รู้งี้ไม่ป่วย ! โรค NCDs จุดเริ่มต้น 5 โรคเรื้อรังยอดฮิตที่คุณป้องกันได้

เนื้อหา

เรื่องน่ารู้:

  • การวางแผนด้านสุขภาพสำคัญไม่แพ้กับการวางแผนชีวิตหรืออนาคต
  • พฤติกรรมการกิน คือ 1 ในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณในระยะยาว
  • โรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: โรค NCDs) คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่ระบาดได้ทุกวิถีทาง แต่จะเกิดจากการดำเนินชิวิตในประจำวัน หรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน อย่างเช่น การกินอาหารรสจัด เช่น หวาน เค็ม มันจัด การพักผ่อน ความเครียด การเสพติดเหล้า บุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียดสะสม มลพิษจากทางอากาศ เป็นต้น รวมถึงสาเหตุจากกรรมพันธุ์ด้วย
  • หากคุณเป็นโรค NCDs เพียงโรคเดียวก็เพียงพอที่จะทำเกิดการพังทลายด้านสุขภาพของคุณได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา

การวางแผนชีวิตและเดินไปตามเป้าหมายตามที่วางไว้ได้ เป็นสิ่งที่หลายคนทำเพื่ออนาคตของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องดี ไม่ว่าจะสำเร็จช้าหรือเร็ว หากแต่น้อยคนนักที่จะนำเอาสุขภาพมาวางแผนในการใช้ชีวิตด้วย ซึ่งสุขภาพถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับอนาคตอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะประสบความสำเร็จในด้านการทำงาน ด้านการทำธุรกิจ หรือด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม เป็นต้น

แต่หากคุณลืมที่จะวางแผนสุขภาพ และปล่อยให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่อย่างที่คุณไม่รู้ทัน คุณจะตกเป็นเหยื่อของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยอดฮิตที่คร่าชีวิต ได้แก่ เบาหวาน มะเร็งตับ  โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคความดันโลหิตสูง

ที่โรคเหล่านี้อาจพรากความสำเร็จ และความรักของคุณไปในแค่พริบตาเดียวถ้าสายเกินไป เส้นทางสายสุขภาพที่กล่าวถึงนี้ คุณสามารถเลือกเองได้ เพราะการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ บทความนี้จะนำทางคุณไปยังเส้นทางที่ดีกว่า เริ่มเดินทางเพื่อค้นหาเส้นทางสุขภาพที่ดีต่อตัวคุณ

จุดเริ่มต้นของเส้นทางสุขภาพ

ในวันที่คุณวางแผนการใช้ชีวิต และพร้อมเดินตามแผนที่คุณได้คัดสรรมาจนในช่วงเวลาหนึ่งคุณอาจจะรู้สึกที่เหนื่อยล้า หรือพบเจออุปสรรคบางอย่างทำให้แผนฯ นั้นไม่ราบรื่นเท่าที่ควร เมื่อนั้นหลายคนก็จะเลือกมองหาวิธีการระบายความเครียดขั้นพื้นฐาน คือ กิน ดื่ม เที่ยว เป็นต้น

ทว่าส่วนใหญ่การกิน คือ การระบายความเครียดยอดนิยม และเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของคุณ ดั่งสุภาษิตเพื่อเตือนสติเราก่อนกินทุกครั้ง  “You are what you eat” ความคิดที่จะมีสุขภาพดี อายุยืนอย่างแข็งแรง คุณต้องเริ่มจากการกินอาหารที่ดี (จาก Jean Anthelme Brillat-Savarin นักกฎหมายและนักเชี่ยวชาญศาสตร์การทำอาหารชาวฝรั่งเศส)

เส้นทางสุขภาพกับการเลือกกิน

การกินถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของ 5 โรคไม่ติดต่อเรื้อรังยอดนิยม ในอาหารหรือเครื่องดื่มทุกชนิดที่คุณเลือกกินนั้น อะไรที่มีรสชาติสุดโต่งจนเกินไป ได้แก่ หวานจัด เค็มจัด มันจัด (ยกเว้นจืดจัดๆ จะส่งผลดีมากกว่า) จะเป็นเหมือนฉนวนระเบิดที่ถูกตั้งเวลาไว้

เมื่อเลือกกินอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทดังกล่าวเป็นประจำต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการเสพติดจนเป็นพฤติกรรมที่ให้โทษ ไม่ต่างจากการเสพติดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ก็ส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้เช่นกัน

  • หวานจัด: การกินอาหารหรือเครื่องดื่มรสหวานจัดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป จนทำให้ร่างกายควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี สังเกตได้จากปัสสาวะที่ขับออกมาแล้วมีกลิ่นหวานหรือมดตอม นั้นชี้ให้เห็นถึงการที่ร่างกายมีน้ำตาลปริมาณมากเกินไปจนร่างกายไม่สามารถขับออกได้หมด ซึ่งน้ำตาลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันประเภทไตรกลีเซอร์ไรด์ ส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน ทำให้เกิดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคไต และโรคเบาหวาน
  • เค็มจัด: การกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติเค็มอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินไป จนทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหลอดเลือด โรคกระดูกพรุน และโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • มันจัด: การกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความมันจัดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ร่างกายได้รับไขมันสะสมที่อวัยวะภายในต่างๆ ได้ เช่น หัวใจ ตับ และไต จนทำให้อวัยวะดังกล่าวอาจเกิดอาการอักเสบจนส่งผลต่อการเกิดมะเร็งได้ เช่น มะเร็งตับ รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น และยังเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคอัมพาต อีกด้วย
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ ที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดในสมองแตก อัมพาต อัมพฤกษ์เป็นต้น

หากคุณเลือกแล้วว่าคุณจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งสุขภาพที่ดี คุณก็ไม่จำเป็นต้องอ่านเพื่อศึกษาเส้นทางต่อไป เพราะนี่ไม่ใช้เส้นทางของคุณ และพาธแล็บขอยินดีด้วยที่คุณได้เลือกเส้นทางสายสุขภาพแล้ว

เส้นทางแห่งผู้เสี่ยงโชคและโรคร้าย

เส้นทางนี้หากเปรียบเป็นการเสี่ยงโชครางวัลฉลากกินแบ่งรัฐบาล แค่มีสักใบที่ถูกเลขท้าย 2 ตัวในแต่ละงวด คงจะดีไม่ใช่น้อย แต่จะไม่ดีแน่หากคุณถูกรางวัลที่หนึ่งแต่แลกกับการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเหล่านี้ เพราะโรคเหล่านี้จะไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ตราบใดที่คุณไม่รู้สาเหตุตัวการร้ายสำคัญ [ปิด!! ประตูรับโรค น้ำตาลและอินซูลิน ต้นเหตุสร้างโรคเรื้อรัง 『 ดูข้อมูลเพิ่มเติม 』≫ กดคลิก ≪ ] และวิธีการฟื้นฟูควบคู่ไปกับการรักษาที่หากคุณเข้าใจจะช่วยชีวิตและสุขภาพของคุณได้ [กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ『 ดูข้อมูลเพิ่มเติม』≫ กดคลิก ≪] พวกมันจะอยู่เป็นเพื่อนคู่ชีวิตคุณ จนกว่าคุณจะบอกลาเพื่อนเหล่านี้ของคุณด้วยลมหายใจเฮือกสุดท้าย หากคุณได้ผ่านเส้นทางที่ 2 มาแล้ว โดยผ่านทุกรสชาติ หรือผ่านงานปาร์ตี้ เลี้ยงฉลองด้วยเครื่องดื่มที่หมักด้วยสูตรสำหรับสุดยอดเทพคอแข็งสุดๆ หรือสูบบุหรี่ที่สามารถต่อกันยาวได้จากเชียงรายถึงนราธิวาส แต่ขอแสดงความเสียใจด้วยยิ่งต่อยาวเท่าไหร่ชีวิตก็จะยิ่งสั้นเท่านั้น แต่หากความเป็นจริงคุณไม่มีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรเลย (ตรวจสุขภาพแล้วมั่นใจได้) นี่หล่ะคุณเป็นคนที่โชคดีมาก

พาธแล็บขอแสดงความยินดีด้วย แต่หากเป็นอีกด้านของเหรียญ คือ คุณเสี่ยงได้บรรดาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาสักหนึ่งโรค ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเป็นโรคอะไรก่อน จากความเสี่ยงในเส้นทางที่ 2 ที่คุณเลือกเพียงปัจจัยเดียวก็ส่งผลได้ ไม่ว่าคุณจะเริ่มเป็นโรคอะไรก่อน ขอให้คุณรู้ไว้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นแค่โรคเดียวแน่อน เพราะนี่คือการล้มครืดแบบโดมิโน่ด้านสุขภาพอย่างแท้จริง

เพื่อให้คุณเห็นภาพมากขึ้น เราขอจำลองสถานการณ์เพื่อให้คุณเห็นภาพรวมชัดขึ้นของเส้นทางการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้องดังนี้

“เริ่มจากคุณชอบกินอะไรที่หวานๆ เป็นปกติเกือบทุกวัน เช่น คุณทานช็อคโกแลตจำนวน 30 ชิ้นทุกวัน จนวันหนึ่งคุณเริ่มตั้งคำถามว่าทำไมช็อคโกแล็ตยี่ห้อนี้รสชาติแย่ลง จืดจนอยากจะจิ้มน้ำตาลเป็นเครื่องเคียงอีกที

ต่อจากนั้นเมื่อคุณขับปัสสาวะแล้วได้กลิ่นเหมือนขนมหวานหรือผลไม้ที่สุกงอม และสังเกตว่ามีมดมาตอม จึงทำให้คุณไม่แน่ใจในความผิดปกตินี้

คุณจึงไปตรวจสุขภาพ และผลการตรวจออกมาว่าคุณเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จากนั้นแพทย์ได้ให้คุณรักษาตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น งดอาหารที่ส่งผลต่อโรค ออกกำลังกาย กินยาร่วมหรือฉีดอินซูลินในปริมาณที่ไม่ส่งผลต่อไตมาก หากคุณจะทำตามที่แพทย์แนะนำได้อย่างเห็นผล คุณจะต้องรักษาอาการเสพติดน้ำตาลที่คุณมีก่อน การรักษาเบาหวานจึงจะง่ายต่อการใช้ชีวิตของคุณอย่างมาก

แต่ในกรณีที่ยากจะสำเร็จ คุณจะได้รับปริมาณยาและอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีฤทธิ์ต่อการรักษาเบาหวานที่มีฤทธิ์ร้ายมากตามระดับ ที่อาจจะทำให้คุณถึงต้องเป็นแผลฉกรรจ์หายยากไปจนตัดแขนตัดขาได้ แต่ขณะเดียวกันยาเหล่านี้ก็ส่งผลต่อไตที่จะต้องทำงานหนักในการกรองสารเคมีจากยา ที่จะทำให้ไตคุณเสื่อมเร็วขึ้น ก่อนวัยอันควรหรือาจเสี่ยงต่อไตวาย และการฟอกไตจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ขาดไม่ได้ สำหรับการมีชีวิตอยู่ของคุณ นั่นยังไม่รวมถึงการที่น้ำตาลปริมาณมากที่ค้างอยู่ในกระแสเลือดที่จะแปลงเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ที่จะไปพอกที่หัวใจและหลอดเลือด จนทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ที่ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา หากไปพอกบริเวณตับก็จะทำตับเกิดอาการอักเสบ และเกิดตับแข็ง ที่จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับได้ แน่นอนการรักษาโรคเหล่านี้ย่อมไม่คุ้มกับการได้รับรางวัลที่ 1 จากฉลากกินแบ่งรัฐบาลแน่นอน

จากสถิติการเสียชีวิต ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2560 สาเหตุการตายด้วยโรคเรื้อรังและโรคไม่ติดเชื้อสูงกว่า โรคติดเชื้ออย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุการตายด้วยโรคมะเร็งที่สูงเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง และอันดับต่อมาเป็นโรคเกี่ยวกับตับ 

ซึ่งสุขภาพอาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนแต่ก็เข้าใจได้ไม่ยาก หากคุณได้ลองศึกษาและสังเกตเรื่องราวในพฤติกรรมการการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ จะพบความเชื่อมโยงอีกมากมายที่จะทำให้คุณได้พบแนวทางในการวางแผนชีวิตพร้อมกับสุขภาพที่ดีได้เพื่อคุณภาพในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความมั่นคงให้ได้มากที่สุด

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บยินดีให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากสนใจบริการของเราสามารถติดต่อได้ที่


ศูนย์บริการพาธแล็บ: 02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox: th.pathlab.link/inbox


LINE Official: th.pathlab.link/LINE


Website: www.pathlab.co.th


  Location สาขาใกล้ๆ คุณ: th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  1. คณะแพทยศาสตร์ศริราชพยาบาล. “หลีกเลี่ยงอาหารมัน…รู้ทันอาหารเค็ม”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/12_44_1.pdf
  2. รายงานการศึกษาข้อสมมุติ เพื่อใช้ในการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583. (2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9812
  3. สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. การสูบบุหรี่กับโรคมะเร็ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.chulacancer.net/faq-list-page.php?id=317
  4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2555). “ประโยชน์และโทษ ของอาหารรสชาติต่าง ๆ” สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.thaihealth.or.th/Content/20274-ประโยชน์และโทษ%20ของอาหารรสชาติต่าง%20ๆ.html
  5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). “ทำไมกินเค็ม จะทำให้เป็นโรคไต?”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.thaihealth.or.th/Content/41570-ทำไมกินเค็ม%20จะทำให้เป็นโรคไต%20.html#:~:text=การกินเค็มและเกลือ,ต่อโรคเหล่านี้ได้
  6. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2559). “รู้ทัน 5 โรคยอดฮิตของคนไทยที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็น” สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic/819/Phakinee-iPrice/1318/สุขภาพ/7941/รู้ทัน+5+โรคยอดฮิตของคนไทยที่ใคร+ๆ+ก็ไม่อยากเป็น/
  7. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561).ผลของสุราและแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.thaihealth.or.th/Content/46317-ผลของสุราและแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย.html