เรื่องน่ารู้:
- โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (โรค CADs หรือ Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease) คือ กลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนปริมาณเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด ที่เป็นต้นเหตุของกลุ่มโรคนี้
- วิธีการสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสำหรับคุณ ได้แก่สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง และอาการที่แสดงบนผิวหนัง
👁🗨 สัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดจากอาการที่สำแดง
อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจแตกต่างกันสําหรับผู้หญิงและผู้ชาย เช่นโดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการอื่น ๆ พร้อมกับความรู้สึกไม่สบายหน้าอกเช่น หายใจถี่ คลื่นไส้ และมีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยอาการที่เหมือนกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย คือ อาการเจ็บหน้าอก ความดันขึ้นหรืออาการวูบวาบบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 2-3 นาทีโดยเราสามารถจำแนกเพื่อระบุลักษณะของการเริ่มสัญญาณของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่อผู้ชายและผู้หญิง
👁🗨 สัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง
* มีอาการแบบโรคเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ หรือาจจะใช้ระยะเวลาเพื่อทุเลาอาการอย่างไม่ทราบสาเหตุ
⌕ อาการบวมที่เท้าและขาท่อนล่าง (อาการบวมน้ำ)
⌕ รอยคล้ำสีม่วงบนผิวบริเวณเท้า
⌕ รอยคล้ำหรือจ้ำแบบผื่นตาข่าย อาจเป็นสัญญาณ
⌕ ติ่งคอเลสเตอรอล (ลักษณะเนื้องอกสีส้มหรือสีเหลือง) ที่ผุดบนผิว
⌕ ตุ่มก้อนคลายผื่น หูด หรือเป็นเม็ดสีแดงเป็นปื้น
⌕ เล็บหรือปลายนิ้วมือบวมโค้ง
⌕ เส้นสีแดงหรือสีม่วงใต้เล็บของคุณ
⌕ กลุ่มก้อนโปรตีนงอกขึ้นมา (Systemic Amyloidosis)
⌕ การเปลี่ยนสีผิวบริเวณฝ่าเท้าหรือฝ่ามือเป็นสีแดง
⌕ ผื่นไข้รูมาติก (ผื่นแบนมีขอบไม่คัน)
⌕ ผื่นไข้คาวาซากิ (เป็นผื่นพร้อมไข้กับริมฝีปากแตกมีเลือดออก)หากมีลักษณะที่เข้าข่ายตามสัญญาณที่กล่าวมาเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนังหรือหากมีอาการของโรครุนแรง เช่น เจ็บปวด เกิดการอักเสบ คุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินโรคให้ได้ทันท่วงที และไม่ควรปล่อยผ่านหรือใช้ยาเพื่อระงับอาการโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
- โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้โดยจัดการกับปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การเลือกกินอาหารที่ดีที่เป็นธรรมชาติต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน เค็ม และอาหารสำเร็จรูปหรือที่ถูกปรุงแต่งด้วยสารชูรส สารสังเคราะห์ทางเคมี ผ่านกรรมวิธีให้ความร้อน เป็นต้น การหยุดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการรับควันพิษ ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ ดูแลสุขภาพช่องปากให้ถูกสุขลักษณะ ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจํา ควบคุมภาวะ จัดการความเครียดเรื้อรัง ออกกําลังกายเป็นประจำ
- ฮอร์โมน Cortisol จะทำหน้าที่เผชิญหน้าและปรับความสมดุลเคมีในร่างกายต่อความเครียดในระยะสั้นและระยะยาว
- ฮอร์โมน DHEA จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับฮอร์โมน Cortisol คือ ฟื้นฟูระดับฮอร์โมน Cortisol ให้กลับมาสมดุลจากภาวะความเครียดบีบคั้นต่างๆ เพื่อให้กลไกร่างกายทำงานได้ปกติโดยเร็วที่สุด
ผลข้างเคียงที่สำคัญเมื่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) เกิดความไม่สมดุลกับฮอร์โมน DHEA หรือเกิดภาวะเครียดเรื้อรังอย่างที่คุณไม่รู้ตัวที่จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบเผาผลาญร่างกายพัง โรคอ้วนลงพุง โรคกระดูกพรุน การแก่ก่อนวัย เกิดอารมณ์แปรปรวนหรือภาวะวัยทอง เกิดการอักเสบระดับเซลล์และผิวหนัง เช่น การเกิดสิวอักเสบและขึ้นเห่อ อาการผดผื่น อ่อนเพลียเหนื่อล้าเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพร่วงบาง เป็นต้น
การดูแลสุขภาพเพื่อสร้างสมดุลระดับฮอร์โมน Cortisol และ DHEA ของคุณให้มีประสิทธิภาพรับมือกับความเครียดประจำวันได้ในเบื้องต้น ได้แก่
- ในปี 2562 โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDs) เป็นสาเหตุสําคัญติด 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตทั่วโลก โดยคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 17.9 ล้านคนในแต่ละปีนับจากประชากรโลกที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร (อายุต่ำกว่า 70 ปี) จากโรค CVDs แบะคิดเป็น 32% ของการเสียชีวิตทั่วโลก
- ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดจำนวน 350,922 ราย (อัตราผู้ป่วย 535 ต่อประชากร 100,000 คน) เสียชีวิตจำนวน 20,556 ราย (อัตราผู้ป่วย 31 ต่อประชากรแสนคน)
โรคสำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
- ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จำนวน 355,671 ราย (อัตราผู้ป่วย 543 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้ป่วยเสียชีวิตจ านวน 34,728 ราย (อัตราตาย 53 ต่อประชากรแสนคน) และโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Acute Stroke) เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 2 และการพิการเป็นอันดับ 2 จากสถิติทั่วโลก
- การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสําคัญและจำเป็นที่ช่วยป้องกันหรือรักษาติดตามการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีในระยะยาว สามารถคัดกรองโรคแฝงที่อาจจะเกิดจากพันธุกรรมได้
- การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษาโรค ทีนี้เมื่อคุณรู้วิธีการสังเกตอาการของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะแรกนั้นคือความโชคดีที่คุณรับรู้ภายในร่างกายของคุณในเบื้องต้น และการตรวจสุขภาพเพื่อยืนยันนั้นจะทำให้คุณแน่ใจในข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยการปรับการใช้ชีวิตของคุณเพื่อตัวของคุณเอง การเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ และการหยุดสูบบุหรี่และงดหรือลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถป้องกันการกระตุ้นภาวะตั้งต้นการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเส้นเลือดหรือการมีระดับคอเลสเตอรอลสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease หรือกลุ่มโรค CADs) คือกลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด ที่เป็นต้นเหตุของกลุ่มโรคนี้ ซึ่งหากเกิดการอุดตันหลอดเลือดแดงเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน (Heart Attack) จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองตาย เนื่องจากขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตได้ทันที
โรคของหลอดเลือดทั่วร่างกายและหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่โรคของหลอดเลือดจะเป็นที่หลอดเลือดหัวใจ สมอง แขน ขา และช่องท้อง โรค CVDs สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อน เพื่อการแปลสัญญาณของอาการที่อาจจะเข้าข่าย ได้แก่
-
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
คือภาวะที่หัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็นจากอาการภูมิแพ้หรือมีคราบหินปูนที่เกาะสะสมในหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกแม้ไม่ออกแรงหรือนั่งอยู่เฉยๆ ที่จะมีอาการเจ็บอาจร้าวไปที่แขน ไหล่ คอ หรือกราม อาการเจ็บใจสั่น เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ไปจนเกิดอาการช็อกหมดสติฉับพลัน
โดยมีปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรค 2 ปัจจัย คือ
– ไขมันสะสมพอกผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน เกิดการอักเสบเรื้อรังที่เซลล์หลอดเลือดมีสาเหตุแรกๆ จากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง รองลงมาคือการบริโภคน้ำมันแปรรูปที่ผ่านกระบวนการความร้อนสูงเป็นประจำ เช่น น้ำมันพืชที่จะมีสารโอเมก้า 6 โดยทั้ง 2 สภาวะที่กล่าวนี้หากเกิดเป็นภาวะเรื้อรังนอกจากจะเป็นพิษต่อเซลล์หลอดเลือดแล้วยังส่งผลต่อเซลล์ทุกระบบในร่างกายเช่นกัน สามารถรับรู้ความเสี่ยงหรือป้องกันจากการตรวจสุขภาพในรายการตรวจ C-reactive protein (CRP) และรายการตรวจ Homocyteine (HCY) หากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมใน 2 รายการนี้ให้เป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงที่รุนแรงของโรค
– การหดตัวของหลอดเลือด
-
โรค Rheumatic Heart
เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจต่างๆ จากโรคไข้ Rheumatic (Rheumatic fever) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Streptococcal Bacteria กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาต่อต้านเซลล์หัวใจตนเองและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ
-
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ผู้ป่วยมีอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น
-
โรคหัวใจที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือตั้งแต่เกิด (Congenital Heart Disease)
เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีประวัติการเป็นตั้งแต่เกิด ที่เกิดจากการสร้างหัวใจที่ผิดปกติในช่วงขั้นตอนการสร้างอวัยวะขณะตั้งครรภ์ของมารดา
-
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
โดยสาเหตุเกิดจากเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันจนทำให้หลอดเลือดสมองแตก ที่มีสิ่งกระตุ้นที่เรามักได้ยิน เช่น การบริโภคอาหารแปรรูปเป็นประจำหรือที่มีไขมันสูง อากาศร้อนจัด ความเครียด การสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์อย่างหนัก เป็นต้น ผู้ป่วยจะปวดศีรษะหรือวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ตามด้วยอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง การมองเห็นที่ไม่ชัดหรือภาพเบลอ ไปจนอาการตาดับถึงแม้จะลืมตาอยู่ก็ตาม พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือไม่เข้าใจคำพูดหรือแปลการสื่อสารไม่ได้อย่างกระทันหัน มีการทรงตัวผิดปกติ
จะดีกว่าหากคุณสามารถสังเกตอาการในเบื้องต้นที่กำลังเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างทันท่วงที ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพคุณหรือการช่วยชีวิตต่อบุคคลรอบตัวคุณได้ เนื้อหาสาระเพื่อสุขภาพนี้จะนำเสนอวิธีการสังเกตที่อาจจะช่วยชีวิตคุณให้ป้องกันหรือรีบรักษาโรคโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ก่อนที่จะลุกลามจนเกิดอาการที่รุนแรงต่อชีวิต โดยเราขอนำเสนอวิธีการสังเกตแบบ 2 ประเภท เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสำหรับคุณ ได้แก่
❈ สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง
❈ สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง
และสิ่งสำคัญหากคุณได้แนวทางจากที่นำเสนอการสังเกตอาการเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในเบื้องต้นนี้แล้วคุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินสุขภาพจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโรคต่อไป เพื่อความแม่นยำและความชัดเจนต่อการระบุโรคที่ถูกต้อง
สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง
อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจแตกต่างกันสําหรับผู้หญิงและผู้ชาย เช่นโดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการอื่น ๆ พร้อมกับความรู้สึกไม่สบายหน้าอกเช่น หายใจถี่ คลื่นไส้ และมีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยอาการที่เหมือนกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย คือ อาการเจ็บหน้าอก ความดันขึ้นหรืออาการวูบวาบบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 2-3 นาทีโดยเราสามารถจำแนกเพื่อระบุลักษณะของการเริ่มสัญญาณของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่อผู้ชายและผู้หญิง ดังนี้
อาการในผู้ชาย
- เวียนหัวเรื้อรัง อาจรุนแรงไปจนถึงอาการหน้ามืดเป็นลมล้มทั้งยืนได้
- ภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง มีอาการเหน็บชามือแขนขาร่วมด้วย
- เจ็บ จุก สำลักที่หน้าอก พร้อมหายใจลําบาก หายใจถี่ หรือไอแห้งๆ
- หัวใจสั่น หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ
- ภาวะบวมน้ำที่ขา เท้า หน้าท้อง หรือเส้นเลือดที่คอปูดโปน
- เหงื่อออกมากอย่างผิดปกติจนตัวเปียก แม้จะอยู่ในที่ร่ม
อาการในผู้หญิง
อาการที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนในผู้หญิง จะมีอาการหัวใจวายหรืออาการช็อกหมดสติมากกว่าจะมีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนในผู้ชาย โดยมีอาการลักษณะดังนี้
- อาการวิงเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุน
- เกิดภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง หรืออ่อนเพลียอย่างผิดปกติเมื่อทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ
- ปวดคอ กราม ลําคอ ไหล่หรือหลังส่วนบนหรือท้องส่วนบน (หน้าท้อง) หายใจถี่
- ปวดแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
- คลื่นไส้อาเจียน
- เหงื่อออกอย่างผิดปกติ แม้อยู่ในที่ร่ม
- อาหารไม่ย่อย
อาการประกอบอื่นๆ
- เสียการทรงตัว การสื่อสารที่ทำได้ยากลำบาก พูดติดขัดหรือไม่ชัด การขยับของฝีปากผิดปกติ เนื่องจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและประสาทผิดปกติไม่ประสานกัน
- หน้าตาปากซีด เกิดความสับสน ที่อาจเกิดจากอุณหภูมิร่างกายแปรปรวนอาจจะหนาวหรือร้อนจัด หรือกำลังเกิดอาการช็อก
- การมองเห็นที่แย่ลงอย่างกระทันหัน หรือมองเป็นภาพเบลอ
- การนอนกรนและหยุดหายใจเป็นระยะๆ ระหว่างการนอน
อาการที่แสดงโรคของผู้หญิงอาจจะดูเหมือนแสดงความรุนแรงน้อยและไม่ชัดเจนเท่ากับอาการที่เกิดในผู้ชาย แต่จะเกิดอาการได้บ่อยกว่าในผู้หญิงและมีแนวโน้มที่จะเป็นภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าผู้ชาย
สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง
โดยอาการที่แสดงบนผิวหนังนี้ จะมีความสอดคล้องกับโรคหากคุณนำมาพิจารณาและสังเกตร่วมกับอาการที่แสดงออกตามเพศนั้น และต้องเกิดโดยไม่มีสาเหตุหรือเกิดขึ้นโดยฉับพลัน โดยมีอาการดังนี้
- อาการบวมที่เท้าและขาท่อนล่าง (อาการบวมน้ำ)
อาจบ่งบอกถึง ภาวะของหัวใจที่เริ่มทำงานผิดปกติจึงทำให้เกิดของเหลวสะสมที่เท้าและขาท่อนล่าง เมื่อของเหลวสะสม คุณอาจเห็นอาการบวมซึ่งอาจขยายไปถึงขาท่อนบนและขาหนีบ แต่ทั้งนี้ก็ยังรวมถึงการทำงานผิดปกติของไต ตับ ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองได้ด้วยเช่นกัน
- รอยคล้ำสีม่วงบนผิวบริเวณเท้า
อาจบ่งบอกถึง เลือดของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาการนี้เรียกว่า Blue Toe Syndrome ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
- รอยคล้ำหรือจ้ำแบบผื่นตาข่าย อาจเป็นสัญญาณ
อาจบ่งบอกถึง “ภาวะคอเลสเตอรอลอุดตัน” ที่เกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะในบริเวณที่เกิดขึ้นนั้นเสียหายได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าคุณมีความเสี่ยงที่เกิดอาการที่รุนแรงของโรคต่อไปหรือไม่
- ติ่งคอเลสเตอรอลที่ผุดบนผิว
มีลักษณะเป็นเหมือนเนื้องอกสีส้มหรือสีเหลือง โดยมักปรากฎที่มุมตา รอยเส้นบนฝ่ามือ หรือหลังส่วนล่างของขา อาจบ่งบอกถึง ภาวะการเกิดคอเลสเตอรอลสะสมอยู่ใต้ผิวหนังมากเกินไป ซึ่งการการมีพวกมันมากเกินไปนี้ก็มีนัยยะต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่มีความผิดปกติ
- ตุ่มก้อนคลายผื่น หูด หรือเป็นเม็ดสีแดงเป็นปื้น
เป็นภาวะการสะสมของคอเลสเตอรอลที่เกิดจากระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงมาก อาจบ่งบอกถึง ระดับคอเลสเตอรอลหรือโรคเบาหวานพุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง
- เล็บหรือปลายนิ้วมือบวมโค้ง
อาจบ่งบอกถึง ภาวะของระบบหัวใจและหลอดเลือด การกำเริบของโรคหัวใจ หรือปัญหาที่เกี่ยวกับปอด
- เส้นสีแดงหรือสีม่วงใต้เล็บของคุณ
หากมีไข้สูง และหัวใจเต้นอ่อนแรงหรือไม่เป็นจังหวะ บ่งบอกถึง สัญญาณของโรคหัวใจ ที่เส้นเลือดที่ปลายนิ้วกำลังเกิดความเสี่ยงจากอาการนั้นเอง
- กลุ่มก้อนโปรตีนงอกขึ้นมา (Systemic Amyloidosis)
อาจบ่งบอกถึง มีการติดเชื้อในหัวใจหรือหลอดเลือด ที่เรียกว่า “ภาวะติดเชื้อบริเวณเยือบุหัวใจ ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือด” ก้อนเหล่านี้อาจมีอาการเจ็บปวดได้ หรือเกิดขึ้นที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ก้อนอาจอยู่ได้เป็นชั่วโมงไปจนถึงสัปดาห์แล้วก็จะหายไปเองเนื่องจากการติดเชื้อนี้เกิดจากแบคทีเรีย แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากยาปฏิชีวนะเพื่อเลี่ยงการเกิดการติดเชื้อเรื้อรัง หากไม่หายบางครั้งก็จำเป็นต้องผ่าตัดออกเช่นกัน
- การเปลี่ยนสีผิวบริเวณฝ่าเท้าหรือฝ่ามือเป็นสีแดง
อาจบ่งบอกถึง มีอาการติดเชื้อในหัวใจหรือหลอดเลือดหรือภาวะติดเชื้อบริเวณเยือบุหัวใจ ร่องรอยการเกิดอาจอยู่ได้เป็นชั่วโมงไปจนถึงสัปดาห์แล้วหายไปเอง และเช่นกันการติดเชื้อนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา
- ผื่นไข้รูมาติก (ผื่นแบนมีขอบไม่คัน)
มักเกิดในเด็กเล็ก ที่เป็นสาเหตุสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหัวใจหรือการทำงานของระบบหัวใจที่ผิดปกติในเด็กไปตลอดชีวิต
- ผื่นไข้คาวาซากิ (เป็นผื่นพร้อมไข้กับริมฝีปากแตกมีเลือดออก)
มีผลต่อหลอดเลือดมักจะพัฒนาในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี อาจนําไปสู่ผลข้างเคียงสู่การเป็นโรคโรคหัวใจได้ และโรคนี้จะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษา
!! ถ้าเข้าข่ายของโรคควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและรับการรักษาให้ทันท่วงที !!
จะลดความเสี่ยงได้มากหากรับรู้ถึงอาการดังกล่าวได้ก่อนที่โรคจะลุกลามเป็นอาการที่รุนแรงที่อาจทำให้คุณหายใจไม่ออก ช็อกหมดสติ และหัวใจวาย หากรับรู้ถึงสถานการณ์ภายในร่างกายช้าเกินไปจะส่งผลต่อการป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที เมื่อถึงที่สุดความรุนแรงของโรคจะปะทุออกมาที่ร่างกายคุณรับไม่ทันเกินที่คุณจะเตรียมการหรือป้องกันได้ นั้นจะเป็นเกิดการสูญเสียที่น่าเสียดายต่อครอบครัวและคนที่คุณรักอย่างไม่ทันตั้งตัว และถ้าการตรวจประเมินสุขภาพเป็นสิ่งยืนยันว่าคุณดูแลสุขภาพได้อย่างดีแล้ว ไม่มีอาการของโรคที่ผิดปกติจากการสังเกตด้วยตาและความรู้สึก นั่นจะทำให้คุณมั่นใจในข้อเท็จจริงว่าสุขภาพของคุณแข็งแรงดีพร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับกับการใช้ชีวิตของคุณไปประยุกต์ใช้ได้
ปัจจัยต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (โรค CADs)
✘ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่เสียหายและแคบลงและกล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอหรือหนาขึ้น ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีอายุ 65 ปีขึ้นไปและหากผู้ที่มีเกณฑ์อายุนี้เกิดภาวะหัวใจวายสามารถมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้น
- เพศ ผู้ชายมักมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและรุนแรงกว่าเพศหญิงมาก สําหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงของโรคเพิ่มขึ้นหลังวัยหมดประจําเดือน
≫ ความเสี่ยงเฉพาะในเพศชาย ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำที่จะส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศลดลงแล้วยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงระบบการเผาผลาญพลังงานที่เสื่อมลง
≫ ความเสี่ยงเฉพาะในเพศหญิง เริ่มตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ หากดูแลครรภ์ได้ไม่ดีจะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ที่สามารถพัฒนาเป็นโรคเรื้อรัง NCDs ต่อไปหลังจากคลอดบุตรได้ และสามารถส่งต่อพันธุกรรมไปสู่บุตรได้เช่นกัน และหลังวัยหมดประจําเดือนจะเกิดภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคในหลอดเลือดที่จะหดตัวหรือตีบลง
- ประวัติครอบครัวหรือพันธุกรรม เด็กที่ได้เกิดมาในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ในเชืัอชาติคนผิวสี ชาวเม็กซิกัน ชาวอเมริกันอินเดียน ชาวฮาวายพื้นเมือง และชาวเอเชีย ถ้าหากเป็นโรคเรื้อรัง NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง ฯลฯ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
✔ ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีไขมัน เกลือหรือโซเดียม น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูงเชื่อมโยงกับการเกิดโรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด
- การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันพิษ สารในควันบุหรี่ทั้งที่เป็นมือ 1 และมือ 2 สามารถทําลายหลอดเลือดแดง กระตุ้นการเกิดโรคหัวใจวายที่มีความเสี่ยงสูงในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงการสูดดมควันพิษจากมลภาวะ เช่น ฝุ่น PM 2.5 สารปรอท ตะกั่ว หรือเขม่าควันที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศสามารถสร้างการอักเสบทั้งต่อหลอดเลือดไปจนถึงระดับเซลล์ได้
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ จะมีส่วนทำให้เกิดระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเรื้อรัง ที่จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือดสูง ที่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค
- ดูแลสุขภาพช่องปากได้ไม่ถูกสุขลักษณะ ฟันและเหงือกที่ไม่แข็งแรง เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบเรื้อรัง จะทําให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดและถูกนำส่งต่อไปยังระบบหัวใจได้ง่ายขึ้น สิ่งนี้อาจทําให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ การดูแลช่องปากที่ดีควรแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันและเหงือกบ่อยๆ ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจํา และหากคุณยังชอบกินของหวานและสูบบุหรี่เป็นประจำก็ยากที่จะส่งเสริมในข้อสำคัญนี้ได้
- ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะทําให้หลอดเลือดแดงแข็งและหนาจนเริ่มตีบตันทางเดินของการไหลเวียนของเลือดที่จะนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงหัวใจและเซลล์ในร่างกายที่จะส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตได้ในที่สุด
- ภาวะคอเลสเตอรอลสูง การมีคอเลสเตอรอลสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือด หลอดเลือดได้รับการเชื่อมโยงกับหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเบาหวาน โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคอ้วนและความดันโลหิตสูง
- โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนลงพุง จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลในเลือดสูงต่อการดื้ออินซูลินที่จะเกิดโรคไขมันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ความเครียดเรื้อรัง ความเครียดเรื้อรังกระตุ้นการทําลายหลอดเลือดแดงได้อย่างดีจากการหลั่งสารอะดรีนาลีน และฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งสารอะดรีนาลีนจะมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วและอาจรุนแรงจนผิดจังหวะที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ส่วนสารคอร์ติซอลจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นและกระตุ้นให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลในระดับที่สูงกว่าปกติ
- การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือหลับไม่สนิท มีความสําคัญต่อการการสร้างและฟื้นฟูระบบหัวใจและหลอดเลือด การนอนหลับที่ดีมีประสิทธิภาพจะมีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณ และยังเป็นการฟื้นฟูระบบสมอง อารมณ์ ความจําและเหตุผลได้ดีด้วย ช่วงวัยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ควรนอนให้ได้โดยเฉลี่ย 7-9 ชั่วโมง และในช่วงเด็กวัยทารก-วัยเรียน สามารถนอนเพื่อสุขภาพควรไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง เพื่อพัฒนาการด้านร่างกาย ระบบสมอง และการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางกลับกันหากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอสุขภาพจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ทั้งทำให้เกิดโรคเกี่ยวสมองและประสาทตามมาได้
- การออกกำลังกาย การออกกำลังจะช่วยให้เพิ่มประสิทธิของการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดในการสูบฉีดได้อย่างดี รวมถึงการปรับความสมดุลของระบบเผาผลาญและฮอร์โมน เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณได้ดีเยี่ยม การออกกำลังกายควรทำเป็นประจำที่เหมาะสมกับเวลาและไม่หักโหมจนเกินขีดจำกัด ในประเภทการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) หรือการฝึกความทนทาน (Endurance Exercise) การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Training) และหากคุณเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วไม่ควรที่จะออกกำลังที่ทำให้คุณต้องเหนื่อยมากหรือหายใจถี่เกินไป ควรเน้นประเภทการฝึกการทรงตัว (Balance Exercise) และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) เช่น การขยับร่างกาย เล่นโยคะ เดินช้าๆ หรือรำไทเก็ก ข้อนี้จำเป็นต้องขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญสุขภาพของคุณก่อน
- ไม่ละเลยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากการรับรู้ถึงสถานการณ์ภายในร่างของคุณไม่สำคัญต่อการดูแลสุขภาพของคุณนั่นอาจจะเป็นการเพาะโรคที่จะส่งผลต่อการป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที เมื่อถึงที่สุดโรคแฝงต่างๆ เหล่านั้นอาจจะปะทุออกมาพร้อมกันจนร่างกายคุณรับไม่ทันที่คุณจะเตรียมการหรือป้องกันได้ นั้นจะเป็นการสูญเสียที่น่าเสียดายต่อครอบครัวและคนที่คุณรักอย่างไม่ทันตั้งตัว และถ้าการตรวจประเมินสุขภาพเป็นสิ่งยืนยันว่าคุณดูแลสุขภาพได้อย่างดีแล้ว ไม่มีอาการของโรคที่ผิดปกติจากการสังเกตด้วยตาและความรู้สึก นั่นจะทำให้คุณมั่นใจในข้อเท็จจริงว่าสุขภาพของคุณแข็งแรงดีพร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับกับการใช้ชีวิตของคุณไปประยุกต์ใช้ได้
การป้องกันและการฟื้นฟูการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (โรค CADs)
คุณสามารถลดความเสี่ยงที่คุณสามารถทำได้ทันที
- การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- การออกกําลังกาย
- การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
- การดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด
- การงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การจัดการความเครียด
- การตรวจสุขภาพเป็นประจำ
วิธีเหล่านี้เราจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพบ่อยๆ แต่ทั้งหมดนี้เป็นการเริ่มที่ตัวคุณเพื่อตัวคุณเอง และควรเลือกใช้ชีวิตควบคู่ไปกับตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอที่จะช่วยรักษาและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคเรื้อรัง NCDs อื่นๆ ได้อีกด้วย โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
สรุป
การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษาโรค ทีนี้เมื่อคุณรู้วิธีการสังเกตอาการของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะแรกนั้นคือความโชคดีที่คุณรับรู้ภายในร่างกายของคุณในเบื้องต้น และการตรวจสุขภาพเพื่อยืนยันนั้นจะทำให้คุณแน่ใจในข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยการปรับการใช้ชีวิตของคุณเพื่อตัวของคุณเอง การเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ และการหยุดสูบบุหรี่และงดหรือลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถป้องกันการกระตุ้นภาวะตั้งต้นการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเส้นเลือดหรือการมีระดับคอเลสเตอรอลสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
รู้ทันและสังเกตง่ายๆ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษาโรค เมื่อคุณรู้วิธีการสังเกตอาการของโรคที่เกิดขึ้นจากภายนอกและรับรู้ได้ใในระยะแรกนั้นคือความโชคดีที่คุณรับรู้สัญผิดปกติในเบื้องต้นที่ส่งมาจากภายในร่างกายของคุณ เราขอแนะนำ “โปรแกรมหัวใจ ใครๆ ก็รัก” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ
ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<
โปรแกรมหัวใจ ใครๆ ก็รัก
“อย่ารอให้ป่วย การตรวจเลือดให้รู้ก่อน ป้องกันได้”
✔ รู้ทันก่อนสัญญาณเริ่มต้นสู่อันตรายที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
✔ ให้คุณดูแลสุขภาพได้ยั่งยืนและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับคุณ
ตรวจสุขภาพพร้อมคำแนะนำโดยทีมนักเทคนิคการแพทย์
ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<
ข้อมูลโดย :
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ] 02 573-3490-1
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:
ศูนย์บริการพาธแล็บ [ ◕ กดโทร ] 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/inbox
LINE Official [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/LINE
Website [ ◕ กดคลิก ] www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/google-maps
อ้างอิงจาก:
- โรงพยาบาลราชวิถี. (2560). “ภัยเงียบ’หัวใจเต้นผิดจังหวะ’ รีบสังเกตอาการรักษาได้”. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4626
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). “สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย)”. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf
- ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2563). “รู้อาการ รักษาทัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/acute-coronary-syndrome
- ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์. (2563). “หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยใกล้ตัว”. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.chulabhornhospital.com/page.php?name=616
- ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (2563). “ภาวะหัวใจขาดเลือด เกิดจาก ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2566. จากเว็บไซต์: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/850
- American Academy of Dermatology Association (AAD). (2023). “HEART DISEASE: 12 WARNING SIGNS THAT APPEAR ON YOUR SKIN“. Retrieved February 12, 2023, from: https://www.aad.org/public/diseases/a-z/heart-disease-warning-signs
- American Heart Association. (2022). “Understand Your Risks to Prevent a Heart Attack“. Retrieved February 12, 2023, from: https://www.heart.org/en/health-topics/heart-attack/understand-your-risks-to-prevent-a-heart-attack
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2022). “Men and Heart Disease“. Retrieved February 12, 2023, from: https://www.cdc.gov/heartdisease/men.htm
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2023). “Women and Heart Disease“. Retrieved February 12, 2023, from: https://www.cdc.gov/heartdisease/women.htm