สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง
(Hyperlipidemia)

เนื้อหา

เรื่องน่ารู้:

  • ⌜ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)⌟   ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็น 1 ในโรค NCDs ที่ผู้คนทั่วโลกเป็นมากที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน จึงไม่สามารถส่งสารอาหารและเกิดภาวะพร่องออกซิเจนต่อระบบการทำงานของหัวใจและสมอง ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองแตกได้

⌜ระดับคอเลสเตอรอลปกติตามช่วงอายุ⌟

❈ อายุไม่เกิน 19 ปี

●   คอเลสเตอรอลรวม = ต่ำกว่า 170 mg/dL
●   Non-HDL คอเลสเตอรอล = ต่ำกว่า 120 mg/dL
●   LDL = ต่ำกว่า 110 mg/dL
●   HDL = สูงกว่า 45 mg/dL

❈ อายุ 20 ปีขึ้นไป

●   คอเลสเตอรอลรวม = 125 ถึง 200 mg/dL
●   Non-HDL คอเลสเตอรอล = ต่ำกว่า 120 mg/dLL
●   LDL = ต่ำกว่า 100 mg/dL
●   HDL = เพศชายตั้งแต่แรกเกิด: 40 หรือสูงกว่า / เพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด: 50 หรือสูงกว่า

  • ⌜สัญญาณเตือน⌟   จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดาวะไขมันในเลือดสูง

    ⟴   การแสดงอาการเด่นๆ จากภาวะโรคไตร์กลีเซอร์ไรด์สูง เช่น ลักษณะผื่นตุ่มไขมันคล้ายขนลุกตามลำตัว แขน ต้นขา สะโพก ที่มีสีเหลืองอมส้ม หรือผื่น หรือรอยนูนตามลายฝ่ามือ ตุ่มนูนนุ่มไม่เจ็บจะพบที่ข้อผับ ศอก เข่า รอบตาดำมีแถบสีเทาหรือขาวล้อมรอบ และรอบหนังตามีผื่นนูนหรือผื่นไขมัน

    ⟴   เจ็บหน้าอก หายใจลำบากและถี่

    ⟴   อ่อนเพลียหรือเวียนหัวเรื้อรัง หน้ามืด วูบ ตาพร่ามัวบ่อยๆ

    ⟴   เกิดอาการสับสน เพ้อ หรือตีความคำพูดและการได้ยินผิดเพี้ยน

    ⟴   อวัยวะส่วนปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้าเริ่มมีสีคล้ำหรือห้อเลือด

    ⟴   อุณหภูมิร่างกายแปรปรวน

    ⟴   มีอาการตะคริว หรือเหน็บชา

    ⟴ เกิดภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรงชั่วคราว

    ⟴ ร่างกายขับเหงื่ออย่างผิดปกติ

     

  • ⌜กลุ่มเสี่ยง⌟   ต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

    ✧  ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์เป็นประจำและต่อเนื่อง

    ✧   ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารแปรรูป อาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารขยะ หรืออาหารประเภทที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์จํานวนมาก

    ✧   ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

    ✧   ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

    ✧   การนั่งหรือไขว้ห้างเป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน

    ✧   มีประวัติครอบครัวที่มีคอเลสเตอรอลสูง

    ✧   ผู้ที่รับประทานยา Beta-blockers ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยาต้านเชื้อ HIV และยาประเภทสเตียรอยด์

    ✧   ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับอ่อน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา โรคเอดส์ ภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรง ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง (โรคภูมิต้านตนเอง) ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะท่อน้ำดีอักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • ⌜แนวทางการดูแลรักษาและลดความเสี่ยง⌟   ต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

    ✓   เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ

    ✓   กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด

    ✓   นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    ✓   ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

    ✓   เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมเน้นบำรุงหลอดเหลือด หัวใจ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี

    ✓   หากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี

    ✓   รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    ✓   ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น

    ✓   หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง

    ✓   หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

ภาวะคอเลสเตอรอล (High Cholesterol หรือ High Blood Fat) ในเลือดสูง เป็น 1 ในโรค NCDs ที่ผู้คนทั่วโลกเป็นมากที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน จึงไม่สามารถส่งสารอาหารและเกิดภาวะพร่องออกซิเจนต่อระบบการทำงานของหัวใจและสมอง ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองแตกได้

สัญญาณเตือน จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

ในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ (เว้นแต่ว่ามีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ) แต่เมื่อเกิดการสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดในระยะเวลาหนึ่ง (การสะสมของคราบพลัคจะส่งผลต่ออาการกำเกิบรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสุขภาพส่วนบุคคล) จะส่งผลต่อการสร้างภาวะหลอดตีบตันหรือหยุดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจหรือสมอง ที่จะแสดงลักษณะทั่วไป ได้แก่

  • การแสดงอาการเด่นๆ จากภาวะโรคไตร์กลีเซอร์ไรด์สูง เช่น ลักษณะผื่นตุ่มไขมันคล้ายขนลุกตามลำตัว แขน ต้นขา สะโพก ที่มีสีเหลืองอมส้ม หรือผื่น หรือรอยนูนตามลายฝ่ามือ ตุ่มนูนนุ่มไม่เจ็บจะพบที่ข้อผับ ศอก เข่า รอบตาดำมีแถบสีเทาหรือขาวล้อมรอบ และรอบหนังตามีผื่นนูนหรือผื่นไขมัน
  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบากและถี่
  • อ่อนเพลียหรือเวียนหัวเรื้อรัง หน้ามืด วูบ ตาพร่ามัวบ่อยๆ
  • เกิดอาการสับสน เพ้อ หรือตีความคำพูดและการได้ยินผิดเพี้ยน
  • อวัยวะส่วนปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้าเริ่มมีสีคล้ำหรือห้อเลือด
  • อุณหภูมิร่างกายแปรปรวน
  • มีอาการตะคริว หรือเหน็บชา
  • เกิดภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรงชั่วคราว
  • ร่างกายขับเหงื่ออย่างผิดปกติ

และผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์

สิ่งสำคัญที่ควรรู้ หากไม่อยากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

  • กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

⊹   ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์เป็นประจำและต่อเนื่อง

⊹   ผู้มีภาวะเครียดเรื้อรัง

⊹   ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

⊹   ผู้ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

⊹   การนั่งหรือไขว้ห้างเป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน

⊹   มีประวัติครอบครัวที่มีคอเลสเตอรอลสูง

⊹   ผู้ที่รับประทานยา Beta-blockers ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ยาต้านเชื้อ HIV และยาประเภทสเตียรอยด์

⊹   ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับอ่อน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา โรคเอดส์ ภาวะกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้าอ่อนแรง ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเอง (โรคภูมิต้านตนเอง) ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะท่อน้ำดีอักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • การหมั่นตรวจสุขภาพเพื่อติดตามและดูแลระดับคอเสลเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

สามารถตรวจเลือดเพื่อหาคอเลสเตอรอลสูงได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติคนในครอบครัวของเด็กมีอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะไขมันในเลือดสูง

เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงมากกว่าวัยอื่น ควรตรวจระดับคอเลสเตอรอลทุก 1-2 ปี หรือตามคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และควรจะรู้จักรายการตรวจดังนี้

✦    คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterolคือปริมาณคอเลสเตอรอลทั้งหมดที่ไหลเวียนอยู่ในเลือด โดยสูตรสําหรับการคํานวณ: “HDL + LDL + 20% ไตรกลีเซอไรด์ = คอเลสเตอรอลรวม”

   คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterolเป็นไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล “ดี” ที่ย้ายคอเลสเตอรอลพิเศษจากกระแสเลือดไปยังตับ ตับจะทำการกําจัดออกจากร่างกาย ประโยชน์ HDLs ช่วยให้หลอดเลือดแดงล้างคอเลสเตอรอลที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวในรายการตรวจไขมันที่ต้องการให้สูง

   ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein)  เป็นไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ํา ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล “ไม่ดี” ที่ก่อให้เกิดการสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดแดง LDLs ต้องการบางตัวเพื่อให้คอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ของร่างกาย แต่การมีมากเกินไปอาจทําให้เกิดปัญหาได้

✦   ระดับ VLDL (Very Low Density Lipoprotein)   เป็นไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ํามาก เป็นอีกรูปแบบที่ “ไม่ดี” ที่ก่อให้เกิดการสะสมของคราบพลัค VLDL มีไขมันชนิดหนึ่ง (ไตรกลีเซอไรด์) ในเลือด หากมี VLDL มากเกินไปจะเกิดไขมันส่วนเกิน ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมในหลอดเลือดแดงได้

✦   ไตรกลีเซอไรด์ (Tryglyceride)  คือไขมันชนิดหนึ่ง หากมีไตรกลีเซอไรด์ในระดับสูง (hypertriglyceridemia) อาจทําให้มีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดและโรคอื่น ๆ

✦   Non-HDL cholesterol  คือคอเลสเตอรอลทั้งหมดในเลือดที่ไม่ใช่ HDL สูตรการคํานวณคือ “คอเลสเตอรอลรวม – HDL = Non-HDL cholesterol”

  • ระดับคอเลสเตอรอลปกติตามช่วงอายุ ควรเป็นอย่างไร

* หน่วยทั้งหมดในแผนภูมิด้านล่างเป็น mg / dL

ช่วงอายุ คอเลสเตอรอลรวม
(Total Cholesterol)
Non-HDL คอเลสเตอรอล LDL HDL
อายุไม่เกิน 19 ปี

ต่ำกว่า 170

ต่ำกว่า 120 ต่ำกว่า 110

สูงกว่า 45

อายุ 20 ปีขึ้นไป 125 ถึง 200 ต่ำกว่า 130 ต่ำกว่า 100

เพศชายตั้งแต่แรกเกิด: 40 หรือสูงกว่า

เพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด: 50 หรือสูงกว่า

แนวทางการดูแลรักษาและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

  • เลิกสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่มือสอง รวมถึงป้องกันตนเองจากการรับควันหรือมลพิษทางอากาศ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
  • กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานรวมถึงโรคเรื้อรัง NCDs โรคระบบเผาผลาญอาหารพัง ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างเคร่งครัด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เรียนรู้ที่จะจัดการและอยู่กับความเครียดให้ได้ รวมถึงการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความเครียด
  • เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมเน้นบำรุงหลอดเหลือด หัวใจ เช่น อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนหรือแบบสแกนดิเนเวียร์ ที่จะมุ่งเน้นอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด โดยแหล่งอาหารควรเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ เช่น ผักสีเขียว บรอกโคลี พืชตระกูลถั่ว ปลา เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และรับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา สัตว์ปีก ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณเพียงพอต่อมื้อ ลดอาหารแปรรูปให้ได้น้อยมากที่สุดหรือไม่นำมาบริโภค ใช้น้ำมันจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil: EVOO ) หรือน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันที่ไม่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงในการประกอบอาหาร เน้นรับประทานผลไม้เป็นของว่างแทนของหวาน เช่น สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอรี่ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ และกีวี่ อีกทั้งจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี
  • หากเป็นอาหารไทย สามารถรับประทานผักสดกับน้ำพริกไทยที่มีส่วนประสมของหอมแดง กระเทียม และยิ่งดีหากสามารถจัดหาน้ำพริกดังกล่าวนี้ได้ทุกมื้อ จะยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนสุขภาพของระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองได้เป็นอย่างดี
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายพร้อมกับฝึกลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกโยคะ เป็นต้น
  • หมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง
    หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ

สรุป

หากคุณอยู่ในช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป และมีประวัติครอบครัวเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง และเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย รวมถึงการเป็นโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพราะอาจก่อให้เกิดภัยเงียบอย่างภาวะไขมันในเลือดสูงหรือการมีระดับคอเลสเตอรอลสูงอย่างที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใดๆ และหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ จะทำให้ทราบถึงอันตรายของภาวะไขมันในเลือดสูง ก็ตอนที่เป็นโรคโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในระยะที่ทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรงไปแล้ว การดูแลสุขภาพและป้องกันก่อนเกิดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพและติดตามระดับคอเลสเตอรอลของคุณอย่างสม่ำเสมอ

ไขมันในเลือดสูง เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 1 ในโรคเรื้อรัง (NCDs) ที่มีมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น การกินอาหาร ความเครียด ฮอร์โมนที่แปรปรวน การได้รับควันบุหรี่มือสองหรือควันพิษทำให้สุขภาพแย่โดยที่คุณไม่รู้ตัว ติดตามและประเมินสุขภาพคุณ เราขอแนะนำ “รายการตรวจไขมันในเส้นเลือด”  ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ปรึกษาเราก่อนได้
≫ ◕ กดคลิก ≪

ตรวจไขมันในเส้นเลือด

“อย่ารอให้ป่วย การตรวจเลือดให้รู้ก่อน ป้องกันได้”

✔  รู้ทันก่อนสัญญาณเริ่มต้นสู่อันตรายของไขมันในเลือดที่สูง
ต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

✔  ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์

ปรึกษาเราก่อนได้
≫ ◕ กดคลิก ≪

ข้อมูลโดย :

ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์

นักเทคนิคการแพทย์

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ

Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ]  02 573-3490-1

พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:


ศูนย์บริการพาธแล็บ  [ ◕ กดโทร ]  02 619-2299 หรือ 02 619-2288


Facebook Inbox  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/inbox


LINE Official  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/LINE

Website  [ ◕ กดคลิก ]  www.pathlab.co.th


Location สาขาใกล้ๆ คุณ  [ ◕ กดคลิก ]  th.pathlab.link/google-maps

อ้างอิงจาก:

  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2563). หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยใกล้ตัว. สืบค้นเมื่อวันที่ 11  มี.ค. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/850
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560). “คุณประโยชน์ ในน้ำพริกยอดนิยม”. สืบค้นเมื่อวันที่ 16  มี.ค. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.thaihealth.or.th/คุณประโยชน์-ในน้ำพริกย-2/
  • American Heart Association. (2023). “Prevention and Treatment of High Cholesterol (Hyperlipidemia). Retrieved March 18, 2023, from: https://www.heart.org/en/health-topics/cholesterol/prevention-and-treatment-of-high-cholesterol-hyperlipidemia
  • Hill and Bordoni. National Library of Medicine (NLM). (2023). “Hyperlipidemia”. Retrieved March 18, 2023, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK559182/#:~:text=In%20most%20patients%2C%20hyperlipidemia%20has,factors%20will%20also%20appear%20below.
  • MedlinePlus. (2023). “High blood cholesterol levels. Retrieved March 18, 2023, from: https://medlineplus.gov/ency/article/000403.htm#:~:text=The%20medical%20term%20for%20high,disorder%2C%20hyperlipidemia%2C%20or%20hypercholesterolemia.