Skip to main content

ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างไร?
 ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

เมื่อกล่าวถึงการตรวจสุขภาพประจำปี หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวหรือเป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่แท้จริงแล้วการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปีถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกเพศทุกวัยควรให้ความสำคัญ โดยการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการตรวจสำหรับผู้ที่ยังไม่มีความผิดปกติและไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ แต่ต้อง

การค้นหาความเสี่ยงของโรคหรือแนวโน้มการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าการพบปัญหาสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ประสบความสำเร็จ

อีกทั้งยังลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยการตรวจคัดกรองขั้นพื้นฐานของแต่ละช่วงวัย ซึ่งปัจจุบันมีการให้บริการโปรแกรมตรวจสุขภาพราคาพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการของผู้คนที่หันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น

ช่วงวัยรุ่น (อายุ 13 – 25 ปี)

ช่วงวัยที่กำลังสดใสและสุขภาพแข็งแรง อาจทำให้หลายคนละเลยการตรวจร่างกาย แต่ความจริงแล้วโรคร้ายแรงต่าง ๆ สามารถก่อตัวได้ในช่วงวัยนี้ก่อนที่จะส่งผลเมื่อตอนอายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การตรวจร่างกายของคนวัยนี้คือการตรวจร่างกายโดยรวม เช่น การตรวจเลือดเพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ความดันโลหิต การตรวจวัดสายตา ตรวจปัสสาวะ การทำงานของตับไต เป็นต้น

ช่วงวัยทำงาน (อายุ 26 – 40 ปี)

ช่วงวัยที่นิยมทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ขาดการออกกำลังกาย และละเลยการตรวจเช็คสุขภาพ ทั้งที่ช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษก่อนเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการตรวจน้ำตาล ตรวจเบาหวาน ตรวจความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ที่สำคัญคือการตรวจหามะเร็งต่าง ๆ อาทิ มะเร็งตับ มะเร็งปอด เพศชายควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มเติม เช่นเดียวกับเพศหญิงที่ควรตรวจมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งรังไข่

ช่วงวัยกลางคน (อายุ 41 – 60 ปี)

นับเป็นช่วงวัยที่โรคร้ายแรงต่าง ๆ แสดงอาการอย่างเด่นชัด ดังนั้น คนในวัยนี้ควรเช็คสุขภาพให้ละเอียดยิ่งขึ้นด้วยการตรวจคัดกรองที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด การเอ็กซเรย์ เช็คค่าตับ ค่าไต การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อหาความเสี่ยงมะเร็งลำไส้

ช่วงวัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)

ช่วงวัยที่สุขภาพเริ่มถดถอย ดังนั้น การตรวจร่างกายจึงควรเน้นไปที่การตรวจเพื่อค้นหาความเสื่อมสภาพของอวัยวะต่าง ๆ เช่น การตรวจหัวใจ ไต สมอง ช่องท้อง และมะเร็งต่าง ๆ รวมถึงการตรวจมวลกระดูก เนื่องจากคนในวัยนี้มักพบภาวะกระดูกเสื่อม ผุกร่อน ทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย

นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีจะถูกแบ่งตามช่วงวัยที่เหมาะสมแล้ว ประวัติครอบครัว กรรมพันธุ์ และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเลือกโปรแกรมตรวจที่จะช่วยค้นหาความเสี่ยงการเกิดโรค เพื่อการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ก่อนระยะลุกลาม ดังนั้น เพื่อความอุ่นใจและคลายกังวัลเรื่องปัญหาสุขภาพในอนาคตควรตรวจร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอย่าลืมมองหาแพ็กเกจตรวจสุขภาพราคาพิเศษที่จะช่วยประหยัดงบประมาณในกระเป๋า โดยที่ พาธแล็บ เรามีหลากหลายแพ็กเกจราคาพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ เพราะเราเข้าใจว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรเข้าถึงได้ง่าย

Leave a Reply

Close Menu