5 อันดับโรคร้าย NCDs !!
ที่คนไทยเสี่ยงเป็นสูง ตรวจก่อนป้องกันได้

เนื้อหา

เรื่องน่ารู้:

  • ⌜โรคร้ายที่คนไทยมีแนวโน้มเป็นกันสูงขึ้นมาโดยตลอด⌟ ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ จัดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs) คือ ไม่สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ อาการเรื้อรังเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยเสื่อมภายในร่างกายที่ถูกกระตุ้นจากปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติการใช้ชีวิตของตนเอง และปัจจัยเสี่ยงภายนอกส่งเสริมกัน

  • ⌜โรค NCDs คร่าชีวิตผู้คนประมาณ 41 ล้านคนในแต่ละปีทั่วโลก⌟ ซึ่งเทียบเท่ากับ 71% ของการเสียชีวิตทั้งหมด ในส่วนของทวีปอเมริกามีผู้เสียชีวิต 5.5 ล้านคนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

  • ⌜โรค NCDs เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตและความพิการทั่วโลก⌟ โดยคิดเป็น 74% ของการเสียชีวิตทั้งหมด และมากกว่า 3 ใน 4 ปีที่อาศัยอยู่กับความพิการหรือเสมือนพิการ โดยได้ถูกเฝ้าระวังให้เป็นโรคระบาดแห่งแห่งศตวรรษที่ 21 จากหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจสมอง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคทางระบบประสาท โรคทางจิต และอื่นๆ ปัจจุบันกลุ่มโรค NCDs นี้อยู่ในฐานะ “โรคที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก” ข้อมูลจากหน่วยงานด้านสุขภาพแห่งสหประชาชาติ (UN) พบว่าทุกๆ 2 วินาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 รายที่มีอายุต่ำกว่า 70 ปีนับจาก โรค NCDs

  • ⌜โรคมะเร็ง⌟  คือ คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม หรือสารพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากความเสี่อมของไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นอวัยวะภายในเซลล์แต่เซล์ ทำหน้าที่สำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตพลังงานในร่างกายและมีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นของตัวเองอย่างเฉพาะ หากเกิดความผิดปกติจะส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการแพร่ของเซลล์หรือก้อนเนื้อที่ผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ปกติที่อยูใกล้กับก้อนเนื้อมะเร็งที่แบ่งตัวเจริญเติบโตขึ้นนั้น เพราะสาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ปกติที่เซลล์มะเร็งสามารถมีความสามารถแย่งพื้นที่การเจริญเติบโตจากหลอดเลือดและสารอาหารได้ดีกว่าเซลล์ปกติเพื่อความอยู่รอดของเซลล์มะเร็งนั้นเอง โดยจะเรียกชื่อโรคมะเร็งตามอวัยวะที่เกิดขึ้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้กับก้อนเนื้อมะเร็งที่เจริญเติบโตขึ้นนั้น

✧  สิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารหรือเครื่องดื่มแปรรูป การเสพติดน้ำตาล รสเค็มหรืออาหารรสจัด เจอมลภาวะ เช่น ควันจากการเผาไหม้ ฝุ่น PM2.5 และความเครียด ยิ่งหากคุณได้รับหรือสัมผัสกับสภาวะเหล่านี้เป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนาน จะส่งผลต่อการอักเสบระดับเซลล์และ “นิวเคลียส” ที่เป็นศูนย์รวมรหัสพันธุกรรม (DNA) ของคุณ และมากไปกว่านั้นยังผลกระทบต่อไปยังภายในถึงสิ่งเล็กๆ แต่สามารถส่งผลต่อสุขภาพคุณได้ในภาพรวมนั้นคือ “ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)” ที่อยู่ภายในของเซลล์ ทีมีหน้าที่ให้สัญญาณระหว่างเซลล์กับกระบวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ การผลิตพลังงาน กระบวนการเผาผลาญในร่างกาย (Metabolism) การเจริญเติบโตของเซลล์หรือการแยกเซลล์ออกจากกัน เป็นเหมือนเครื่องจักรที่ควบคุมและประสานงานการเกิดและทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ดังนั้น เมื่อระบบเผาผลาญพัง (Metabolic Syndrome) ที่ร่างกายจะแสดงภาวะของมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนลงพุง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งมีโรคหลักๆ ตามตัวอย่าง 5 โรคร้ายในเนื้อหานี้ และนี่จะเป็นการบ่งชี้ว่าไมโตคอนเดรียของคุณมีปัญหาหรือเสียหายจากการอักเสบระดับเซลล์ได้เกิดขึ้นและต้องได้รับการฟื้นฟูด้านสุขภาพได้แล้ว และจะส่งผลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมา คือ นิวเคลียสหรือสารพันธุกรรมของคุณก็จะเกิดความเสียหายและกลายพันธุ์ ทำให้เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติของเซลล์นั้นๆ และแพร่กระจายกลายเป็นเชื้อ หรือที่เราเรียกว่า โรคมะเร็ง ที่เป็น 1 ใน 5 โรค NCDs ที่สำคัญ ที่เรากำลังกล่าวถึงนี้

✧  วิธีสร้างความแข็งแรงให้กับไมโตคอนเดรียแห่งเซลล์คุณ
[1] กินอาหารต่อวันไม่ถี่เกินไป หรืออาจพิจารณาวิธีการกินอาหารแบบ IF, 2MAD, OMAD อย่างเข้าใจและถูกวิธี โดยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและการประเมินความเหมาะสมอย่างต่อเนื่องกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ เพราะหากสุขภาพคุณยังไม่พร้อมจะมีผลข้างเคียงได้
[2] เลือกกินหรือปรุงอาหารจากวัตถุดิบธรรมชาติ (Whole Foods) หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูป ที่จะมีส่วนผสมทางเคมีขั้นสูงที่ดูจากฉลากแล้วต้องใช้การแปลหรือตีความทางวิทยาศาสต์ อาหารหรือเครื่องดื่มทีมีสัดส่วนสารให้ความหวานที่มาก อาหารเค็มจัด เผ็ดจัด และเครื่องดื่มดื่มแอลกอฮอล์
[3] ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือพิจารณาการออกกำลังกายแบบ HIIT Excercise
[4] มีความคิดเชิงบวก และมีวิธีการจัดการกับความเครียดได้ดี
[5] นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
[6] งดสูบบุหรี่ กัญชา หรือการได้รับควันจากการเผาไหม้ หลีกเลี่ยงและป้องกันมลพิษทางอากาศ

  • ⌜โรคหลอดเลือดหัวใจ⌟  คือ เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และอีกสาเหตุเกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอล หรือไขมันจับตัว หรือสารต่างๆ ภายในหลอดเลือด จนเกิดคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้เส้นเลือดหัวใจตีบแคบลง หากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ จะทำให้เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดีไม่ทั่วถึงจนทำให้เซลล์หัวใจตายได้ หรือเกิดการหลุดของคราบไขมันปะปนไปยังกระแสเลือด อาจทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (โรคหัวใจขาดเลือด) ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

  • ⌜โรคความดันโลหิตสูง⌟  เกิดจากความดันเลือดมีความรุนแรงอย่างผิดปกติที่จะส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดมีความเสี่ยงได้รับความเสียหายหรือแตกขาด และส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ความดันโลหิตสูงเรื้อรังเป็นภัยเงียบที่ส่งต่ออาการกำเริบของโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคสมองขาดเลือดหรือหลอดเลือดสมอง ภาวะหลอดเลือดตีบหรือโป่งพอง โรคไตวาย โรคอัลไซเมอร์ โรคประสาทตาเสื่อม เป็นต้น

  • ⌜โรคหัวใจ⌟ เกิดจากสภาวะการทำงานที่ผิดปกติของระบบหัวใจ โรคหัวใจเป็นสาเหตุต้นๆ ของการเสียชีวิตทั่วโลกคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ซึ่งพบได้มากในผู้สูงอายุ ตามมาด้วยโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าคนที่อายุยังน้อย เช่น เด็กเล็ก หรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้สูงขึ้น

  • การระบาดของโรค NCDs ประมาณ 80% สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่กระตุ้นความเสี่ยง เช่น การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (อาหารหวานจัด เค็มจัด อาหารแปรรูปขั้นสูงด้วยความร้อนสูงและสารปรุงแต่งทางเคมี) การรับมือกับความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอเป็นประจำ การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมลพิษทางอากาศ หากหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้จะช่วยป้องกันหรือชะลอการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรค NCDs และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้

  • การศึกษาพบว่าโครงสร้างทางสังคมที่เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่นำหน้าองค์ความรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชาชนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เช่น การเกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแปรรูปขั้นสูงพร้อมสารเคมีปรุงแต่งอาหารให้อยู่ได้นาน สร้างการเสพติดในรสชาติ เพื่อให้ธุรกิจเกิดผลกำไรสูงสุด แต่หากผู้บริโภคบริโภคอาหารเหล่านั้นเป็นระยะเวลานาน สารเคมีแปลกปลอมที่สะสมก็จะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดการอักเสบเสื่อมลงอย่างไม่รู้ตัว หรือการเกิดการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีการสื่อสารหรือปัญญาประดิษฐ์ที่เร่งการแข่งขันในด้านธุรกิจที่เร่งรีบในการสร้างผลกำไรที่อาจจะละเลยสุขภาพของพนักงานหรือแรงงาน การปล่อยมลภาวะอย่างผิดกฎหมายจากการพัฒนาเมืองและแหล่งอุตสาหกรรมก็จะส่งผลต่อน้ำเน่าเสีย อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นที่จะมาสร้างปัญหาด้านสุขภาพในทางอ้อมได้เช่นกัน เหตุนี้จึงทำให้เกิดกระบวนการเสื่อมภายในร่างกายที่จะก่อโรคในบุคคล เป็นพื้นฐานไปสู่ประชากรในสังคมนั้นๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคจากพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

  • ถ้าคุณวางแผนที่จะมีไลฟ์สไตล์เป็นผู้ที่มีอายุยืนอย่างแข็งแรงไปสู่ช่วงวัยเกษียณ หากให้สุขภาพโดยรวมดีอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือควรหมั่นอัพเดตความรู้ข้อเท็จจริงด้านสุขภาพ และควรพิจารณาเพิ่มเติมในวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น วิธีรับมือกับความเครียด การออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และการตรวจสุขภาพประจำปี

5 โรคร้ายที่คุณจะได้รับข้อมูลนี้ จัดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตและความพิการไปทั่วโลก โดยโรค NCDs เป็นกลุ่มอาการที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเฉียบพลันอย่างรุนแรงเป็นหลัก แต่จะส่งผลร้ายแรงเมื่อเกิดการสะสมความเสื่อมเป็นระยะนานพอภายในร่างกายจนถึงจุดหนึ่งเมื่อเจอเหตุปัจจัยภายนอก เช่น การติดเชื้อไวรัส การเจอความเครียด การเกิดอุบัติเหตุบางอย่าง ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะแสดงอาการเริ่มจากการเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ไปจนถึงขั้นแอดมิทที่โรงพยาบาล ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับบุคคล โรคดังกล่าวมีผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามสถานการณ์การใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล รวมถึงคุณภาพชีวิต และผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง โรค NCDs เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะร้ายแรงของโรค และนี้คือ 5 อันดับโรคร้ายแห่งยุคดิจิตอล อยากให้คุณรู้เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงก่อนจะสายไป

5 อันดับโรคร้าย คุณรู้ไวป้องกันความเสี่ยงได้ทัน

อันดับ ① โรคมะเร็ง

คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากความเสี่อมของไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นองค์ประกอบภายในเซลล์แต่ละเซลล์ ทำหน้าที่สำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตพลังงานในร่างกายและมีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นของตัวเองอย่างเฉพาะ หากเกิดความผิดปกติจะส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้กับก้อนเนื้อมะเร็งที่เจริญเติบโตขึ้นนั้น เพราะสาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ปกติที่เซลล์มะเร็งสามารถมีความสามารถแย่งพื้นที่การเจริญเติบโตจากหลอดเลือดและสารอาหารได้ดีกว่าเซลล์ปกติเพื่อความอยู่รอดของเซลล์มะเร็งนั้นเอง โดยจะเรียกชื่อโรคมะเร็งต่างตามอวัยวะที่เกิดขึ้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

หากทำคุณได้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้นอีกสักนิดต่อการกระตุ้นกระบวนการเกิดมะเร็งอย่างคร่าวๆ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารหรือเครื่องดื่มแปรรูป การเสพติดน้ำตาล รสเค็มหรืออาหารรสจัด เจอมลภาวะ เช่น ควันจากการเผาไหม้ ฝุ่น PM2.5 ความเครียด และเชื้อไวรัสบางชนิด ยิ่งหากคุณได้รับหรือสัมผัสกับสภาวะเหล่านี้เป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนาน จะส่งผลต่อการอักเสบระดับเซลล์และ “นิวเคลียส” ที่เป็นศูนย์รวมรหัสพันธุกรรม (DNA) ของคุณ และมากไปกว่านั้นยังผลกระทบต่อไปยังภายในถึงสิ่งเล็กๆ แต่สามารถส่งผลต่อสุขภาพคุณได้ในภาพรวมนั้นคือ “ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)” ที่อยู่ภายในของเซลล์ ทีมีหน้าที่ให้สัญญาณระหว่างเซลล์กับกระบวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ การผลิตพลังงาน กระบวนการเผาผลาญในร่างกาย (Metabolism) การเจริญเติบโตของเซลล์หรือการแยกเซลล์ออกจากกัน เป็นเหมือนเครื่องจักรที่ควบคุมและประสานงานการเกิดและทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ดังนั้น เมื่อระบบเผาผลาญพัง (Metabolic Syndrome) ที่ร่างกายจะแสดงภาวะของมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนลงพุง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งมีโรคหลักๆ ตามตัวอย่าง 5 โรคร้ายในเนื้อหานี้ และนี่จะเป็นการบ่งชี้ว่าไมโตคอนเดรียของคุณมีปัญหาหรือเสียหายจากการอักเสบระดับเซลล์ได้เกิดขึ้นและต้องได้รับการฟื้นฟูด้านสุขภาพได้แล้ว และจะส่งผลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมา คือ นิวเคลียสหรือสารพันธุกรรมของคุณก็จะเกิดความเสียหายและกลายพันธุ์ ทำให้เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติของเซลล์นั้นๆ และแพร่กระจายกลายเป็นเชื้อ หรือที่เราเรียกว่า โรคมะเร็ง ที่เป็น 1 ใน 5 โรค NCDs ที่สำคัญ ที่เรากำลังกล่าวถึงนี้

2 รูปแบบการกลายพันธ์ุของยีนมะเร็ง
แบบที่ 1  การกลายพันธุ์ที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เชื้อไวรัส ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือที่เราได้นำเสนอไปข้างต้นนี้

  • เซลล์ที่กลายพันธ์ุจากภาวะผิดปกติของร่างกาย หรือจากการสัมผัสสิ่งกระตุ้นที่ก่อโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
  • โรคมะเร็งส่วนใหญ่ ประมาณ 90-95% เกิดได้สูงในรูปแบบนี้

แบบที่ 2  การกลายพันธุ์จากของยีนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (จากรุ่นพ่อแม่ถ่ายทอดส่งต่อไปสู่รุ่นลูกหลาน)

  • โรคมะเร็ง ประมาณ 5-10% ที่จะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโรคมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Hereditary cancer) เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่มะเร็งกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโครลูคีเมีย เป็นต้น

วิธีสร้างความแข็งแรงไปถึงระดับเซลล์และไมโตคอนเดรียของคุณ

  • กินอาหารต่อวันทั้งมื้อหลักและอาหารว่างไม่ถี่เกินไป หรืออาจพิจารณาวิธีการกินอาหารแบบ IF, 2MAD, OMAD อย่างเข้าใจและถูกวิธี โดยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและการประเมินความเหมาะสมอย่างต่อเนื่องกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ เพราะหากสุขภาพคุณยังไม่พร้อมจะมีผลข้างเคียงได้
  • เลือกกินหรือปรุงอาหารจากวัตถุดิบธรรมชาติ (Whole Foods) หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูป ที่จะมีส่วนผสมทางเคมีขั้นสูงที่ดูจากฉลากแล้วต้องใช้การแปลหรือตีความทางวิทยาศาสต์ อาหารหรือเครื่องดื่มทีมีสัดส่วนสารให้ความหวานที่มาก อาหารเค็มจัด เผ็ดจัด และเครื่องดื่มดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือพิจารณาการออกกำลังกายแบบ HIIT Excercise
  • มีความคิดเชิงบวก และมีวิธีการจัดการกับความเครียดได้ดี
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่ กัญชา หรือการได้รับควันจากการเผาไหม้ หลีกเลี่ยงและป้องกันมลพิษทางอากาศ

ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคมะเร็ง (Tumor Marker)

  • ค่า AFP ( Alpha-fetoprotein) – ตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งตับ
  • ค่า CEA (Carcinoembryonic Antigen) – ตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้
  • ค่า PSA (Prostate Specific Antigen) ตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ค่า NSE (Neuron-specific Enolase) – ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งปอด ช่วยประเมินและติดตามผลการรักษาโรคมะเร็งปอด (Small Cell Lung Cancer) และ Neuroblastoma
  • ค่า beta-HCG (Beta-human chorionic gonadotropin) – ตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (choriocarcinoma) และหากไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในภาวะการตั้งครรภ์ ผู้มีมะเร็งปอดบางรายก็สามารถตรวจพบ beta-HCG สูงเกินปกติได้
  • ค่า CA 125 – ตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
  • ค่า CA 19-9 – ตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน
  • ค่า CA 15-3 – ตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม

หากข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย* ปี 2565 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ รายงานว่าประเทศไทยจะมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 140,000 คน หรือประมาณ 400 คนต่อวัน โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่/ทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก โดยในเพศชายเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดีมากที่สุด ส่วนเพศหญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด ปัจจัยภายนอกที่ก่อความเสี่ยงให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกินอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง การสูดมลพิษทางอากาศ เป็นต้น และปัจจัยภายใน เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การสืบทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น

อันดับ ② โรคหลอดเลือดหัวใจ

เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และอีกสาเหตุเกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอล หรือไขมันจับตัว ลิ่มเลือด หรือสารต่างๆ ภายในหลอดเลือด จนเกิดคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้เส้นเลือดหัวใจตีบแคบลง หากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ จะทำให้เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดีไม่ทั่วถึงจนทำให้เซลล์หัวใจตายได้ หรือเกิดการหลุดของคราบไขมันปะปนไปยังกระแสเลือด อาจทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (โรคหัวใจขาดเลือด) ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • ค่า hs-CRP (C-reactiveโปรตีน) ตรวจภาวะการอักเสบในร่างกาย สารบ่งชี้การอักเสบของหลอดเลือดแดง และช่วยประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจเป็นผลให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดแดงโปรตีนในเลือดที่บ่งชี้การอักเสบเพิ่มเติม ได้แก่ เฟอร์ริติน (Ferritin)
  • ค่า HCY (Homocysteine) ตรวจระดับสารที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบหรืออุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย การพบระดับของค่า HCY ที่เพิ่มจะมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจมากยิ่งขึ้น
  • ค่า PT (INR) (Prothrombin Time) หาภาวะโรคเลือดออกง่าย หรือหยุดยาก ตรวจระยะเวลาที่เลือดกำลังจะแข็งตัว

อันดับ ③ โรคเบาหวาน

คือ โรคความเสื่อมกระบวนการเผาผลาญพลังงานจากน้ำตาลในเลือดให้เป็นสามารถเป็นพลังงาน ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลินที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ทว่าระดับน้ำตาลในเลือดคุณนั้นมีสูงเกินอย่างต่อเนื่องและเรื้งรังสะสมเป็นระยะเวลานานพอ ที่จะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นที่จะทำลายเซลล์ในร่างกายให้เกิดความเสื่อมที่จะส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันพอกตับ โรคไตวาย โรคทางสมองและประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น

ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคเบาหวาน

  • ค่า FBS หรือ GLU (Fasting Blood Sugar/Glucose) ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหาร 8 ชม. [โดยสามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ] เพื่อใช้ในการคัดกรอง และวินิจฉัยผู้ที่มีอาการแสดงหรือมีปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวาน
  • ค่า HbA1C (Hemoglobin A1C) ตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
    ตรวจรวมภาวะอื่นๆ เช่น กระหายน้ำบ่อยผิดปกติ น้ำหนักเกินมีภาวะลงพุงหรือน้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ

อันดับ ④ โรคความดันโลหิตสูง

เกิดจากความดันเลือดมีความรุนแรงอย่างผิดปกติที่จะส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดมีความเสี่ยงได้รับความเสียหายหรือฉีกขาด และส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ความดันโลหิตสูงเรื้อรังเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่ออาการกำเริบของโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคสมองขาดเลือดหรือหลอดเลือดสมอง ภาวะหลอดเลือดตีบหรือโป่งพอง โรคไตวาย โรคอัลไซเมอร์ โรคประสาทตาเสื่อม เป็นต้น

ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคความดันโลหิตสูง

  • ค่าตรวจความดันเลือด หากความดันตัวบนเกิน 140 หรือตัวล่างเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท บ่งชี้ความร้ายแรงของโรคความดันโลหิตสูง
  • ค่าไขมันในเส้นเลือด (Lipid Profiles Test) ภาวะการเกิดไขมันในเส้นเลือดมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่จะมีผลต่อความเสี่ยงโรคความดันสูง

อันดับ ⑤ โรคหัวใจ

เกิดจากสภาวะการทำงานที่ผิดปกติของระบบหัวใจ โรคหัวใจเป็นสาเหตุต้นๆ ของการเสียชีวิตทั่วโลกคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ซึ่งพบได้มากในผู้สูงอายุ ตามมาด้วยโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าคนที่อายุยังน้อย เช่น เด็กเล็ก หรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้สูงขึ้น

ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคหัวใจ

  • ค่า CPK (Creatine Phosphokinase) ตรวจวัดเอมไซม์ที่พบเมื่อมีการสลายกล้ามเนื้อ หัวใจ สมอง
  • ค่า hs-CRP (C-reactive Protein) บ่งชี้การอักเสบของหลอดเลือดแดง และช่วยประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ ระดับ CRP ผิดปกติมีความสัมพันธ์และไวต่อการก่อเกิดโรคเลือดหัวใจอุดตัน ที่จะนำมาประเมินการโรคหัวใจในอนาคต
  • ค่า HCY (Homocysteine) ระดับของค่า HCY ที่เพิ่มบ่งชี้ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคหลอดเลือดส่วนปลายเส้นเลือดดำอุดตัน

สาเหตุร่วมที่ใช้ประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นของ 5 โรคดังกล่าว

ถ้าพูดกันแบบตรงไปตรงมา 5 โรคร้ายดังกล่าว เป็นโรคที่คุณสร้างเองโดยไม่รู้ตัวหรือเป็นพฤติกรรมที่คุณคุ้นชินไปกับชีวิตประจำวัน เนื่องจากพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ส่งเสริมให้เสี่ยงต่อโรคดังกล่าวนั้น เช่น

  • การกินอาหารต่อวันที่ถี่มากไป พร้อมกับการเลือกกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (การเสพติดน้ำตาล อาหารหวานจัด เค็มจัด ทอดกรอบ อาหารแปรรูปขั้นสูงด้วยสารปรุงแต่งทางเคมี)
  • การรับมือกับความเครียดได้ไม่ดี
  • การไม่ออกกำลังกาย
  • การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
  • และอยู่ภายใต้ความเสี่ยงมลพิษทางอากาศ

ทางเลือกในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคร้าย

  • หมั่นหาความรู้หรืออัพเดตองค์ความรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกรดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเหมาะกับตนเอง
  • เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองโดยไม่พาตนเองไปเสี่ยงในพื้นที่ควันหรือมลพิษทางอากาศโดยไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
  • กรณีที่ผู้ป่วยเป็น 5 โรคดังกล่าว รวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ เช่น โรคระบบเผาผลาญอาหารพัง โรคไต โรคตับ ฯลฯ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เรียนรู้ที่จะจัดการและอยู่กับความเครียดให้ได้ รวมถึงการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความเครียด
  • เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมเน้นบำรุงหลอดเหลือด หัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด โดยแหล่งอาหารควรเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ เช่น ผักสีเขียว บรอกโคลี พืชตระกูลถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และรับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา สัตว์ปีก ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณเพียงพอต่อมื้อ ลดอาหารแปรรูปให้ได้น้อยมากที่สุดหรือไม่นำมาบริโภค ใช้น้ำมันจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil: EVOO ) หรือน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันที่ไม่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงในการประกอบอาหาร เน้นรับประทานผลไม้เป็นของว่างแทนของหวาน เช่น สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ และกีวี่ อีกทั้งจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี หากเป็น  ⌜อาหารไทย⌟  สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
  • รักษาน้ำหนักและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกหรือแบบ HIIT Excercise การฝึกโยคะ เป็นต้น
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • หากตรวจประเมินแล้วพบว่าเป็นโรค NCDs ใดๆ แล้ว ควรอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ

✧  เคล็ดลับการป้องกันโรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/secret-of-ncds-disease-prevention/

✧  กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/eating-with-if-is-great-for-your-health/

✧  สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/warning-signs-hyperlipidemia-high-blood-fat/

✧  “สารก่อมะเร็งและสารพิษ”มีอยู่รอบตัว !! รู้ทันสาเหตุเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/silent-killer-cancers-around-you/

✧  สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/warning-signs-hyperlipidemia-high-blood-fat/

✧  ปิด!! ประตูรับโรค น้ำตาลและอินซูลิน ต้นเหตุสร้างโรคเรื้อรัง

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/close-the-door-for-high-blood-sugar-ncds/

✧  “สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย”ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/hightlight-primary-signs-of-coronary-artery-heart-disease/

สรุป

5 โรคร้ายที่กล่าวมานี้ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) เป็นมากกว่าปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล ผู้คนทั่วโลกตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยเกษียณต่างได้รับความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ในระดับครัวเรือนส่วนใหญ่การเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าพยาบาลสำหรับโรค NCDs ส่งผลให้ผู้คนประมาณ 100 ล้านคนทั่วโลกตกอยู่ใต้เส้นความความยากจนหรือรายได้ที่สูญเสียไปไม่เกิดผลกำไรที่จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจัยทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

การศึกษาพบว่าโครงสร้างทางสังคมที่เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่นำหน้าองค์ความรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชาชนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เช่น การเกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแปรรูปขั้นสูงพร้อมสารเคมีปรุงแต่งอาหารให้อยู่ได้นาน สร้างการเสพติดในรสชาติด้วยสารเคมีผสมอาหาร เพื่อให้ธุรกิจเกิดผลกำไรที่สูงสุด แต่หากผู้บริโภคบริโภคอาหารเหล่านั้นไปก็เป็นระยะเวลานาน สารเคมีแปลกปลอมที่สะสมก็จะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดการอักเสบเสื่อมลงอย่างไม่รู้ตัว หรือการเกิดการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีการสื่อสารหรือปัญญาประดิษฐ์ที่เร่งการแข่งขันในด้านธุรกิจที่เร่งรีบในการสร้างผลกำไรที่อาจจะละเลยสุขภาพของพนักงานหรือแรงงาน การปล่อยมลภาวะอย่างผิดกฎหมายจากการพัฒนาเมืองและแหล่งอตสาหกรรมก็จะส่งผลต่อน้ำเน่าเสีย อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นที่จะมาสร้างปัญหาด้านสุขภาพในทางอ้อมได้เช่นกัน เหตุนี้จึงทำให้เกิดกระบวนการเสื่อมภายในร่างกายที่จะก่อโรคในบุคคล เป็นพื้นฐานไปสู่ประชากรในสังคมนั้น ที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคจากพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

ถ้าคุณวางแผนที่จะมีไลฟ์สไตล์เป็นผู้ที่มีอายุยืนอย่างแข็งแรงไปสู่ช่วงวัยเกษียณ หากให้สุขภาพโดยรวมดีอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือควรหมั่นอัพเดตความรู้ข้อเท็จจริงด้านสุขภาพ และควรพิจารณาเพิ่มเติมในวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น วิธีรับมือกับความเครียด การออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และการตรวจสุขภาพประจำปี

ที่สุดแห่งความโชคดีในชีวิต คือ การที่คุณมี “สุขภาพดีทุกช่วงวัย” ที่คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และมีความสุข เพราะสุขภาพคือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในโลก และความโชคดีนี้คุณสามารถกำหนดได้ด้วยตัวคุณเองด้วยการดูแลสุขภาพ เราขอแนะนำคุณ ตรวจสุขภาพพื้นฐาน” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ 

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ตรวจสุขภาพพื้นฐาน

“เริ่มสร้างสุขภาพดีตามช่วงวัย”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก

✔  เพื่อลดเสี่ยงหรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก

✔  การตรวจเลือดช่วยเตือนคุณได้

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, โรพยาบาลจุฬาลงกร์. สภากาชาดไทย. (2563). “โsค NCDs โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด”. สืบค้นเมื่อวันที่ 28  ก.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โsค-ncds-โรคที่คร่าชีวิตคนไท/
  • คณะเทคนิคการแพทย์, มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563 ). “อ้วนลงพุง”. สืบค้นเมื่อวันที่ 28  ก.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/23jun2020-1638
  • สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566).  “โรคเบาหวาน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 28  ก.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/sahrab-bukhkhl-thawpi/health-information-and-articles/health-information-and-articles-2561/2018-diabates-31
  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, กรมการแพทย์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). “แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565”. สืบค้นเมื่อวันที่ 28  ก.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.nci.go.th/th/Today/download/แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ%20พ.ศ.%202560-2564_27919.pdf
  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, กรมการแพทย์. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2022). “สารก่อมะเร็งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน”.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10  ต.ค. 2565.. จากเว็บไซต์: https://www.nci.go.th/th/File_download/fight_cancer/(Website)%20แผ่นพลิก%20สารก่อมะเร็งที่พบในชีวิตประจำวัน.pdf
  • สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2559). “ระดับของเนื้องอก (Grading of tumor)”.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10  ต.ค. 2565.. จากเว็บไซต์: https://www.chulacancer.net/faq-list-page.php?id=327
  • ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก, คณะแพทยศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564).  “อาหารรักษ์หัวใจ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 28  ก.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge/food-2/
  • ศูนย์หัวใจ, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2563). “โรคหัวใจ ใครเสี่ยง?”.  สืบค้นเมื่อวันที่ 28  ก.ย. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/heart-disease
  • Kaufman, Picard and Sondheimer. (2018). “Mitochondrial DNA, nuclear context and the risk for carcinogenesis”. Retrieved September 30, 2022, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6045969/
  • UN News, United Nations (UN). (2022) .“Noncommunicable diseases now ‘top killers globally’ – UN health agency report”. Retrieved September 30, 2023, from: https://news.un.org/en/story/2022/09/1127211
  • World Medical Association (WMA). (2023). “NON-COMMUNICABLE DISEASES Chronic Diseases and Lifestyle Diseases ”. Retrieved September 30, 2023, from: https://www.globalfoodresearchprogram.org/wp-content/uploads/2020/02/FACTSHEET_SSBTAX_2020_Feb11_Final.pdf