เรื่องน่ารู้:
- ⌜เคล็ดลับที่ ①⌟ เข้าใจและใช้กลไก Autophagy ให้เต็มประสิทธิภาพ
#Autophagy คือ กระบวนการรีไซเคิลโปรตีน หรือเศษซากเซลล์ที่ตาย เซลล์ที่เสียหาย หรือเซลล์ที่มีการแบ่งตัวแบบผิดปกติ โดยร่างกายการกลืนกินและกำจัดเซลล์เหล่านั้น เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของการสร้างเซลล์ใหม่ที่ปกติและอยู่ในการควบคุมได้ ถือเป็นกลไกทางธรรมชาติทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต โดยกลไกการกินตัวเองของเซลล์ เป็นกระบวนการฟื้นฟูทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ในร่างกาย
✧ ประโยชน์และความสำคัญของกลไก Autophagy
✓ เป็นกระบวนการรีไซเคิลโปรตีน ออร์แกเนลล์ หรือเศษซากเซลล์ที่ตายแล้วหรือมีความเสียหาย เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของเซลล์ใหม่
✓ สนับสนุนการทำงานของจุดกำเนิดพลังงานแห่งเซลล์ คือ ไมโตคอนเดรีย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพจากไขมันสะสมให้เป็นพลังงานสะอาด ลดการตกค้างของสารอนุมูลอิสระ (ของเสียจากการเผาผลาญพลังงาน)
✓ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์หัวใจ และป้องกันโรคหัวใจ
✓ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโดยกำจัดเชื้อโรคในเซลล์
✓ ป้องกันโปรตีนที่เป็นพิษซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคอะไมลอยด์หลายชนิด
✓ ปกป้องโครงสร้างและความมั่นคงของ DNA ไม่ให้เกิดการเสียหายหรือกลายพันธุ์
✓ ป้องกันและกำจัดเซลล์ที่กลายพันธุ์หรือเซลล์มะเร็ง ที่สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายคุณ
✓ ปกป้องระบบประสาทและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมองและเซลล์ประสาทตลอดอายุขัย ช่วยปรับปรุงการทำงานของการรับรู้ โครงสร้างสมอง และความยืดหยุ่นของระบบประสาท ป้องกันโรคทางระบบประสาท
✓ เป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับการชะลอวัยพร้อมกับการมีสุขภาพดีแบบย้อนวัยได้ จากการเผาผลาญที่ดีขึ้น ความสามารถผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และการส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมตามสรีระของแต่ละบุคคล และกลไกที่สนับสนุนการป้องกันโรคโรคระบบเผาผลาญพลังงานเสื่อม และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs
✼ โรคมะเร็ง
✼ โรคเบาหวาน
✼ โรคหัวใจ
✼ โรคตับ
✼ โรคอัลไซเมอร์
✼ โรคพาร์กินสัน
✼ โรคกระดูกพรุน
✼ ภาวะการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อตามอายุ
✧ คุณจะเพิ่มประสิทธิภาพกลไก Autophagy ของคุณได้อย่างไรบ้าง?
⌕ ใช้การกินแบบ IF (Intermittent Fasting)
⌕ พิจารณาการเพิ่มสัดส่วนอาหารแบบ Whole Food / Real Food / คีโตเจนิก / โลว์-คาร์บไดเอ็ท โดยให้เหมาะกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ และที่สำคัญลดปริมาณอาหารหวานมัน ที่มีส่วนผสมน้ำตาล สารปรุงรสฟรุกโทสคอนไซรัป สารปรุงแต่งสังเคราะห์ทางเคมี และแป้งขาวแปรรูปที่ผสมในปริมาณที่สูง รวมถึงอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารทอดกรอบหรือผ่านความร้อนสูง
⌕ นอนหลับให้เพียงพอ
⌕ ออกกำลังกาย และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม
⌕ รักษาความสมดุลของฮอร์โมนอินซูลิน คอร์ติซอล และกลูคากอน
⌕ การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
⫸ ข้อควรระวัง!!
* ผู้สนใจควรศึกษาหลักการกินแบบ IF หรือการออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่ทำตามผู้อื่นอย่างเข้าใจในวิธีการไม่ชัดเจน และหากคุณกำลังใช้ยาบางชนิดเพื่อควบคุมโรคประจำตัว เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ ควรได้รับคำปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกี่ยวกับการกินแบบ IF และวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ไม่ควรอดอาหารและเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกแรงในกิจวัตรประจำวัน
- ⌜เคล็ดลับที่ ②⌟ ตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ช่วยสนับสนุนการแนวทางการป้องกันหรือลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
✧ ตรวจสุขภาพประจำปี ปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามสุขภาพของคุณและวางแผนการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องได้ คุณสามารถตรวจดูภาพรวมสุขภาพของคุณ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยรายการตรวจดังนี้
⟴ ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง
✓ สารบ่งชี้มะเร็งตับ (ค่า AFP)
✓ สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (ค่า CEA)
✓ สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (ค่า CA 15.3)
✓ สารบ่งชี้มะเร็งมดลูกและรังไข่ (ค่า CA 125)
✓ สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (ค่า CA 19.9)
✓ สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (ค่า PSA)
✓ สารบ่งชี้มะเร็งปอด (ค่า NSE)
✓ ตรวจคัดกรองแนวโน้มการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก (ค่า Free PSA)
⟴ ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)
✓ วัดความเข้มข้น ปริมาณของเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง
✓ ดูขนาด รูปร่างและสีของเม็ดเลือดแดง
✓ วัดและแยกประเภทเม็ดเลือดขาว แสดงถึงภาวะการอักเสบ การติดเชื้อต่างๆ พยาธิและโรคทางพันธุกรรม เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว
✓ วัดปริมาณเกล็ดเลือด เพื่อประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด
✓ ตรวจหมู่โลหิต ABO กับหมู่ RH
⟴ ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
✓ เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงโรคเบาหวานเบื้องต้น
⟴ ระดับไขมันในเส้นเลือด (Lipid Profile)
✓ ตรวจเพื่อประเมินอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
✓ ตรวจระดับไขมันรวมในเลือด (Total Cholesterol) ระดับไขมันชนิดดี (HDL) ระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ซึ่งถ้าสูงเกินไป จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมอง
⟴ การทำงานของตับ (Liver Function Tests)
✓ ตรวจประสิทธิภาพการทำงานของตับ ภาวะตับอักเสบ เอนไซม์ที่สร้างจากตับ
⟴ การทำงานของไต (Renal Function Tests)
✓ ตรวจการทำงานและประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไต
✓ ตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเพื่อดูแนวโน้มการเกิดโรคเกาต์
⟴ ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
✓ ตรวจเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคไต และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
⟴ สามารถตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่นๆ หรือการตรวจสุขภาพแบบครอบคลุมเชิงลึกนอกจากรายการนำเสนอนี้ โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-619-2288, 02-619-2299
- มนุษย์ไม่ใช่สายพันธุ์เดียวที่สามารถใช้และได้รับประโยชน์จากการกลไก Autophagy หรือ กระบวนการฟื้นฟูของเซลล์โดยการกินตัวเองอัตโนมัติ จากการค้นพบ กลไกนี้ยังมีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หนอน ยีสต์ รา และพืช
กลไก Autophagy มีบทบาทสำคัญในด้านสุขภาพหลายๆ ด้าน และเป็นหนึ่งในความสำคัญทางกระบวนการทางชีวภาพในร่างกายของมนุษย์ที่จะต้องดูแลกลไกนี้ให้คงอยู่ไปตลอดชีวิต เพราะหากเกิดความผิดปกติกับกลไกนี้ จะส่งผลให้คุณต้องเผชิญกับการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ที่จะลุกลามกลายเป็นโรคมะเร็ง รวมถึงโรคเรื้อรังที่บ่งบอกถึงความเสื่อมของเซลล์ เช่น โรคเบาหวาน
การกินตัวเองอัตโนมัติ Autophagy จะลดลงตามอายุ การจำกัดแคลอรี่ การอดอาหาร และการออกกำลังกายล้วนกระตุ้นให้เกิดการกินตัวเองอัตโนมัติ Autophagy
โพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารประกอบที่เป็นประโยชน์ที่พบในพืชก็อาจมีบทบาทในการกระตุ้นการกินตัวเองอัตโนมัติ Autophagy เช่นกัน
ในปัจจุบันยังคงมีการเก็บข้อมูลการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และผลกระทบของการกินตัวเองอัตโนมัติ Autophagy
ทุกคนมีความปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีผ่านทุกช่วงวัยชีวิตสู่บั้นปลายชีวิตที่แข็งแรงไร้โรคภัย ซึ่งระหว่างทางแห่งการดำรงชีวิตนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณจะมีส่วนอย่างมากที่จะกำหนดความเป็นไปของสุขภาพคุณ และถ้าคุณได้รู้เคล็ดลับ 2 ข้อง่ายๆ นี้ ที่คุณสามารถทำได้เลยเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคระบบเผาผลาญพลังงานเสื่อม และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs โดยที่ไม่มีความซับซ้อนหรือต้องพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงแต่อย่างใด เรามาเปิด 2 เคล็ดลับนั้นกัน
เคล็ดลับที่ ① เข้าใจและใช้กลไก Autophagy ให้เต็มประสิทธิภาพ
ในกระบวนการฟื้นฟูของเซลล์โดยกลไกการกินตัวเองของเซลล์ (Autophagy) และจำกัดเซลล์ร้ายหรือสิ่งแปลกปลอมในระดับเซลล์อัตโนมัติ
โดยปกติมนุษย์ที่มีสุขภาพดีแข็งแรงสมบูรณ์ เซลล์ที่บรรจุ DNA หรือสารพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป จะเกิดความเสียหายและสามารถซ่อมแซมตัวเองหรือตายตามธรรมชาติ แต่เซลล์มะเร็งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อกระบวนการดังกล่าวถูกการแทรกแซงจากปัจจัยต่างๆ เช่น
- การกลายพันธุ์ที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เชื้อไวรัส เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต
∆ การกินอาหารต่อวันที่ถี่มากไป พร้อมกับการเลือกกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (การเสพติดน้ำตาล อาหารหวานจัด เค็มจัด ทอดกรอบ อาหารแปรรูปขั้นสูงด้วยสารปรุงแต่งสังเคราะห์ทางเคมี)
∆ ความเครียดเรื้อรัง
∆ ขาดการออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวในแต่ละวันที่น้อยเกินไป
∆ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
∆ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ การปนเปื้อนสารเคมีหรือแร่ โลหะหนักบางชนิด
∆ การติดเชื้อไวรัส เช่น
✼ ไวรัส HBV (Hepatitis B Virus) และไวรัส HCV ตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus) ต้นเหตุของมะเร็งตับ
✼ ไวรัส HPV (Human papillomavirus) ต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปาก มะเร็งอวัยวะเพศชาย
✼ ไวรัส Epstein-Barr ต้นเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งโพรงจมูก
✼ ไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) ต้นเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ป่วยโรคเอดส์
✼ ไวรัส HTLV-1 (Human T-cell lymphotropic virus type 1) ต้นเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือก่อโรค
ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องใช้วงจรก่อกำเนิด การสร้าง-กำจัดเซลล์ที่เสื่อมหรือเสียหายอย่างเป็นระบบ เพื่อที่ให้เซลล์ที่เกิดใหม่เติบโต แบ่งตัว และตายในลักษณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมได้ หากไม่สามารถควบคุมได้นั้นก็คือการเกิดเซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกที่จะมีความเสี่ยงต่อร่างกายได้ในอนาคต
โดยร่างกายต้องพึ่งกระบวนการหรือกลไกที่เรียกว่า Autophagy หรือ กระบวนการฟื้นฟูของเซลล์โดยการกินตัวเองอัตโนมัติ ที่จะส่งเสริมให้ร่างกายการกำจัดเซลล์ส่วนเกินหรือเซลล์ที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเซลล์นั้น รวมทั้งโปรตีนส่วนเกินหรือเสื่อมสภาพ ไขมัน ไวรัสหรือเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงการดักจับสิ่งแปลกปลอม สารพิษ สารเคมีที่ตกค้าง
Autophagy ถือเป็นกลไกทางธรรมชาติทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตโดยคุณอาจไม่เคยรู้ว่ามันมีอยู่จริง และคุณจำเป็นต้องใช้กระบวนการนี้ต่อการดำรงชีวิตในทุกวัน โดยกลไกการกินตัวเองของเซลล์ เป็นกระบวนการฟื้นฟูทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ในร่างกาย
ประโยชน์และความสำคัญของกลไก Autophagy:
- เป็นกระบวนการรีไซเคิลโปรตีน ออร์แกเนลล์ หรือเศษซากเซลล์ที่ตายแล้วหรือมีความเสียหาย เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของเซลล์ใหม่
- สนับสนุนการทำงานของจุดกำเนิดพลังงานแห่งเซลล์ คือ ไมโตคอนเดรีย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพจากไขมันสะสมให้เป็นพลังงานสะอาด ลดการตกค้างของสารอนุมูลอิสระ (ของเสียจากการเผาผลาญพลังงาน)
- ปกป้องระบบประสาทและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมองและเซลล์ประสาทตลอดอายุขัย ช่วยปรับปรุงการทำงานของการรับรู้ โครงสร้างสมอง และความยืดหยุ่นของระบบประสาท ป้องกันโรคทางระบบประสาท
- เสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์หัวใจ และป้องกันโรคหัวใจ
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโดยกำจัดเชื้อโรคในเซลล์
- ป้องกันโปรตีนที่เป็นพิษซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคอะไมลอยด์หลายชนิด
- ปกป้องโครงสร้างและความมั่นคงของ DNA ไม่ให้เกิดการเสียหายหรือกลายพันธุ์
- ป้องกันและกำจัดเซลล์ที่กลายพันธุ์หรือเซลล์มะเร็ง ที่สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายคุณ
- เป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับการชะลอวัยพร้อมกับการมีสุขภาพดีแบบย้อนวัยได้ จากการเผาผลาญที่ดีขึ้น ความสามารผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และการส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมตามสรีระของแต่ละบุคคล และกลไกที่สนับสนุนการป้องกันโรคโรคระบบเผาผลาญพลังงานเสื่อม และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เช่น
⊹ โรคมะเร็ง
⊹ โรคเบาหวาน
⊹ โรคหัวใจ
⊹ โรคตับ
⊹ โรคอัลไซเมอร์
⊹ โรคพาร์กินสัน
⊹ โรคกระดูกพรุน
⊹ ภาวะการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อตามอายุ
คุณจะเพิ่มประสิทธิภาพกลไก Autophagy ของคุณได้อย่างไรบ้าง?
- การกินแบบ IF (Intermittent Fasting)
การจัดเวลาการกินอาหารโดยมีการอดอาหารเป็นช่วงเวลา หรือลดความถี่ในการกินต่อวันไม่เกิน 2-3 มื้อต่อวันโดยกำหนดช่วงเวลาการกินอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ที่จะทำให้ระดับอินซูลินลดลงมากเพียงพอและนานพอที่ทำให้ร่างกายใช้พลังงานไขมันสะสมมาเผาผลาญให้ร่างกายใช้ หรืองดกินเป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมง (สามารถนับรวมเวลานอนร่วมได้ เช่น หากรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายในเวลา 4 โมงเย็น คุณจะครบกำหนดการออก IF ณ เวลา 8 โมงเช้าวันถัดไป เป็นต้น หรือปรับระยะเวลาตามสถานการณ์ที่คุณสะดวก) ซึ่งประเภทการกิน IF มีหลายประเภท เช่น กินแบบ 16/8, กินแบบ 5:2, กินแบบสลับวัน, OMAD, กินแบบ Warrior Diet เป็นต้น
ซึ่งหากคุณสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารเยี่ยมชมที่
≫ ◕https://pathlab.co.th/eating-with-if-is-great-for-your-health/
- พิจารณาอาหาร Whole Food / Real Food / คีโตเจนิก / โลว์-คาร์บ ไดเอ็ท
อาหารคีโตเจนิก (“คีโต”) เป็นอาหารที่มี ไขมันสูงมากและมีคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก และควรเป็นอาหารประเภท Whole Food หรือเน้นการกินอาหารจากธรรมชาติมากที่สุด (โดยไม่มีอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งหรือผ่านการแปรรูปหรือใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสูง ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ อาหารขยะหรือประเภท Junk Food) ซึ่งมีผลคล้ายกับการกินแบบ IF การได้รับแคลอรี่ประมาณ 75 % หรือมากกว่าในแต่ละวันจากไขมัน และไม่เกิน 5–10 % ของแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรต และการกินอาหารประเภทคีโตเจนิก โลว์-คาร์บ ไดเอ็ท จะบังคับให้ร่างกายของคุณต้องเผาผลาญไขมันเป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำตาลกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารประเภทแป้ง
- นอนหลับให้เพียงพอ
จังหวะการเต้นของหัวใจ (ในช่วงวงจรการนอนหลับ-ตื่น) ของเราจะควบคุมกลไก Autophagy โดยเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจากต่อมไพเนียลในสมองของคุณ จะช่วยควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และระดับเมลาโทนินที่เพียงพอจำเป็นต่อการนอนหลับอย่างรวดเร็วและนอนหลับลึกตลอดทั้งคืน ซึ่งจะกระตุ้นการเกิดกลไก Autophagy ในส่วนสมอง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติทางระบบประสาทและโรคจิตเวช
- ออกกำลังกาย และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม
จะเห็นผลดีในระยะยาวที่สุดเมื่อออกกำลังกายตลอดชีวิตเป็นประจำ ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม โดยหากจะเน้นกระตุ้นการเกิด Autophagy การออกกำลังกายเพียง 30 นาทีแบบ HIIT (High Intensity Interval Training) คือ วิธีออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงในระยะเวลาสั้นๆ สลับกับการพัก เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ดีมาก ก็เพียงพอที่จะกระตุ้นการเกิด Autophagy ได้ การออกกำลังการแบบ HIIT ทำให้เกิดความเครียดระดับเซลล์และความต้องการพลังงาน ความเครียดที่เกิดในช่วงระหว่างการออกกำลังกายแบบ HIIT จะยังคงกระตุ้นให้เกิดการกลไก Autophagy เพื่อตอบสนองต่อการซ่อมแซมและปรับตัวให้ร่างกายมีพลังงานที่สามารถรองรับสถานการณ์นั่นเอง
- ฝึกเทคนิคการจัดการความเครียด
ความเครียดเรื้อรังอาจรบกวนกลไก Autophagy ดังนั้น คุณสามารถใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อจัดการความเครียดให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้ เช่น การทำสมาธิ การฝึกหายใจลึกๆ นานๆ หรือโยคะ เพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นของเซลล์และฮอร์โมนต่อความเครียดเรื้อรัง และยังมีอีกหลากหลายเทคนิคที่คุณสามารถประยุกต์ใช้เพื่อรับมือกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้
ซึ่งหากคุณสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารเยี่ยมชมที่
≫ ◕https://pathlab.co.th/burnout-adrenal-fatigue-chronic-stress/
- รักษาความสมดุลของฮอร์โมน
โดยเฉพาะอินซูลิน คอร์ติซอล และกลูคากอน มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการกินอัตโนมัติ การกินอาหารที่กระตุ้นฮอร์โมนอินซูลินในระดับสูงและถี่ไป จะยับยั้งกลไก Autophagy ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนแห่งความเครียดที่สูงก็จะกระตุ้นให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะปิดการทำงานของกลไก Autophagy ได้ หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำจนเรื้อรังก็จะเป็นต้นตอของโรค เช่น โรคเบาหวาน หลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน อัมพาต และในทางตรงกันข้ามความเครียดหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ก็ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะกระตุ้นให้ฮอร์โมนกลูคาต้องรีบเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นอย่างฉับพลัน จึงเกิดความสวิงแปรปรวนของระดับน้ำตาลแบบสูง-ต่ำในร่างกายที่จะปิดกลไก Autophagy และการที่คุณมีระดับน้ำตาลที่แปรปรวนเรื้อรังนี้ก็จะเสี่ยงต่อการลุกลามเป็นโรคเรื้อรัง
✼ ประสาทตาเสื่อม ตาบอด
✼ ประสิทธิภาพการทำงานของไตเสื่อม ไปจนถึงไตวาย
✼ ระบบประสาทเสื่อม
✼ โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
✼ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบตัน แตก อัมพาต (Stroke)
✼ ภาวะอวัยวะส่วนปลายขาดเลือดหรือเนื้อตายที่ส่วนของนิ้ว แขน ขา ที่ทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียอวัยวะ
และหากคุณที่กำลังเจอปัญหามีความไม่สมดุลของฮอร์โมนและมีแผนที่จะกินแบบ IF หรือจะออกกำลังกายแบบ HIIT จำเป็นต้องปรึกษาและได้รับการตรวจประเมินสุขภาพจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ
- การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
การดื่มน้ำปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอตลอดทั้งวัน เพื่อมอบความชุ่มชื้นอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการภายในของเซลล์ทั่วร่างกาย และกระตุ้นให้เกิดกลไก Autophagy ได้ง่ายขึ้น
✧ ข้อควรระวัง!!
ผู้สนใจควรศึกษาหลักการกินแบบ IF หรือการออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่ทำตามผู้อื่นอย่างไม่เข้าใจในวิธีการ และหากคุณกำลังใช้ยาบางชนิดเพื่อควบคุมโรคประจำตัว เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ ควรได้รับคำปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกี่ยวกับการกินแบบ IF และวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ไม่ควรอดอาหารและเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกแรงในกิจวัตรประจำวัน
เคล็ดลับที่ ② แนวทางการตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ช่วยสนับสนุนการแนวทางการป้องกันหรือลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
✧ เพื่อติดตามสุขภาพของคุณและวางแผนการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องได้ คุณสามารถตรวจดูภาพรวมสุขภาพของคุณ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยรายการตรวจดังนี้⟴ ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง
- สารบ่งชี้มะเร็งตับ (ค่า AFP)
- สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (ค่า CEA)
- สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (ค่า CA 15.3)
- สารบ่งชี้มะเร็งมดลูกและรังไข่ (ค่า CA 125)
- สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (ค่า CA 19.9)
- สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (ค่า PSA)
- สารบ่งชี้มะเร็งปอด (ค่า NSE)
- ตรวจคัดกรองแนวโน้มการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก (ค่า Free PSA)
⟴ ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)
- วัดความเข้มข้น ปริมาณของเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง
- ดูขนาด รูปร่างและสีของเม็ดเลือดแดง
- วัดและแยกประเภทเม็ดเลือดขาว แสดงถึงภาวะการอักเสบ การติดเชื้อต่างๆ พยาธิและโรคทางพันธุกรรม เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- วัดปริมาณเกล็ดเลือด เพื่อประเมินภาวะการแข็งตัวของเลือด
- ตรวจหมู่โลหิต ABO กับหมู่ RH
⟴ ระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
- เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงโรคเบาหวานเบื้องต้น
⟴ ระดับไขมันในเส้นเลือด (Lipid Profile)
- ตรวจเพื่อประเมินอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ดตรวจระดับไขมันรวมในเลือด (Total Cholesterol) ระดับไขมันชนิดดี (HDL) ระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ซึ่งถ้าสูงเกินไป จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมอง
[/fancy-ul]
- ตรวจประสิทธิภาพการทำงานของตับ ภาวะตับอักเสบ เอนไซม์ที่สร้างจากตับ
- ตรวจการทำงานและประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไต
- ตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเพื่อดูแนวโน้มการเกิดโรคเกาต์
- ตรวจเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคไต และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
สามารถตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่นๆ หรือการตรวจสุขภาพแบบครอบคลุมเชิงลึกนอกจากรายการนำเสนอนี้ โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-619-2288, 02-619-2299
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ
✧ ประเมินอนาคตสุขภาพคุณจากความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/forcasting-your-health-by-your-complete-blood-count-CBC/
✧ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/
✧ กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/eating-with-if-is-great-for-your-health/
✧ความเครียด ต่อมหมวกไตล้า “หากสะสมอาจป่วยโดยไม่รู้ตัว”
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/burnout-adrenal-fatigue-chronic-stress/
✧ เคล็ดลับการป้องกัน โรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/secret-of-ncds-disease-prevention/
✧ “สารก่อมะเร็งและสารพิษ” มีอยู่รอบตัว !! รู้ทันสาเหตุเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/
สรุป
มนุษย์ไม่ใช่สายพันธุ์เดียวที่สามารถใช้และได้รับประโยชน์จากการกลไก Autophagy หรือ กระบวนการฟื้นฟูของเซลล์โดยการกินตัวเองอัตโนมัติ จากการค้นพบ กลไกนี้ยังมีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หนอน ยีสต์ รา และพืช
กลไก Autophagy มีบทบาทสำคัญในด้านสุขภาพหลายๆ ด้าน และเป็นหนึ่งในความสำคัญทางกระบวนการทางชีวภาพในร่างกายของมนุษย์ที่จะต้องดูแลกลไกนี้ให้คงอยู่ไปตลอดชีวิต เพราะหากเกิดความผิดปกติกับกลไกนี้ จะส่งผลให้คุณต้องเผชิญกับการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ที่จะลุกลามกลายเป็นโรคมะเร็ง รวมถึงโรคเรื้อรังที่บ่งบอกถึงความเสื่อมของเซลล์ เช่น โรคเบาหวาน
การกินตัวเองอัตโนมัติAutophagyจะลดลงตามอายุ การจำกัดแคลอรี่ การอดอาหาร และการออกกำลังกายล้วนกระตุ้นให้เกิดการกินตัวเองอัตโนมัติAutophagy
โพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารประกอบที่เป็นประโยชน์ที่พบในพืชก็อาจมีบทบาทในการกระตุ้นการกินตัวเองอัตโนมัติ Autophagy เช่นกัน
ในปัจจุบันยังคงมีการเก็บข้อมูลการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และผลกระทบของการกินตัวเองอัตโนมัติ Autophagy
กระบวนการ Autophagy ช่วยให้การควบคุมเซลล์ในร่างกายได้ และคุณสามารถสนับสนุนได้โดยการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณได้ติดตามการการดูแลสุขภาพและรู้สึกสุขภาพภายในว่าคุณจะไม่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่นๆ ไปตลอด เราขอแนะนำ “โปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐาน” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ
ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<
โปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐาน
“ลดความเสี่ยงด้านสุขอนามัย และด้านการเงินรักษาพยาบาล”
✔ เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนดูแลระดับโปรตีนให้เหมาะสมกับร่างกายคุณ
✔ ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์
ข้อมูลโดย :
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ] 02 573-3490-1
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:
ศูนย์บริการพาธแล็บ [ ◕ กดโทร ] 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/inbox
LINE Official [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/LINE
Website [ ◕ กดคลิก ] www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/google-maps
อ้างอิงจาก:
- พิชามนชุ์ เพ็ชรฉวาง และ วรศักดิ์ แก้วก่อง, ภาควิชาชีวเคมี, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์, มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2563). “การส่งเสริมกระบวนการออโตฟาจีด้วยสมดุลของนาฬิกาชีวิต”. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567. จากเว็บไซต์: https://www.thaiscience.info/Journals/Article/SRMJ/10994191.pdf
- เพจ DietDoctor Thailand. (2563). “เข้าใจ Autophagy”. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567. จากเว็บไซต์: https://www.facebook.com/DietDoctorThailand/posts/pfbid037DRrjz4jQvBjyu1TYTPMYpsE2FdKomU7RFKMfn9Vs1o5fuKvfpSMMEUmkPwGXrC5l
- วิภาวรรณ ศิริกุลพาณิชย์, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. (2564). “บทบาทของ Autophagy กับ Aging”. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567. จากเว็บไซต์: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=1015
- Chul Won Yun and Sang Hun Lee, PubMed Central, National Center for Biotechnology Information (NCBI), National Library of Medicine (NLM).(2018). “The Roles of Autophagy in Cancer”. Retrieved May 9, 2024, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6274804/
- Debnath, Gammoh & Ryan , Springer Nature Publishing. (2023). “Autophagy and autophagy-related pathways in cancer”. Retrieved May 9, 2024, from: https://www.nature.com/articles/s41580-023-00585-z
- He, et al., PubMed Central, National Center for Biotechnology Information (NCBI), National Library of Medicine (NLM). (2016). “Changes in Kidney Function Do Not Differ between Healthy Adults Consuming HigherCompared with Lower- or Normal-Protein
Diets: A Systematic Review and Meta-Analysis”. Retrieved May 9, 2024, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27078501/
- Li Yen Mah and Kevin M. Ryan, PubMed Central, National Center for Biotechnology Information (NCBI), National Library of Medicine (NLM). (2022). “Autophagy and Cancer”. Retrieved May 9, 2024, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3249624/
- Lim, Hanif & Chin, PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2021). “Is targeting autophagy mechanism in cancer a good approach? The possible double-edge sword effect”. Retrieved May 9, 2024, from: https://cellandbioscience.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13578-021-00570-z
- McCarty, DiNicolantonioet & O’Keefeal, PubMed Central, National Center for Biotechnology Information (NCBI), National Library of Medicine (NLM). (2015). “Ketosis may promote brain macroautophagy by activating Sirt1 and hypoxia-inducible factor-1”. Retrieved May 9, 2024, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26306884/
- Nassour, et al., Springer Nature Publishing. (2019). “Autophagic cell death restricts chromosomal instability during replicative crisis”. Retrieved May 9, 2024, from: https://www.nature.com/articles/s41586-019-0885-0