พาราเซตามอล คือ ยาสามัญประจำบ้านประเภทบรรเทาปวดลดไข้ ดังนั้น แทบทุกบ้านจึงต้องมีในตู้ยาเพื่อใช้สำหรับบรรเทาอาการป่วย และยังเป็นยาที่หาซื้อได้ง่ายทั่วไปทั้งที่ร้านขายยาและร้านสะดวกซื้อ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนมองข้ามอันตรายของยาชนิดนี้ จนทำให้ละเลยข้อควรระวังและความเหมาะสมในการใช้ยา ในระยะยาวบางรายได้ตรวจสุขภาพและพบว่ามีการใช้ยามากเกินขนาด เกิดเป็นผลข้างเคียงต่อตับและโรคร้ายแรงในอนาคต โดยปัญหานี้ทำให้หลายหน่วยงานเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างถูกต้อง จนเกิดเป็นข่าวสารและการให้ความรู้มากมายแก่ประชาชน
ทำความรู้จักยาพาราเซตามอล
ยาพาราเซตามอลสามารถใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีคุณสมบัติในการช่วยลดไข้ โดยยามีฤทธิ์ในการยับยั้งสารเคมีบางชนิดในสมอง ซึ่งเชื่อมโยงกับอาการปวดและทำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิในร่างกาย เป็นผลทำให้อาการปวดได้รับการบรรเทาและไข้ลดลง โดยถือเป็นยาที่ไม่มีอันตราย แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรใช้ยาด้วยปริมาณที่ถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากในระยะยาวอาจส่งผลข้างเคียงต่อตับ ซึ่งหากใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือต้องการตรวจเช็คความผิดปกติ สามารถตรวจค่าการอักเสบของค่าตับและควรเลือกศูนย์ตรวจสุขภาพที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
การรับประทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง
เนื่องจากเป็นยาที่ใช้ลดอาการปวดและลดไข้ที่ได้รับการยอมรับ ทำให้หลายคนนิยมบริโภคเมื่อมีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ และเมื่อเกิดอาการเป็นไข้ โดยไม่ทราบถึงอันตรายของยาชนิดนี้ที่จะส่งผลต่อการทำงานของตับหากมีการใช้เกินความเหมาะสม บางรายเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันและนำไปสู่การเสียชีวิต หรือบางรายหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ อาจรู้ตัวอีกทีเมื่อเกิดโรคเรื้อรังที่ตับไปแล้ว ดังนั้น การได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดจากศูนย์ตรวจสุขภาพที่น่าเชื่อถือ ร่วมกับการทานยาในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้
- ปริมาณที่เหมาะสม คือปริมาณยา 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในการรับประทานต่อครั้ง
- ควรเว้นระยะเวลาในการรับประทานยาอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรทานเกินครั้งละ 2 เม็ด
- สามารถรับประทานยาได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร
- สำหรับผู้ที่ต้องทานต่อเนื่องควรอยู่ในการดูแลของแพทย์และไม่ควรเกิน 2,500-2,600 มิลลิกรัม
- ผู้ป่วยโรคตับหรือดื่มสุรา ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรรับประทานควบคู่กับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคตับหรือโรคตับเรื้อรัง ควรเลี่ยงการทานหรือทานในปริมาณน้อยที่สุด
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำควรหมั่นเช็คสุขภาพ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคตับ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ตรวจหาความผิดปกติตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
- ตรวจสอบวันหมดอายุก่อนรับประทานยาทุกครั้ง
- สังเกตเลขทะเบียนตำรับยาที่แสดงถึงการเป็นยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว
- หากไม่มีอาการปวดหรือเป็นไข้ไม่ควรทานยาล่วงหน้า
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาพาราเซตามอลที่ส่งผลต่อตับโดยตรง เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เนื่องจากหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงและยากต่อการรักษา และอย่าลืมหมั่นเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมความเสี่ยง โดยควรเลือกผู้ให้บริการที่มีเชี่ยวชาญและเชื่อถือได้ เพื่อความมั่นใจในการรับบริการนั่นเอง