต่างกัน โดยแฝงอยู่ในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และทวีความขัดแย้งมากมายหลายมิติในโลกสมัยใหม่

1. จุดเริ่มต้น: ความเครียดเรื้อรัง สัญญาณเตือนภาวะต่อมหมวกไตล้า

แน่นอนต้องเริ่มจากความเครียดในยุคสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากมาย ทั้งเชิงกายภาพและเชิงอารมณ์ ได้แก่

  • เชิงอารมณ์

⌕  ความกดดัน ความรุนแรง ความขัดแย้ง และความอับอายในชีวิตประจำวัน การทำงาน ความสัมพันธ์
⌕  อารมณ์ทางลบ เช่น ความหวาดกลัว ซึมเศร้า ผิดหวัง ความสูญเสีย ความโดดเดี่ยว วิกฤตวัยกลางคนหรือวัยทอง เป็นต้น

  • เชิงกายภาพ

⌕  กินอาหารแปรรูป อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งสูง หรือมีสัดส่วนผสมน้ำตาลสูง ใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี และสารกันเสีย
⌕  การกินอาหารหลายมื้อต่อวัน
⌕  ภาวะขาดสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย
⌕  ภาวะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น อยู่ในที่อับ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก โรคเลือดจาง โรคหืด อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนสารพิษในอากาศสูงหรือมลภาวะฝุ่น PM2.5 เป็นต้น
⌕  ได้รับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเวลาเช้าตรู่และช่วงเย็นน้อยเกินไป
⌕  การติดเชื้อ โรคภูมิแพ้

⌕  การได้รับสารพิษ โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม แอลกอฮอล์เป็นพิษ เป็นต้น
⌕  การนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ
⌕  การดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอ
⌕  การเหนื่อยล้าและปวดเมื่อยเรื้อรัง
⌕  การได้รับยาแก้อักเสบเกินขนาด เช่น ยากลุ่มสเตรียรอยด์
⌕  ภาวะการเสพติด เช่น บุหรี่ กัญชา แอลกอฮอล์ สื่อโซเชียล

โดยจุดเริ่มต้นการรับมือความเครียดของคุณ คือ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System : ANS) ที่จะตอบสนองอย่างอัตโนมัติ รวดเร็ว ต่อการอยู่รอดของคุณ โดยทำงานประสานกันใน 2 ระบบ คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ตอบสนองต่อสัญชาตญาณการสู้-หนี-กลัว (Flight-Fight) และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) ตอบสนองเพื่อปิดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกเพื่อให้ร่างกายอยู่ในภาวะ (Rest-Digest) หรือภาวะปกติสำหรับการดำรงเผ่าพันธุ์

* ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System : ANS) เป็นระบบที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ โดยการควบคุมคือไฮโปธาลามัสเป็นส่วนสมองที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ความดันเลือด การเต้นของหัวใจ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ สมดุลร่างกาย ความต้องการพื้นฐาน หิว, อิ่ม, นอน,หลับ,ความต้องการทางเพศ) โดยตอบสนองความเครียดโดยแกน HPA (หรือสมองส่วนไฮโปธาลามัส-ต่อมใต้สมอง-ต่อมหมวกไต) ให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา)

ระบบประสาทซิมพาเทติกจะส่งสัญญาณไปสู่ต่อมหมวกไต ให้การตอบสนองปกติตามธรรมชาติต่อการรับมือกับความเครียดหรือแรงกดดันจากภายนอก เพื่อกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล อะดรีนาลีน นอร์เอพิเนฟริน เพื่อรับมือต่อสถานการณ์ที่คับขัน ส่งผลให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว ระมัดระวังตัว มีสมาธิ และความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็วไม่ว่าจะอยู่สู้ต่อ หรือควรจะหลบหนีให้เร็ว โดยการสร้างพลังงานฉุกเฉินจำนวนมากในเสี้ยววินาทีเพื่อรับมือและให้คุณจัดการปัญหานั้นได้อย่างทันท่วงที

หลังจากตอบสนองต่อความเครียดภายนอกแล้ว ปกติระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะส่งสัญญาณให้ร่างกายสงบลง ผ่อนคลาย เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน และมองหาอาหารกินเพื่อฟื้นฟูพลังงานที่เสียไปเป็นจำนวนมากจากสัญชาตญาณสู้หรือหนี แต่เมื่อเกิดความเครียดเรื้อรัง จะเกิดการขัดขวางวงจรปกติตามธรรมชาตินี้ ตัวอย่างเช่น หากคุณกลับบ้านหลังเลิกงานและต้องนั่งอยู่บนรถที่ติดหนัก 3-4 ชั่วโมงในทุกๆ วัน และเมื่อคุณกลับถึงบ้านดึกแล้ว ระดับคอร์ติซอลของคุณควรจะลดลงแต่กลับเพิ่มขึ้นเพราะเครียดกับการจราจรที่ติดขัดที่ได้สะสมมาตลอด หรือการออกกำลังกายก่อนเข้านอนที่เว้นระยะเวลาไว้น้อยเกินไปจะไปขัดขวางการนอนหลับลึก ในระยะแรกของอาการต่อมหมวกไตล้า อาการต่างๆ แทบจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน เท่ากับอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียที่เป็นทุกข์หลังเลิกงาน

สังเกตอาการ

  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด วิตกกังวล
  • นอนไม่หลับ หรือนอนไม่เต็มอิ่ม

2. ปรับสู่ภาวะการดื้อคอร์ติซอล

ฮอร์โมนหลักที่ร่างกายผลิตมาในระยะสั้นๆ หรือชั่วคราวเท่านั้น เพื่อช่วยให้คุณอยู่รอดได้สถานการณ์เฉพาะหน้าอันคับขัน แต่ถ้าคุณมีสถานการณ์อันคับขันเป็นรายชั่วโมงตลอดทั้งวัน ตลอดทั้งสัปดาห์ หรือข้ามปี นั่นก็คือ “ภาวะความเครียดสะสม” ก็จะนำไปสู่การที่ร่างกายต้านทานคอร์ติซอล เป็นวิธีของร่างกายในการแจ้งเตือนให้คุณได้รู้ว่าคุณควรหาทางจัดการกับความเครียดที่สะสมที่มากเกินไปให้หมดก่อนที่มันจะเริ่มล้นและระเบิดออกมาสู่ภายนอก โดยในระยะนี้ประสิทธิภาพการทำงานของต่อมหมวกไตจะค่อยๆ ลดลง และจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนความเครียดเพียงพอที่จะตอบสนองความเครียดที่เพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายเร่งการผลิตฮอร์โมนความเครียดคงไว้ระดับที่สูงตลอดเวลาที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

✜  หัวใจสั่น
✜  ทำให้ความดันเลือดสูงกว่าปกติ
✜  ปิดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค
✜  ปิดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค
✜  ลดประสิทธิภาพระบบเผาผลาญพลังงานและย่อยอาหาร
✜  ร่างกายสูญเสียความสามารกักเก็บสารอาหารสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามิน B1 วิตามิน D
✜  ทำลายมวลกล้ามเนื้อ มวลระดูก และเอ็นข้อต่อ
✜  คอลลาเจนและอีลาสติน ถูกทำลาย ทำให้แก่ก่อนวัย
✜  เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดสูง ที่จะยิ่งส่งเสริมการอักเสบต่อเซลล์ในร่างกายออีกเท่าตัว
✜  เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มโรคมะเร็ง กลุ่มหลอดเลือด หัวใจ และโรค Cushing ตามมาได้

สังเกตอาการ

  • อารมณ์แปรปรวน ตื่นตระหนก
  • วิตกกังวล คิดมาก
  • ปวดหัวเรื้อรัง
  • เหนื่อยล้ามาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก
  • นอนไม่หลับ นอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาพร้อมสมองล้ามึนงง
  • อาจมีอาการของไข้หวัด ภูมิแพ้ ที่เป็นๆ หายๆ
  • ปัญหาผิว เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ฟกช้ำง่าย

3. เข้าสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้า

ซึ่งก็คือภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า ส่งผลต่อการผลิตคอร์ติซอลที่ลดลงอย่างมาก ต่อมหมวกไตของคุณทำงานหนักมากเกินไปแล้ว แม้คุณยังคงเครียดอย่างหนักหน่วง และรู้สึกอย่างชัดเจนว่าร่างกายของคุณไม่มีคอร์ติซอลเพียงพอที่จะทำให้คุณตื่นตัว มีสมาธิ แต่กลับกลายว่าเริ่มมีอาการซึม เหม่อลอย

ด้วยเหตุนี้คุณจะรับรู้ถึงภาวะสมองล้า ร่างกายเหนื่อยล้า เวียนหัว อาจปวดร้าวไปตามกล้ามเนื้อทุกส่วน ส่งผลต่อสุขภาพคุณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตั้งแต่ระบบการย่อยอาหารไปจนถึงความต้องการทางเพศก็จะลดลง

สังเกตอาการ

  • อารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวล ตื่นตระหนก และเริ่มมีภาวะซึมเศร้า เก็บตัว ไม่มีสมาธิและความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
  • วิตกกังวล คิดมาก
  • ปวดหัวเรื้อรัง
  • ปวดร้าวไปตามกล้ามเนื้อคอ กราม ไหล่ หลัง
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูก
  • เหนื่อยล้าอ่อนเพลียมาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกักเก็บแร่ธาตุสำคัญหรืออิเล็กโทรไลต์ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และคลอไรด์
  • นอนไม่หลับ หรือนอนไม่เต็มอิ่มเป็นประจำ รวมถึงการใช้ยานอนหลับในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ความเครียดผ่อนคลาย
  • อาการของไข้หวัด ภูมิแพ้ เรื้อรัง เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มอ่อนแอหรือทำงานผิดเพี้ยน และเพิ่มการตอบสนองที่ผิดปกติจนอาจทำให้เกิดภูมิแพ้ต่างๆ
  • ปัญหาผิว เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผิวหมองคล้ำแห้งกร้าน ฟกช้ำง่าย

4. ภาวะ Burn out อาการหมดไฟ และจิตเภทอื่นๆ ที่อาจจะตามมา

นอกจากการผลิตฮอร์โมนความเครียดแล้ว ต่อมหมวกไตยังสนับสนุนกระบวนการอื่นๆ ของร่างกายหลายอย่าง ดังนั้นเมื่อการทำงานของต่อมหมวกไตลดลงอย่างมาก จนความเครียดเกินควบคุม ภายใต้สภาวะของความเครียดที่ยืดเยื้อนี้ ร่างกายจะหยุดสร้างคอร์ติซอลเนื่องจากมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นสูงเกินไปเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะตอบสนองโดยการลดระดับการผลิตคอร์ติซอลให้เหลือระดับต่ำอย่างมากที่สุดจนขาดความสมดุล ซึ่งเรียกว่า ภาวะ “ไฮโปคอร์ติซอล (Hypocortisolism) ซึ่งสัมพันธ์กับความเครียดและการบาดเจ็บที่รุนแรง ที่บ่งบอกว่าระบบที่ตอบสนองต่อความเครียดของร่างกายได้ถูกปิดตัวลงแล้วแม้คุณจะยังมีระดับความเครียดสูงมากที่ยังไม่สามารถจัดการได้ (ร่างกายเลือกที่ตัดการรับรู้ความเครียดที่เกินรับมือแบบปิดสวิชต์ยอมแพ้เพื่อพยายามให้ระบบอื่นได้รับฟื้นฟูจากการอักเสบแล้วกลับไปรับมือกับความเครียดได้อีกครั้ง) โดยระบบประสาทอัตโนมัติจะสร้างสัญชาตญาณ Fear-Freeze (กลัว-หยุดนิ่ง) เพื่อให้เห็นภาพเมื่อคุณเผชิญหน้ากับนักล่าในช่วงคับขัน เมื่อระบบประสาทอัตโนมัติประเมินแล้วพบว่าคุณสู้หรือหนีไปมีโอกาสรอดต่ำมากที่จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงหรือถูกฆ่าจากนักล่า โดยธรรมชาตินักล่าจะล่าหรือฆ่าเพื่อได้กินอาหาร หรือหาความสนุก หรือต้องการปกป้องอาณาเขตหรือขอแค่สามารถควบคุมคุณในอาณาเขตของมัน เช่น เมื่อคุณหยุดนิ่งหยุดหายใจหรือแกล้งตายเมื่อเจอหมีหรือเสือ หรือการพ่ายแพ้อย่างราบคาบในการสู้รบกับชนเผ่าอื่น (ไม่ต่างจากอาการที่คุณช็อกหรือกลัวอะไรสุดขีดแล้ววูบหมดสติไปแบบไม่รู้ตัว) เพื่อลุ้นให้นักล่าตายใจว่าคุณที่เป็นเหยื่อหรืออาหารที่ไร้ลมหายใจไม่ไหวติงไปแล้ว จะไม่สามารถหนีไปไหน 

โดยสัญชาตญาณ Fear-Freeze ยังเกิดได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างสัญชาตญาณ Fight-Flight เพื่อหยุดโฟกัสต่อภัยคุกคามหรือหลบซ่อนอำพรางตัว เพื่อประเมินสถานการณ์ก่อนจะตัดสินใจต่อสู้หรือหนีไป 

โดยหาก Fight-Flight-Fear-Freeze ไม่สามารถทำให้คุณจัดการกับภัยคุกคามหรือความเครียดได้อีก สิ่งนี้นำมาสู่การพัฒนาเป็นสัญชาตญาณใหม่ที่ปรับเข้ากับรูปแบบปัจจุบันของมนุษย์ที่ไม่มีสัตว์ป่าดุร้ายหรือความป่าเถื่อนที่จะเป็นภัยคุกคามให้คุณเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ทันทีอย่างในสมัยบรรพกาล แต่จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์หรือสัญชาตญาณรับมือกับความเครียดแห่งยุคที่พัฒนาไปได้หลากหลายรูปแบบและหลายมิติที่จะสร้างความเครียดเรื้อรังคุกคามทำร้ายร่างกายคุณได้ตลอดเวลา เป็นภัยคุกคามอันดับต้นๆ ในโลกยุคใหม่ นั่นคือร่างกายตอบสนองโดยการสร้าง “สัญชาตญาณ Fawn” (ยอมจำนนอยู่ใต้ความเครียดอย่างไม่มีข้อแม้) ที่เกิดจากการปรับตัวสำหรับมนุษย์สมัยใหม่ ที่จะเป็นต้นเหตุ “ภาวะ Burn out หมดไฟ”  โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กที่มีประวัติความรุนแรงจากครอบตัวที่นิยมความรุนแรงหรือผู้ปกครองที่ป่วยเป็นโรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) โดยจะสร้างผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจให้คุณแสดงออก ดังนี้

⫸   ยอมการตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง การเอารัดเอาเปรียบ ถูกกลั่นแกล้ง คุกคามรังแก โดนดูถูกทางวาจาและร่างกาย (Bullying) จากครอบครัว ที่ทำงาน และสังคม

⫸   ยอมขัดแย้งกับความต้องการที่ไม่เป็นตัวเอง ไม่สามารถเคารพการตัดสินใจหรือตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง และไม่มีความมั่นใจในตัวเอง

⫸   ยอมเก็บความทุกข์หรือความซึมเศร้ากับตนเอง แต่ยังสามารถแสดงออกเป็นคนจิตใจดี สร้างรอยยิ้ม ความสุข ความสัมพันธ์ที่ดีมีเสน่ห์ สร้างความสำเร็จ และความจงรักภักดีต่อความสัมพันธ์เป็นพิษ (Toxic Relationship) หรือความรุนแรงได้อย่างปกติให้ทุกอย่างเป็นไปโดยสงบดี แต่หากถึงที่สุดก็พร้อมจะระเบิดด้วยความรุนแรงได้ที่อาจจะเป็นการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น หรือต่อต้านสังคม เป็นต้น

⫸   ยอมถูกควบคุมเป็นผู้ตาม ส่งเสริม ยินดี เข้าร่วม ประจบสอบพลอ โดยเฉพาะการกระทำเชิงลบที่จะส่งผลกระทบต่อตนเอง บุคคลอื่น หรือสังคม

⫸  การยอมเป็นหนี้สินเกินตัว เพื่อการสถานภาพทางสังคม หรือการต้องมีในทรัพย์สินฟุ่มเฟือยให้เข้ากับกลุ่มหรือสังคมแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดความอับอาย หรือการไม่เป็นที่ยอมรับ หรือกลัวการถูกกีดกั้นทางสังคม

หากสัญชาตญาณ Fawn ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน นอกจากส่งผลกระทบในระดับบุคคลทางจิตใจแล้ว ยังสามารถส่งผลต่อไปสู่องค์กร และสังคมได้อีก คือ

  • ระดับบุคคล

○  บุคคลสามารถพัฒนาอาการเข้าสู่ภาวะป่วยจิตเภท คือ Dependent Personality Disorder (DPD) หรือเกิดความสัมพันธ์แบบ Codependent Relationship โดยรวมคือ ภาวะโหยหาการยอมรับและยึดติดกับการโดนควบคุม ภายใต้พฤติกรรมที่ยอมตามและยอมจำนนอย่างไม่มีข้อแม้ และจุดนี้หากผู้ป่วยได้รับความรุนแรง บาดแผลทางกายจิตใจ และความสะเทือนใจสุดขีด จะสามารถลุกลามไปสู่โรคจิตเภทที่มีอาการรุนแรงกว่าได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคหลายบุคคลิก โรคแพนิก โรคสมองเสื่อม โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD: Post-Traumatic Stress Disorder) โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias) เป็นต้น

○  การส่งต่อพลังลบ ความซึมเศร้า การยอมรับความรุนแรงหรือยอมถูกกระทำไปสู่บุคคลอื่นหรือสังคมได้

○  กลัวการถูกปฏิเสธ

○  ขาดความมั่นใจในตนเอง ต้องพึ่งพิงผู้อื่นตลอดเวลา ไม่กล้าตัดสินใจหรือทำอะไรด้วยตนเองเพราะกลัวความผิดและการลงโทษ

○  ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์

○  จะรู้สึกกลัวและรู้สึกผิดกับการการทำความเข้าใจปัญหาที่เผชิญตามความเป็นจริง หรือความคิดที่ก้าวไปข้างหน้าหากมีทางออกสำหรับการแก้ปัญหาหรือแนวทางที่ดีกว่า

  • ระดับองค์กร/บริษัท

○  ระบบการจัดบริหารและวัฒนธรรมองค์กรไม่สามารถสร้างเอกภาพให้พนักงานเข้าถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย หรือค่านิยมที่ควรจะไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำได้อย่างไร้ประสิทธิภาพ

○  พนักงานลาป่วยบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

○  มีอัตราพนักงานลาออกสูง

○  ส่งผลให้ผลกำไรลดลงหรือขาดทุนอย่างคาดไม่ถึง หรือผลลัพธ์การทำธุรกิจไม่บรรลุเป้าหมายหรือตามที่วางไว้

○  ไม่เกิดการพัฒนาหรือสร้างสรรค์แนวทางการทำงานใหม่ๆ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจและเทคโนโลยี ที่อาจจะตามไม่ทันคู่แข่ง

○  การใช้ต้นทุนพัฒนาและแข่งขันที่สูงกว่าคู่แข่งทางธุรกิจที่ทำการส่งเสริมสวัสดิการและคุณภาพชีวิตแรงงานได้อย่างดีเป็นนโยบายองค์กรที่สำคัญอันดับต้นๆ

  • ระดับประเทศ

○ หากเกิดความเครียดภาวะหมดไฟเป็นปัญหากับประเภทแรงงานที่มีทักษะฝีมือขั้นสูง แรงงานกึ่งมีฝีมือ ในระดับมหภาค จะทำให้เกิดการตลาดแรงงานขาดแคลนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อภาครัฐไม่ให้ความสำคัญกับระบบการจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคล และไม่ส่งเสริมส่งเสริมสวัสดิการและคุณภาพชีวิตแรงงานในประเทศได้ดีเท่าที่ควร ไม่เกิดความชัดเจน และสร้างความคลุมเคลือทางกฎหมายที่ส่งเสริมระบบองค์กรที่สามารถเอารัดเอาเปรียบ หรือหลีกเลี่ยงในการส่งเสริมสวัสดิการและคุณภาพชีวิตแรงงาน

○  ทำให้ประเทศประสบปัญหาแรงงานไหลออกไปยังต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนและส่งเสริมคุณภาพและสวัสดิการชีวิตแรงงานที่ดีกว่า

○ เมื่อประชาชนเจ็บป่วยด้วยปัญหาทางจิตจำนวนมาก คุณภาพชีวิตก็จะไม่ดี ปัญหาความเครียดรุมเร้ามากมาย ต้องทนอยู่หาทางออกไม่ได้ เช่น รายได้สวนทางกับปัญหาข้าวของราคาแพง ภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อ เศรษฐกิจตกต่ำถดถอย การไร้บ้านไร้ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ถ้าประชาชนส่วนใหญ่สุขภาพกายใจไม่ดี จะเกิดปัญหาในระดับครัวเรือน ที่เป็น 1 สาเหตุที่จะลุกลามไปเป็นปัญหาอาชญากรรมต่อสังคมได้ เช่น จี้ปล้นทรัพย์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาธุรกิจสีเทาหรืออิทธิพลเหนือกฎหมาย ที่จะกลับมาซ้ำเติมความบอบซ้ำจากความเครียดที่ประชาชนกำลังเผชิญเข้าไปอีก

อย่างไรแล้วสัญชาตญาณ Fawn ที่ร่างกายเลือกใช้สำหรับมนุษย์ในยุคสมัยใหม่ที่จะทำให้คุณมีโอกาสรอดได้เช่นกันกลยุทธ์ Fight-Flight-Fear-Feeze และเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ระบบประสาทอัตโนมัติจะใช้ เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกับระบบกลไกการรับมือกับความเครียดจากระบบประสาทอัตโนมัต ก็สามารถรับมือ จัดการ และก้าวข้ามมันได้ในระดับบุคคล (ตราบใดถ้าคุณยังคงสามารถปรับตัวและทนกับความเครียดนั้นอย่างเป็นไดนามิกหรือไหลลื่นยืดหยุ่นไปกับมันโดยที่จะไม่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมมากนัก)

แม้ภาวะร่างกายดื้อคอร์ติซอลจะนำไปสู่การเกิดภาวะไฮโปคอร์ติซอลที่ยังคงความอักเสบในระดับเซลล์ทั่วร่างกาย แต่ถ้าเป็นในระยะเวลาอันสั้นชั่วคราวและคุณรีบรักษาฟื้นฟูมันอย่างทันท่วงที แต่ในทางกลับกันถ้าความเครียดยังคงสะสมต่อเนื่องยาวนาน โดยที่คุณรู้ได้เลยว่าคุณไม่อยากทนในสภาพที่คุณอยู่และเริ่มมีความคิดสั้น หรือคิดถึงความรุนแรงเพื่อที่จะพร้อมปลดปล่อยความเครียดออกไป โปรดรับรู้ว่านี่จะเกินขอบเขต “ภาวะ Burn out หมดไฟ” จุดนี้คือความอันตรายสำหรับคุณและอย่าพยายามใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติร่วมกับภาวะนี้ ซึ่งนี่จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพสำคัญหลายอย่าง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ปัญหาความเสื่อมทางระบบประสาทและความจำ ระบบสืบพันธุ์ ปัญหาทางจิตเภทอื่นๆ ที่อาจรุนแรงกว่า เช่น โรคจิต โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคหลายบุคคลิก เป็นต้น และปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดกับตัวเองและบุคคลอื่นในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น คุณควรรีบเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ของคุณ

สังเกตอาการ

  • ภาวะทางจิตหรืออารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีเหมือนที่เคย เกิดความวิตกกังวล ตื่นตระหนก และมีภาวะซึมเศร้า ภาวะสิ้นความยินดี เก็บตัว ไม่มีสมาธิ และความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
  • ปวดหัวเรื้อรัง คิดมาก สติเหม่อลอย
  • ปวดร้าวไปตามกล้ามเนื้อคอ กราม ไหล่ หลัง
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและกระดูก
  • สมองและร่างกายเหนื่อยล้ามาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกักเก็บแร่ธาตุสำคัญหรืออิเล็กโทรไลต์ไว้ได้
  • โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง นอนกรนหรือกัดฟัน 
  • ความจำไม่ดี หลงๆ ลืมๆ
  • อาการของไข้หวัด ภูมิแพ้ ที่เป็นๆ หายๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มอ่อนแอหรือทำงานผิดเพี้ยน และเพิ่มการตอบสนองที่ผิดปกติจนอาจทำให้เกิดภูมิแพ้ต่างๆ
  • ปัญหาผิว เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผิวหมองคล้ำแห้งกร้าน ฟกช้ำง่าย
  • ผมร่วง ผมเปราะบาง
  • ใจสั่น
  • ความดันเลือดต่ำ
  • ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน
  • การควบคุมอุณหภูมิร่างกายที่แปรปรวน เช่น อาจมีเหงื่อมากหรือรู้สึกอาการเย็นหรือร้อน ตลอดเวลาเนื่องจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์และการไหลเวียนโลหิตไม่ดี
  • การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภาวะการมีบุตรยาก
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ท้องไส้ปั่นป่วน เสียดท้อง ท้องผูก รวมถึงประสิทธิภาพระบบการย่อยอาหาร การเผาผลาญพลังงานที่ต่ำลง
  • ไม่อยากอาหาร หรือมีความอยากอาหารที่ต่างจากเดิมหรืออยากกินในปริมาณที่มากและถี่กว่าปกติ เช่น อยากอาหารประเภทของหวาน-มัน-เค็มจัด ทอดกรอบ อาหารดิบหรือแสลงต่างๆ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สิ่งมึนเมา เช่น กัญชา บุหรี่
  • มีความคิดในเชิงลบ เบื่อหน่ายสังคม คิดถึงความรุนแรง และการคิดสั้น

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ

✧  “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” หากเครียดสะสม อาจป่วยโดยไม่รู้ตัว

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/adrenal-fatigue-cumulative-stress/

✧ เคล็ดลับการป้องกัน โรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/secret-of-ncds-disease-prevention/

✧ กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/eating-with-if-is-great-for-your-health/

✧ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/

รายการตรวจเลือดสำหรับประเมินระดับความเครียด

  • Cortisol
    คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่สร้างโดยต่อมหมวกไต เมื่อคุณเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรปิก (ACTH) จะถูกปล่อยออกมาในสมองของคุณ เพื่อบอกให้ต่อมหมวกไตของคุณปล่อยคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ให้ร่างกายของคุณพร้อมรับมือกับความเครียดที่เผชิญ
  • DHEA
    Dehydroepiandrosterone (DHEA) เป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกมาจากต่อมหมวกไตของคุณ การตรวจ DHEA หาก DHEA ของคุณอยู่ในระดับต่ำเกินไป จะเกี่ยวข้องกับความแปรปรวนของอารมณ์ที่อาจจได้รับผลกระทบจากความเครียดแและสมรรถภาพทางเพศต่ำ
  • TSH
    TSH เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ในสมองของคุณ ต่อมนี้สั่งให้ต่อมไทรอยด์ของคุณผลิตและปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์ Triiodothyronine (T3) และ Thyroxine (T4) ซึ่งร่างกายของคุณต้องการเพื่อให้การทำงานได้ปกติดี
  • Free T3 (FT3)
    การตรวจประเมิน FT3 สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาวะของต่อมไทรอยด์หรือต่อมใต้สมองเมื่อ TSH ของคุณผิดปกติอาจมาจากความฮอร์โมนเครียดที่มากระตุ้น
  • Free T4 (FT4)
    การตรวจประเมินฮอร์โมน FT4 บ่งชี้ว่าฮอร์โมน T4 ที่ออกฤทธิ์ไหลเวียนอยู่ในเลือดของคุณมากน้อยเพียงใด
  • วิตามินดี (VITD)
    กระตุ้นการทำงานเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท (์Neurotransmitter) เช่น Serotonin Dopamine และ Norepinephrine ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้มีผลช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าหมดไฟได้ และวิตามินดียังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของสมองและเซลล์ประสาท และมีส่วนเสริมสร้างสุขภาพจิต
  • วิตามิน B
    วิตามินบี 1-3-5-6-12 จะร่วมช่วยให้สารสื่อประสาทเซโรโทนินหลั่งออกมาเร็วขึ้น ฟื้นฟูอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิด เพิ่มสมาธิ และช่วยบำรุงระบบประสาท
  • โพแทสเซียม (Potassium)
    ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสติปัญญา ความคิด จิตใจร่าเริงแจ่มใส เพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยให้การทำงานของหัวใจเต้นเป็นปกติ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยฟื้นฟูภูมิแพ้ ช่วยกำจัดของเสียต่าง ๆ ในร่างกาย
  • แมกนีเซียม (Magnesium)
    เป็นแร่ธาตุสำคัญที่พบได้ในทุกเซลล์ทั้งระบบกระดูก กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อ มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์ และการสร้างสารที่จำเป็นต่อระบบประสาท ช่วยป้องกันอาการปวดหัวเรื้อรัง ลดความวิตกกังวล กระสับกระส่าย ทำให้ร่างกายผ่อนคลายจากความเครียด

แนวทางการป้องกันและจัดการกับภาวะ Burn out และต่อมหมวกไตล้า

  • เลือกอาหารจากธรรมชาติ (Whole Foods) คือ อาหารที่ปราศจากการปรุงแต่ง ไม่ผ่านการแปรรูป ขัดขาว หรือใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี รวมถึงไม่ส่วนผสมน้ำตาลปริมาณที่สูง ไม่ใส่สารกันเสีย สารเคมีที่แต่งสีและกลิ่นของอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เนื่องการบริโภคเป็นประจำจะสร้างการอักเสบเรื้อรังต่อเซลล์และความเสี่ยงที่ร่างกายจะขาดสารอาหารที่สำคัญจากธรรมชาติทำให้เป็นเหตุของภาวะซึมเศร้า รวมถึงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือทำงานผิดปกติ

✓  หากเป็นอาหารประเภทธัญพืชควรเป็นธัญพืชไม่ขัดสี หากเป็นอาหารประเภทพืชผักควรเป็นผักใบเขียวและผักหลากสี ที่เจริญเติบโตบนดินเพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเสริมการปกป้องจากความเครียด เช่น วิตามิน B1, B5, D, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม,โคลีน, CoQ10 ส่วนผักที่เป็นหัวใต้ดินและผลไม้ควรเลือกชนิดที่ไม่กระตุ้นอินซูลินของคุณมากไป

✓  เพิ่มสัดส่วนของหมวดหมู่อาหารประเภท โปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืช ไขมันดีจากสัตว์ เช่น ปลาทะเล

✓  ใช้น้ำมันจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil: EVOO ) หรือน้ำมันมะพร้าว ไม่ใช้ความร้อนสูงในการประกอบอาหาร หรือที่ระบุได้ว่าเป็นการรูปแบการผลิตแบบ Unrefined หรือ Virgin

✓  การกินโปรไบโอติกส์ (Probiotics) ได้แก่ กรีกโยเกิร์ตหรือโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติ ซุปมิโซะ กิมจิ น้ำหมักคัมบูชา น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล เพื่อให้ไมโครไบโอมหรือแบคทีเรียในลำไส้ของคุณเป็นเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีเป็นมิตรต่อสุขภาพที่ช่วยสร้างสารสื่อประสาทที่มีประสิทธิภาพและที่สำคัญ คือ เซโรโทนินที่เป็นฮอร์โมนที่จะสร้างความสมดุลกับฮอร์โมนความเครียดได้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารต่อวันที่มีหลายมื้อหรือถี่มากไป ตัดขนมหวานของว่าง เป็นดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น หรือจะใช้ตัวช่วยระหว่างวันเป็นเครื่องดื่มประเภทชาเขียว หรือกาแฟดำ ไม่เกิน 1- 2 แก้วกาแฟต่อวัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงตลอดเวลาที่จะเสี่ยงต่ออารมณ์ที่แปรปรวน และการอักเสบในเซลล์

✓  *สิ่งสำคัญที่คุณต้องตระหนักคือ คุณต้องได้คำแนะนำหรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนการเริ่มปฎิบัติ พร้อมทั้งมีความรู้และความเข้าใจที่ชัดเจนต่อวิธีการและการเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับเทคนิคการกินแบบดังกล่าว

  • ออกรับแสงแดดตอนเช้า ในช่วงเวลา 06.00 – 08.00 น.หรือช่วงก่อน 9 โมงเช้า และ แสงแดดช่วงเย็น หลัง 16.00 น. เป็นเวลา 10-20 นาที ในแสงแดดช่วงเวลานี้จะกระตุ้นวิตามินดีช่วยให้ความเครียดผ่อนคลายลง ปรับสภาพจิตใจ และเป็นการเพิ่มประสิทธิระบบภูมิคุ้มกันได้
  • เล่าปัญหาหรือความไม่สบายใจให้คนในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ที่เราไว้ใจ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการให้คำปรึกษาและแนะนำทางด้านสุขภาพจิต
  • นัดสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อน หรือชวนกันท่องเที่ยวในสถานที่ธรรมชาติหรือในสถานที่แปลกใหม่
  • หลีกเลี่ยงการหาเพื่อนที่เป็นคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ เช่น แอพหาเพื่อน แอพหาคู่ เพื่อหวังให้ผู้คนเหล่านั้นมาปลอบใจคุณในช่วงที่คุณกำลังอยู่ในความเครียดกดดัน ซึมเศร้า จริงอยู่ที่คนแปลกหน้าในออนไลน์ก็มีทั้งคนดีและคนไม่ดีถ้าเราอยู่ในช่วงที่ยังมีสติแยกแยะได้ แต่หากเมื่อคุณได้พูดคุยกับพวกเขาเหล่านี้ในช่วงที่สติคุณไม่อยู่กับเนื้อกับตัวยังคงความเครียดกังวล ความซึมเศร้าหม่นหมอง จะทำให้คุณอาจหลงกลต่อการล่อลวงหรือคารมของเหล่ามิจฉาชีพที่แฝงมาในรูปแบบของคนที่รัก หวังดี และห่วงใยคุณที่สุดได้อย่างง่ายๆ เขาอาจจะชวนคุณออกมาพบเจอเพื่อหลอกลวงทรัพย์สินคุณ หรือขอร้องให้คุณดาวน์โหลดแอพหรือเข้าชมเว็บไซต์แปลกๆ เพื่อจุดประสงค์บางอย่างที่ตรงกับสิ่งคุณกำลังต้องการ มีความเสี่ยงสูงต่อการเจอโปรแกรมแฮ็กหรือขโมยเงินในบัญชีธนาคารและข้อมูลส่วนตัวสำคัญๆ ของคุณได้ ยิ่งทำให้คุณมีอารมณ์ดำดิ่งและตอกย้ำอารมณ์เชิงลบที่เข้ามาอย่างท่วมท้น
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลลบต่อความรู้สึก เช่น การใช้สารเสพติดหรือสิ่งมึนเมาหรือการพนันทุกชนิด ปิดการรับชม รับรู้ รับฟัง ในสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดความเศร้า ความรุนแรง และความคิดเชิงลบ
  • พยายามนำพาตัวเองไปอยู่ในสังคมจิตอาสา ช่วยเหลือหรือบริจาคให้ทานแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัว หรือการส่งต่อวิทยาทานความรู้ความชำนาญที่คุณมี
  • ออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ หรือพิ้นที่ที่เปิดโล่งให้ได้พบปะหผู้คนใหม่ ท่ามกลางธรรมชาติ
  • ฝึกท่าโยคะ การฝึกสมาธิ ฝึกสติอยู่กับปัจจุบัน ฝึกจิตให้อยู่เหนืออารมณ์ความนึกคิด รวมถึงได้รับการนวดผ่อนคลายในศาสตร์ต่างๆ
  • นอนให้เต็มอิ่ม ให้ความสำคัญกับการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ บางทีคุณอาจการนอนหลับแล้วก็จริง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าคุณจะนอนได้อย่างมีคุณภาพ 6-8 ชั่วโมงในทุกคืน และนี้อาจเป็นจุดเชื่อมต่อกับความเครียดเรื้อรังที่คุณอาจมองข้ามไป การได้นอนอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยตอบสนองความเครียดและความสมดุลของฮอร์โมนสำคัญต่างๆ อีกมากมายอย่างที่คุณคาดไม่ถึง ที่จะส่งผลดีให้สุขภาพคุณ การปิดอุปกรณ์สื่อสาร การสร้างบรรยากาศห้องให้เงียบ ไร้เสียงรบกวนเท่าที่ทำได้ และฝึกทำจิตใจให้ปล่อยวาง จะช่วยให้การนอนของคุณดีขึ้นได้
  • หากคุณชื่นชอบกับการอยู่หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว นก ปลา หรือสัตว์เลี้ยงประเภทอื่นๆ ที่อาจจะเยียวยาความเครียดสะสมของคุณได้ หรือหากคุณไม่มีสัตว์เลี้ยงคุณอาจหาโอกาสไปใช้บริการคาเฟ่สัตว์เลี้ยง ที่อาจช่วยบำบัดความเครียดคุณได้อย่างคาดไม่ถึ
  • ใช้เวลาอ่านหนังสือ ฟังพอดแคสต์ ฟังเพลงหรือดูรายการที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดเชิงบวก ปล่อยวางทางอารมณ์
  • ศึกษาหรือฝึกเทคนิคการกำจัดความเครียดและความเศร้าตามหลักแนวคิดสัจธรรมและการปล่อยวาง เพื่อที่สามารถเข้าใจและมองโลกตามความเป็นจริง
  • ปรับและจัดการความคาดหวังหรือแผนการที่ต้องทำให้สำเร็จ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ความเป็นจริงในปัจจุบันของคุณ
  • การรู้จักศิลปะแห่งการปฏิเสธในการใช้ชีวิต เพื่อป้องกันผลกระทบจากความเครียดและทำให้คุณต้องเดือดร้อนหรือเสียเปรียบในภายหลัง เช่น หากคุณไม่พร้อมที่จะยื่นมือช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ ต่อคำร้องขอใดก็ต้องปฎิเสธอย่างชัดเจนและสุภาพ การปฏิเสธการทำงานที่หนักหรือ Overload มากไปเกินกว่าที่คุณคนเดียวจะรับไหว ควรต้องบอกกับหัวหน้างานสำหรับการแก้ปัญหานี้ร่วมกัน ปฎิเสธคนสนิทในการลงทุนที่มีความเสี่ยงหรือมีผลตอบแทนที่ไม่ชัดเจนหรือมีผลตอบแทนที่มากผิดปกติที่เราจะต้องศึกษาให้ละเอียดและรู้ให้จริงก่อนการลงทุนต่างๆ ระมัดระวังการช่วยเหลือด้านการเงินกับคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จักเช่น การค้ำประกันหนี้สินหรือให้การกู้ยืมสินทรัพย์มูลค่ามากเกินไปที่อาจจะทำคุณผิดหวังต่อความไว้ใจในประเด็นละเอียดอ่อนนี้ได้ เป็นต้
  • เข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย (ตรวจระดับฮอร์โมน Cortisol DHEA รวมถึงโรคออฟฟิศซินโดรม) และด้านจิตใจ (ปัญหาสุขภาพจิต โรคเครียดเรื้อรัง โรคย้ำคิดย้ำทำ) ประเมินสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพ หากเกิดอาการเครียดแบบไม่ทราบสาเหตุ มีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปอย่างไม่สามารถจัดการได้ หรือเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างผิดปกติจากการทำงานหนัก ปวดหัวและอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับและไม่เต็มอิ่ม รู้สึกหมดไฟ เป็นต้น
  • กรณีที่รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เผชิญหน้าหนักกว่าชีวิตเกินไป ณ วินาทีที่คุณรู้สึกว่าไม่อยากจะไปต่อ และไม่เหลือใครที่คุณจะพูดคุยหรือช่วยคุณได้ ขอให้คุณให้เวลาตัวเองก่อนและโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากคุณพบว่าคุณมีอาการข้างเคียงจากความเครียดที่เกินกว่าคุณต้องรับมือไหวและกำลังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคุณ ควรไปพบจิตแพทย์

สรุป

ภาวะต่อมหมวกไตล้าเริ่มต้นขึ้นเมื่อร่างกายคุณเผชิญกับความเครียดหลากหลายรูปแบบ เกินกว่าที่ร่างกายจะรับมือได้ โดยต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะเล็กๆ ที่อยู่เหนือไต โดยมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนความเครียดที่สำคัญ เช่น คอร์ติซอล เมื่อคุณต้องเผชิญกับความเครียดอย่างต่อเนื่องยาวนาน ต่อมหมวกไตจะไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายสำหรับรับมือกับความเครียดนี้ได้

ภัยคุกคามต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของมนุษย์ยุคก่อนในประวัติศาสตร์ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก เช่น การเผชิญหน้ากับสัตว์ป่าดุร้าย เช่น เสือ สิงโต การบุกรุกถ้ำหรือที่อยู่จากชนเผ่าอื่น หรือการเผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า พายุลมแรง ที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางกายภาพเบื้องต้นออกจากร่างกายโดยระบบประสาทอัตโนมัติ จะทำให้คุณเริ่มหายใจถี่ หัวใจเต้นแรง และเริ่มตื่นตระหนก จากส่วนลึกภายในสมองของคุณส่งสัญญาณทางเคมีจะเร่งฮอร์โมนความเครียดผ่านทางกระแสเลือด เตรียมร่างกายให้ตื่นตัวและพร้อมที่จะสู้หรือหนีจากอันตราย สมาธิการจดจ่อกับภัยคุกคามจะมีมากกว่าปกติ เพื่อให้ตอบสนองอย่างรวดเร็ว พร้อมพลังที่เสริมความแข็งแกร่ง และความคล่องตัวของสมรรถนะทางร่างกายที่เพิ่มขึ้น เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดสิ้นสุดลง สัญญาณของฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียดต่อร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ ดังนั้นการตอบสนองต่อความเครียดที่เคยเกิดขึ้นของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จะมีความรวดเร็วและเผชิญกับภัยอันตรายที่คุกคามชีวิตอาจเป็นเพียงเสี้ยววินาทีไปจนจบไม่ถึงค่อนวัน หากสัญชาตญาณจากระบบประสาทอัตโนมัติทำสำเร็จ คุณก็จะได้พักผ่อนและกินอาหารเข้าสู่สภาวะของร่างกายที่ปกติ สร้างความสมบูรณ์ของร่างกายเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้อยู่รอดต่อไป

แต่ในสังคมยุคใหม่ของเรา ความเครียดมีความซับซ้อนและหลากหลายมิติที่ยากจะรับมือให้สิ้นสุดในระยะเวลาอันสั้น ตอนนี้คุณอาจจะเก็บซ่อนความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ประจำวัน ความสัมพันธ์ การแบกรับภาระทางครอบครัว หน้าที่การงานที่ไม่มั่นคง ค่าครองชีพที่สวนทางกับรายได้ หรือภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ส่งเสริมเงินในกระเป๋าคุณ หรือความเครียดคุณอาจจะลุ่มลึก ซับซ้อนอธิบายไม่ได้มาหลายปี จนตอนนี้ก็ยังไม่รู้จะเอายังไงกับปัญหาดังกล่าวความเครียดจะไม่หยุดนิ่ง ยังคงแฝงและเพิ่มความซับซ้อนไปตามการพัฒนายุคสมัยใหม่ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง ดังนั้นสิ่งที่คุณสามารถทำได้คือการปรับตัวและมีวิธีการรับมือที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน

ปัจจุบันการวิจัยศึกษาต่างๆแสดงให้เห็นว่าการถูกกระตุ้นระบบความเครียดในระยะยาวเป็นภัยเงียบที่อาจส่งผลต่อชีวิตได้ และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs และโรคระบบเผาผลาญพัง (Metabolic Syndrome) โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า ภาวะหมดไฟ และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ 

เพื่อให้สุขภาพโดยรวมดีอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือควรหมั่นอัพเดตความรู้การรับมือกับความเครียดในวิธีการที่สร้างสรรค์และเป็นเชิงบวกเพื่อให้คุณได้ใช้ชีวิตที่มีความสุขและมีแรงบันดาลใจในทุกวัน และควรพิจารณาเพิ่มเติมในวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ การฝึกสมาธิ มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ ให้จิตอยู่เหนืออารมณ์ความนึกคิด ออกไปสัมผัสธรรมชาติ และการตรวจสุขภาพประจำปี

ฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) มีอยู่ในตัวทุกคน ที่สำคัญคือการรู้ว่าตนเองมีความเครียดเพื่อที่จะการจัดการความเครียดนั้นๆ อย่างตรงจุด มีเหตุและผล ร่วมถึงการวางแผนเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดเหล่านั้นขึ้นอีก แล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าคุณไม่ได้จะกำลังเผชิญกับความเครียดที่หนักอึ้งอย่างไม่รู้ตัวที่กลายเป็นโรคเครียดเรื้อรังไปแล้ว เราขอแนะนำ “รายการตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมนต้านความเครียดและช่วยชะลอวัย (DHEA)” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

รายการตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)
และฮอร์โมนต้านความเครียดและช่วยชะลอวัย (DHEA)

“อย่ารอให้ป่วย การตรวจเลือดให้รู้ก่อน ป้องกันได้”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกัน รักษา ฟื้นฟูระดับความเครียดที่คุณกำลังเผชิญ

✔  ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2561). “Beware of evening stress”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1242
  • กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2565). “คัมภีร์การรับประทานวิตามินและแร่ธาตุเพื่อสุขภาพคนวัยทำงาน นอนน้อย เครียด และติดหวาน (ตอนที่ 4)”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์:  https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2522
  • กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2565). “ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome)”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์:  https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2270
  • ดาวชมพู นาควิโร. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). “Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟจากการทำงาน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์:  https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/burnout-syndrome/
  • โรงพยาบาลราชวิถี. (2564). “สัญญาณ Burnout Syndrome อาการของคน เบื่องาน หมดไฟ และวิธีจัดการ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์:   https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=16953
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์. (2565). “โรคต่อมหมวกไต สำคัญอย่างไร?”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์:   https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/adrenal-insufficiency
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). “ตากแดดกันเถอะ ก็แดดมีประโยชน์”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์:  https://www.scimath.org/article-science/item/6656-2016-09-09-09-21-07
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564). “จับสัญญาณความเครียด หยุดพฤติกรรม 4F”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2566. จากเว็บไซต์:   https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/71e0f10a-1b58-e911-80e8-00155d93ef05
  • B. Schmidt,  et al., National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2007). “Exploring Human Freeze Responses to a Threat Stressor”.  Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2489204/
  • Cadegiani and Kater. (2016). “Adrenal fatigue does not exist: a systematic review “. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4997656/
  • David Jameson. Scientific Research. (2016). “Persistent Burnout Theory of Chronic Fatigue Syndrome”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.scirp.org/journal/paperinformation?paperid=67193
  • Esquivel. (2021). “Nutrition Strategies for Reducing Risk of Burnout Among Physicians and Health Care Professionals”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7958213/
  • Harvard Health Publishing, Harvard Medical School. (2020). “Understanding the stress response”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/understanding-the-stress-response
  • Healthdirect Australia, Australia Government Department of Health and Aged Care. (2022). Vitamin D deficiency”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.healthdirect.gov.au/vitamin-d-deficiency
  • Ibar, et al., National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2021). “Evaluation of stress, burnout and hair Cortisol levels in health workers at a University Hospital during COVID-19 pandemic”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8015376/
  • Lennartsson, et al., National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2015). “Burnout and Hypocortisolism – A Matter of Severity? A Study on ACTH and Cortisol Responses to Acute Psychosocial Stress”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4313581/
  • McCanlies, et al., Centers for Disease Control and Prevention (CDC), U.S. Department of Health & Human Services. (). “Associations of burnout with awakening and diurnal Cortisol among police officers”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://stacks.cdc.gov/view/cdc/110296
  • O. Jin, et al., National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2016). Cortisol/DHEA ratio and hippocampal volume: A pilot study in major depression and healthy controls”. Retrieved January 15, 2023, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5203799/
  • Penttinen, et al., National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2021). “The Association between Healthy Diet and Burnout Symptoms among Finnish Municipal Employees”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8308766/
  • Pruessner, et al., National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2015). “Burnout, perceived stress, and Cortisol responses to awakening”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10204973/
  • Shlisky, et al., National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2020). Calcium deficiency worldwide: prevalence of inadequate intakes and associated health outcomes”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9311836/
  • Stefan Bracha. The PubMed, National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2012). “Freeze, flight, fight, fright, faint: adaptationist perspectives on the acute stress response spectrum”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15337864/
  • The PubMed, National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2012). “Is adrenal exhaustion synonym of syndrome burnout at workplace?”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23213952/
  • WebMD. (2022). “What Does Fight, Flight, Freeze, Fawn Mean?”. Retrieved December 15, 2023, from:  https://www.webmd.com/mental-health/what-does-fight-flight-freeze-fawn-mean