เรื่องน่ารู้:
- ก่อนการฟื้นฟูและดูแลสุขภาพของผู้ที่ป่วยด้วยเชื้อโควิด-19 จะต้องอาศัยการประเมินสุขภาพและการสังเกตจากตนเองในเรื่องของอาการผิดปกติที่ผลมาจากการรับเชื้อโควิด-19
- กลุ่มผู้ที่ต้องได้รับการฟื้นฟู:
⚠ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง เป็นต้น
⚠ ผู้ที่เคยมีอาการป่วยอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจจะส่งผลต่อความเสียหายอย่างฉับพลันในระบบอวัยวะภายในที่สำคัญ
- มีภาวะพังผืดในปอดหรือระบบทางเดินทำงานผิดปกติ
- มีอาการตับอักเสบหรือตับแข็ง
- มีอาการตับอ่อนอักเสบหรือโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
⚠ ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
⚠ ผู้ที่ประสบปัญหาต่อระบบไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือด
⚠ ผู้ที่ประสบภาวะความบกพร่องการทำงานของระบบประสาทและสมอง
⚠ ผู้ที่ประสบภาวะวิตกกังวลซึมเศร้า
- การฟื้นฟูจำเป็นต้องมีการประเมินสุขภาพในด้านต่างๆ พร้อมสังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น
- การฟื้นฟูสุขภาพจิต
- การฟื้นฟูสุขภาพทางระบบประสาทและสมอง
- การฟื้นฟูสุขภาพอวัยวะภายใน
- การฟื้นฟูสุขภาพทางร่างกาย
เนื่องจากการพักฟื้นหรือการรักษาอาจมีระยะเวลาที่ยาวนาน จึงอาจจะทำให้มวลกล้ามเนื้ออ่อนแอและข้อต่อไม่ยืดหยุ่นได้ สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อและมีอาการอย่างรุนแรงอาจจะต้องได้รับกายภาพบำบัดในการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการทั่วไป ให้เริ่มต้นจากการออกกำลังกายเบาๆ ก่อนสัก 1 เดือนเพื่อดูท่าที หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในทันที
- สิ่งสำคัญก่อนจะเข้าสู่การฟื้นฟูและดูแลสุขภาพหลังการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างถูกต้องและตรงจุด คือ การตรวจประเมินสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย อวัยวะภายในที่สำคัญ ระบบประสาทและสมอง และสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่คุณจะได้รู้จุดบกพร่องหรือปัญหาสุขภาพที่แท้จริงหลังการติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงการสังเกตอาการของตนเองจนกว่าจะได้รับการประเมินสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าอยู่ในสภาวะที่เป็นปกติดีแล้ว
- ควรปฏิบัติต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด รับวัคซีนเมื่อมีโอกาส และล้างมือให้สะอาดสม่ำเสมอ
การฟื้นฟูสุขภาพหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มจากตรงไหน
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่รับเชื้อโควิด-19 ภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะมาประเมินอาการว่าคุณเป็นผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของอาการในระดับใด หากคุณคือผู้โชคดีโดยที่ไม่มีอาการรุนแรงจากติดเชื้อ ร่างกายจะสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อได้ภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนที่อาการจะเริ่มขึ้น
ผู้ที่มีอาการป่วยเล็กน้อยโดยทั่วไปจะถือว่าหายดีหลังจาก 7 วัน หากไม่มีอาการหรือไม่แสดงอาการใหม่ใดๆ ในช่วงเวลานี้ อาการในเด็กและทารกจะรุนแรงน้อยกว่าในผู้ใหญ่ เด็กที่ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการป่วยใดๆ
ผู้ที่ประสบกับอาการการติดเชื้อขั้นรุนแรงอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะฟื้นตัว และมีโอกาสสูงในการพบปัญหาสุขภาพในระยะยาว คือ การเกิดภาวะลองโควิด (Long COVID-19) โดยอาการส่วนใหญ่มักจะดำเนินต่อไปเป็นเวลา 2 ถึง 8 สัปดาห์หลังการติดเชื้อโควิด-19
หากคุณเป็นโรคอุบัติใหม่นี้หรือได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น ในการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างหรือสังคม พิษเศรษฐกิจ อาจจะต้องกลับมาทบทวนและเริ่มประเมินเพื่อฟื้นฟูสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น
- การฟื้นฟูสุขภาพจิต
- การฟื้นฟูสุขภาพทางระบบประสาทและสมอง
- การฟื้นฟูสุขภาพอวัยวะภายใน
- การฟื้นฟูสุขภาพทางร่างกาย
หากคุณได้รับการฟื้นฟูและดูแลสุขภาพได้อย่างทันท่วงทีและได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ จะทำให้คุณได้ใช้ชีวิตที่มีความพร้อม กับยุคที่สุขภาพนั้นมีค่าเท่ากับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว
ใครบ้างที่ต้องฟื้นฟูสุขภาพหลังจากการติดเชื้อโควิด-19
หากคุณหรือใครก็ตามคือผู้ที่เคยมีอาการการติดเชื้อแบบรุนแรง และหลังจากการติดเชื้อโควิด-19
ต้องประสบภาวะ Long COVID-19 ควรที่จะฟื้นฟูและดูแลสุขภาพอย่างจริงจังหลังจากการติดเชื้อ โดยเรามาดูสัญญาณสำหรับผู้ที่ต้องฟื้นฟูสุขภาพหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 อย่างจริงจัง
- ผู้ที่ประสบภาวะวิตกกังวลซึมเศร้า และภาวะอาการทางจิต
⌕ คุณควรได้รับการตรวจประเมินอีกครั้งทันทีเมื่อออกจากสถานที่รักษาและฟื้นฟูโรค หรือหากคุณมีอาการดังข้างต้นที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในทันที
⌕ สำหรับผู้ป่วยที่อาจจะไม่รู้ตัว มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย หรือไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ครอบครัวหรือคนใกล้ตัวผู้ป่วยอาจจะต้องสังเกตจากพฤติกรรม เช่น คำพูด ความคิด การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่พบเจอในลักษณะของผู้ป่วยทางจิต และขอให้รีบเข้าไปพูดคุย รับฟัง พร้อมให้ความช่วยเหลือ โดยผู้ป่วยหรือผู้พบเห็น สามารถโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง เป็นต้น
- ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีอาการโรคพังผืดในปอดและระบบทางเดินทำงานผิดปกติจากการติดเชื้ออย่างรุนแรงจากภาวะพายุไคโตไคน์ อาการเบื้องต้น เช่น
⌕ หายใจได้ลำบาก สั้นและถี่
⌕ อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง แม้จะเป็นเพียงการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การรับประทานอาหาร การเดินทาง เป็นต้น
⌕ อาการไอเรื้อรัง
⌕ เป็นไข้หวัด และเกิดอาการแทรกซ้อนทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัด โรคปอดปวม โรควัณโรค เป็นต้น
- ผู้ที่มีอาการตับอักเสบหรือตับแข็ง อาการเบื้องต้น เช่น
⌕ ตัวเหลืองหรือผิวเหลือง
⌕ อาการบวมที่ท้องและขา
⌕ ฟกช้ำง่าย
⌕ อุจจาระและปัสสาวะเปลี่ยนสี
- ผู้ที่มีอาการตับอ่อนอักเสบ หรือโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง อาการเบื้องต้น เช่น
⌕ ภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
⌕ เบื่ออาหาร มีอาการอ่อนเพลีย
⌕ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มีภาวะลมในท้อง
⌕ อุจจาระมีลักษณะเป็นไขมันจากไขมันย่อยไม่ได้ และมีสีซีด
⌕ ปัสสาวะมีสีเข้ม
- ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาการเบื้องต้น เช่น
⌕ เจ็บหน้าอกบ่อยๆ
⌕ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
⌕ มีอาการบวมของขา เท้า และข้อเท้า รวมถึงอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อ
- ผู้ที่ประสบปัญหาต่อระบบไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือด อาการเบื้องต้น เช่น
⌕ ความเปราะบางของผนังหลอดเลือด
⌕ การแข็งตัวของเลือดเป็นไปได้ช้า
⌕ หลอดเลือดสมองตีบ
⌕ ภาวะความแปรปรวนของความดันโลหิต
⌕ เกิดโรคเบาหวานร่วมด้วย
- ผู้ที่ประสบภาวะความบกพร่องการทำงานของระบบประสาทและสมอง อาการเบื้องต้น เช่น
⌕ มีอาการอัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม
⌕ เวียนศีรษะเรื้อรัง
⌕ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
⌕ อาการชัก และโรคพาร์กินสัน
การฟื้นฟูสุขภาพจิต
ควรเป็นการฟื้นฟูเป็นอันดับแรกๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรงหรือป่วยทั่วไป แต่ถ้าคุณพบเจอกับอารมณ์ที่ยังโศกเศร้ากังวลในเรื่องๆ ต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว การสูญเสียคนรัก งานที่ทำ พิษเศรษฐกิจ กลัวการเข้าสังคมหรือการใช้ชีวิต เป็นต้น อาจทำให้เกิดความเครียดสะสม เช่น โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรงที่สะเทือนใจ (PTSD) โรคซึมเศร้า นอกจากที่จะส่งผลต่อภาวะจิตใจและความรู้สึกต่อผู้ป่วยแล้ว หากปล่อยไว้ยังส่งด้านอื่นๆ เช่น
- อาการอักเสบภายในร่างกายที่เพิ่มขึ้น
- ฮอร์โมนความเครียด (Cotisol) ที่หลั่งมาตลอดเวลามากอย่างผิดปกติ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและเส้นเลือด และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- อัตราการเต้นของหัวใจและการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
- ความแปรปรวนทางเมตาบอลิซึมที่เป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
หากคุณได้รับการฟื้นฟูและดูแลสุขภาพได้อย่างทันท่วงทีและได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ จะทำให้คุณได้ใช้ชีวิตที่มีความพร้อม กับยุคที่สุขภาพนั้นมีค่าเท่ากับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว
แต่คุณสามารถฟื้นฟูสุขภาพจิตได้ด้วยตนเอง (ในกรณีที่แค่มีความรู้สึกว่าเศร้า แต่ยังสามารถทำกิจกรรมและใช้ชีวิตประจำวันได้) หรือเข้ารับการบำบัดและรักษากับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต (ในกรณีที่อยากฆ่าตัวตาย หรือไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตประจำวัน)
-
กรณีที่สามารถบำบัดได้ด้วยตนเอง
(ในกรณีที่รู้ตัวว่าตนเองมีความรู้สึกเศร้า โดยยังสามารถทำกิจกรรมและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ)
✔ เล่าปัญหาหรือความไม่สบายใจให้คนในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ที่เราไว้ใจ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการให้คำปรึกษาและแนะนำทางด้านสุขภาพจิต
✔ บริจาคทานให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส
✔ ออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ
✔ นัดสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อน หรือชวนกันท่องเที่ยวในสถานที่แปลกใหม่
✔ การอ่านหนังสือ ฟังพอดแคสต์ หรือดูรายการที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดเชิงบวก
✔ ศึกษาหรือฝึกเทคนิคการกำจัดความเครียดและความเศร้า เพื่อที่สามารถเข้าใจและมองโลกตามความเป็นจริง
✔ ปรับและจัดการความคาดหวังหรือแผนการที่ต้องทำให้สำเร็จ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน
✔ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลลบต่อความรู้สึก เช่น การใช้สารเสพติดหรือสิ่งมึนเมาทุกชนิด การรับชม รับรู้ ในสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้า ความรุนแรง และความอคติ
-
กรณีที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย หรือไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ดังนั้น ครอบครัวหรือคนใกล้ตัวผู้ป่วยอาจสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้
⌕ กิริยาท่าทางที่เศร้า เหม่อลอย เซื่องซึม ไร้ชีวิตชีวา หรือเปลี่ยนเป็นคนละคนไปในทางลบหลังจากการติดเชื้อโควิด-19
⌕ อารมณ์แปรปรวนแบบโรคหลายบุคลิก (จากที่ไม่เคยเป็น)
⌕ คำพูดและความคิดที่แฝงไปด้วยแง่ลบ และการเปรียบเปรยที่ดูถูกหรือตัดพ้อต่อตนเองหรือผู้อื่น พูดจาฝากฝังธุระกับคนไว้ใจ หรือถ้อยคำที่อาจมีความเชื่อมโยงการการฆ่าตัวตาย หรือความรู้สึกไร้ค่าต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมา
⌕ ชอบเก็บตัว มักปิดการติดต่อทุกช่องทาง หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม⌕ อาจมีการใช้สารเสพติด
⌕ ร่องรอยการทำร้ายร่างกายตนเอง
หากพบผู้ที่มีลักษณะพฤติกรรมและอารมณ์ที่ซึมเศร้าอย่างรุนแรงที่เข้าข่ายนี้ ขอให้รีบเข้าไปพูดคุย รับฟัง และให้ความช่วยเหลือ โดยผู้ป่วยหรือผู้พบเห็น สามารถโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
การฟื้นฟูสุขภาพทางระบบประสาทและสมอง
ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีอาการขั้นรุนแรงอาจประสบกับปัญหาทางระบบประสาทและสมองมากถึง 80% ส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านความจำ สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน ประสาทสัมผัสทางการรับรสและกลิ่นเสื่อมเฉียบพลัน รวมถึงภาพหลอน ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่ก่อปัญสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรงที่สะเทือนใจ (PTSD) เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อที่มีอาการป่วยทั่วไป จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพทางระบบประสาทและสมอง ประมาณ 20-40% ซึ่งในการฟื้นฟูในส่วนนี้ต้องได้รับการประเมินและบำบัดจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง
หากการพักฟื้นหรือการรักษาอาจมีระยะเวลาที่ยาวนาน ที่อาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองสั่งการ ที่มีผลในส่วนการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้ออาจอ่อนแอ การขยับเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ข้อต่อเริ่มขาดความยืดหยุ่น การแก้ไขเบื้องต้นสามารถทำได้โดยเริ่มจาการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู หากเป็นกรณีที่ร้ายแรงกว่านี้ เช่น มีการชาอย่างรุนแรงไปจนถึงไร้ความรู้สึก รวมถึงการเกร็งที่อวัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ปากเบี้ยว อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น ต้องได้การรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมองในทันที
การฟื้นฟูสุขภาพอวัยวะภายใน
การตรวจประเมินอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ปอด หัวใจ ไต และตับ มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากที่ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินที่สถานที่ฟื้นฟูว่าสุขภาพคุณเป็นปกติแล้ว ควรได้รับการตรวจประเมินอีกครั้งในทันที เพื่อเป็นการยืนยันสุขภาพของอวัยวะภายใน และสุขภาพในภาพรวม ว่าคุณสามารถพร้อมใช้ชีวิตแบบปกติได้ทันทีหรือไม่ หรือให้ทราบว่ามีจุดใดที่จะต้องเน้นเพื่อรับการบำบัดฟื้นฟู และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อที่นำมาปรับใช้การดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับตนเอง เพราะหากช้าไปอาจจะเกิดปัญหาสุขภาพที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งก็จะส่งผลเชื่อมโยงต่อสุขภาพโดยรวมทันที
การฟื้นฟูสุขภาพทางร่างกาย
- สำหรับผู้ที่เคยมีอาการการติดเชื้อโควิด-19 อย่างรุนแรง
☑ ควรได้รับคำแนะนำและได้รับการบำบัดฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัด
☑ บำบัดและเน้นฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อ
☑ ฝึกการทรงตัว ควบคุมการหายใจ
☑ ออกกำลังที่เน้นการขยับร่างกายแบบเบาๆ ในทุกส่วน เช่น การเดิน การเคลื่อนไหวแบบท่าวอร์มร่างกาย การรำไทเก๊ก เป็นต้น
- สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรง
☑ ก่อนออกจากสถานที่พักฟื้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องจากนักกายภาพบำบัด
☑ ได้รับการฟื้นฟูสุขภาพประมาณ 10 วันหลังที่ติดเชื้อ และไม่ได้รับประทานยาสำหรับการกำจัดเชื้อโควิด-19
☑ ฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น การเล่นเวท และการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่ำๆ เช่น การซิทอัพ วิดพื้น และการดึงข้อ ในจำนวนครั้งที่เหมาะสมไม่หักโหมจนรู้สึกหอบและหายใจลำบากเกินไปในช่วงระยะการฟื้นฟูสุขภาพนี้
☑ ออกกำลังที่เน้นการขยับร่างกายแบบเบาๆ ในทุกส่วน เช่น การเต้นแอโรบิค การวิ่งจอกกิ้ง เป็นต้น
☑ หากมีอาการเจ็บหน้าอกหรือใจสั่น หายใจติดขัด ควรค่อยๆ หยุดออกกำลังกาย และถ้าหากอาการยังคงหนักขึ้นควรเรียกสายด่วนฉุกเฉิน
☑ ตรวจประเมินสุขภาพเพื่อดูหาจุดบกพร่องหรืออาการที่สังเกตเห็นได้ยากทางกายภาพ เช่น การขาดสารอาหาร ความสมบุรณ์ของเลือด ปริมาณสารพิษในร่างกาย เป็นต้น
- เริ่มจาก การตรวจประเมินสุขภาพจิต จะสัมพันธ์กับระยะเวลาการฟื้นฟูรักษาที่ผู้ป่วยจะมีกำลังใจหรือมีจุดหมาย หลังจากการฟื้นฟูรักษาโดยให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลในสถานที่ฟื้นฟูอย่างดีจากนั้น การตรวจประเมินสุขภาพทางระบบประสาทและสมอง เพื่อหาการทำงานที่อาจมีข้อบกพร่องต่อการเคลื่อนไหว การคิด การพูด รวมถึงการทำงานของระบบอวัยวะภายใน ซึ่งจะมีผลต่อการทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว หลังจากนั้น การตรวจประเมินสุขภาพของอวัยวะภายใน จะทำให้รู้ถึงจุดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในที่สำคัญที่อาจเป็นอันตรายต่อการฟื้นฟู การออกกำลังกาย และการก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (์NCDs) ในผู้ป่วยในเวลาต่อมาได้ หากมีความบกพร่องต้องเริ่มฟื้นฟูที่อวัยวะภายในให้มีสมรรถภาพการทำงานให้ดีที่สุดก่อน และค่อยส่งเสริมการฟื้นฟูในส่วนของสรรถภาพทางร่างกายต่อไป ขั้นสุดท้าย การตรวจประเมินสุขภาพทางร่างกาย จะทำให้เห็นภาพรวมของสุขภาพ ในผู้ที่เคยรับเชื้อโควิด-19 มีสุขภาพที่พร้อมต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด โดยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้
สรุป
กุญแจที่จะเปิดจุดเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูและดูแลสุขภาพหลังการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างตรงจุด คือการตรวจประเมินสุขภาพโดยเริ่มต้นจากทางด้านสุขภาพจิต ด้านระบบประสาทและสมอง ด้านอวัยวะภายในที่สำคัญ และด้านสมรรถภาพทางร่างกายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสังเกตอาการที่อาจผิดปกติด้วยตนเองระหว่างการฟื้นฟู เพื่อที่จะรู้จุดบกพร่องหรือปัญหาสุขภาพที่เกิดจากหลังจากการติดเชื้อหลังการติดเชื้อโควิด-19 จนกว่าการประเมินสุขภาพจะได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าปกติดีแล้ว รวมถึงต้องไม่ละเลยข้อควรปฏิบัติที่สำคัญในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อและยังไม่ไม่ได้รับการรับรองทางกระทรวงสาธารณสุข สิ่งที่ช่วยลดการแพร่ระบาด ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่ผู้คนแออัด รับวัคซีนเมื่อมีโอกาส และล้างมือให้สะอาดสม่ำเสมอ
หากคุณสนใจเนื้อหานี้ เราขอแนะนำ โปรแกรมตรวจสุขภาพ “หลังการติดเชื้อโควิด-19 (Long COVID-19 Program)” เพื่อดูแลสุขภาพหลังการติดเชื้อโควิด-19 และหลังจากการระบาดของเชื้อเชื้อโควิด-19 สำหรับคุณและคนที่คุณห่วงใย เพราะการตรวจสุขภาพก่อน ป้องกันได้ ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
“หลังการติดเชื้อโควิด-19
(Long COVID-19 Program)”
อย่าให้หลังการติดเชื้อหรือหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวต่อร่างกายคุณ มาดูแลฟื้นฟูสุขภาพหลังการติดเชื้อหรือผู้ที่สงสัยว่าเคยได้รับเชื้อ หากมีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อยหรือหอบง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอนไม่หลับ ซึมเศร้าฯ ควรตรวจประเมินสุขภาพเพื่อหาสาเหตุและการดูแลที่ถูกต้อง
รายละเอียดเพิ่มเติม >> กดคลิก <<
ข้อมูลโดย :
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ] 02 573-3490-1
พาธแล็บยินดีให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากสนใจบริการตรวจสุขภาพกับเราสามารถติดต่อได้ที่:
ศูนย์บริการพาธแล็บ [ กดโทร ] 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox [ กดคลิก ] th.pathlab.link/inbox
LINE Official [ กดคลิก ] th.pathlab.link/LINE
Website [ กดคลิก ] www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ [ กดคลิก ] th.pathlab.link/google-maps
อ้างอิงจาก:
-
-
-
-
- กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). “เชื้อหมดแต่อาการไม่จบ ผลพวง “ลองโควิด” ภาวะเรื้อรัง ต้องเผชิญหลังหายป่วย”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31126
- ผศ. นพ.กำรร มาลาธรรม. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2564). “แนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19”. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/แนวทางการปฏิบัติตนสำหร/
- อ. ดร. พญ.วรรชมน จันทรเบญจกุล. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2564). “5 ข้อปฏิบัติเมื่อกลับไปทำงานหลังหายจากโรคโควิด-19”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/5-19/
- ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). “ความเครียด และวิธีแก้ความเครียด”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/47/th/index.php
- ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). “โรคซึมเศร้าโดยละเอียด”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017
- Department of Health. Australian Government. (2022). “Recovery and returning to normal activities after COVID-19”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.healthdirect.gov.au/covid-19/recovery-and-returning-to-normal-activities
- National Institute of Mental Health (NIMH). National Institutes of Health (NIH). (2022). “Chronic Illness and Mental Health: Recognizing and Treating Depression”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.nimh.nih.gov/health/publications/chronic-illness-mental-health
- Queensland Government. (2022). “After having COVID-19”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.qld.gov.au/health/conditions/health-alerts/coronavirus-covid-19/stay-informed/i-have-covid/after-having-covid-19
- Rehabilitation Clinical community of practice. (2021). “Principles of rehabilitation: a response to COVID-19 surge”. Retrieved May 14, 2022, from escalation”.https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/covid-19/communities-of-practice/Pages/guide-principles-rehabilitation.aspx
- Steph Coelho. Medical News Today. (2020). “COVID-19 rehabilitation for physical and mental health”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.medicalnewstoday.com/articles/covid-19-rehabilitation#who-needs-it
- World Health Organization (WHO). (2021). “Post COVID-19 condition (Long COVID)”. Retrieved April 05, 2022, from https://www.who.int/srilanka/news/detail/16-10-2021-post-covid-19-condition
-
-
-