เรื่องน่ารู้:
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count หรือ CBC) คือ ความสมบูรณ์หรือประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ฮีโมโกลบิน ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ไปจนถึงภาพรวมของระบบการไหลเวียนโลหิต
- การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นศาสตร์ในการคาดการณ์เกี่ยวกับสุขภาพของคุณโดยรวม หากคุณเป็นผู้ที่ต้องการวางแผนในการใช้ชีวิต และต้องการมีสุขภาพดีไปจนถึงวัยเกษียณ คุณจำเป็นต้องรู้ในข้อมูลสุขภาพพื้นฐานของคุณอย่างเช่นการตรวจประเมินความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และอาจรวมถึงการตรวจค่าฮอร์โมนหรือสารที่ถูกสร้างจากร่างกายและสารอื่นๆ ในเลือดของคุณร่วมด้วยในบางกรณี โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจนั้นสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับสุขภาพของคุณโดยรวมและความเสี่ยงต่อโรคบางชนิด เพื่อที่จะได้รายงานผลอย่างถูกต้อง คุณจะได้รู้ทันท่วงทีที่ป้องกันหรือฟื้นฟูโรคความเสื่อมภายในร่างกาย (Degenerative Disease) ระยะแรกๆ ที่กำลังจะพัฒนาไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคภูมิแพ้ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่างๆ เป็นต้น ที่ท้ายสุดแล้วก็จะก่อให้โรคร้ายแรงต่อคุณตามมา โดยทั่วไปการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) จะมีรายละเอียดการตรวจดังต่อไปนี้
- เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell: TRBC) มีความสำคัญเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการนำพาออกซิเจน และยิ่งเซลล์เม็ดเลือดมีความแข็งแรงและสมบูรณ์ก็จะสามารถบรรจุออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีปริมาณเหมาะสม ที่จะสามารถป้องกันการเป็นโรคโลหิตจางและความเหนื่อยล้าง่าย
- เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell: TWBC) มีความสำคัญเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย จำนวนเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นจึงอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อ ระดับที่ลดลงอาจบ่งบอกถึงภูมิคุ้มกันที่ลดลง
- การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential WBC) เพื่อประเมินสภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้ อาการแพ้ ติดเชื้อพยาธิหรือปรสิต
- เกล็ดเลือด (Platelet) มีความสำคัญเพื่อประเมินการป้องกันไม่ให้ร่างกายมีเลือดออกและช้ำง่าย
- ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hgb) มีความสำคัญเพื่อประเมินประสิทธิภาพการจับและนำพาออกซิเจน เนื่องจากฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอบร่วมกับเซลเม็ดเลือดแดงในจับออกซิเจนและนำพาไปหล่อเลี้ยงยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
- ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit: Hct) / Packed Cell Volume (PCV) หรือ Erythrocyte Volume Fraction (EVF) มีความสำคัญเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวัดจำนวนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในตัวอย่างเลือด หรือปริมาณความเข้มข้นหรือหนาแน่นของปริมาตรเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในน้ำเลือดขณะนั้น เมื่อระดับเม็ดเลือดแดงต่ำ (โรคโลหิตจาง) พบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบหรือไขกระดูกทำงานผิดปกติก็ได้ ภาวะขาดน้ำในร่างกาย หรือโรคเลือดข้นจากการขาดออกซิเจนเรื้อรัง
- ตรวจวัดขนาดเม็ดเลือดแดง (Mean Corpuscular Volume: MCV) มีความสำคัญบ่งชี้ถึงปริมาตรหรือขนาดของเม็ดเลือดแดง สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรลดลง ได้แก่ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคโลหิตจางธัลลัสซีเมีย และภาวะเม็ดเลือดแดงมีปริมาตรสูงขึ้นที่เกิดจาก ภาวะขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลท
- ตรวจความซีดจางเม็ดเลือดแดง (Mean Corpuscular Hemoglobin: MCH) มีความสำคัญบ่งชี้ถึงปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาตรของเม็ดเลือดแดง ทำให้ค่าที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมีสาเหตุที่สัมพันธ์กัน
- ตรวจความซีดจางเม็ดเลือดแดง (Mean Cell Hemoglobin Concentration: MCHC) มีความสำคัญบ่งชี้ถึงความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ค่าที่ต่ำลงสัมพันธ์กับระดับฮีโมโกลบินและขนาดของเม็ดเลือดแดงที่ต่ำลง จึงมีสาเหตุงสัมพันธ์กัน ส่วนค่าที่สูงขึ้นพบได้เมื่อปริมาตรของเม็ดเลือดแดง เช่น ภาวะที่เม็ดเลือดแดงเสียรูปโดนัทกลายเป็นลักษณะกลมแทน เช่น ภาวะโลหิตาจางจากภูมิต้านทานตนเอง
ความผิดปกติที่มักจะพบเจอในการตรวจ
ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ที่แสดงช่วงปกติของตัวเลขและอัตราส่วนเซลล์เม็ดเลือดแต่ละชนิด โดยเมื่อได้ผลลัพธ์ที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าปกติอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่าง เช่น
- เม็ดเลือดแดง (TRBC)
ค่าปกติ TRBC = 4.5-6.0 x 10*6 cell/mm3
ต่ำกว่าปกติ – บ่งชี้ความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง หรือเลือดมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ การสูญเสียเลือดหรือโรคเรื้อรังบางอย่าง
สูงกว่าปกติ – บ่งชี้ความเสี่ยงโรคไต, ภาวะเลือดข้น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจวาย
- ฮีโมโกลบิน (Hgb)
ค่าปกติ
○ เด็ก (6-12 ปี)
Hgb ≈ 11.5-15.5 g/dL
○ หญิง (12-18 ปี)
Hgb ≈ 12.0-16.0 g/dL
○ หญิง (มากกว่า 18 ปี)
Hgb ≈ 12.1-15.1 g/dL
○ ชาย (12-18 ปี)
Hgb ≈ 13.0-16.0 g/dL
○ ชาย (มากกว่า 18 ปี)
Hgb ≈ 13.6-17.7 g/dL
ต่ำกว่าปกติ – บ่งชี้สภาวะโรคโลหิตจาง
สูงกว่าปกติ – บ่งชี้สภาวะโรคเม็ดเลือดแดงคับคั่งมากเกินไปหรือภาวะเลือดข้น ชี้ถึงการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมประจำวันที่หักโหมมากเกินไป และอาจเกิดจากการที่ผู้รับการตรวจพักอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลหรือสถานที่ที่มีออกซิเจนในอากาศเบาบาง หรือสภาวะมลพิษทางอากาศ
- เม็ดเลือดขาว (TWBC)
ค่าปกติ TWBC = 4-11 x 10*3 cell/mm3
ต่ำกว่าปกติ – บ่งชี้ความเสี่ยงภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ที่จะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อโรค ไวรัส ที่จะมีแนวโน้มอาการอ่อนเพลีย การอักเสบ หรือเจ็บป่วยได้ง่าย, โรคไขกระดูกเสื่อม หรือได้รับเคมีบำบัดหรือการฉายแสง
สูงกว่าปกติ – บ่งชี้การติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดการอักเสบ หรือภาวะความผิดปกติของไขกระดูก
-
การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential WBC)
ค่าปกติ ≈
○ Neutrophil 50-70%
○ Lymphocyte 20-40%
○ Monocyte 0-7%
○ Basophil 0-1%
○ Eosinophil 0-5%
สูงกว่าปกติ
○ Neutrophil และ Monocyte ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย จะพบค่าสูงเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
○ Lymphocyte ทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด พบค่าสูงเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
○ Eosinophil ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำลาย Histamine หรือทำลายเนื้อเยื่อ พบค่าสูงเมื่อร่างกายมีอาการแพ้ ติดเชื้อพยาธิหรือปรสิต
-
เกล็ดเลือด (Platelet)
ค่าปกติ Platelet ≈ 150,000-440,000 cell/mm3
ต่ำกว่าปกติ – บ่งชี้ว่าอาจเป็นผลมาจากการใช้ยาบางชนิด การติดเชื้อไวรัส ความผิดปกติของไขกระดูกหรือโรคแพ้ภูมิตนเอง
สูงกว่าปกติ – บ่งชี้ภาวะความผิดปกติของไขกระดูก หรือภาวะอักเสบภายในร่างกาย
-
ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hct)
ค่าปกติ
○ เด็ก (6-12 ปี)
Hct ≈ 35-45%
○ หญิง (12-18 ปี)
Hct ≈ 36-46%
○ หญิง (มากกว่า 18 ปี)
Hct ≈ 36-44%
○ ชาย (12-18 ปี)
Hct ≈ 37-49%
○ ชาย (มากกว่า 18 ปี)
Hct ≈ 41-50%
ต่ำกว่าปกติ – บ่งชี้ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ภาวะโลหิตจาง การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 6, 12 ภาวะน้ำในร่างกายมากเกินไป ปริมาตรของพลาสมาในเลือดเพิ่มขึ้นจากสภาวะการตั้งครรภ์ เกิดการเสียเลือดปริมาณมาก
สูงกว่าปกติ – บ่งชี้ความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น การทำงานผิดปกติของหัวใจ การขาดน้ำหรือมีการขับถ่ายของปัสสาวะอย่างผิดปกติ มีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
-
ตรวจวัดขนาดเม็ดเลือดแดง (MCV)
ค่าปกติ
○ หญิง (12-18 ปี)
MCV ≈ 78-102 fL
○ หญิง (มากกว่า 18 ปี)
MCV ≈ 78-98 fL
○ ชาย (12-18 ปี)
MCV ≈ 78-102 fL
○ ชาย (12-18 ปี)
Hct ≈ 37-49%
○ ชาย (มากกว่า 18 ปี)
MCV ≈ 78-98 fL
ต่ำกว่าปกติ – บ่งชี้สภาวะการเกิดโรคโลหิตจาง โรคไตวายเรื้อรัง การได้รับสารพิษจากตะกั่ว
สูงกว่าปกติ – บ่งชี้ปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่อย่างผิดปกติ สภาวะการขาดวิตามินบี 12 (Vitamin B12) สภาวะการขาดกรดฟอลิก สถาวะการเสพติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเกิดโรคตับ โรคไขกระดูกเสื่อม สภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
-
ตรวจความซีดจางเม็ดเลือดแดง (MCH)
ค่าปกติ MCH ≈ 27.5-33.5 pg/cell
ต่ำกว่าปกติ – บ่งชี้ร่างกายเกิดกระบวนการสร้างเฮโมโกลบินที่ผิดปกติ กำลังเกิดโรคโลหิตจาง
สูงกว่าปกติ – บ่งชี้ปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่อย่างผิดปกติ
การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ช่วยสุขภาพคุณอย่างไร
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อมูลสุขภาพของคุณเบื้องต้น และใช้ในการคัดกรองโรค เช่น
☑ การตรวจก่อนอย่างทันท่วงที คุณจะได้รู้สถานการณ์สุขภาพของคุณที่จะสามารถป้องกันหรือฟื้นฟูโรคความเสื่อมภายในร่างกาย (Degenerative Disease) ในระยะแรกๆ ที่กำลังจะพัฒนาไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคภูมิแพ้ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่างๆ เป็นต้น ที่ท้ายสุดแล้วโรค NCDs เหล่านี้ก็จะก่อให้โรคร้ายแรงต่อคุณตามมา
☑ ติดตามสภาวะของโรคทางพันธุกรรม หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
☑ หากคุณมีอาการอ่อนเพลีย ติดเชื้อหรือเจ็บป่วยง่ายเป็นประจำ
☑ ปัญหาจากเลือด เช่น การแข็งตัวของเลือด เลือดออกเป็นรอยช้ำจ้ำเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุ การขับถ่ายเป็นเลือ
☑ ป้องกันการได้รับสารอาหารไม่ตามหลักโภชนาการ หรือภาวะการขาดสารอาหาร
☑ ประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสกับสารพิษที่อยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันจากการทำงาน อาหารน้ำดื่ม หรือพักอาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อสภาวะมลพิษ
☑ ติดตามผลการรักษา ทำให้เข้าใจได้ว่าการรักษาที่ใช่นั้นถูกต้องและเหมาะสมสภาพร่างกายของคุณ
☑ ตรวจประเมินร่างกายก่อนการผ่าตัด เพื่อป้องกันปริมาณของเลือดที่อาจต่ำเกินไปจนมีผลข้างเคียงต่อการเสียเลือดในขณะผ่าตัดได้
สรุป
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเป็นการตรวจประเมินสุขภาพของตนเองในเบื้องต้น เพื่อให้คุณได้รู้สถานการณ์หรืออัพเดตข้อมูลสุขภาพของคุณ เพื่อให้ทันต่อความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นภายในร่างกายของคุณในแบบที่จะสามารถคาดการณ์ไว้ได้ล่วงหน้า เพื่อจะได้สามารถวางแผนการป้องกันและปรับวิธีการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับสุขภาพของคุณหรือในแต่ละบุคคลได้อย่างดี หรือหากตรวจพบโรคจากการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดก็จะสามารถทำการติดตามและรักษาต่อไปได้อย่างทันท่วงที
ที่สุดแห่งความโชคดีในชีวิต คือ การที่คุณมี “สุขภาพดีทุกช่วงวัย” ที่คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และมีความสุข เพราะสุขภาพคือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในโลก และความโชคดีแห่งสุขภาพนี้จะดีกว่าไหม ? หากคุณสามารถกำหนดได้ด้วยตัวคุณเองด้วยการดูแลสุขภาพให้เหมาะสมเฉพาะคุณอย่างไม่ต้องฝืน เราขอแนะนำคุณ “ตรวจสุขภาพพื้นฐาน” ที่พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ที่รู้ใจสุขภาพของคุณ เพื่อประเมินสุขภาพคุณที่คุณไม่ควรอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน สภาพแวดล้อม และโรคแฝงในร่างกายคุณที่คุณอาจไม่เคยรู้ ให้เราช่วยประเมินสุขภาพคุณพร้อมมอบคำแนะนำการสร้างสมดุลและการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคุณโดยเฉพาะ
ตรวจสุขภาพพื้นฐาน
“เริ่มสร้างสุขภาพดีตามช่วงวัย”
✔ เพื่อใช้เป็นแนวทางหรือวางแผนในการป้องกันดูแลสุขภาพตนเองและคนที่คุณรัก
✔ เพื่อลดเสี่ยงหรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก
✔ การตรวจเลือดช่วยเตือนคุณได้
ปรึกษาเราก่อนได้
>> ◕ กดคลิก <<
ข้อมูลโดย :
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ] 02 573-3490-1
พาธแล็บยินดีให้คำแนะนำ และปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากสนใจบริการตรวจสุขภาพกับเราสามารถติดต่อได้ที่:
ศูนย์บริการพาธแล็บ [ กดโทร ] 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox [ กดคลิก ] th.pathlab.link/inbox
LINE Official [ กดคลิก ] th.pathlab.link/LINE
Website [ กดคลิก ] www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ [ กดคลิก ] th.pathlab.link/google-maps
อ้างอิงจาก:
-
-
-
-
- กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). “เชื้อหมดแต่อาการไม่จบ ผลพวง “ลองโควิด” ภาวะเรื้อรัง ต้องเผชิญหลังหายป่วย”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31126
- ผศ. นพ.กำรร มาลาธรรม. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2564). “แนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19”. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2565. จากเว็บไซต์: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/แนวทางการปฏิบัติตนสำหร/
- อ. ดร. พญ.วรรชมน จันทรเบญจกุล. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2564). “5 ข้อปฏิบัติเมื่อกลับไปทำงานหลังหายจากโรคโควิด-19”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/5-19/
- ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). “ความเครียด และวิธีแก้ความเครียด”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/47/th/index.php
- ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). “โรคซึมเศร้าโดยละเอียด”. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017
- Department of Health. Australian Government. (2022). “Recovery and returning to normal activities after COVID-19”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.healthdirect.gov.au/covid-19/recovery-and-returning-to-normal-activities
- National Institute of Mental Health (NIMH). National Institutes of Health (NIH). (2022). “Chronic Illness and Mental Health: Recognizing and Treating Depression”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.nimh.nih.gov/health/publications/chronic-illness-mental-health
- Queensland Government. (2022). “After having COVID-19”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.qld.gov.au/health/conditions/health-alerts/coronavirus-covid-19/stay-informed/i-have-covid/after-having-covid-19
- Rehabilitation Clinical community of practice. (2021). “Principles of rehabilitation: a response to COVID-19 surge”. Retrieved May 14, 2022, from escalation”.https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/covid-19/communities-of-practice/Pages/guide-principles-rehabilitation.aspx
- Steph Coelho. Medical News Today. (2020). “COVID-19 rehabilitation for physical and mental health”. Retrieved May 14, 2022, from https://www.medicalnewstoday.com/articles/covid-19-rehabilitation#who-needs-it
- World Health Organization (WHO). (2021). “Post COVID-19 condition (Long COVID)”. Retrieved April 05, 2022, from https://www.who.int/srilanka/news/detail/16-10-2021-post-covid-19-condition
-
-
-