เรื่องน่ารู้:
- การเกิดสิวในวัยหมดประจำเดือน สามารถเกิดได้จากความแปรปรวนของฮอร์โมน เครื่องสำอางค์หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผม ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- สำหรับการเกิดสิวในวัยหมดประจำเดือน ที่เกิดจากความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (หรือฮอร์โมนเพศชายที่ส่งผลการแสดงลักษณะทางกายภาพของเพศชาย) มากกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง)
- สาเหตุจากพฤติกรรม เช่น การใช้เครื่องสำอางค์ การกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีระดับน้ำตาลสูง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุของการเป็นสิวเช่นกัน
- การเลือกใช้เครื่องสำอางค์หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผม ควรเลือกที่ระบุไว้ในผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไม่ทำให้เกิดสิว”หรือ “ไม่อุดตันรูขุมขน” (Non-Comedogenic) หรือ Oil-Free จะช่วยป้องกันการเป็นสิวได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ครีมบำรุงหลายๆ อย่าง เพราะจะมีโอกาสเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายสำหรับผิวของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนคุณผู้หญิงหลายท่านเริ่มมีเปลี่ยนแปลงของผิว (อายุเฉลี่ยประมาณ 45-55 ปี) ส่งผลให้เกิดความแห้งกร้าน ผิวขาดน้ำ หรือเกิดรอยฟกช้ำได้ง่ายจากการแรงกระแทกแม้เล็กน้อย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการแปรปรวนของฮอร์โมน ที่เรากำลังพูดถึงถือ คือ เรื่องสิว ที่ไม่ว่าวัยรุ่นหรือวัยไหนๆ ก็หงุดหงิดกับสิ่งเล็กๆ นี้จะเป็นอุปสรรคขว้างความงาม เอ้! แต่ว่าเราเคยได้ยินมาบ่อยว่าเมื่อปลายๆ ช่วงอายุ 20 ปี ก็สบายใจได้ที่จะไม่เป็นสิวแล้ว ยิ่งเป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้วด้วยยิ่งต้องโล่งใจ ที่จะได้ไม่ต้องจับผลิตภัณฑ์ป้องกันหรือรักษาสิวอีก แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป ถ้าคุณถึงวัยหมดประจำเดือนแต่ยังเป็นสิวไม่เจียมวัย และนี้คือสาเหตุที่วัยหมดประจำเดือนพลาดไม่ได้หากต้องการขุดรากถอนโคนสิวไม่เจียมวัยนี้
ความแปรปรวนของฮอร์โมน
ถึงแม้ว่าสิวเป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นที่ฮอร์โมนกำลังพลุ้งพล่าน แต่ก็มีการพบมากเช่นกันวัยผู้ใหญ่รวมถึงช่วงวัยหมดประจำเดือน สำหรับสาเหตุของการเกิดสิวในวัยหมดประจำเดือนนั้นมีหลายปัจจัย โดยเฉพาะความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (หรือฮอร์โมนเพศชายที่ส่งผลการแสดงลักษณะทางกายภาพของเพศชาย) มากกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ที่จะทำให้เกิดการผลิตน้ำมันส่วนเกินบนใบหน้าจนอุดตันรูขุมขนผสมไปด้วยเซลล์ผิวหนัง แบคทีเรีย จนทำให้เกิดการอักเสบหรือไม่ก็เป็นสิวหัวขาวหรือดำได้
เครื่องสำอางค์หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผม
การแต่งหน้าหรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ เช่น ครีมแต่งหน้า ครีมกันแดด ที่เคยใช้ดีมาตั้งแต่ยังสาวพร้อมกับผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเส้นผม จำนวนมากมีน้ำมันหรือส่วนผสมอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดสิว หากคุณยังคงใช้มันต่อไปเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้วเกิดอาการเป็นสิว นั้นเป็นการบอกคุณให้เปลี่ยนการใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ที่เคยใช้มา พร้อมหาเคล็ดลับสำหรับการดูแลสุขภาพผิวหน้าคุณ ได้แก่
- การเลือกเครื่องสำอางค์หรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีป้ายกำกับว่า
-
- ปราศจากน้ำมัน (Oil-Free) หรือมีส่วนผสมเป็นน้ำ (Water-Based)
- “ไม่ทำให้เกิดสิว”หรือ “ไม่อุดตันรูขุมขน” (Non-Comedogenic)
- หลีกเลี่ยง เครื่องสำอางค์ที่มีส่วนผสมของแว็กซ์ (Cream Foundation)
- ล้างเครื่องสำอางค์หรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมให้สะอาดหมดจด ก่อนนอน หรือก่อนและหลังออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังจะทำให้เกิดการระบายเหงื่อที่จะเป็นส่วนผสมที่จะทำให้มีโอกาสการอุดตันรูขุมขนมากยิ่งขึ้น
- การไหลเวียนของเลือดที่เสื่อมประสิทธิภาพลงยังทำให้ผิวดูไม่กระจ่างใส และมีความหมองคล้ำ เหี่ยวแห้งและหยาบกร้าน จึงทำให้การบำรุงผิวหน้ามากเกินไปในช่วงวัยหมดประจำเดือน ผิวจะเสื่อมและแก่เร็วเมื่อไม่ได้รับการดูแลหรือบำรุง จึงทำให้หลายๆ คนเกิดทำใจไม่ได้และหักหามใจไม่ไหวที่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ ที่ใครต่างบอกว่าดี เพื่อให้ความงามบนใบหน้าคงอยู่ได้นานที่สุด หลายคนจึงทาครีมบำรุงมากหลายครั้งต่อวันและใช้หลายๆ ผลิตภัณฑ์ทาทับกันเพราะอยากได้คุณสมบัติความงามแบบครบเครื่องโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องในการใช้และความปลอดภัย ในระยะยาวนอกจากจะมีโอกาสเป็นสิวแล้ว ยังทำให้อาการแพ้และผิวเกิดการระคายเคืองหรือหน้าอักเสบและฟื้นตัวช้า มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อต่างๆ มากขึ้น จึงควรทดสอบครีมบำรุงและต้านริ้วรอยนี้ก่อนใช้ และใช้อย่างเหมาะสมและตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด เพราะการเปลี่ยนไปของช่วงวัยจะทำให้ครีมบำรุงผิวนั้นมีความแตกต่างกันกับวัยสาว
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
จากการเผยแพร่ของหอสมุดแห่งชาติการแพทย์ ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวติภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการศึกษาเชิงสังเกต ซึ่งผู้เข้าร่วมเป็นเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ประมาณ 80,000 ราย ซึ่งได้พบความเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์นมกับอาหารที่มีระดับน้ำตาลสูงที่จะส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลันนำมาสู่การเกิดสิวนั่นเอง
ความเครียด
ความเครียดทำให้เกิดฮอร์โมนความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ติซอลที่มาจากต่อมอะดรีนอล และสร้างความแปรปรวนทางฮอร์โมนได้ จะกระตุ้นการเกิดไขมันส่วนเกินบนใบหน้าและแผ่นหลังมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสเป็นสิวอุดตันรู้ขุมขนได้
พักผ่อนไม่เพียงพอ
การพักผ่อนและการนอนหลับสนิทอย่างเพียงพอ คือสวรรค์ของวัยทำงาน ยิ่งถ้าคุณเป็นวัยหมดประจำเดือนแล้วด้วย การพักผ่อนไม่เพียงพอสำหรับคุณย่อมหมายถึง การปรับสมดุลของฮอร์โมนในการเริ่มเช้าวันใหม่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจากการแนะนำของ สสส. ไม่จำเป็นต้องนอน 8 ชั่วโมง แต่ต้องสามารถนอนได้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ หากเป็นเช่นนั้นการนอนเพียงแค่ 5-6 ชั่วโมงก็สามารถตื่นนอนขึ้นมาสดชื่นได้ ในวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน “การนอนหลับสนิทจะจำเป็นมากกว่าจำนวนชั่วโมงการนอน”
เหล่านี้คือสาเหตุที่คุณสามารถเริ่มค้นหาเพื่อรักษาหรือป้องกันเบื้องต้นได้ และจะมีประสิทธิภาพหากคุณได้ตรวจสุขภาพเพื่อหาความผิดปกติของฮอโมนที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่วมด้วยแล้ว แต่หากคุณเป็นสิวเห่ออักเสบและมีความผิดปกติรุนแรงอื่นๆ เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
พาธแล็บยินดีให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากสนใจบริการของเราสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์บริการพาธแล็บ: 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox: bit.ly/PathlabMessenger
LINE Official: https://lin.ee/7foBIeB
Website: www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ: bit.ly/2Otfw77
อ้างอิงจาก:
- กรมสุขภาพจิต. (2562). “เครียดหลบใน วัดอาการ 15 แบบ”. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30081
- มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter4/androgen.htm
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (2561). “นอนอย่างไรให้สุขภาพดี”. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2563. จากเว็บไซต์: https://www.thaihealth.or.th/Content/40531-นอนอย่างไรให้สุขภาพดี.html
- The Johns Hopkins Medicine. “Got Adult Acne? Get Answers from an Expert”. Retrived August 01, 2020, from https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/got-adult-acne-get-answers-from-an-expert
- Harvard Medical School. (2020). “Adult acne: Understanding underlying causes and banishing breakouts”. Retrived August 01, 2020, from https://www.health.harvard.edu/blog/adult-acne-understanding-underlying-causes-and-banishing-breakouts-2019092117816?utm_content=buffer9d7f0&utm_medium=social&utm_source=twitter&utm_campaign=buffer