โปรแกรมตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 รายการ
อย่าปล่อยให้อาการผิดปกติหลังมื้ออาหาร ทำให้คุณรู้สึกแย่จนเป็นเรื่องปกติ
“ตรวจด่วน” หยุดอาการเรื้อรังของภูมิแพ้อาหารแฝงทำสุขภาพคุณพัง
ภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร?
(Food intolerance 222 Tests : Food IgG)
ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food IgG) คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารหลังจากกินอาหารที่แพ้เข้าไปโดยอาการจะไม่รุนแรงเหมือนเวลาแพ้อาหารที่เกิดขึ้นฉับพลัน แต่จะสร้างความรำคาญให้กับคนที่มีอาการ
ภูมิแพ้อาหารแฝงเป็นอาการผิดปกติที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้ตัว และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของตนเอง
แม้อาการอาจไม่เด่นชัด และมีความหลากหลายมาก หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ จนคุณเกิดความชินชาและไม่ใส่ใจกับอาการภูมิแพ้อาหารแฝง หากสะสมโรคเป็นระยะเวลาที่นานอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพของคุณเสื่อมลงและเกิดโรคแทรกซ้อนได้
ภูมิแพ้อาหารแฝง (IgG):
- เกิดจากภาวะเอนไซม์บกพร่องหรือการขาดเอนไซม์ย่อยอาหารนั้นๆ หรือภาวะของลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome)
- มีอาการช้ากว่าการเกิดภูมิแพ้อาหารเฉียบพลัน (IgG) โดยอาจใช้เวลาในการเกิดอาการได้มากกว่า 48 ชั่วโมง
- อาการอักเสบแบบเรื้อรัง เช่น ท้องอืด ผื่นขึ้น ปวดหัวไมเกรน ปัญหาการลดน้ำหนัก ฯลฯ ไม่รุนแรงถึงขึ้นทำให้เสียชีวิตแต่มักทำให้เกิดความรำคาญที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ภูมิแพ้อาหารแฝง (IgG):
เริ่มจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ร่างกายจึงจดจำว่าอาหารชนิดที่กินเข้าไปเป็นตัวกระตุ้น เมื่อใดที่กินอาหารชนิดนั้นอีก เม็ดเลือดขาวจะสร้างแอนติบอดีทำปฏิกิริยาส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุลำไส้มากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาลำไส้แปรปรวน ลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Sydrome)
หากเรายังบริโภคอาหารเหล่านั้นอยู่ต่อเนื่องเป็นประจำ ร่างกายก็จะถูกกระตุ้นอยู่เรื่อยๆ จะทำให้กระทบกับระบบภูมิต้านทาน สร้างสารอักเสบเชิงซ้อนขึ้นมา และทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการอักเสบจะเกิดขึ้นที่ระบบอวัยวะส่วนใด
อาการที่อาจเกิดจากภูมิแพ้อาหารแฝง (IgG)
- ระบบประสาท อาการปวดไมเกรน ปวดหัว การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอารมณ์ที่แปรปรวน ซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเมื่อยล้า สมาธิสั้น เป็นต้น
- ระบบทางเดินหายใจ อาการจมูกอักเสบ แสบคัน หรือไซนัสอักเสบ โรคหอบหืด เป็นต้น
- ระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเสีย ปัญหาการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
- ระบบกล้ามเนื้อ อาการโรคไข้ข้อ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เหน็บชา เป็นตะคริว เป็นต้น
- ระบบผิวหนัง อาการลมพิษ ผิวหนังอักเสบ สิวอักเสบเรื้อรัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน เป็นต้น
เริ่มจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ร่างกายจึงจดจำว่าอาหารชนิดที่กินเข้าไปเป็นตัวกระตุ้น เมื่อใดที่กินอาหารชนิดนั้นอีก เม็ดเลือดขาวจะสร้างแอนติบอดีทำปฏิกิรยิาส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุลำไส้มากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาลำไส้แปรปรวน ลำไส้รั่วซึม (Leaky Gut Sydrome)
หากเรายังบริโภคอาหารเหล่านั้นอยู่ต่อเนื่องเป็นประจำ ร่างกายก็จะถูกกระตุ้นอยู่เรื่อยๆ จะทำให้กระทบกับระบบภูมิต้านทาน สร้างสารอักเสบเชิงซ้อนขึ้นมา และทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าการอักเสบจะเกิดขึ้นที่ระบบอวัยวะส่วนใด
วิธีตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง:
- การสังเกตอาการที่เกิดขึ้น หลังจากกินอาหารจะเป็นไปได้ยาก เพราะบางทีเราอาจมีภาวะแพ้อาหารแฝงในอาหารที่กินเป็นประจำ จนเกิดความคุ้นชินกับอาการเหล่านี้
- ตรวจโดยการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาสารแอนติบอดี IgG (Immunoglobulin G) หรือหากพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือสารภูมิคุ้มกัน หากภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารอาหารที่ทดสอบ ประเมินภาวะแพ้อาหารแฝงชนิดต่างๆ ต่อสุขภาพคุณ
ทำไมถึงเลือกตรวจของ CNS IgG Testing:
- ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ
-
สามารถตรวจหา IgG ในอาหารได้ถึง 222 ชนิดแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม
✧ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม, ✧ สมุนไพร และเครื่องเทศ, ✧ ปลา / อาหารทะเล, ✧ เนื้อสัตว์, ✧ ผลไม้, ✧ พืชตระกูลถั่ว, ✧ ธัญพืช, ✧ ผักและพืชอื่นๆ - วัดระดับ IgG ค่าเป็นตัวเลขบ่งบอกความแรงของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นและอื่นๆ
- เทคโนโลยีใหม่ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก รวดเร็วและความละเอียดสูง เรียกว่า “Microarray” ที่ใช้จำนวนเลือดน้อยมากในการตรวจ ซึ่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษ
ผู้ที่ควรตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง:
- ผู้ที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้หรืออาการผิดปกติเรื้อรังต่างๆ หลังมื้ออาหาร
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (SLE)
- ผู้ที่มีปัญหาโรคเรื้อรังที่มีลำไส้รั่วซึมเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ (Leaky Gut Syndrome)
- ผู้ที่ปัญหาด้านผิวพรรณ เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผื่นคัน ผิวบวมน้ำ กลากเกลื้อน ผิวคล้ำ เป็นต้น
- ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักโดยการเลือกกินอาหารประเภทต่างๆ
- ผู้ที่มีความเครียดสะสม