9 สัญญาณเตือน ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
สังเกตก่อนสุขภาพพัง
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมรูปร่างคล้ายผีเสื้อขนาดเล็กอยู่ใต้กล่องเสียงบริเวณส่วนล่างของคอ มีบทบาทสำคัญในกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย โดยเป็นส่วนสำคัญของระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน T3 (Triiodothyronine) และ T4 (ไทรอกซิน) เพื่อควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย โดยมีฮอร์โมน TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ซึ่งสร้างจากต่อมใต้สมอง เพื่อกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่จะส่งผลต่อเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายให้เกิดการเผาผลาญพลังงานจากสารอาหารผ่านกลไกนี้
อย่างไรก็ตาม การทำงานของต่อมไทรอยด์อาจทำงานผิดปกติหรือต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนที่คอ อาจเกิดได้จากเงื่อนไขปัญหาที่เป็นลูกโซ่จากต้นทางกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย (Metabolic System) ที่เริ่มจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ผ่านต่อมใต้สมอง “ต่อมพิทูอิทารี (Pituitary Gland)” โดยมีฮอร์โมน TSH เป็นสื่อกลางที่จะไปกระตุ้นการทำงานต่อมไทรอยด์ เพื่อให้เกิดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเกิดมีปัญหาก็จะส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ของคุณ และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบถึงภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษา อาจลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลงและทำให้อาการผิดปกติแย่ลงตามระยะเวลาที่ก่อโรค ที่จะมีผลกระทบต่อร่างกายที่จะลุกลามสู่โรคเรื้อรังและรุนแรงได้ ภาวะผิดปกติจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในรูปแบบต่างๆ
⭐ ปัญหาต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติที่พบบ่อย
ปัญหาต่อมไทรอยด์มี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1
โรคไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือโรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เมื่อคุณมีไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากจนเกินไป ทำให้การเผาผลาญของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ ได้แก่ น้ำหนักลดและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขณะพักผ่อน
ประเภทที่ 2
ไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroid) ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปจะผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยเกินไป อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงจนรู้สึกหนาวอย่างผิดปกติ เนื่องจากการเผาผลาญของร่างกายช้าลงอย่างมาก อาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลียเหนื่อยล้าเรื้อรังและน้ำหนักขึ้น ภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยพบได้บ่อยกว่าภาวะไทรอยด์ทำงานมาก
เพื่อป้องกันสิ่งนี้ สิ่งสำคัญคือคุณควรรู้สัญญาณเตือนล่วงหน้าของปัญหาต่อมไทรอยด์ และ รีบไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อรับการรักษาต่อมไทรอยด์ทันทีเมื่อมีอาการเกิดขึ้น
① อาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าเรื้อรัง
อาการเหนื่อยล้าเรื้อรังเป็นลักษณะอาการสำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อย อย่างไรก็ตามอาการเหนื่อยล้าที่เกี่ยวข้องกับภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยนั้นแตกต่างจากความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยมักรายงานว่ารู้สึกเหนื่อยล้าอย่างมากและยังคงรู้สึกอยู่แม้จะนอนหลับอย่างเพียงพอแล้ว
นอกจากความเหนื่อยล้าทางกายแล้ว คุณอาจมีอาการเหนื่อยล้าทางจิตใจและหลงลืมด้วย อาการนี้มักเป็นอาการแรกๆ ที่ปรากฏในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อย
② ความผันผวนของน้ำหนัก
ทั้งภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยและภาวะไทรอยด์ทำงานมากทำให้มีน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวน เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเผาผลาญอาหาร ดังนั้นระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติจึงทำให้ร่างกายเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานในอัตราที่แตกต่างกัน
กรณีคุณป่วยภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปซึ่งผลิตโดยต่อมไทรอยด์จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมักจะลดน้ำหนัก (โดยมากจะลดน้ำหนักได้มากผิดปกติ) โดยไม่เปลี่ยนแปลงอาหารหรือกิจวัตรการออกกำลังกายตามปกติ
หากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป กระบวนการนี้จะเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับภาวะทำงานมากเกินไป โดยเมื่อมีฮอร์โมนไทรอยด์หมุนเวียนในร่างกายน้อยเกินไป การเผาผลาญก็จะช้าลง และร่างกายคุณก็จะเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานในอัตราที่ช้าลง ดังนั้น กรณีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยจึงมักจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้จะได้รับปริมาณอาหารในปริมาณที่เท่าเดิม
③ สายตาและปัญหาทางสายตา
ปัญหาด้านการมองเห็น อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปและทำงานน้อยไป แต่พบได้บ่อยกว่าเล็กน้อยในผู้ป่วยที่มีไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
แม้ว่าภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อดวงตา แต่ภาวะบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยส่งผลโดยตรงต่อดวงตา ตัวอย่างเช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิคุ้มกัน หรือโรคฮาชิโมโตะ ซึ่งทำให้ร่างกายโจมตีต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะไทรอยด์ทำงานน้อย อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้
เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยให้ท่อน้ำตาทำงานเป็นปกติ เมื่อต่อมไทรอยด์มีความเสียหายจากการทำลายของภูมิคุ้มกันจึงมีแนวโน้มที่จะมีตาแห้งและมองเห็นพร่ามัวมากกว่าประชากรส่วนที่เหลือ
ในทำนองเดียวกัน ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไปไม่ส่งผลโดยตรงต่อดวงตา แต่ภาวะบางอย่างที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เช่น โรคเกรฟส์ (โรคแพ้ภูมิตัวเองอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหลักของภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป) อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้ ซึ่งทำให้มองเห็นภาพพร่ามัวหรือภาพซ้อน ตาแดงหรือโปน และตาแห้งและไวต่อแสง
หากตรวจพบปัญหาอาการต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ และยังไม่รุนแรง อาการเหล่านี้มักจะหายได้
④ ปัญหาระบบทางเดินอาหารและการขับถ่าย
กรณีคุณเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย มักจะตรวจพบปัญหาที่เกี่ยวกับกระเพาะและระบบย่อยอาหารร่วมกับอาการอื่นๆ ด้วย เช่น ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในระบบย่อยอาหาร
ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Small Intestinal Bacterial Overgrowth (SIBO) ซึ่งพบในผู้ป่วยภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยมากกว่าครึ่งหนึ่ง ภาวะ SIBO อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องอืดท้องเฟ้อ อย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยมีอาการอาการถ่ายท้อง บ่อยๆ กว่าปกติ หรือท้องผูกร่วมด้วย
⑤ ความไวต่ออุณหภูมิ
1 ในหน้าที่ของต่อมไทรอยด์ คือ ควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย เมื่อความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ทำให้การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ความรู้สึกเกี่ยวกับอุณหภูมิของคุณก็จะเปลี่ยนไป
ในภาวะไทรอยด์ทำงานน้อย ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ที่ลดลงอาจทำให้เกิดความรู้สึกหนาวผิดปกติได้ ความรู้สึกนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้อุณหภูมิโดยรอบจะอุ่นก็ตาม ในทางกลับกัน ในภาะวที่มีฮอร์โมนไทรอยด์สูงเกินไป มักจะรู้สึกร้อนและเกิดอาการเหงื่อออกอย่างผิดปกติ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมใดก็ตาม
⑥ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเส้นผม
อาการทั่วไปอีกอย่างหนึ่งของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติคือการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเส้นผม เนื่องจากเซลล์ผิวหนังได้รับการควบคุมโดยฮอร์โมนไทรอยด์ โดยเฉพาะการควบคุมอัตราการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังหรือระยะเวลาที่ผิวหนังจะใช้ในการสร้างใหม่
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ทำงานน้อย อาการดังกล่าวมักแสดงออกมาในรูปของผิวแห้ง การศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of General Internal Medicine พบว่าผู้ป่วยโรคไทรอยด์ทำงานน้อย ร้อยละ 74 มีผิวแห้งด้วย แม้ว่าอาการดังกล่าวจะไม่ค่อยเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคไทรอยด์ทำงานมาก แต่อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปอาจทำให้มีเหงื่อออกมากขึ้นหรือเหงื่อออกตอนกลางคืน
การเปลี่ยนแปลงของเส้นผมมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีปัญหาต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อย ฮอร์โมนไทรอยด์มีบทบาทในการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่ เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำลง การเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่ของร่างกายก็จะบกพร่อง
และส่งผลต่อการทำให้เกิดภาวะผมบางหรือเส้นผมเปราะบางหลุดร่วงได้ง่าย ร่วมถึงการผลิตเส้นผมใหม่ที่ลดลงหรือไม่สามารถงอกใหม่ได้ ในสภาวะปกติคุณจะสูญเสียเส้นผมทุกวัน (โดยเฉลี่ยมากถึง 100 เส้น )
⑦ นอนหลับยาก
ไม่ว่าจะเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยและภาวะไทรอยด์ทำงานมากอาจทำให้คุณเกิดปัญหาในการนอนหลับได้ ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมาก จะทำให้ร่างกายตอบสนองออกมาเป็นความกังวลตื่นตัว ใจสั่น อาจมีเหงื่อที่ออกมากขึ้นจากภาวะนี้อาจทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืน จะทำให้คุณไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ หรือชอบตื่นกลางดึก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการง่วงซึม ไม่กระปรี้กระเปร่าต่อการทำกิจกรรมในช่วงกลางวัน
แม้ว่าภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยจะมักสัมพันธ์กับอาการเฉื่อยชาและความต้องการนอนหลับ แต่ผลการศึกษาพบว่าภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ระยะเวลาการนอนหลับที่สั้นลง และความต้องการในการนอนหลับที่นานขึ้น
⑧ หิวบ่อยหรือไม่หิวกินไม่ค่อยลง
กรณีต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปอาจทำให้เกิดความรู้สึกหิวบ่อยขึ้น กินจุกกินจิก หรือกินมากขึ้น แต่น้ำหนักตัวลดลง หากไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ จะกินน้อยกว่าปกติ หรือมีอาการเบื่ออาหาร ถึงกินเล็กน้อยก็มีน้ำเพิ่มขึ้นได้ง่ายจนอาจเกิดเป็นโรคอ้วนลงพุง
⑨ ประจำเดือนมาผิดปกติ
ในผู้หญิงที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะทำให้ประจำเดือนขาดหรือมามากผิดปกติได้ แต่เมื่อรักษาให้ฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในระดับคงที่แล้ว ประจำเดือนก็จะเริ่มกลับมาปกติอีกครั้ง
⭐ ผู้ที่มีเสี่ยงต่อโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
• โรคโลหิตจางร้ายแรง
• โรคเบาหวานประเภท 1 และ 2
• โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
• ผู้ป่วยเป็นมะเร็งที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะหรือลำคอ
• ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศหรือพื้นที่ที่ไม่มีเกลือไอโอดีน ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดไอโอดีนได้
• ผู้ที่มีเพศ Transman หรือบุคคลนอนไบนารี่ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิง (Assign Female at Birth; AFAB)
• มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
⭐ การป้องกันโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
• ดูแลและรักษาระบบเผาผลาญพลังงาน (Metabolism System) ให้สมดุล
⁕ จัดการหรือควบคุมความเครียดได้ เพื่อสนับสนุนกระบวนการเผาผลาญพลังงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
⁕ หลีกเลี่ยงภาวะพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือภาวะก่อนเป็นเบาหวานประเภท 2 และโรคอ้วนลงพุง
⁕ ลดการบริโภคน้ำตาลและของหวาน
⁕ ลดการบริโภคอาหารประเภทแป้ง เช่น แป้งขัดขาว แป้งแปรรูป
⁕ ลดการบริโภคไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปขั้นสูง เช่น มาการีน เนยขาว ครีมเทียม และน้ำมันพืช
⁕ หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการปรุงแต่ง การแปรรูป การสังเคราะห์ทางเคมี ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ และอาหารขยะหรือประเภท Junk Food ประเภทที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์จํานวนมาก เช่น ไอศกรีม ของหวานต่างๆ หากกินเป็นอย่างประจำนอกจะทำลายสุขภาพหัวใจแล้วยังจะมีผลทำให้เกิดโรคตับแข็งเช่นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เช่นกัน
⁕ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
⁕ เลือกรับประทานอาหารจากธรรมชาติ (Whole Food) พร้อมเน้นบำรุงหลอดเลือด หัวใจ ป้องกันการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด โดยแหล่งอาหารควรเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ เช่น ผักสีเขียว บรอกโคลี พืชตระกูลถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และรับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา สัตว์ปีก ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณเพียงพอต่อมื้อ ลดอาหารแปรรูปให้ได้น้อยมากที่สุดหรือไม่นำมาบริโภค ใช้น้ำมันจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil: EVOO ) หรือน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันที่ไม่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงในการประกอบอาหาร (Ultra-processed Foods) เน้นรับประทานผลไม้เป็นของว่างแทนของหวาน เช่น สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ และกีวี่ อีกทั้งจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี หากเป็น ⌜อาหารไทย⌟ สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
⁕ ดูแลรักษาต่อมไทรอยด์ให้ดี ที่มีความสำคัญต่อระบบเผาผลาญพลังงาน เป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่จะไปกระตุ้นเซล์ให้เกิดการเพิ่มการใช้ออกซิเจน อัตราการหายใจ อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น เพื่อกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารและแหล่งพลังงานสำรองให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย ในทางกลับกัน ผู้ที่มีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ หรือเกิดภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเผาผลาญต่ำ และอาจมีความเสี่ยงที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นที่จะเป็นจุดสังเกตของการเกิดโรคระบบเผาผลาญพลังานเสื่อม คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของต่อมไทรอยด์โดยการได้รับสารอาหารไอโอดีน ซีลีเนียม จากแหล่งอาหาร เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลาทะเล ไข่ กระเทียม หอมใหญ่ บร็อกโคลี เป็นต้น
⁕ หากคุณมักจะมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรือมีแก๊สในทางเดินอาหารมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณของภาวะลำไส้รั่ว ที่มีสาเหตุที่แพ้อาหารทีมีสารกลูเตน เช่น อาหารประเภท ธัญพืชและข้าว เช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ อาหารแปรรูป เช่น ขนมปัง ซีเรียล ข้าวโอ๊ต พาสตา น้ำสลัด โปรตีนเกษตร หมูเด้งหมูนุ่ม ลูกชิ้น ปูอัดเทียม ซุปข้น คุณควรหลีกเลี่ยง เพราะภาวะลำไส้รั่วเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญที่จะก่อความเสียหายต่อต่อมไทรอยด์ของคุณได้
⁕ รักษาความสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี โดย 70% ของภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ “ลำไส้” ถ้าคุณมีสุขภาพลำไส้ที่ดีเท่ากับว่า คุณมีเชื้อจุลินทรีย์พันธ์ดีที่เป็นมิตรพึ่งพาอาศัยกันอยุ่ในลำไส้คุณ ที่จะช่วยเป็นทั้งภูมิคุ้มด่านแรกๆ ที่จะกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่มากับอาหาร รวมถึงการป้องกันโรคภูมิแพ้อาหารด้วย แหล่งอาหารที่คุณจะได้รับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี ได้แก่ กรีกโยเกิร์ตหรือโยเกิร์ตสูตรธรรมชาติ ซุปมิโซะ กิมจิ น้ำหมักคัมบูชา น้ำหมักแอปเปิ้ลผสมหัวเชื้อ และการเพิ่มพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) (แหล่งอาหารที่สำคัญของโพรไบโอติกส์ ซึ่งจะส่งเสริมสภาพการเจริญเติบโตที่เหมาะสม สำหรับแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีในลำไส้)
⁕ งดการสูบบุหรี่ การรับควันมือสอง และลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นประจำและต่อเนื่องมากเกินไป
• การตรวจประเมินสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
แนวทางการตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ช่วยสนับสนุนการแนวทางการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
การตรวจเลือด : การตรวจเหล่านี้สามารถประเมินเบื้องต้นว่าคุณมีภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยหรือไทรอยด์ทำงานมากเกินไป มีการตรวจเลือดเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หลายประเภท เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) , T3 และ T4 และแอนติบอดีต่อต่อมไทรอยด์
การสแกนร่างกาย : การอัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์ ช่วยให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสามารถตรวจหาก้อนเนื้อหรือคอพอก หรือลักษณะความผิดปกติกับต่อมไทรอยด์ได้การฉายภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น การตรวจการดูดซึมและการสแกนต่อมไทรอยด์ สามารถช่วยแสดงให้เห็นว่าก้อนเนื้อมีการทำงานมากเกินไปหรือไม่
⭐ ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ
❈ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน รู้ช้าเกินไป ไม่ดีแน่นอน!
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫
https://pathlab.co.th/be-aware-of-hypothyroidism-underactive-thyroid/
❈ “ดูแลและป้องกัน 5 สิ่งนี้” ก่อนเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance)
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/food-tolerance-rehabilitation/
❈ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/
❈ เคล็ดลับการป้องกัน โรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม
≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/secret-of-ncds-disease-prevention/
⭐ สรุป
หากคุณมีอาการของภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยหรือไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หรือสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของลักษณะก้อนที่คอที่อาจเป็นการขยายตัวของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ และยิ่งหากคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ สิ่งสำคัญคือต้องได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเพื่อหาสาเหตุทันทีและการเริ่มการรักษาได้อย่างทันท่วงที
โปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐาน
“ลดความเสี่ยงด้านสุขอนามัย และด้านการเงินรักษาพยาบาล”
✔ เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนดูแลระดับโปรตีนให้เหมาะสมกับร่างกายคุณ
✔ ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์
ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<
ข้อมูลโดย :
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ] 02 573-3490-1
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:
ศูนย์บริการพาธแล็บ [ ◕ กดโทร ] 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/inbox
LINE Official [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/LINE
Website [ ◕ กดคลิก ] www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/google-maps
อ้างอิงจาก:
•โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. “สัญญาณเตือนไทรอยด์ผิดปกติ”
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/สัญญาณเตือนไทรอยด์ผิดป/
•อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล. “การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ”
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=453
•National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK). “Hypothyroidism (Underactive Thyroid)”.
https://www.heartfoundation.org.au/healthy-living/keeping-your-heart-healthy
•The Office on Women’s Health. “Thyroid disease”.
https://www.womenshealth.gov/a-z-topics/thyroid-disease
•National Library of Medicine, National Center for Biotechnology Information. “Pathophysiology and Diagnosis of Thyroid Disease”.