เรื่องน่ารู้:
- ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานหรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
- ความเครียด การตั้งครรภ์ การมีประจำเดือน รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย มีส่วนทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
- เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาการเบื้องต้นนั้นคือ อาการปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย กระหายน้ำ การมองเห็นไม่ชัด ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
- การป้องกันเบื้องต้น ได้แก่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
โปรแกรมตรวจสุขภาพที่พบเห็นในปัจจุบันสามารถใช้ตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของร่างกายได้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล และอีกหนึ่งโปรแกรมที่หลายคนนิยมตรวจคือการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากหากมีการตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง นั่นหมายความว่าตับอ่อนมีการผลิตอินซูลินออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ ซึ่งผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
สาเหตุที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
หากคุณคือผู้ที่ตรวจร่างกายประจำปีแล้วพบว่าตนเองเป็นผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้อาจเกิดความสงสัยว่าเพราะเหตุใด ที่จริงแล้วเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยส่วนใหญ่มักมาจากพฤติกรรมการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งนอกจากจะหมายถึง น้ำหวาน ขนมหวาน ยาชูกำลัง และแอลกอฮอลล์แล้ว ยังรวมถึงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในแป้ง นมข้นหวาน นมเปรี้ยว นมที่มีการปรุงรส ผักบางชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ เช่น ฟักทอง มัน เผือก เป็นต้น
นอกจากพฤติกรรมการทานอาหารแล้ว ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ความเครียด การตั้งครรภ์ การมีประจำเดือน รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย
สัญญาณเตือนภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจจะยังไม่มีอาการในช่วงแรก แต่จะเริ่มสังเกตได้เมื่อร่างกายมีน้ำตาลสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ทั้งนี้ มีวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นนั่นคือ อาการปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย กระหายน้ำ การมองเห็นไม่ชัด ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน โดยหากใครเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีอาการดังกล่าว แนะนำให้ทำการตรวจเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดและควรเลือกใช้ศูนย์ตรวจเลือดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและน่าเชื่อถือ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเข้ารับบริการ
3 ทางเลี่ยงและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายดึงพลังงานและน้ำตาลออกมาใช้ ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ดีในการลดระดับน้ำตาลในเลือด แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ร่วมด้วย - ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร
การปรับพฤติกรรมการทานอาหารไปพร้อมกับการออกกำลังกาย จะยิ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเริ่มจากการลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หยุดการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม และอาหารที่มีน้ำตาลสูง นอกจากนี้ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 2 ลิตร เพราะน้ำเปล่าคือตัวช่วยขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ทั้งยังป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยหากมีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เชื่อว่าผลเลือดการตรวจสุขภาพประจำปีครั้งต่อไปจะต้องเป็นที่น่าพอใจอย่างแน่นอน - ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากการออกกำลังกายและควบคุมอาหารแล้ว การตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน
เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อร่างกายและอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในอนาคตแล้ว การใส่ใจสุขภาพด้วยการคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกายจึงเป็นตัวช่วยที่ดีให้มีสุขภาพแข็งแรง และที่ขาดไม่ได้คือการตรวจเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งปัจจุบันได้มีโปรแกรมตรวจสุขภาพที่หลากหลาย โดยถูกออกแบบมาให้เหมาะกับความต้องการและภาวะความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในของร่างกายก่อนถึงขั้นลุกลามและยากต่อการรักษา
พาธแล็บยินดีให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากสนใจบริการของเราสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์บริการพาธแล็บ: 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox: https://bit.ly/PathlabMessenger
LINE Official: https://lin.ee/7foBIeB
Website: www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ: https://bit.ly/34yt2zO