ไลฟ์สไตล์แบบนี้ สุขภาพหัวใจแข็งแรง
การดูแลหัวใจให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหัวใจเป็นอวัยวะหลัก ที่คอยขับเคลื่อนการทำงานของร่างกายทั้งหมด คุณสามารถดูแลสุขภาพหัวใจได้ทุกวันด้วยไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมสุขภาพหัวใจอย่างเหมาะสม เราขอแนะนำแนวทางการดูแลหัวใจของคุณ ดังนี้
⭐ แนวทางการดูแลหัวใจที่คุณทำได้
① หลีกเลี่ยงภาวะพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือภาวะก่อนเป็นเบาหวานประเภท 2
- ลดการบริโภคน้ำตาลและของหวาน
- ลดการบริโภคอาหารประเภทแป้ง เช่น แป้งขัดขาว แป้งแปรรูป
- ลดการบริโภคไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปขั้นสูง เช่น มาการีน เนยขาว ครีมเทียม และน้ำมันพืช
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการปรุงแต่ง การแปรรูป การสังเคราะห์ทางเคมี ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ และอาหารขยะหรือประเภท Junk Food ประเภทที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์จํานวนมาก เช่น ไอศกรีม ของหวานต่างๆ หากกินอย่างเป็นประจำนอกจะทำลายสุขภาพหัวใจแล้วยังจะมีผลทำให้เกิดโรคตับแข็ง เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
- เลือกรับประทานอาหารจากธรรมชาติ (Whole Food) พร้อมเน้นบำรุงหลอดเหลือด หัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด โดยแหล่งอาหารควรเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ เช่น ผักสีเขียว บรอกโคลี พืชตระกูลถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และรับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา สัตว์ปีก ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณเพียงพอต่อมื้อ ลดอาหารแปรรูปให้ได้น้อยมากที่สุดหรือไม่นำมาบริโภค ใช้น้ำมันจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil: EVOO ) หรือน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันที่ไม่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงในการประกอบอาหาร เน้นรับประทานผลไม้เป็นของว่างแทนของหวาน เช่น สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ และกีวี่ อีกทั้งจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี หากเป็น ⌜อาหารไทย⌟ สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนผสมของหอมแดง กระเทียม และหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยให้สุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
② ดูแลและรักษาระบบเผาผลาญพลังงานให้สมดุล (Metabolism System)
- จัดการความเครียดได้ดี เพื่อสนับสนุนกระบวนการเผาผลาญพลังงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ดูแลรักษาต่อมไทรอยด์ให้ดี ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเผาผลาญพลังงาน เป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่จะไปกระตุ้นเซลล์ให้เกิดการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น อัตราการหายใจสูงขึ้น และอุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารและแหล่งพลังงานสำรองให้กลายเป็นพลังงานแก่ร่างกาย ในทางกลับกัน ผู้ที่มีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรือภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเผาผลาญต่ำ และอาจมีความเสี่ยงที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งของการเกิดโรคระบบเผาผลาญพลังงานเสื่อม คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้ด้วยการได้รับสารอาหารที่มีไอโอดีนและซีลีเนียมจากแหล่งอาหาร เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลาทะเล ไข่ กระเทียม หอมใหญ่ บร็อกโคลี เป็นต้น
- หากคุณมักมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรือมีแก๊สมากในทางเดินอาหาร อาจเป็นสัญญาณของภาวะลำไส้รั่ว ซึ่งมีสาเหตุจากการแพ้อาหารที่มีกลูเตน เช่น ธัญพืชและข้าวต่างๆ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ รวมถึงอาหารแปรรูป เช่น ขนมปัง ซีเรียล ข้าวโอ๊ต พาสต้า น้ำสลัด โปรตีนเกษตร หมูเด้ง หมูนุ่ม ลูกชิ้น ปูอัดเทียม ซุปข้น คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เพราะภาวะลำไส้รั่วเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่อาจส่งผลเสียต่อต่อมไทรอยด์ของคุณได้
- รักษาความสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดี โดย 70% ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ที่ “ลำไส้” หากคุณมีสุขภาพลำไส้ที่ดี จะเท่ากับว่าคุณมีจุลินทรีย์ชนิดดีที่เป็นมิตรอาศัยอยู่ในลำไส้ของคุณ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่มากับอาหาร รวมถึงป้องกันโรคภูมิแพ้อาหารได้ด้วย แหล่งอาหารที่คุณจะได้รับจุลินทรีย์ชนิดดี ได้แก่ กรีกโยเกิร์ตหรือโยเกิร์ตธรรมชาติ ซุปมิโซะ กิมจิ น้ำหมักคอมบูชา น้ำหมักแอปเปิ้ล และคุณยังสามารถเพิ่มพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นอาหารที่สำคัญของโพรไบโอติกส์ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้
③ ดูแลความดันโลหิตให้เป็นปกติ
สุขภาพหัวใจที่แข็งแรงจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความดันโลหิตที่ควรเป็น ควรต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท การรู้สึกอุ่นที่ปลายแขนปลายขา เช่น นิ้วมือและนิ้วเท้า และสีผิวที่เป็นปกติ บ่งบอกถึงการไหลเวียนของเลือดที่ดี แต่หากปลายแขนปลายขาเย็น ซีด หรือเป็นสีน้ำเงิน อาจบ่งบอกถึงปัญหาการไหลเวียนโลหิต ซึ่งควรไปตรวจสอบจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพโดยเร็วที่สุด
④ ออกกำลังกายและรักษาน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
การรักษาน้ำหนักให้สมดุลจะช่วยลดภาระของหัวใจและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ น้ำหนักเกิน โดยเฉพาะการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้อง อาจทำให้เสี่ยงต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจมากขึ้น การรับประทานอาหารที่สมดุลและการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
ส่วนในด้านการออกกำลังแบบออกแรงหนักสลับเบา โดยมีการจัดอัตราส่วนเวลาในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม High Intensity Interval Training (HIIT)
การศึกษาขนาดเล็กในปี 2020 พบว่า HIIT สามารถเพิ่มการเผาผลาญและกระตุ้นประสิทธิภาพของระบบการเผาผลาญพลังงานได้อย่างดี โดยเฉพาะหลังจากออกกำลังกายแบบ HIIT ร่างกายจะเผาผลาญไขมันและใช้พลังงานมากขึ้นและมีประสิทธิ
⑤ นอนหลับพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ
การให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพหัวใจและสุขภาพโดยรวม การนอนหลับอย่างเพียงพอช่วยให้หัวใจได้พักผ่อน เพิ่มพลังงาน และปรับปรุงระบบฮอร์โมนให้กับร่างกายได้ดี การนอนหลับไม่สนิทหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไปและก่อให้เกิดปัญหาทางหลอดเลือดและหัวใจ
⑥ จัดการความเครียดให้ได้
ควบคุมความเครียดช่วยปกป้องหัวใจของคุณได้ ความเครียดจะเพิ่มระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะมีส่วนไปลดการทำงานของระบบเผาผลาญพลังงานให้เสื่อมลง และอาจส่งผลต่อความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ ความเครียดที่สูงยังอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ หรือกระตุ้นให้อยากรับประทานอาหารแปรรูปและของหวานมากเกินไป
ดังนั้น หากคุณมีจิตใจแจ่มใสและอารมณ์เป็นปกติ คุณจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจในระดับต่ำ แต่หากคุณต้องเผชิญกับความเครียดแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณควรมีวิธีการควบคุมและจัดการความเครียด เช่น การฝึกหายใจ การทำสมาธิ การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมที่ชอบหรืองานอดิเรก หรือแม้แต่การบำบัดกับจิตแพทย์
⑦ ไม่สูบบุหรี่
คนส่วนใหญ่ทราบดีว่าการสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือสองไม่ดีต่อปอด แต่สิ่งที่คุณอาจไม่รู้ก็คือ ควันบุหรี่ยังส่งผลเสียต่อหัวใจด้วย สารเคมีในยาสูบสามารถทำลายหัวใจและหลอดเลือด ควันบุหรี่ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น เพราะหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนไปยังร่างกายและสมอง สารเคมีเป็นพิษที่มีอยู่ในควันบุหรี่มากกว่า 1,000 ชนิด นำไปสู่การสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดแดง การศึกษาแสดงว่าสารเคมีเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
⑧ ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นประจำและต่อเนื่องมากเกินไป
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจนำไปสู่ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ การดื่มมากเกินไปยังอาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจนำไปสู่ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หรือโรคหลอดเลือด
⑨ ดูแลสุขภาพช่องปาก
การที่ช่องปากขาดความสมดุลของเชื้อแบคทีเรียหรือมีสุขภาวะช่องปากที่สกปรก จะก่อให้เกิดโรคเหงือก แบคทีเรียที่สะสมอยู่รอบๆ ฟันประกอบด้วยไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และสารอื่นๆ หากเชื้อเหล่านี้ปนเปื้อนผ่านเหงือกที่อักเสบหรือเป็นแผลจากการติดเชื้อ พวกมันอาจเข้าผ่านกระแสเลือดและสะสมในหลอดเลือดแดง เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่นำไปสู่ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง มากกว่าคนทั่วไปถึง 2-3 เท่า ดังนั้นควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคเหงือก
⑩ หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้งช่วยสนับสนุนแนวทางการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
รายการตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจ (Heart Disease) เบื้องต้น ได้แก่:
- Creatine Phosphokinase
- C Reactive Protein
- Homocysteine
- LIPID PROFILE
- Apolipo Protein A-1,Apolipoprotein B,Lipoprotein (a)
นอกจากนี้ยังมีโรคที่ทำลายสุขภาพหัวใจได้ในทางอ้อม คุณควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคประจำปีด้วยเช่นกัน โดยมี
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 ลดโอกาสป่วยหนักได้
- วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคบางชนิดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน เป็นต้น
⭐ สัญญาณสำคัญของสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง
- อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักผ่อนที่คงที่
- ความดันโลหิตมีความสม่ำเสมอและอยู่ในระดับปกติ บ่งบอกระบบการหมุนเวียนโลหิตมีประสิทธิภาพ
- ร่างกายควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ดี
- มีสมรรถภาพทางร่างกายที่อดทน แข็งแกร่ง
- มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมและสมดุล
- มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ปกติ
- นอนหลับได้สบายในทุกคืน
- มีสมาธิและการจดจ่อทำกิจกรรมได้ดี
⭐ ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ
❈ “สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
❈ ประเมินอนาคตสุขภาพคุณ
จากความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
❈ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย
https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/
❈ เคล็ดลับการป้องกัน โรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม
https://pathlab.co.th/secret-of-ncds-disease-prevention/
⭐ สรุป
หัวใจเป็นศูนย์กลางการมีชีวิตของร่างกายคุณ การดูแลสุขภาพหัวใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การฟังและติดตามสัญญาณต่างๆของหัวใจถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล ช่วยให้คุณรับรู้ถึงสุขภาพหัวใจและวางแผนดูผลได้อย่างเหมาะสม การใช้ชีวิตอย่างสมดุลด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย รักษาน้ำหนักให้เหมาะสมกับตนเอง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันโรคหัวใจและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม ควรตรวจสุขภาพและรับวัคซีนอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรค
โปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐาน
“ลดความเสี่ยงด้านสุขอนามัย และด้านการเงินรักษาพยาบาล”
✔ เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนดูแลระดับโปรตีนให้เหมาะสมกับร่างกายคุณ
✔ ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์
ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<
ข้อมูลโดย :
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ] 02 573-3490-1
ศูนย์บริการพาธแล็บ [ ◕ กดโทร ] 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/inbox
LINE Official [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/LINE
Website [ ◕ กดคลิก ] www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/google-maps
อ้างอิงจาก:
-
- กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. “ดูแลสุขภาพหัวใจของคุณ Winnebago County – ข่าวประชาสัมพันธ์”
-
-
- https://publichealth.wincoil.gov/th/take-care-of-your-heart-health/
-
- สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย. “รักหัวใจ ใส่ใจดูแล I Love My Heart”
-
-
- https://thaiathero.org/story28
-
- โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. “ไขมันทรานส์ตัวร้ายทำลาย (Trans Fat)”
-
-
- https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/727/Trans-Fat
-
- อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “น้ำหนักขึ้นง่าย สิวไม่หาย! … สัญญาณ \”ภาวะลำไส้รั่ว\”
- Heart Foundation. “Keep your heart healthy”.
- National Heart, Lung and Blood Institute. “What Is Heart-Healthy Living?”.
- MedlinePlus, National Library of Medicine. “How to Prevent Heart Disease”.
- BMJ Publishing Group Ltd & British Cardiovascular Society.. “Hiding unhealthy heart outcomes in a low-fat diet trial: the Women’s Health Initiative Randomized Controlled Dietary Modification Trial finds that postmenopausal women with established coronary heart disease were at increased risk of an adverse outcome if they consumed a low-fat ‘heart-healthy’ diet”.
- https://openheart.bmj.com/content/8/2/e001680
- National Library of Medicine. National Center for Biotechnology Information. “EPOC Comparison Between Resistance Training and High-Intensity Interval Training in Aerobically Fit Women”.
- Harvard Health Publishing (HHP), Harvard Medical School. “Gum disease and heart disease: The common thread”.