Skip to main content

โปรตีน กินผิด ชีวิตเปลี่ยน
จริงหรือ? กินโปรตีนมากไปเสี่ยงตับไตพัง

โดย 18/01/2024มกราคม 30th, 2024บทความเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้:

  • ⌜โปรตีน⌟ เป็นสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบหลักของทุกเซลล์ในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลากหลายในรูปแบบ เช่น

✓ เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารหลักที่สำคัญ

✓ เสริมสร้างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ

✓ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และเอนไซม์ที่สามารถทำลายสารพิษที่ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย

✓ เป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เป็นพาหนะนำพาสารอาหารจากผนังลำไส้และก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด และนำส่งไปทั่วร่างกาย

✓ โปรตีนธรรมชาติมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง การผลิตสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ที่จะป้องกันการทำงานระบบสมองและประสานทำงานผิดเพี้ยน ที่จะลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท อารมณ์แปรปรวน และอาการก้าวร้าวได้

  • ⌜ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ⌟  สำหรับผู้ใหญ่ไทยทั้งชายและหญิง คือ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน และพลังงานจากโปรตีนเทียบกับพลังงานที่ควรได้รับทั้งวัน ควรอยู่ระหว่างร้อยละ 10-15
  • ⌜โปรตีน แบ่งได้ 2 ประเภทจากแหล่งที่มา⌟  สำหรับอาหารที่คุณบริโภคอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

⑴ โปรตีนจากแหล่งธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ วัว หมู ปลา อาหารทะเล ไข่ ถั่วเหลือง ต้นอ่อนทานตะวัน ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วลันเตา เป็นต้น

⑵ โปรตีนแปรรูปหรือโปรตีนสังเคราะห์ เช่น เนื้อสัตว์แปรรูปหรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทอดหรือผ่านกระบวนการความร้อนสูง เช่น เนื้อหรือโปรตีนสังเคราะห์ เนื้อแฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก ไก่ทอด ฮอทดอก แฮม เบคอน เนื้อกระป๋อง โปรตีนผง อาหารเสริมโปรตีน เป็นต้น

  • ⌜7 ความเชื่อเกี่ยวกับโปรตีน⌟

①  กินโปรตีนมากไปไม่ดีต่อไต

②  กินโปรตีนมากทำลายตับ

③  กินโปรตีนจากพืชเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดหรือไม่

④   โปรตีนสูงทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน

⑤   โปรตีนแปรรูป แหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับคนยุคใหม่

⑥  โปรตีนจากสัตว์ทำให้เป็นมะเร็ง

⑦  ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่น้อย

  • ⌜วิธีดูแลป้องสุขภาพองค์รวมของคุณ⌟

✓ เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่ รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM 2.5
✓ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
✓ กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
✓ เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงจากผัก ผลไม้ ได้รับโปรตีนเพียงพอทั้งโปรตีนจากพืชและจากสัตว์อย่างเพียงพอ โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความหลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่เพียงพอ
✓ เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเน้นอาหารจากธรรมชาติ หรือผ่านกระบวนการแปรรูปให้น้อยที่สุด เพื่อสุขภาพหลอดเหลือดและหัวใจ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี และหากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อช่วยลดระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคระบบเผาผลาญพลังงานเสื่อม โรคมะเร็ง โรคหัวใจ สนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
✓  รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
✓  ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแรงต้านเข้มข้น (HIIT) การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น
✓ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
✓  หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง
✓  หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำปี

มีความเชื่อมากมายที่จะบอกคุณว่าการกินโปรตีนมากเกินไปนั้นไม่ดีสำหรับคุณ สร้างปัญหาสุขภาพต่อตับไตหรืออาจก่อโรคไปทั่วร่างกายของคุณ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โรคกระดูก และโรคเรื้อรังอีกมากมาย แล้วเมื่อหมื่นปีบรรพบุรุษฮอร์โมเซเปี้ยนต้นตระกูลเราคงมีอัตราการป่วยตายจากโรคเรื้อรังรัง NCDs เหล่านี้จากการล่าเนื้อมาบริโภคเป็นอาหารหลักหรือไม่ หรืออาจมีอะไรที่อาจทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับสารอาหารหลักประเภทโปรตีนที่เป็นเครื่องมือวิวัฒนาการมันสมองของมนุษย์ที่กำลังจางหายไปตามกาลเวลา และมนุษย์ยังจำเป็นพึ่งพามันเพื่อความอยู่รอดและส่งต่อการดำรงชีวิตเหมือนมนุษย์รุ่นแรกจนมาถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ต่อไปหรือไม่

โปรตีน 1 ในสารอาหารหลักที่สำคัญต่อชีวิตคุณ อย่างไร

โปรตีนเป็นสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบหลักของทุกเซลล์ในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลากหลายในรูปแบบ โดยมีหน้าที่หลักๆ เช่น

  • เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารหลักที่สำคัญ
  • เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างสรีระทางร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อ กระดูก เนื้อเยื่อ เอ็น ผิวหนัง เส้นผม และเล็บ และส่วนประกอบที่สำคัญภายในร่างกาย ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน ฮีโมโกลบิน เซลล์ภูมิคุ้มกัน สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เป็นสารตั้งต้นวิตามิน
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ หรือส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และเอนไซม์ในตับหลายตัวที่เป็นโปรตีนสามารถทำลายสารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร เครื่อง หรือมลภาวะทางอากาศได้
  • เป็นตัวประสานหรือพาหนะนำพาสารอาหารจากผนังลำไส้เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด และนำส่งไปทั่วร่างกาย
  • ควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกาย เช่น เอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นและควบคุมปฏิกิริยาเคมีในระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานตามปกติ และควบคุมสมดุลน้ำภายนอกและภายในเซลล์
  • โปรตีนธรรมชาติมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง การผลิตสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ที่จะป้องกันการทำงานระบบสมองและประสานทำงานผิดเพี้ยน ที่จะลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท อารมณ์แปรปรวน และอาการก้าวร้าวได้

ปริมาณโปรตีนที่แนะนำบริโภคสำหรับผู้ใหญ่ไทยทั้งชายและหญิง คือ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน และพลังงานจากโปรตีนเทียบกับพลังงานที่ควรได้รับทั้งวัน ควรอยู่ระหว่างร้อยละ 10-15

ความเชื่อเกี่ยวกับโปรตีน

1. กินโปรตีนมากไปไม่ดีต่อไต

การได้รับโปรตีนจากธรรมชาติ (Whole Food) เช่น เนื้อสัตว์ ไก่ วัว ปลา อาหารทะเล ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม และโปรตีนจากพืช เช่น ผักโขม อัลมอนด์ ถั่วพู ถั่วเหลือง เป็นต้น ในกรณีที่เป็นบุคคลที่สุขภาพปกติ แม้คุณจะได้รับโปรตีนแบบไม่จำกัดหรือในสัดส่วนที่มาก เช่น การกินแบบ Carnivore Diet หรือ Ketogenic Diet หรือการกินบุฟเฟต์เน้นเนื้อที่อาจมากถึง 100 กรัมขึ้นไปในมื้อนั้นๆ ร่างกายคุณก็จะสามารถดูดซึมโปรตีนได้แค่ 30-40 กรัมต่อมื้อ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่พอดีสำหรับโปรตีนต่อมื้อ ส่วนเกินนั้นก็จะขับออกมาทางไตในรูปแบบสารยูเรียหรือปัสสาวะได้อย่างปกติและเช่นกันก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อไตในการทำงานหนักโดยไร้กังวลสำหรับผู้ที่มีสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติ หากเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติร่างกายคุณจะกำหนดสัดส่วนได้อย่างชาญฉลาดในเรื่องการจัดการกับสารอาหารที่จำเป็นต่อเฉพาะในร่างกายของคุณ อย่าลืมว่าร่างกายของมนุษย์คือหนึ่งในเครื่องจักรที่มหัศจรรย์ของธรรมชาติ

เว้นเสียแต่กรณีคุณเป็นเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes) ภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) หรือภาวะไตเสื่อมขั้นรุนแรง ที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้ ที่จะเป็นประตูเปิดไปสู่การเกิดโรคไตวาย โรคตับ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจ และโรคอื่นๆ ได้มากกว่าหนึ่งโรค คุณจึงจำเป็นต้องกลับมาฟื้นฟูรักษาและควบคุมการกินอย่างทำความเข้าใจและถูกต้องด้วยตัวคุณพร้อมแพทย์ของคุณ เพราะนั่นหมายถึงร่างกายของได้ทำงานผิดปกติและเสื่อมประสิทธิภาพในการจัดสัดส่วนสารอาหารด้วยตัวมันเองไปแล้ว (เหมือนเครื่องยนต์ของรถที่จำเป็นต้องเข้าอู่ซ้อมก่อนที่จะขับขี่ได้เป็นปกติ)

และถ้าคุณมีไลฟ์สไตล์ใช้ชีวิตประจำวันพึ่งต่อการกินอาหารหรือเครื่องดื่มแปรรูปขั้นสูงทุกวันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้อาจมีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานในปริมาณที่สูง อาจปรุงแต่งด้วยสารเคมีปรุงรส ผสมสารกันเสียหรือสารเคมีสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เต็มฉลาก และสารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ รวมถึงอาหารขยะหรือประเภท Fast Food, Junk Food จุดนี้จะเป็นจุดเริ่มที่จะทำให้ตับไตของคุณเกิดปัญหารวมไปถึงระบบทำลายอวัยวะที่สำคัญต่างๆ เช่น ระบบสมอง หัวใจ ลำไส้ ก็นำไปสู่การก่อโรคเรื้อรัง NCDs ประเภทต่างๆ ได้ และในทางตรงกันข้ามอาหารประเภทเหล่านี้ยังทำให้เกิดภาวะการขาดโปรตีน (Protein Calorie Malnutrition) ไปสู่ประชากรทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วที่กำลังเป็นปัญหาหลักทางด้านสาธารณสุขอย่าง สหรัฐอเมริกา ยุโรป ที่กำลังเกิดสภาวะประชากรเกิดปัญหาภาวะการขาดโปรตีนอย่างแพร่หลาย นี่ยังไม่ร่วมภาวะการขาดสารอาหารจากธรรมชาติประเภทอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน โดยภาพรวมคือภาวะการขาดสารอาหารจากอาหารแปรรูปที่กินในยุคปัจุปันที่ประชากรทั่วโลกกำลังเผชิญนั้นเป็นสิ่งที่คุณควรระวังมากกว่า

เป็นที่ถกเถียงกันว่าอาหารที่มีโปรตีนสูงอาจทำให้ไตเสียหายในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีได้ถูกศึกษาจากโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย McMaster ซึ่งตรวจสอบการศึกษามากกว่า 24 งานวิจัย ทีมีกับผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคน

การทดลองและวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบแบบ Meta-analysis* และได้ตีพิมพ์ใน The Journal of Nutrition ในปี 2020 ที่มีความท้าทายการรับรู้ต่อความคิดของผู้คนที่เชื่อจากแนวคิดจากยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมว่าจะเกิดอันตรายหากคุณกินอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างเคยเป็นมาในอดีต ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ครั้งแรกในช่วงทศวรรษปี 1980 ซึ่งเป็นเรื่องชี้ให้เห็นว่า การบริโภคโปรตีนจำนวนมากนำไปสู่การทำงานของไตลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อบริโภคในระยะเวลายาวนาน

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวที่มีมาอย่างน้อย 50 ปีมาแล้ว และคุณจะได้ยินมันตลอดเวลาหรือค่อนข้างบ่อยที่มีในสังคมปัจจุบัน ที่อาหารที่มีโปรตีนสูงทำให้เกิดโรคไต โดยไม่มีการระบุที่มาที่ไปว่าเป็นโปรตีนที่มาจากธรรมชาติ เช่น สัตว์ ปลา ไข่ หรือมาจากโปรตีนที่อยู่ในรูปแบบอาหารแปรรูปผสมสารเคมี โดยอย่างหลังเป็นไปได้สูงที่คุณจะเจอความเสี่ยงที่แนวคิดดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง

ความจริงก็คือไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนสมมติฐานให้เห็นว่า เมื่อคุณกินโปรตีนจากธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของไตหรือทำลายตับ

แต่ผลลัพธ์กับกลับกันที่โปรตีนจะยังคงสนับสนุนคุณประโยชน์อย่างมีเหตุมีผลหลายประการของมันจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เป็นมันทำหน้าที่เป็นเครื่องมือหลักที่ช่วยวิวัฒนการความชาญฉลาดต่อมันสมองของมนุษย์ให้เป็นที่สุดแห่งห่วงโซ่อาหาร และโปรตีนจากธรรมชาติยังทำหน้าที่เดิมไม่เคยเปลี่ยนไป นั้นก็คือ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบสมองและประสาท เพิ่มความอิ่มที่ยาวนาน ช่วยสร้างกล้ามเนื้อในระหว่างการฝึกยกน้ำหนักหรือการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ และช่วยรักษากล้ามเนื้อในช่วงวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุยิ่งจำเป็นต้องได้รับโปรตีน

ทีมนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร 28 ฉบับตั้งแต่ปี 1975-2016 โดยตรวจสอบผลกระทบของการบริโภคโปรตีนต่ำ/ปกติเทียบกับการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงต่อ GFR ในบุคคลที่มีสุขภาพดี

สิ่งพิมพ์นี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 13,000 คน รวมถึงผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง เป็นโรคอ้วน หรือเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 โรคความดันโลหิตสูง ที่น่าสนใจตลอดการศึกษา คือ ไม่มีผู้เข้าร่วมคนใดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง และทุกคนรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ปานกลาง หรือต่ำ อาหารที่มีโปรตีนสูงประกอบด้วยโปรตีน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน อย่างน้อย 20% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดที่ได้รับจากโปรตีน หรืออย่างน้อย 100 กรัมของโปรตีนต่อวัน

งานวิจัยนี้ บ่งชี้ว่าไม่มีหลักฐานที่เชื่อมโยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงกับโรคไตในบุคคลที่มีสุขภาพดีหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไตเนื่องจากสภาวะต่างๆ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่โรคเบาหวานประเภท 2 แต่หากผู้ที่ได้มีโรคดังกล่าวๆ จะค่อยๆ ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพจากกินอาหารที่มีโปรตีนสูงจากธรรมชาติในแต่ละมื้ออาหารต่อวันในจำนวนมื้อที่เหมาะสม และลดปริมาณการบริโภคอาหารแปรรูป และคาร์โบไฮเดรตลง

จากการค้นพบนี้ แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีโปรตีนจากแหล่งธรรมชาติในแต่ละมื้ออาหารต่อวันที่เหมาะสม ควรมองว่าเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการอยู่รอดตลอดช่วงอายุขัยของมนุษย์คนๆ หนึ่ง นอกจากจะเน้นประโยชน์ไปที่การเกิดสุขภาพกล้ามเนื้อของคุณ คุณจะไม่ต้องประสบปัญหาการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หรือโรคระบบเผาผลาญอาหารพัง (Metabolism Syndrome) ที่เป็นต้นกำเนิดสรรพโรคแห่งยุคสมัยใหม่นี้ แต่ที่น่าคำนึงถึงสังคมในยุคปัจจุบัน คือ คุณอาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งการอยู่รอดโดยต้องบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล สารเคมีที่ผสมในอาหารสำเร็จรูปหรือแปรรูปแต่มื้อเป็นหลักและอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริบทของการเร่งรีบในชีวิตประจำวัน หรือการถูกจำกัดปัจจัยการเข้าถึงอาหารจากธรรมชาติ แต่อย่างไรคุณควรรู้ว่าอาหารเหล่านี้นอกจากทำให้คุณเกิดภาวะการขาดสารอาหารในแต่ละมื้อแต่ละวัน ก็ยังก่อสารอนุมูลอิสระ (มลพิษตกค้างภายในเซลล์) ที่ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมของร่างกายที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ดังกล่าวตามมานั่นเอง

แม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการบริโภคโปรตีนจากแหล่งธรรมชาติที่เหมาะสม แต่ความเชื่อแห่งยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมก็ยังฝังความกลัวแก่ผู้บริโภคมหาชนว่าโปรตีนจะสร้างความเสียหายต่อไต มีโทษเสียกว่ากินอาหารกระป๋องหรือแปรรูป ผลกระทบของโปรตีนต่อการทำงานของไตยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่ออัตราการกรองไต (GFR) ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อวัดว่าไตกรองเลือดและกำจัดของเสียได้ดีเพียงใด

*Meta-analysis (การวิเคราะห์อภิมาน) เป็นการวิจัยเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยหลาย ๆ เรื่องด้วยวิธีการทาง สถิติที่ใช้ในการประมาณการขนาดอิทธิพลที่เป็นค่าเฉลี่ยรวมจากหลาย ๆ การวิจัยที่ผ่านมาที่ศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน โดยทั่วไปการวิเคราะห์อภิมานมักใช้ในการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับประสิทธิผลของวิธีการรักษาหรือการดูแล (Intervention) การวิเคราะห์อภิมานมีวัตถุประสงค์ 4 ประการหลัก คือ เพื่อยืนยันว่าปรากฏการณ์นั้นเป็นจริง เพื่อนำเสนอค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องนั้น ๆ และเพื่อระบุปัจจัยรบกวน (Moderating Variables) ที่สำคัญที่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเปลี่ยนไป

2. กินโปรตีนมากไปไม่ดีต่อตับ

การบริโภคโปรตีนธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ วัว หูม ไก่ ปลา อาหารทะเล ไข่ เป็นต้น ในปริมาณที่มากเกินไป ไม่มีหลักฐานการเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายของตับหรือการเกิดไขมันสะสมก่อเป็นภาวะไขมันพอกตับและลุกลามไปเป็นตับแข็ง อย่างไรก็ตามความเชื่อที่ว่ากินโปรตีนมากเกินไปจะเป็นอันตรายกับตับจะเป็นจริงได้คือมีปัจจัยบางประการอาจส่งผลต่อสภาวะเหล่านี้ ได้แก่

  • ⌕  แหล่งโปรตีนแปรรูปหรืออาหารคุณภาพต่ำปริมาณแคลอรี่สูง:

เช่น เนื้อสัตว์แปรรูปหรือโปรตีนที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการความร้อนสูงประเภททอด ผัด ตัวอย่างเช่น เนื้อหรือโปรตีนสังเคราะห์ เนื้อแฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก เนื้อทอด ไก่ทอด ฮอทดอก ลูกชิ้น แฮม เบคอน เนื้อกระป๋อง โปรตีนผง อาหารเสริมโปรตีน เป็นต้น โปรตีนสังเคราะห์ในรูปแบบผงหรืออาหารเสริมโปรตีน อาจทำให้ได้รับสารอาหารที่ไม่เป็นธรรมชาติและไม่ดีพอต่อสุขภาพโดยรวม) ทำให้เกิดแคลอรี่สูงแต่ขาดสารอาหารก็จำเป็นหรือเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายต้องการจริงๆ (ซึ่งหากเป็นสารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติหรือสารเคมี ร่างกายมีการต่อต้านทำให้เกิดการอักเสบในระดับเซลล์ในระยะยาวจะส่งผลไปสู่ความเสื่อมของร่างกาย) และนั่นเป็นอีกเหตุผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันสะสมในตับ ตับแข็ง รวมถึงถึงปัญหาอื่นเกี่ยวกับสุขภาพตับ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพโดยรวมและเสี่ยงต่อโรคระบบเผาผลาญพัง โรคเรื้อรัง NCDs รวมถึงการเกิดมะเร็ง

 

  • ⌕  โรคตับที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว:

หากคุณเป็นโรคตับอยู่แล้ว เช่น โรคตับแข็ง มะเร็งตับ นั่นจะทำให้การบริโภคโปรตีนมากเกินไปอาจทำให้อาการแย่ลงได้ ในกรณีเช่นนี้ กระบวนการเผาผลาญโปรตีนโดยเฉพาะจากแหล่งอาหารแปรรูปและการล้างพิษในตับอาจบกพร่องได้ และการบริโภคโปรตีนมากเกินไปอาจทำให้ตับเกิดความเครียดที่จะยิ่งกระตุ้นการอักเสบมากขึ้น

 

  • ⌕  สภาวะโรคเรื้อรังหรือความเสื่อมทางร่างกายอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว:

ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม หรือระบบเผาผลาญพลังงานพัง (Metabolism Syndrome) การเกิดโรคเรื้อรัง NCDs อย่างภาวะการดื้ออินซูลิน เบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือสภาวะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจรบกวนการเผาผลาญหรือย่อยสลายโปรตีน และเพิ่มโอกาสที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับตับ ในกรณีเหล่านี้การบริโภคโปรตีนมากเกินไปอาจเสริมปัจจัยทำให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตับรุนแรงขึ้น

กล่าวคือ เมื่อคุณได้กินโปรตีนจากธรรมชาตินั้น มันจะย่อยไปสู่สถานะสสารหรือโมเลกุลทางเคมีเป็นสายโซ่ของกรดอะมิโน 22 ชนิด ร่างกายจำเป็นต้องสลายโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนก่อนนำไปใช้ เนื่องจากร่างกายไม่มีระบบกักเก็บกรดอะมิโนร่างกายจึงต้องใช้งานอย่างต่อเนื่องและอาจถูกนำมาใช้อีกครั้งเพื่อสังเคราะห์โปรตีนอื่นหรือเปลี่ยนสภาพเป็นกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน

และจะเกิดอะไรขึ้นกับกรดอะมิโนส่วนเกินนี้ เนื่องจากไม่สามารถเก็บไว้ใช้ในภายหลังได้ ร่างกายจึงใช้เป็นเชื้อเพลิง บางส่วนสามารถเปลี่ยนเป็นกลูโคส (Gluconeogenesis) ส่วนอื่นๆ สามารถเก็บเป็นไขมันได้ (Ketogenesis หรือ Lipid Synthesis) ร่างกายสามารถทำทั้งสองกระบวนการนี้ในคนๆ เดียว จากการฝึกการกินอาหารเป็นช่วงๆ (Intermitent Fasting: IF) Prolonged Fasting (PF) และการกินแบบคีโตจีนิกไดเอ็ท (Ketogenic Diet)

 

สิ่งที่ต้องควรระวังมากกว่าโปรตีน คือ

⋇ ยารักษาโรคประจำตัว

⋇ อาหารแปรรูปขั้นสูงด้วยสารปรุงแต่งทางเคมี เช่น ขนมอบกรอบ ไอศกรีม ซีเรียล แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ซอสปรุงรส เป็นต้น

⋇ น้ำตาล น้ำตาลเชิงเดี่ยว และสารให้ความหวานสังเคราะห์ เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด (High Fructose Corn Syrup) ไอศกรีม น้ำหวานไซรัป น้ำผลไม้ 100% เป็นต้น เนื่องจากไขมันพอกตับเกิดจากการบริโภคน้ำตาลหรือสารให้ความหวานมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคสหรือฟรุกโตส

⋇  แป้งขาวหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น แป้ง ขนมปัง ข้าว มันฝรั่ง

⋇  น้ำมันพืช ที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงและสกัดโดยสารเคมี

⋇  ไขมันสังเคราะห์ เช่น มาการีนและไขมันทรานส์

⋇  แอลกอฮอล์ 

⋇  แหล่งอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีและดัดแปลงพันธุกรรม เช่น สัตว์น้ำหรือทะเลที่ได้มากจากแหล่งน้ำเสียหรือปนเปื้อนสารพิษ การใช้หรือแช่สารเคมีเพื่อรักษาความสดหรือป้องกันการเน่าเสียของเนื้อ เช่น สารเร่งเนื้อแดง สารฟอกขาว สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค ฟอร์มาลีน สารกลุ่มในเตรท-ไนไตรท์ เป็นต้น และแหล่งพืชโปรตีนดัดแปลงพันธุกรรม GMOs เช่น พืชตระกูลถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ และกลุ่มธัญพืชต่างๆ เป็นต้น

สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าการรับประทานอาหารที่สมดุลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพที่ดี ปริมาณโปรตีนที่แนะนำจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ ระดับกิจกรรม และสุขภาพโดยรวม โดยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease: NAFLD) กำลังเป็นโรคที่ระบาดไปทั่วโลก

3. การกินโปรตีนจากพืชเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าหรือไม่

โปรตีนจากแหล่งพืช จากแหล่งธรรมชาติที่เราเคยได้ยินว่ามีโปรตีนสูง เช่น ผักโขม ผักตระกูลกะหล่ำ หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาด เห็ด และธัญพืช เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง (Legumes) ถั่วเปลือกแข็ง (Nuts) เป็นต้น โดยหากโปรตีนจากพืชที่มาจากแหล่งธรรมชาติเหล่านี้แปรสภาพจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีหรือความร้อนสูง เช่น แปรรูปเป็นเนื้อมังสวิรัต เนื้อเทียม แปรรูปเป็นไส้กรอก หรือนำมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปรุงรส อบกรอบ เป็นต้น ถือว่าเป็นอาหารแปรรูปขั้นสูง เพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาทางเลือกอาหารที่ทำจากพืชมากขึ้น ทั้งด้วยเหตุผลด้านความยั่งยืน สภาพแวดล้อม หรือจริยธรรม ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารต่างกำลังตอบสนองด้วยทางเลือกใหม่ๆ นี้ โดยผลิตภัณฑ์โปรตีนแปรรูปจากพืชจะมีลักษณะเนื้อสัมผัสและรสชาติที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์โปรตีนจากสัตว์ หากเทียบกันในด้านสารอาหารโปรตีนสังเคราะห์จากพืชมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำกว่าในเนื้อสัตว์มีโปรตีนที่ย่อยไปเป็นกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิดที่ไม่สามารถได้รับจากการกินพืชผัก รวมทั้งในพืชมีปริมาณวิตามินบี 12 ในปริมาณต่ำมากหรืออาจไม่มีเลยที่จะจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายและระบบประสาท รวมถึงการขาดกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิด (EAA) เช่น ไลซีน คุณจึงจำเป็นต้องใช้อาหารเสริมเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้การได้รับโปรตีนสังเคราะห์จากพืชมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนจากสัตว์ การบริโภคโปรตีนสังเคราะห์จากพืชในปัจจุบันคุณจำเป็นต้องพึ่งอาหารเสริมอื่นๆ เพื่อที่จะให้มีคุณภาพสารอาหารที่ใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์ จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของโปรตีนจากพืชต่อไปในอนาคต รวมถึงการศึกษาวิจัยผลข้างเคียงจากแหล่งพืชที่ดัดแปลงพันธุกรรมสำหรับการแปรรูปเป็นโปรตีนสังเคราะห์ อย่างพืช GMOs ที่จะมีต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด

โปรตีนจากสัตว์   ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีคุณภาพทางโภชนาการสูงกว่าโปรตีนแปรรูปหรือสังเคราะห์ โดยสรีรวิทยาขอมนุษย์สามารถดูดซับและใช้โปรตีนจากสัตว์ได้กว่าโปรตีนจากพืชหรือโปรตีนสังเคราะห์ สิ่งนี้กล่าวถึงองค์ประกอบของกรดอะมิโน ความสามารถในการย่อยได้ และความสามารถในการขนส่งสารอาหารที่สำคัญอื่นๆ เช่น แคลเซียมและธาตุเหล็กโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และนม มีความสำคัญต่อการให้สารอาหารที่เพียงพอสำหรับร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะทารกสำหรับการพัฒนาทางสติปัญญาและทางกายภาพโดยรวม

4. โปรตีนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวาน

การศึกษาที่ถูกตีพิมพ์จาก Advances in Nutrition ในปี 2019 กลับเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อนี้ โดยการศึกษาพบว่า อาหารที่มีโปรตีนสูงมีผลดีต่อการควบคุมและฟื้นฟูระดับน้ำตาลในเลือดในโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (T2D) โดยไม่มีผลเสียต่อการทำงานของไตและระบบหัวใจและหลอดเลือด

ในธรรมชาติของระบบเมตาบอลิซึมหรือระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายมนุษย์ที่มีสุขภาพปกติดี ที่จะสามารถบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เนื้อติดมัน และไขมันสัตว์เป็นหลักได้ (โดยเป็นผู้ที่ไม่เกิดภาวะกลุ่มโรคเมตาบอลิกซินโดรมและโรคเรื้อรัง NCDs เช่น ภาวะอ้วนลงพุง โรคอ้วน ภาวะดื้ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เป็นต้น) จะสามารถใช้พลังงานและได้รับสารอาหารที่หนาแน่นจากการเผาผลาญไขมันและโปรตีน โดยมีอินซูลินต่ำ เลปตินต่ำ และไกลโคเจนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะกำจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ดีมาก การหมุนเวียนของไตรกลีเซอไรด์อย่างรวดเร็วในรูปของ VLDL ส่งผลให้ระดับ HDL และ LDL เพิ่มขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพเป็นผลพลอยได้จากการเผาผลาญไขมัน ค่า LDL ของคุณโดยไร้ความกังวล แต่อัตราส่วน HDL ต่อไตรกลีเซอไรด์ที่ต่ำจะบ่งบอกปัญหาสุขภาพคุณได้ นั่นหมายความว่าร่างกายต่อต้านและเสื่อมสมรรถภาพในการเผาผลาญไขมันที่เป็นพลังงานที่มีประสิทธิภาพของการดำรงชีพ การเกิดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้นและหมุนเวียนในร่างกาย ที่จะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดได้

และในทางกลับกันระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารที่สูง (Fasting blood sugar) ยังบ่งชี้ไปที่ระบบความเสื่อมภายในร่างกายหรือได้ก่อเป็นโรคเมตาบอลิกซินโดรมที่ไม่สามารถกำจัดกลูโคสส่วนเกินหรือภาวะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป (High levels of fasting blood sugar) ซึ่งนำไปสู่การเกิดการก่อเป็นสารอนุมูลอิสระหรือสารพิษจากปริมาณน้ำตาลที่ล้นเกินในร่างกายที่จะให้เกิดการอักเสบไประดับเซลล์สู่การก่อโรคเรื้อรัง NCDs สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของระบบเมตาบอลิซึมหรือระบบเผาผลาญในร่างกายของคุณโดยพื้นฐาน ในระยะยาวจะส่งผลไปสู่ความเสื่อมของร่างกาย เหตุนี้จึงมีแนวโน้มสูงที่เซลล์ภายในร่างกายจะกลายพันธุ์จากเซลล์อักเสบเรื้อรังไปสู่การเกิดเป็นเซลล์มะเร็งตามอวัยวะต่างนั่นเอง

5. โปรตีนแปรรูปเข้มข้ม คือ แหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับคนยุคใหม่

โดยมีผลิตภัณฑ์ยอดนิยมแห่งยุคอย่าง เวย์โปรตีน โปรตีนบาร์ โปรตีนเชค โปรตีนเคซีน อาหารเสิรมโปรตีน เป็นต้น เหล่านี้ถือเป็นอาหารแปรรูปขั้นสูงเช่นกัน ที่จะเป็นโปรตีนสังเคราะห์แปรรูปอย่างเข้มข้น หากบริโภคในจำนวนมากหรือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปจะไปทำให้คุณเสี่ยงเป็น

⊛  มะเร็งตับหรือโรคตับแข็ง  ที่เกิดจากมีระดับน้ำตาลและแคลอรี่เพิ่มสูงที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนแปรรูปที่เข้มข้นอย่างไม่เป็นธรรมชาตินี้ จะทำให้ร่างกายเก็บเป็นไขมันส่วนเกินไว้ที่ตับในระยะยาวก็จะเริ่มก่อภาวะตับแข็งได้

⊛   โรคไตวาย ที่เกิดจากได้รับโปรตีนแปรรูปหรืออาหารเสริมโปรตีนในปริมาณที่มากเป็นระยะเวลานาน การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสังเคราะห์เข้มสูงเพื่อลดน้ำหนักหรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายจะทำให้ไตเกิดความเครียดและทำงานหนักอย่างแท้จริงที่ก่อให้การอักเสบอย่างเรื้อรังของไต การเกิดนิ่วในไต จนนำไปสู่การเกิดโรคไตวายได้

หากคุณเป็นนักกีฬาหรือนักเพาะกล้ามที่กำลังใช้โปรตีนแปรูปเหล่านี้ในปริมาณที่สูงและเป็นระยะเวลานาน คุณควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญของคุณ รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

และหากคุณใช้งานโปรตีนแปรรูปนี้โดยปราจากข้อมูลที่ถูกต้องและความเข้าใจต่อการใช้ที่ไม่ชัดเจน ใช้อย่างต่อเนื่องยาวนาน หรือใช้โดยทำตามบุคคลอื่นแนะนำ ซึ่งเหตุนี้จะส่งเสริมความจริงจากความเชื่อที่ว่าการได้รับโปรตีน (แปรรูปสังเคราะห์) มากไปจะทำลายตับไตคุณ ก็คือโปรตีนแปรรูปประเภทนี้

6. โปรตีนจากสัตว์ทำให้เป็นมะเร็ง

การบริโภคโปรตีนธรรมชาติจากสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ วัว ปลา เป็นต้น ในปริมาณที่มากเกินไป ยังไม่การศึกษาวิจัยที่จะบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนและมีความคลุมเครือเกี่ยวกับการวัดผลเป็นอย่างมาก แต่ที่มีการศึกษาวิจัยจากหลายการศึกษา พบว่า แหล่งโปรตีนแปรรูปจะมีคุณภาพของสารอาหารที่ต่ำแต่ปริมาณแคลอรี่สูง เช่น เนื้อสัตว์แปรรูปหรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทอดหรือผ่านกระบวนการความร้อนสูง ตัวอย่างเช่น เนื้อหรือโปรตีนสังเคราะห์ เนื้อแฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก เนื้อทอด ไก่ทอด ฮอทดอก ลูกชิ้น แฮม เบคอน เนื้อกระป๋อง โปรตีนผง อาหารเสริมโปรตีน เป็นต้น อาจทำให้ได้รับสารอาหารที่ไม่เป็นธรรมชาติทั้งการผสมสารสังเคราะห์ สารกันเสีย สารชูรส ที่ไม่เป็นสารอาหารตามธรรมชาติตามที่ร่างกายต้องการจริงๆ จึงเกิดการต่อต้านทำให้เกิดการอักเสบในระดับเซลล์ในระยะ

7. ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่น้อย

การศึกษาวิจัยสมัยก่อนหลายการศึกษา ได้บ่งชี้ มื้ออาหารที่มีโปรตีนสูงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน กล่าวคือการบริโภคโปรตีนสูงและมีปริมาณผักและผลไม้ที่น้อย จะสามารถขับแคลเซียมที่เป็นแร่ธาตุสำคัญต่อการสร้างความแข็งแรงเซลล์กระดูก การค้นพบนี้ทำให้ผู้คนมีความคิดและเข้าใจเหมารวมไปว่าโปรตีนสูงจะทำให้คนเราเป็นโรคกระดูกพรุนได้ แต่การวิจัยศึกษาเหล่านั้นก็ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนอย่างแท้จริง ตรงกันข้ามหากคุณได้รับโปรตีนในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรืออาจเข้าขั้นขาดโปรตีนเพราะนั้นคือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ ยิ่งในในผู้สูงอายุ เพราะการได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอและต้องไม่น้อยไป ร่างกายจะสามารถรักษามวลกล้ามเนื้อและกระดูกได้ตลอดช่วงอายุ และสัดส่วนปริมาณโปรตีนต้องเน้นจากแหล่งธรรมชาติมากที่สุด หลีกเลี่ยงโปรตีนแปรรูปหรืออาหารเสริมโปรตีน และควรได้รับการดูแลสัดส่วนของปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับบุคคลจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ควรลดการบริโภคโปรตีนในปริมาณที่สูง

  • ผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน (ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อความชัดเจนของโรคหรือป้องกันรักษาได้ทันท่วงที)
  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยารักษาโรคเป็นประจำหรือผู้ที่กินอาหารเสริมโปรตีน
  • ผู้ที่เป็นโรคตับ เช่น โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ
  • ผู้ที่เป็นโรคไตเสื่อม
  • ผู้ป่วยอาการเรื้อรัง เช่น ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม หรือระบบเผาผลาญพลังงานพัง เป็นโรคเรื้อรัง NCDs อย่างเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือสภาวะทาง พันธุกรรมบางอย่างอาจรบกวนการเผาผลาญโปรตีน 

และนี่คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่จะทำร้ายสุขภาพคุณ ที่คุณอาจมองข้าม

  • ยารักษาโรค  เช่น  อะเซตามิโนเฟน/พาราเซตามอล ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยาต้านเชื้อ HIV และยาประเภทสเตียรอยด์ ยาแก้ปวดอื่นๆ เช่น แอสไพริน การใช้ชีวิตประจำวันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ตับถูกทำลายได้ในคนส่วนใหญ่ และการใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้ตับเสียหายอย่างจนเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ในที่สุด
  • อาหารแปรรูปขั้นสูงหรือผสมด้วยสารปรุงแต่งทางเคมี  อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งหรือผ่านการแปรรูปหรือใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสูง⌟   ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ อาหารขยะหรือประเภท Junk Food ประเภทที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์จํานวนมาก เช่น ไอศกรีม ของหวานต่างๆ
  • น้ำตาลและน้ำตาลเชิงเดี่ยว เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด (High Fructose Corn Syrup) ไอศกรีม เป็นต้น เนื่องจากไขมันพอกตับเกิดจากน้ำตาลมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคสหรือฟรุกโตส เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย น้ำผลไม้ 100% น้ำเชื่อมไซรัป น้ำหวานต่างๆ เป็นต้น หากเกิดภาวะเสพติดน้ำตาลก็จะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานที่จะสร้างความเสื่อมต่อระบบประสาทตับไตและสุขภาพโดยรวมได้ในที่สุด
  • แป้งขาวหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น แป้ง ขนมปัง ข้าว มันฝรั่ง เมื่อถูกย่อยสลายในร่างกายก็มีคุณสมบัติที่เป็นน้ำตาลและหากร่างกายไม่สามารถนำออกมาใช้เป็นพลังงานก็จะก่อให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ
  • ไขมันสังเคราะห์ เช่น มาการีนและไขมันทรานส์ และประะเภทน้ำมันพืชส่วนใหญ่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงและสกัดโดยสารเคมี (Process Oil หรือ Hydrogenated Oil) และจะเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์เมื่อเจอความร้อนในการประกอบอาหาร เช่น การทอด ผัด เจียว ที่สามารถสร้างการอักเสบระดับเซลล์ภายในร่างกาย
  • แหล่งอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีและดัดแปลงพันธุกรรม เช่น สัตว์น้ำหรือทะเลที่ได้มากจากแหล่งน้ำเสียหรือปนเปื้อนสารพิษ การใช้หรือแช่สารเคมีเพื่อรักษาความสดหรือป้องกันการเน่าเสียของเนื้อ เช่น สารเร่งเนื้อแดง สารฟอกขาว สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค ฟอร์มาลีน สารกลุ่มในเตรท-ไนไตรท์ เป็นต้น และแหล่งพืชโปรตีนดัดแปลงพันธุกรรม GMOs เช่น พืชตระกูลถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ และกลุ่มธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และชูกำลัง ต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนในตับเพื่อเปลี่ยนสารให้กลายเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว ในผู้ที่ดื่มหนัก สิ่งนี้นำไปสู่ความเสียหายของตับ
  • ควันบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ ฝ่น PM 2.5 เป็นต้น

รายการตรวจประเมินประสิทธิภาพการใช้โปรตีนในร่างกายคุณ

  • ตรวจระดับอินซูลิน (Insulin Level)
  • ตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test)
  • ตรวจการทำงานของไต ( Renal Function Test)

วิธีดูแลป้องสุขภาพแบบองค์รวมของคุณ
เพื่อให้การกินโปรตีนได้รับประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายคุณ

  • เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM 2.5
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
  • กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ ที่ได้กำลังใช้รักษาโรค หรือจำเป็นต้องใช้อาหารเสริมโปรตีน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
  • เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเน้นอาหารจากธรรมชาติ หรือผ่านกระบวนการแปรรูปให้น้อยที่สุด เพื่อสุขภาพหลอดเหลือดและหัวใจ เช่น อาหารที่ลดการปรุงรสทางสารชูรสหรือสารเคมีประกอบอาหาร อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด และหากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมหลักอย่างพริก หอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกในทุกมื้อที่คุณกินจะช่วยคุณเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระลดการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบตับ ไต หลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
  • ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแรงต้านเข้มข้น (HIIT) การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นหาความรู้อัพเดตเพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำปี

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ

✧  ปิด!! ประตูรับโรค น้ำตาลและอินซูลิน ต้นเหตุสร้างโรคเรื้อรัง

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/close-the-door-for-high-blood-sugar-ncds/

✧ เคล็ดลับการป้องกัน โรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/secret-of-ncds-disease-prevention/

✧ สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/warning-signs-hyperlipidemia-high-blood-fat/

✧  “สารก่อมะเร็งและสารพิษ” มีอยู่รอบตัว !! รู้ทันสาเหตุเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง

≫ [ ◕ กดคลิก ] ≫ https://pathlab.co.th/how-to-take-care-of-your-health-every-ages/

สรุป

อาหารที่มีโปรตีนสูงต้องมาจากแหล่งธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อเมื่อรวมกับการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน รวมถึงการออกกำลังโดยเฉพาะการฝึกแบบแรงต้าน เพิ่มการเผาผลาญพลังงานจากไขมันหรือน้ำตาลที่สะสม ทำให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในขณะที่อดอาหาร ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อและสมรรถนะความแข็งแรงตามวัย และสามารถปรับปรุงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

โดยคำว่าโปรตีนนั้นถูกทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโปรตีนที่มีผลเสียต่อไตหรือตับ รวมถึงสุขภาพโดยรวม แต่ความหมายของโปรตีนที่จำเป็นต้องจำแนกอย่างชัดเจนระหว่างโปรตีนจากแหล่งธรรมชาตออกจากโปรตีนสังเคราะห์หรือแปรรูปที่เริ่มผลิตขึ้นในยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมที่จะมีผลต่อความเสื่อมของร่างกายหากบริโภคเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน แต่ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีปัญหาไตอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม หากไตของคุณทำงานได้ดี การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจากแหล่งธรรมชาติจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและควรได้รับในปริมาณโปรตีนที่สมดุลและเพียงพอกับร่างกายคุณ ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกันที่ควรระวังในการหลีกเลี่ยงการบริโภคโปรตีนหากไตของคุณได้รับความเสียหายแล้ว กับโปรตีนที่ทำลายไตอย่างรุนแรง

เช่นเดียวกับไต โปรตีนก็ถูกเชื่อมโยงกับการสร้างความเสียหายภายในตับ ซึ่งหมายความว่าสิ่งที่เรากินเข้าไปจะถูกแปรรูปผ่านอวัยวะทั้งสองนี้ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม หากคุณมีโรคตับหรือตับถูกทำลาย การได้รับโปรตีนมากเกินไปจะเป็นอันตรายที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการอักเสบต่อตับได้ ดังที่กล่าวไว้ หากตับของคุณมีเป็นโรคเกี่ยวกับตับอยู่ก่อนแล้ว คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หากคุณไม่มีอาการผิดปกติใดๆ กับตับ การกินอาหารที่มีโปรตีนสูงจะไม่เป็นอันตรายต่อตับ

สิ่งที่สำคัญที่คุณควรรู้และตระหนักให้มากกว่าการได้รับโปรตีนในปริมาณที่สูงคืออะไร คุณกินโปรตีนหรืออาหารที่มาจากแหล่งธรรมชาติหรือสังเคราะห์แปรรูปขึ้นมาจากกระบวนการทางเคมีที่จะก่อมลพิษตกค้างภายในร่างกายคุณหรือไม่ การจำแนกอาหารที่คุณกินให้แยกจากกันอย่างชิ้นเชิงระหว่างอาหารจากแหล่งธรรมชาติหรือสังเคราะห์แปรรูปขึ้นมา คุณจะเป็นผู้กำหนดชีวิตและสุขภาพคุณไปตลอดอายุขัยได้

โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อมนุษย์มาเป็นเวลามามากกว่าแสนปีและช่วยมนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการด้านสมองและสติปัญญา รวมถึงภูมิต้านทานโรค มาถึงยุคปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือการรู้ว่าตนเองได้รับโปรตีนธรรมชาติ (Whole Foods of Protein) ได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อร่างกายของคุณในแต่ละวันไหม (เพราะทุกคนมีระดับโปรตีนที่ร่างกายต้องการแตกต่างกัน) เพื่อให้คุณแน่ใจและติดตามการได้รับโปรตีนที่เพียงพอสำหรับคุณ เราขอแนะนำ “รายการตรวจประเมินประสิทธิภาพการใช้โปรตีนในร่างกาย” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

รายการตรวจประเมินประสิทธิภาพ
การใช้โปรตีนในร่างกาย

“โปรตีนในร่างกายคุณ อยู่ในระดับที่ทำให้สุขภาพคุณดีแล้วหรือยัง ?”

✔  เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนดูแลระดับโปรตีนให้เหมาะสมกับร่างกายคุณ

✔  ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์

ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร, ภาควิชาอายุรศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). “หมอรามาฯ แนะ อาหารเสริม กินมากๆ ตกค้างในร่างกายได้”. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567. จากเว็บไซต์:  https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/burnout-syndrome/
  • ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. สภากาชาดไทย. (2564). “ภาวะกระดูกพรุนในโรคไต”. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567. จากเว็บไซต์:  https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ภาวะกระดูกพรุนในโรคไต/
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กระทรวงสาธารณสุข. (2565). “อาหารแปรรูป บริโภคมากไป มีผลต่อร่างกายอย่างไร”. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567. จากเว็บไซต์:  https://www.thaihealth.or.th/309411-2/
  • สำนักโภชนาการ. กรมอนามัยกรม. (2562). “อาหารโปรตีนสูง”. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567. จากเว็บไซต์: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/academic-articles/download?id=40725&mid=31947&mkey=m_document&lang=th&did=14433
  • Alzahrani, et al., Complementary Therapies in Medicine. PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2022). “Dietary protein intake and prostate cancer risk in adults: A systematic review and dose-response meta-analysis of prospective cohort studies”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35820576/
  • Day, Cakebread and Loveday. Trends in Food Science & Technology. ScienceDirect. (2022). “Food proteins from animals and plants: Differences in the nutritional and functional properties”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0924224421006774
  • Devries, et al., The Journal of Nutrition. ScienceDirect. (2020). “Changes in Kidney Function Do Not Differ
    between Healthy Adults Consuming HigherCompared with Lower- or Normal-Protein
    Diets: A Systematic Review and Meta-Analysis”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://sci-hub.se/downloads/2020-02-21/68/devries2018.pdf
  • Dong, et al., PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2020). “The effects of low-carbohydrate diets on cardiovascular risk factors: A meta-analysis”. Retrieved January 5, 2024, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31935216/
  • Dong, et al., PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2020). “The effects of low-carbohydrate diets on cardiovascular risk factors: A meta-analysis”. Retrieved January 5, 2024, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31935216/
  • Harvard Health Publishing, Harvard Medical School. (2022). “The hidden dangers of protein powders”. Retrieved January 5, 2024, from: https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/the-hidden-dangers-of-protein-powders
  • Grant Tinsley. Healthline Media. (2021). “Is Too Much Protein Powder Bad for You?”. Retrieved January 5, 2024, from: https://www.healthline.com/nutrition/is-powder-bad-for-you
  • Gürgen, et al., PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2015). “Usage of whey protein may cause liver damage via inflammatory and apoptotic responses”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25352651/
  • Harvard Health Publishing, Harvard Medical School. (2022). “The hidden dangers of protein powders”. Retrieved January 5, 2024, from: https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/the-hidden-dangers-of-protein-powders
  • Jiang,  et al., Public Health. Royal Society for Publish Health (RSPH). ScienceDirect. (2019). “Health inequalities of global protein-energy malnutrition from 1990 to 2019 and forecast prevalence for 2044: data from the Global Burden of Disease Study 2019”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0033350623003712
  • Journel, et al., PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2012). “Brain Responses to High-Protein Diets”. Retrieved January 5, 2024, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3649463/
  • Malaeb, et al., PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2019). “High-Protein Diets for Treatment of Type 2 Diabetes Mellitus: A Systematic Review”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31305905/
  • Rao, et al., PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2008). “Understanding nutrition, depression and mental illnesses”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2738337/
  • Richard D. Semba. PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2016). “The rise and fall of protein malnutrition in global health”. Retrieved January 5, 2024, from:  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5114156/
  • Skytte, et al., PubMed. National Library of Medicine (NLM), National Institutes of Health (NIH). (2019). “A carbohydrate-reduced high-protein diet improves HbA1c and liver fat content in weight stable participants with type 2 diabetes: a randomised controlled trial”. Retrieved January 5, 2024, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31338545/
  • Yu, et al., Clinical Nutrition. ScienceDirect. (2020). “Effects of high-protein diet on glycemic control, insulin resistance and blood pressure in type 2 diabetes: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials”.Retrieved January 5, 2024, from:  https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0261561419330201

แสดงความคิดเห็น

Close Menu