Skip to main content

“สารก่อมะเร็งและสารพิษ”
มีอยู่รอบตัว !! รู้ทันสาเหตุเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง

โดย 26/11/2022ธันวาคม 2nd, 2022บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • การเกิดมะเร็งกับผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นมีโอกาสเป็นได้หากละเลยหรือไม่รู้มาก่อนกับสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยหากคุณรู้ว่าอะไรเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้คุณเป็นมะเร็ง และพร้อมที่จะระวังไม่พาตนเองไปอยู่ในความเสี่ยงนั้น ก็จะทำให้คุณลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้
  • สิ่งที่กระตุ้นการเกิดมะเร็งโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัวและคาดไม่ถึง เช่น รังสีเรดอนที่อยู่ในพื้นดิน ก้อนหิน และอิฐบล็อกในโครงสร้างอาคารภัยเงียบการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกาย ภูมิคุ้มกันโรคที่ทำงานผิดปกติ การติดเชื้อโรค สารเคมีก่อมะเร็งในอากาศและสิ่งแวดล้อม
  • การดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็ง นั้นอาจทำได้โดย
    ✓   การสังเกตอาการผิดปกติในร่างกายตนเอง การตรวจสุขภาพประจำปี
    ✓   หมั่นฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคประจำปีที่จำเป็นต่างๆ
    ✓  ประกอบอาหารให้สุก สะอาด เป็นอาหารจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการแปรรูป สารเคมีปรุงแต่งหรืออาหารที่มีสัดส่วนการผสมน้ำตาลที่ค่อนข้างสูงต่อปริมาณน้ำตาลที่ควรได้รับต่อวัน
    ✓   ฝึกการกินอาหารเป็นช่วงๆ (IF) และ Prolonged Fasting อย่างเข้าใจและถูกวิธี เพื่อทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการ Autophagy หรือกระบวนการทำความสะอาดระบบภายในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเซลล์ที่ผิดปกติ รวมถึงสารพิษและสิ่งแปลกปลอมในร่างกายที่จะอาจจะมีโอกาสกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
    ✓   หมั่นติดตามสภาพอากาศโดยเฉพาะการเกิดมลพิษทางอากาศ เช่น ปัญหาฝุ่น PM 2.5 การรั่วไหลของสารพิษในที่ต่างๆ เพื่อสามารถวางแผนการเดินทางให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น หากจำเป็นต้องไปควรสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กนาโนได้
    ✓   หมั่นอัพเดตองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพใหม่ๆ ที่อาจช่วยให้คุณปลอดภัยจากการเกิดโรคมะเร็ง
  • มะเร็งเป็นสาเหตุสําคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเกือบ 10 ล้านคนในปี 2020 หรือเกือบ 1 ใน 6 ของผู้เสียชีวิต
  • โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ประมาณ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกิดจากการใช้ยาสูบ ดัชนีมวลกายสูง การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ และการขาดการออกกําลังกาย
  • การติดเชื้อที่ก่อให้เกิดมะเร็งเช่น Human Papillomavirus (HPV) และไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นสาเหตุของผู้ป่วยมะเร็งประมาณ 30% พบในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง
  • โรคมะเร็งหลายชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มะเร็งเป็นคําทั่วไปสําหรับกลุ่มโรคขนาดใหญ่ที่สามารถส่งผลกระทบต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย คําอื่น ๆ ที่ใช้คือเนื้องอกมะเร็งและเนื้องอก คุณลักษณะหนึ่งที่กําหนดของโรคมะเร็งคือการสร้างเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วซึ่งเติบโตเกินขอบเขตปกติและสามารถบุกรุกส่วนที่อยู่ติดกันของร่างกายและแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ กระบวนการหลังเรียกว่าการแพร่กระจาย การแพร่กระจายอย่างกว้างขวางเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ผู้ที่เป็นมะเร็งจะเสียชีวิตเมื่อเนื้องอกหรือเซลล์มะเร็งทำให้อวัยวะร่างกายทำงานบกพร่องจนถึงจุดที่ไม่สามารถดำเนินกระบวนการที่สำคัญของร่างกายได้จึงเป็นการหยุดการมีชีวิตไปในที่สุด
โดยส่วนใหญ่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่คุณจะได้ยินที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
  • โรคอ้วน
  • การกินอาหารสำเร็จรูปหรือผ่านกระบวนการแปรรูป รวมถึงอาหาร Junk Food เป็นประจำ
  • การสูบบุหรี่
  • แอลกอฮอล์
  • สภาพอากาศเป็นพิษ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ควันดำจากการเผาไหม้รถยนต์บนท้องถนน โรงงาน
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อ Human Papillomavirus (HPV)

ถ้าไม่นับเรื่องอายุที่มากขึ้น และประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง และคุณก็กำลังมีคำถามว่า ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารคลีนและกินตามหลักโภชนาการที่แนะนำ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ใส่แมสก์หรือหน้ากากอนามัยไปทำธุระข้างนอกตลอด และก็หมั่นฉีดรับวัคซีนและตรวจโรคประจำปี ก็จะไม่เสี่ยงเป็นมะเร็งแล้วใช่ไหม? นี่จะเป็นคำถามที่ดี ที่พาธแล็บจะนำเสนอข้อมูลที่มีโอกาสเป็นต้นเหตุที่จะก่อเชื้อมะเร็งต่อคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้หรือมองข้ามไป

ดูสุขภาพดีมากแต่เป็นมะเร็ง แบบไม่รู้ตัวได้ไง?

① รังสีเรดอนที่อยู่ในพื้นดิน ก้อนหิน และอิฐบล็อกตามโครงสร้างอาคาร

อาจจะฟังดูเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ไกลตัวแต่นี่มันอาจอยู่ใกล้ตัวคุณหรืออาจอยู่ในตัวคุณได้เลย รังสีเรดอนคือก๊าซกัมมันตภาพรังสีที่ปล่อยออกมาจากหินและดิน เมื่อก๊าซแตกตัว จะทำให้เกิดเกิดปฏิกิริยาเกิดกัมมันตภาพรังสียูเรเนียมและทอเรียมสลายตัว ผู้ที่สัมผัสกับเรดอนในระดับสูงมีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น

ข้อมูลสถิติการเกิดมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2021 และจากการศึกษาวิจัยในไทยในปี 2018 พบความเสี่ยงโดยรวมของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดสูงที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตหางดงดอยหล่อและสันป่าตองมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงสูงในส่วนภูมิภาคตะวันตกของภาคเหนือในประเทศไทย เนื่องจากการศึกษาวิจัยได้พบสาเหตุสำคัญ คือ รังสีเรดอนในพื้นดินที่จะเป็นสิ่งกระตุ้นการเกิดมะเร็งปอดได้ และอีกทั้งความเสี่ยงจากฝุ่นละออง PM 2.5 ที่มักจะเกิดขึ้นในภาคเหนือมาโดยตลอด ยิ่งหากผู้ที่อาศัยภูมิภาคนั้นมีมีประวิติทางครอบครัวเป็นมะเร็งและสูบบุหรี่ก็จะยิ่งจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง และคุณไม่ควรวิตกกังวลหากคุณอยู่ในภูมิภาคดังกล่าวนี้ ขอเพียงท่านไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง คุณไม่สูบบุหรี่หรือสัมผัสกับมลพิษทางอากาศเป็นประจำ ก็จะไม่เสี่ยงต่อรังสีที่จะมาเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้คุณเกิดมะเร็งปอดได้ และการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ทันท่วงที

หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ของประเทศที่มีเรดอนในระดับสูงหรืออาจต้องการให้แน่ใจว่าสถานที่ตั้งบ้านหรือที่พักอาศัยของคุณจะไม่มีรังสีเรดอนเจอปน คุณสามารถทำการทดสอบบ้านของคุณเพื่อหาก๊าซนี้ การทดสอบเรดอนที่บ้านอาจจะใช้อุปกรณ์ประเภท Radon Detector ที่ได้รับรองมาตรฐานสากล 

นอกจากรังสีเรดอนแล้ว การแผ่รังสีพลังงานสูง เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา อนุภาคอัลฟา อนุภาคเบต้า และนิวตรอนสามารถทําลายดีเอ็นเอและก่อให้เกิดมะเร็งได้ รูปแบบของรังสีเหล่านี้สามารถปล่อยออกมาได้จากแสงแดด การเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเมื่อมีการสร้างทดสอบหรือใช้อาวุธปรมาณูในสงคราม

② ภัยเงียบการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกาย 

การอักเสบเป็นการตอบสนองทางสรีรวิทยาที่ทําให้เนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บหายเป็นปกติ กระบวนการอักเสบเริ่มต้นเมื่อสารอนุมูลอิสระ หรือให้เข้าใจง่ายก็คือ “สารมลพิษตกค้างในเซลล์” ถูกปล่อยออกมาจากเนื้อเยื่อที่เสียหาย ในการตอบสนองเซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างสารที่ทําให้เซลล์แบ่งตัวและเติบโตเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่เพื่อช่วยซ่อมแซมอาการบาดเจ็บ เมื่อแผลหายดีแล้วกระบวนการอักเสบจะสิ้นสุดลง หากมีสิ่งที่สังเกตจากการอักเสบภายในร่างกายโดยทั่วไป เช่น สิวอักเสบหรือฝีเรื้อรัง อาการร้อนใน ภูมิแพ้หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ 

แต่การอักเสบเรื้อรังอาจเกิดจากการติดเชื้อเรื้อรังที่กระตุ้นปฏิกิริยาต่อต้านภูมิคุ้มกันให้ทำงานผิดปกติต่อเนื้อเยื่อได้ในที่สุด โดยมีสาเหตุสำคัญ เช่น ภาวะเสพติดน้ำตาล การกินอาหารแปรรูปหรือสารเคมีปรุงแต่งอาหาร โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปการอักเสบเรื้อรังอาจทําให้เกิดความเสียหายในระดับรหัสพันธุกรรมในเซลล์ (DNA) และนําไปสู่โรคมะเร็ง ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ที่มีความอยากน้ำตาลหรือความหวาน ซึ่งน้ำตาลนี้เองที่หลังจากการเผาผลาญเป็นพลังงานแล้วจะทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ หรือให้เข้าใจง่ายก็คือ “สารมลพิษตกค้างในเซลล์” ก็จะทำให้เซลล์ต่างๆ นั้นเกิดความเสียหายและเกิดการติดเชื้อในที่สุด และผู้ที่เป็นโรคลําไส้อักเสบเรื้อรัง ลําไส้จะอักเสบบวมเป็นแผลติดเชื้อและโรคโครห์น (Crohn’s Disease) มีความเสี่ยงที่พัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ได้ ร่างกายเสื่อมหรือแก่ก่อนวัย เป็นต้น

สิ่งที่จะสร้างสารอนุมูลอิสระ และกระตุ้นการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายที่อาจคาดไม่ถึง ได้แก่

  • น้ำตาลและสารให้ความหวาน
  • แป้งขัดขาว เช่น ขนมปัง ข้าวขาว เส้นบะหมี่หรือเส้นประกอบอาหารต่างๆ แป้งมัน แป้งแปรรูปต่างๆ เป็นต้น
  • อาหารแปรรูปและผ่านกระบวนการทางเคมีและความร้อนสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ น้ำมันประกอบอาหารที่ผ่านกระบวนผลิตที่มีความร้อนสูง
  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีการผสมน้ำตาลหรือให้สารให้ความหวานที่สูง รวมถึงสารชูรส สารกันเสียกันบูด เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูป ซอสปรุงรสต่างๆ ผลไม้รสหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เครื่อง
  • ดื่มชูกำลัง ชานมชาปรุงแต่ง ไอศกรีม ขนมหวานต่างๆ เป็นต้น
  • อาหารประเภท Junk Food เช่น พิซซ่า โดนัท แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนฟรายด์ ไก่หรือเนื้อทอด เป็นต้น
  • ยารักษาโรคบางชนิด
  • การได้รับควันสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สารที่เป็นมลพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีจากกระบวนการผลิต ควันพิษโลหะหนัก รังสียูวี ก๊าซโอโซน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง
  • ความเครียด
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ

ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความถี่ ปริมาณ และอายุของคุณว่าจะมีความเสี่ยงต่อการพัฒนานาของการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายที่นำไปสู่การเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวได้มากน้อยแค่ไหน และในทางกลับกันก็มีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะสามารถช่วยสุขภาพคุณได้เช่นกัน ซึ่งสารต้านอนุมูอิสระนั้นมีแหล่งที่มาจาก
สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในผัก ผลไม้ ข้าวไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา

  • เบต้าแครอทีน (Beta-carotene) พบมากตามธรรมชาติในผักและผลไม้ที่มีสีส้ม เช่น มะเขือเทศ แครอท น้ำเต้า แคนตาลูป ฟักทอง มะม่วงนอกจากนี้ยังพบได้ในผักใบสีเขียวบางประเภท เช่น ผักขม กะหล่ำปลี เป็นต้น
  • สารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) หรือสารสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ และมีประโยชน์ช่วยในการมองเห็น พบมากตามธรรมชาติในไข่แดงและผักใบสีเขียว เช่น ฝักคะน้า ปวยเล้ง ผักขม กะหล่ำปลี บรอคโคลี เป็นต้น
  • ไลโคพีน (Lycopene ) พบมากตามธรรมชาติในผัก ผลไม้ ที่มีสีแดงหรือสีชมพู เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในมะเขือเทศ แตงโม มะละกอสุก องุ่น ส้ม ฝรั่งไส้แดง เกรพฟรุตสีชมพู เป็นต้น
  • ซีลีเนียม (Selenuim) ไม่ได้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยตรง แต่มีส่วนช่วยสนับสนุนในการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ พบมากตามธรรมชาติ เช่น ข้าวไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ เป็นต้น
  • วิตามินเอ (Vitamin A)  พบมากตามธรรมชาติในมะเขือเทศ  แครอท ตับ เครื่องในสัตว์ นม ไข่แดง เนยแข็ง เป็นต้น
  • วิตามินซี (Vitamin C)   พบมากตามธรรมชาติผักผลไม้หลายประเภทที่มีสีส้ม สีแดง หรือมีรสเปรี้ยว  เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เนื้อวัว เป็ด ไก่ และปลา เป็นต้น
  • วิตามินอี (Vitamin E) พบมากตามธรรมชาติในถั่วอัลมอนต์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง มะม่วง ผักบล็อกโคลี น้ำมันมะกอกบริสุทธ์ (Extra Virgin Olive Oil) เป็นต้น

ทั้งนี้คุณอาจจะต้องนำเข้าสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารอย่างสมดุล เพราะหากคุณกินมากไปก็อาจจะทำให้ได้สารอาหารดังที่กล่าวมากเกินไปก็อาจะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน คุณควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อหาระดับสารอาหารดังกล่าวที่เหมาะสมกับร่างกายคุณ
การอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายระยะเริ่มต้นอาจจะไม่แสดงการบาดเจ็บและเจ็บป่วย แต่หากถึงจุดหนึ่งที่เกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นก็จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคที่อ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น โรคมะเร็งตามจุดต่างๆ ในร่างกาย โรคเบาหวาน แผลติดเชื้อเบาหวาน โรคไตวาย โรคตับแข็ง ร่างกายเสื่อมหรือแก่ก่อนวัย เป็นต้น

③ ภูมิคุ้มกันโรคที่ทำงานผิดปกติ

สืบเนื่องมาจากการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกาย การที่ร่างกายจะรักษาการอักเสบเรื้อรังในบริเวณเซลล์ที่เสียหายนั้น หากในสถานการณ์ที่ปกติและไม่เรื้อรังก็จะไม่แสดงอาการ แต่หากภูมิคุ้มกันทำงานกับการติดเชื้อจากการอักเสบเรื้อรังที่รุนแรงในจุดเดิมเป็นระยะเวลานานก็จะหมายถึงการอักเสบที่ติดเชื้อและรุนแรงขึ้นเพื่อที่จะสามารถต่อต้านระบบภูมิคุ้มกันในระดับเดิมได้ ร่างกายจึงต้องผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งในจุดนี้เองที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายทั้งเชื้อโรคและเนื้อเยื่อไปพร้อมกัน ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย และโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมา และหากรุนแรงจนเกิดภาวะ “พายุไซโตไคน์” Cytokine Storm ที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคเกิดความผิดปกติที่ทำลายเชื้อโรคและเนื้อเยื่ออย่างรุนแรงที่ส่งผลถึงชีวิตได้

④ การติดเชื้อโรค

  • เชื้อ Human Papillomavirus (HPV) เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก เป็นต้น
  • เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) และไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ
  • เชื้อ Human Herpesvirus 8 (HHV-8) เป็นสาเหตุของโรค Kaposi Sarcoma หรือโรคมะเร็งผิวหนังติดเชื้อและเยื่อบุผิวต่าง ๆ และตามเนื้อเยื่อหลายแห่ง เช่น ที่ช่องปาก กระเพาะอาหาร
  • ปอด ต่อมน้ำเหลือง และที่กระดูก เป็นต้น
  • เชื้อ Helicobacter Pylori (H. Pylori) เป็นสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหาร
  • พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ ก่อให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (เชื้อ HIV; โรคเอดส์) หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันโรคบกพร่องจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน

⑤ สารเคมีก่อมะเร็งในอากาศและสิ่งแวดล้อม

โรคมะเร็งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีนบางตัวที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทํางานและควบคุมการผลิตเซลล์ของเราให้เกิดความผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมบางอย่างหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่สำหรับบางคนเป็นผลมาจากการสัมผัสหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารเคมีปนเปื้อนที่จะสร้างมลพิษทางสภาพแวดล้อมเป็นประจำ สามารถทําลายเนื้อเยื่อและดีเอ็นเอให้ผิดปกติจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อมะเร็งได้ในที่สุดอย่างไม่รู้ตัว การได้สารปนเปื้อนเหล่านี้อาจจะมาจากอาหาร น้ำดื่ม อากาศที่หายใจ หรือสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงสารเคมีในควันบุหรี่ ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นแร่ เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงของสารเคมีที่จะก่อมมะเร็งที่มีโอกาสได้รับในชีวิตประจำวันสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • ทางอาหารและเครื่องดื่ม

○   สารพิษจากเชื้อราในอาหารแห้งมีหลายชนิด ได้แก่ อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) สเตอริกมาโตซีสติน (Sterigmatocystin) โอคราทอกซิน เอ (Achratoxin A) รูกูโลทอกซิน (Rugutotoxin) และ ลูติโอสกัยริน (Luteoskyrin) ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ สารเหล่านี้ พบได้ใน ข้าวสาร ข้าวโพด ถั่วลิสง อาหารที่ถนอมโดยการตากแห้งที่ไม่ได้เก็บรักษาอย่างถูกต้องมักจะมีเชื้อราที่จะสร้างสารพิษดังกล่าวได้

○  สารเจือปนในอาหารและน้ำดื่ม ได้แก่ สีผสมอาหาร ที่ไม่ถูกต้องตามาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอาหารและยา เช่น การลักลอบใช้สีผสมอาหารมีส่วนผสมโลหะหนักหรือสารที่ต้องห้าม สีอนินทรีย์ที่ใช้กับการย้อมผ้า กระดาษและวัสดุต่างๆ ที่จะมีส่วนของสารเคมีประกอบด้วยสารตะกั่ว แคดเมี่ยมและปรอท สารชูรสต่างๆ เช่น ขันฑสกรหรือซัคคาริน (Saccharin) ไซคลาเมท (Cyclamate) สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบของภาชนะอาหาร เช่น สารโลหะหนักต่างๆ สารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (Vinyl Chloride Monomer) สารโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู เป็นต้น

○   สารที่เกิดจากการประกอบอาหาร ได้แก่ สารจำพวกโพลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAH หรือ Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) พบในอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ด้วยฟืนหรือถ่านไฟ และอาหารประเภทปลาหรือเนื้อรมควัน มักจะมีสารก่อมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด

○  อาหารดิบที่อาจมีพยาธิ เช่น ปลาดิบ ปลาร้า ปลาจ่อม ปูเค็ม ซึ่งอาจมีพยาธิใบไม้หรือไข่พยาธิปนเปื้อนในอาหารดังกล่าว พยาธิชนิดนี้จะจะทนต่อการหมัก/ดอง และเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ในประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งรับประทานอาหารที่ทำจากสัตว์น้ำและไม่ถูกทำให้สุก การประกอบอาหารจึงควรใช้ความร้อนในการปรุงสุกจึงจะสามารถทำลายพยาธิ ไข่ หรือปรสิตอื่น ทั้งแบคทีเรีย เชื้อราได้

○   กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณที่สูงเกิดไปจนเกิดผลข้างเคียง เช่น หัวใจสั่นหรือเต้นผิดจังหวะ ปวดหัว นอนไม่หลับ เหล่านี้คือสัญญาณเตือน โดยสารคาเฟอีนที่มีปริมาณที่สูงเกินไปในร่างกายจะมีฤทธิ์ยับยังการช่วยซ่อมแซมโมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA Repair) จึงทำเกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์และอาจก่อมะเร็งในตับอ่อนได้ รวมถึงกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาลและครีมเทียมในปริมาณที่เข้มข้น

○   เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยสำคัญทีทำให้เกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น  มะเร็งตับ  มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย และมะเร็งกล่องเสียง

○   ยาสมุนไพรที่มีสารหนู (Arsenic) สารหนูทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง จากอาหาร น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนสารหนู ยาแผนโบราณ และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่ใช้เป็นส่วนผสม เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบ โรคเกาต์ และการอักเสบเรื้อรังต่างๆ

○    สารที่เกิดจากของกระบวนการหมักดองอาหาร ระหว่างเกลือไนไตรท์ คือ สารเอ็นไนโตรโป (N-nitroso compounds) และสารจำพวกเอมีนที่มาจากอาหารหรือยาหรือสารปราบศัตรูพืช สารพวกนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งที่ตับ, หลอดอาหาร, ระบบทางเดินหายใจ, ไต, ทางเดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะ

○   สารก่อมะเร็งจากพืช ได้แก่ สารไซเคซิน (Cycasin) จากผลมะพร้าวเต่าหรือปรง สารอะเรไคดีน (Arechidine) สารอะเรโคลีน (Arecoline) จากผลหมาก สารพทาควิโลไซด์ (Ptaquilosside) จากผลผักกูด และจากพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นประจำควรได้รับการตรวจสอบว่าและยืนยันทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องความปลอดภัยและปราศจากสารพิษและสารก่อมะเร็ง

  • ทางการปนเปื้อนสารเคมีและโลหะหนัก

○   มลพิษจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปนเปื้อนสารปราบศัตรูพืช ดีดีที คาร์บาเบท สารฆ่าหญ้า (2,4D,2,4,5 T, Paraquat) สารโลหะหนัก แร่ใยหินหรือแอสเบสตอส เบอริลเลียม สารกัมมันตรังสีเหล่านี้ ทำให้เกิดมะเร็งทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ที่จะเข้าสู่วัฏจักรวงจร “โซ่อาหาร” ที่ทำลายสุขภาพผู้บริโภคและเกษตรกรอย่างคาดไม่ถึง

○   การสูบบุหรี่และการได้รับควันบุหรี่มือ 2 ที่จะทำให้คุณได้รับสารเคมีประมาณ 4,000 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงพิษและสารก่อมะเร็งถึง 60 ชนิด เช่น คาร์บอนมอนออกไซด์, น้ำมันดิน (Tar), สารหนู (Arsenic) ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ช่องปาก คอหอย และกล่องเสียงในทั้งผู้ที่สูบบุหรี่และและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือ 2

นอกจากนี้โครงการพิษวิทยาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (The National Toxicology Program; NTP) ได้กำหนดรายชื่อสารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ที่เป็นที่รู้จักในรายงานฉบับที่ 15 ของ NTP เกี่ยวกับสารก่อมะเร็งที่มีโอกาสทำให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดเกิดโรคมะเร็งสูงขึ้นและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ที่อาจจะเป็นส่วนผสมของอาหาร เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ และการปนเปื้อนที่ทำให้เกิดมิลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (สารต่างๆ ที่ถูกกําหนดให้เป็นสารก่อมะเร็ไม่ได้หมายความว่าสารนั้นจะต้องทําให้โรคเกิดมะเร็ง เพราะมีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อว่าบุคคลที่สัมผัสกับสารก่อมะเร็งจะพัฒนาเป็นมะเร็งหรือไม่รวมถึงปริมาณและระยะเวลาของการสัมผัสและประวัติทางพันธุกรรมการเกิดโรคมะเร็ง และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลที่จะต้องพิจารณาร่วมด้วย) โดยมีรายการดังนี้

✇   อะฟลาทอกซิน (Aflatoxins)

✇   กรดอริสโตโลจิก (Aristolochic Acids)

✇   สารหนู (Arsenic)

✇   แร่ใยหิน (Asbestos)

✇   เบนซิน (Benzene เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ สารประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมตาง)

✇   เบนซิดีน (Benzidine)

✇   เบริลเลียม (Beryllium)

✇   1,3-บิวทาไดอีน (1,3-Butadiene)

✇   แคดเมียม (Cadmium)

✇   ถ่านหินน้ำมันดินและถ่านหินทาร์พิทช์ (Coal Tar and Coal-Tar Pitch)

✇   การปล่อยเขม่าดำจากการปิ้ง ย่าง อบ (Coke-Oven Emissions ไฮโดรคาร์บอนกลุ่มอะโรมาติกที่เป็นโพลีไซคลิก (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons; PAH)

✇   ซิลิกาผลึก (Crystalline Silica อนุภาคขนาดเล็กที่สูดหายใจเข้าไปได้)

✇   เอริโอไนต์ (Erionite)

✇   เอทิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide)

✇   ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)

✇   สารประกอบเฮกซะวาเลนต์โครเมียม (Hexavalent Chromium Compounds)

✇   การปล่อยมลพิษภายในอาคารจากการเผาไหม้ถ่านหินในครัวเรือน (Indoor Emissions from the Household Combustion of Coal)

✇   น้ำมันแร่ (Mineral Oil ที่ผ่านกระบวนการที่ไม่ได้มาตรฐาน) 

✇   สารประกอบนิกเกิล (Nickel Compounds)

✇   ก๊าซเรดอน (Radon)

✇   ควันบุหรี่มือสอง (Secondhand Tobacco Smoke (Environmental Tobacco Smoke))

✇   เขม่าควัน (Soot; การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์)

✇   หมอกกรดอนินทรีย์เข้มข้นหรืออากาศมีการปนเปื้อนกรดซัลฟิวริก (Strong Inorganic Acid Mists Containing Sulfuric Acid)

✇   ทอเรียม (Thorium)

✇   ไตรคลอโรเอทิลีน (Trichloroethylene)

✇   ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride)

✇   ฝุ่นไม้ (Wood Dust; จากกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ หรืองานไม้ต่างๆ)

 

แนวทางป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็งในขั้นต้น

  • ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวคุณก่อน

ประเมินความเสี่ยงในเรื่องของอาหารที่กิน สภาพแวดล้อมหรือสถานที่ที่ต้องใช้ชีวิต ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานที่ที่ต้องไปเป็นประจำ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด การพักผ่อน การออกกำลังกาย และสังเกตอาการเจ็บป่วยหรือผิดปกติช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เช่น

1. ความเหนื่อยล้าหรือความเหนื่อยล้าที่รุนแรงซึ่งไม่ดีขึ้นเมื่อพักผ่อน
2. น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 5-10 กิโลกรัมโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีแนวโน้มที่น้ำหนักจะเกิดการแปรปรวนอย่างต่อเนื่อง
3. ปัญหาการกิน เช่น ไม่รู้สึกหิว กลืนลําบาก ปวดท้อง หรือคลื่นไส้อาเจียน เป็นประจำ
4. บวมหรือเป็นก้อนที่ใดก็ได้ในร่างกาย
5. มีก้อนหนาเป็นไตๆ ขี้นบริเวณเต้านม ลำคอ ช่องท้อง หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
6. มีอาการความเจ็บปวดเรื้อรังบริเวณต่อมน้ำเหลืองแบบไม่ทราบสาเหตุ
7. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น เนื้องอกที่ผิวหนังที่มีอาจมีเลือดออกหรือเปลี่ยนเป็นสะเก็ดแผลเรื้อรัง
8. มีผิวหรือตัวเหลือง (ภาวะดีซ่าน)
9. อาการไอเรื้อรังหรือเสียงแหบที่ไม่หายไป โดยไม่ทราบสาเหตุ
10. มีเลือดออกผิดปกติหรือช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ
11.. มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง หรือสีอุจจาระของคุณเป็นสีดำหรือมีมูกเลือด
12. เกิดอาการปวดหน่วงที่กระเพาะปัสสาวะเรื้อรัง มีอาการปัสสาวะแสบขัดและปัสสาวะเลือด ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือมีปริมาณปัสสาวะน้อยลง
13. มีไข้หรือเหงื่อออกตอนกลางคืนเสมอ แม้ในวันที่อากาศไม่ร้อนอบอ้าว
14. อาการปวดหัวหรือเวียนหัวเรื้อรัง
15. ปัญหาการมองเห็นหรือการได้ยินที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
16. มีแผลในช่องปากที่ติดเชื้อเรื้อรังหรือมีเลือดอย่างไม่ทราบสาเหตุ

  • ตรวจประเมินสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณจะสามารถตรวจสุขภาพและร่างกายได้ในเชิงลึกยิ่งขึ้น ที่จะสามารถรู้และประเมินสุขภาพคุณได้ถึงการรับรู้ถึงความบกพร่องหรือปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับสุขภาพของคุณในอนาคต ซึ่งหากคุณรู้ปัญหาด้านสุขภาพต่างนั้นก่อนก็จะป้องกันได้ พร้อมกับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่จะสามารถแนะนำการดูแลสุขภาพได้อย่างละเอียดและเข้าใจง่ายให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
  • หมั่นฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคประจำปีที่จำเป็นต่างๆ 
  • ประกอบอาหารให้สุกและสะอาดเสมอ รวมถึงการเลือกกินอาหารที่เป็นธรรมชาติที่ผ่านการรับรองการปลอดสารเคมี ไม่ผ่านการแปรรูป ปรุงแต่งด้วยสารเคมี และมีน้ำตาลสูง จะสามารถลดความเสี่ยงจากสาเหตุการเป็นมะเร็งจากอาหารการกินได้
  • ฝึกการกินอาหารเป็นช่วงๆ (IF) และ Prolonged Fasting อย่างเข้าใจและถูกวิธี เพื่อทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการ Autophagy หรือกระบวนการทำความสะอาดระบบภายในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเซลล์ที่ผิดปกติ รวมถึงสารพิษและสิ่งแปลกปลอมในร่างกายที่จะอาจจะมีโอกาสกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
  • หมั่นติดตามสภาพอากาศโดยเฉพาะการเกิดมลพิษทางอากาศ เช่น ปัญหาฝุ่น PM 2.5 การรั่วไหลของสารพิษในที่ต่างๆ เพื่อสามารถวางแผนการเดินทางให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น หากจำเป็นต้องไปควรสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กนาโนได้
  • หมั่นอัพเดตองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพใหม่ๆ ที่อาจช่วยให้คุณปลอดภัยจากการเกิดโรคมะเร็ง

สรุป

การเกิดมะเร็งกับผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นมีโอกาสเป็นได้หากละเลยหรือไม่รู้มาก่อนกับสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นก่อมะเร็งยิ่งถ้าหากคุณนั้นมีประวัติทางครอบครัวที่มีใครเป็นมะเร็งรวมกับการสูบบหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยหากคุณรู้ว่าอะไรเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้คุณเป็นมะเร็ง และพร้อมที่จะระวังไม่พาตนเองไปอยู่ในความเสี่ยงนั้น ก็จะทำให้คุณลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้

มะเร็งหลายชนิดไม่มีอาการในระยะแรก การสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคุณ การประเมินความเสี่ยงตนเอง และการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำจึงมีความสำคัญที่จะช่วยคุณลดความเสี่ยงได้ และอย่ากลัวที่มีเชื้อมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ หรืออยู่ในระยะแรกๆ นั้นหมายถึงการที่จะรับการรักษามะเร็งได้อย่างทันท่วงที

และข้อมูลนี้เราหวังว่าจะช่วยให้คุณรู้ทันมะเร็ง ! สุขภาพดีมากและปลอดภัยจากมะเร็ง รู้ก่อนป้องกันต้นเหตุการเป็นมะเร็งแบบไม่รู้ตัว

มะเร็งคือภัยเงียบที่คุณไม่คาดคิด และสารก่อมะเร็งมีอยู่รอบตัวคุณ ไม่ว่าจะในอาหารเครื่องดื่ม อากาศ สิ่งของเครื่องใช้ในประจำวัน ที่มีส่วนผสมสารก่อมะเร็งอย่างที่คุณอาจไม่รู้มากก่อน การรู้ว่าสารก่อมะเร็งเกิดจากสิ่งใดบ้าง รวมถึงการตรวจสุขภาพคัดกรองเชื้อมะเร็งจะช่วยลดความเสี่ยงได้ เราขอแนะนำ “โปรแกรมตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งปอดและสารพิษสะสมในร่างกาย” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

โปรแกรมตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งปอดและสารพิษสะสมในร่างกาย

“รู้ก่อน ป้องกันได้”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก

✔ ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งปอด ช่วยประเมินและติดตามผลการรักษาโรคมะเร็งปอด (Small Cell Lung Cancer) และ Neuroblastoma

✔ เพื่อประเมินในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ทำงานในเขตที่มีมลภาวะทางอากาศ
เช่น มีฝุ่น PM 2.5 ควัน สารพิษ และผู้ที่มีอากาสได้รับสารพิษสะสมจากการใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). รู้จักมะเร็ง เกิดขึ้นแล้วรักษาได้”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15  พ.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue018/health-station
  • ปรียานุช แย้มวงศ์, ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2559). “สารพิษที่เพิ่มอัตราการเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ตอนที่ 1”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15  พ.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=407
  • ศูนย์มะเร็ง, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2565). มะเร็ง รู้เร็วรักษาได้”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15  พ.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/cancer
  • สถาบันมะเร็ง, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). “ทะเบียนมะเร็ง ระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15  พ.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2564/index.html
  • American Cancer Society, et al., BMC Public Health, National Library of Medicine. (2020). “Signs and Symptoms of Cancer. Retrieved November 15, 2022, from: https://www.cancer.org/treatment/understanding-your-diagnosis/signs-and-symptoms-of-cancer.html
  • Apinut Rankantha, et al., BMC Public Health, National Library of Medicine. (2018). “Risk patterns of lung cancer mortality in northern Thailand. Retrieved November 15, 2022, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30249219/
  • World Health Organization (WHO). (2022). “Cancer. Retrieved November 15, 2022, from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cancer

แสดงความคิดเห็น

Close Menu