เรื่องน่ารู้:
- กัญชา คือพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน โดยใบกัญชาสดจะอุดมไปด้วยสารอาหารทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด
- กลุ่มผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชา
- เด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางจิต หรือเสพติดยาที่เคยมีผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง
- การประยุกต์ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคุณ
- กัญชาทางการแพทย์
- กัญชาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
- อาหารเสริมกัญชา
- ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงการใช้กัญชา
- ผลกระทบระยะสั้น
- ตาแดง ปากแห้ง และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
- หายใจเร็ว ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงผิดปกติ
- ความรู้สึกเชื่องช้ากระบวนการคิดและการแก้ปัญหาบกพร่อง
- หลงๆ ลืมๆ ความจำบกพร่อง
- สมาธิสั้น
- การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
- อารมณ์แปรปรวน
- ผลกระทบระยะยาว
- ความพึงพอใจในการใช้ชีวิตลดลง เกิดความซึมเศร้าด้อยค่าตนเอง
- สุขภาพจิตแย่ลง เกิดความเครียด วิตกกังวล และหวาดระแวงจาก
- การการทำงานของระบบประสาทและสมองที่ผิดเพี้ยน
- สุขภาพร่างกายแย่ลง ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ และเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ
- เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง
- มีมุมมองต่อสังคมในด้านลบ และหวาดระแวง
- ก่อเกิดปัญหาทางสังคมและอาชญากรรม
กัญชาคืออะไร ถูกควบคุมกฎหมายในไทยอย่างไร
กัญชาถูกจัดให้เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ กัญชาจึงเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน
กัญชาเคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และต่อมาประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้เมื่อ 9 มิ.ย. 2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (Tetrahydrocannabinol – THC, ∆9-THC) เกิน 0.2 % ที่ยังต้องถูกจัดในหมวดหมู่ยาเสพติดให้โทษ แต่การสูบกัญชาในที่สาธารณะ และรบกวนสิทธิผู้อื่น มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท และการสูบกัญชาในที่สาธารณะ ยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง เช่น บุหรี่ ที่มี พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมอยู่
เนื้อหาของประกาศ สธ. ฉบับใหม่ มี 5 ข้อ มีใจความสำคัญคือ “อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปสามารถครอบครอง ใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษา ขนย้าย จำหน่ายสมุนไพรควบคุม (กัญชา) ได้” แต่ห้าม “การใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะโดยการสูบ”
นอกจากนี้ยังห้ามจำหน่ายกัญชาให้แก่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี, สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
ภายใต้ประกาศ สธ. ฉบับนี้ อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะการแพทย์แผนจีน และหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย สามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาประกอบการรักษาผู้ป่วยได้
และตามประกาศของผู้ว่ากรุงเทพคนใหม่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ออกข้อบังคับสำหรับในเขตกรุงเทพมหานครในวันที่ 18 มิ.ย. 2565 เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากนักเรียนโรงเรียนสังกัด กทม.ใช้กัญชาหรือกัญชงสร้างพื้นที่มั่วสุมและมอมเมา โดยมาตรการมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
- การประยุกต์ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคุณ
- ให้โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ “ปลอดกัญชา และกัญชง”
- “งดจำหน่ายและห้ามโฆษณา” อาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของกัญชาหรือกัญชงภายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
สรรพคุณจากใบกัญชาสด
เมื่อพิจารณาจากมุมมองขององค์ประกอบทางชีวเคมีเพียงอย่างเดียว ใบกัญชาดิบเป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารที่ดีเยี่ยม ประกอบไปด้วยสารประกอบสารต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ
- วิตามินซี (Vitamin C) ช่วยสร้างและสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัด และหากออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำร่วมด้วย จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง 50%
- วิตามินเค (Vitamin K) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- ธาตุเหล็ก (IRON) ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างในร่างกาย
- แคลเซียม (Calcium) มีหน้าที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายเกือบทุกส่วน และที่สำคัญยังมีหน้าที่สร้างกระดูก ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย
- โพแทสเซียม (Potassium) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
- สังกะสี (Zinc) เป็นสารที่สนับสนุนสังเคราะห์ DNA หรือโปรตีน เสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบเผาผลาญ การซ่อมแซมบาดแผลหรือเนื้อเยื่อที่อักเสบ สนับสนุนพัฒนาและการเจริญเติบโตของเซลล์ การรับรสและกลิ่น และยังสามารถป้องกันการเกิดโรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa) โรคสมาธิสั้น และอาการเสื่อมและอักเสบในร่างกาย เช่น สิวเห่อเรื้อรัง จอประสาทตาเสื่อม
- โฟเลตหรือวิตามินบี 9 (Folic acid / Vitamin B9) มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์ เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการช่วยสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA)
- สารแคโรทีนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านมะเร็ง
- สารเซเลเนียม ป้องกันและชะลอความชรา
- สารลิโมนีนที่พบในเลมอนช่วยต้านแบคทีเรีย
- สารแอนโทไซยานินที่พบในผลไม้สีแดง ช่วยป้องกันการตกตะกอนของเกล็ดเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ
- สารเทอร์ปีนซึ่งเป็นสารให้กลิ่นเฉพาะช่วยให้ผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด
- สารเบต้าแคโรทีนที่มักพบในแครอทช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- มีไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารสูง (Dietary Fiber) มีหน้าที่ในการดูแลระบบย่อยอาหารให้มีสุขภาพดี ช่วยควบคุมน้ำหนักโดยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการกินอาหารมากเกินไปและป้องกันอาการหิวระหว่างมื้ออาหารในแต่ละมื้อ ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดอาการท้องผูก รวมทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวานและโรคมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
- สาร CBD (Cannabinoid) มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
- สาร THC (delta-9-Tetrahydrocannabinol, ∆9-THC) มีผลต่อระบบประสาทและจิตใจ ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร
เป็นความน่าสนใจที่ดูเหมือนว่ากัญชาจะมีสรรพคุณได้มากมายขนาดนี้ แต่ก่อนที่คุณจะใช้จำเป็นต้องศึกษาความเสี่ยงของกัญชาควบคุู่กันไปด้วย
ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงการใช้กัญชา
กัญชาสามารถออกฤทธิ์คล้ายสารเสพติดที่อยู่ในฝิ่นที่จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง แต่ก็ถือว่ากัญชามีความเสี่ยงน้อยกว่า นี่เป็นเหตุผลสองประการที่ผู้สนับสนุนจำนวนมากผลักดันให้กัญชาถูกกฎหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับการจัดการความเจ็บปวด แต่ยังคงต้องพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกัญชาอย่างเท่าเทียมกัน ด้านล่างนี้คือผลข้างเคียงบางส่วนที่คุณควรปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ:
ผลกระทบระยะสั้น
หากคุณใช้กัญชาในปริมาณที่สูงและต่อเนื่องกันหลายวันเป็นประจำ สาร THC ในกัญชา กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว การไหลเวียนของเลือดจะนำสารเคมีไปยังสมองและอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย ร่างกายดูดซึม THC ได้ช้ากว่าเมื่อรับประทานหรือดื่ม ในกรณีนั้นผู้ใช้มักจะรู้สึกถึงผลกระทบหลังจาก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง สาร THC ทำหน้าที่เกี่ยวกับตัวรับเซลล์สมองจำเพาะซึ่งปกติจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่มีลักษณะคล้าย THC ตามธรรมชาติ สารเคมีธรรมชาติเหล่านี้มีบทบาทในการพัฒนาและการทำงานของสมองตามปกติ กัญชาจะกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ของสมองที่มีผู้รับเหล่านี้จำนวนมากที่สุด ทำให้เกิดอาการาการเคลิ้มจิต (“high” or “stoned”) เป็นอาการกระตุ้นประสาท ที่สามารถปรับภาวะความเครียดของผู้ใช้ให้มีอาการเคลิ้มจิตเคลิ้มใจ มีความสุขร่าเริง ต่อมาก็เกิดอารมณ์แปรปรวน เช่น ยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ กระโดดโลดเต้น โหวกเหวกโวยวาย พูดคุยคนเดียวหรือพูดจาจับใจความไม่ได้ เป็นต้น โดยอาการแปรปรวนทางอารมณ์ดังกล่าวจะเกิดสลับหมุนเวียนกันจนกว่าจะหมดฤทธิ์กัญชา และยังมีอาการข้างเคียงที่อาจจะเพิ่มความรุนแรงต่อสุขภาพที่คุณจะต้องพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้
- ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไป (เช่น การเห็นแสงสีที่สว่างจ้าหรือสดใสกว่าปกติ)
- ตาแดง ปากแห้ง และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
- หายใจเร็ว ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงผิดปกติ
- ความรู้สึกเชื่องช้า
- กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาบกพร่อง
- หลงๆ ลืมๆ ความจำบกพร่อง
- สมาธิสั้น
- การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง
- อารมณ์แปรปรวน
- อาการซึมเศร้า (หากใช้ในปริมาณที่สูงและต่อเนื่องกันหลายวันเป็นประจำ และสามารถส่งผลเป็นโรคซึมเศร้าในระยะยาวได้)
- โรคจิต ภาพหลอน อาการหลงผิด หูแว่ว (ความเสี่ยงสูงสุดเมื่อใช้กัญชาที่มีฤทธิ์สูงเป็นประจำ และสามารถส่งผลต่อเนื่องได้ในระยะยาว)
ผลกระทบระยะยาว
ผลกระทบด้านลบของกัญชาสำหรับผู้สูบกัญชาในระยะยาว อาจมีความเสี่ยงที่อาการระบบทางเดินหายใจแย่ลงและมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังบ่อยครั้งขึ้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สูบหรือได้รับควันกัญชาจะมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีน้ำหนักแรกเกิดลดลง สำหรับผู้ใช้กัญชาโดยทั่วไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจิตเภทและโรคจิตอื่นๆ มากขึ้น และมีความเชื่อมโยงระหว่างการใช้กัญชากับความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุต่างๆ สูงขึ้น และกัญชายังเชื่อมโยงกับผลข้างเคียงระยะยาวอื่นๆ รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผลระยะยาวของการเสพกัญชาพบว่า สัมพันธ์กับการเกิดโรคจิต การฆ่าตัวตาย การทำร้ายผู้คนรอบข้าง การติดเสพติดกัญชา สมองฝ่อ ความคิดความจำผิดปกติ โรคหลอดเลือดและหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวายฉับพลัน ถุงลมโป่งพอง มะเร็งอัณฑะ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ แน่นอนการใช้กัญชาอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่สูงขึ้นโดยไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะส่งผลต่อความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
ผลข้างเคียงการใช้กัญชา จะอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาว คือ
- ความพึงพอใจในการใช้ชีวิตลดลง เกิดความซึมเศร้าด้อยค่าตนเอง
- สุขภาพจิตแย่ลง เกิดความเครียด วิตกกังวล และหวาดระแวงจากการการทำงานของระบบประสาทและสมองที่ผิดเพี้ยน
- สุขภาพร่างกายแย่ลง ภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอ และเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ
- เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและคนรอบข้าง
- มีมุมมองต่อสังคมในด้านลบ และหวาดระแวง
- ก่อเกิดปัญหาทางสังคมและอาชญากรรม
- โรคจิต ภาพหลอน อาการหลงผิด หูแว่ว
การประยุกต์ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคุณ
กัญชาทางการแพทย์
ยังไม่มีการวิจัยเพียงพอที่จะพิสูจน์ประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์ แต่กัญชาก็เป็นความหวังสำหรับคนที่ป่วยเรื้อรังหรือป่วยระยะสุดท้ายบางคนที่ไม่ได้รับผลในทางที่ดีขึ้นการบรรเทาจากยาอื่นๆ และกัญชาช่วยควบคุมผลข้างเคียงบางอย่างที่เกิดจากยาอื่น ๆ
การใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับการบำบัดและรักษาโรคต่างๆ ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัยและทดลอง ได้แก่
- โรคลมบ้าหมู หรือมีอาการกล้ามเนื้อกระตุกชักอย่างรุนแรง
- โรคเส้นเส้นสมองและหลอดเลือดตีบ
- อาการคลื่นไส้อย่างรุนแรงและอาเจียนเนื่องจากเคมีบำบัด เช่น คีโม
- ช่วยให้เจริญอาหาร ในผู้ป่วยที่ไม่อยากอาหาร
- โรคคลั่งความผอม (Anorexia Nervosa) โรคทางจิตการลดน้ำหนักอย่างบ้าคลั่งและจนสุขภาพอ่อนแออย่างมาก
- ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
- โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome: AIDS) หรือโรคภูมิค้มกันบกพร่องขั้นรุนแรง
- อาการปวดเรื้อรัง
กลุ่มผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชาทางการแพทย์
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางจิต หรือเสพติดยาที่เคยมีผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง
แน่นอน กัญชาทางการแพทย์ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ จึงจะมีประโยชน์และหลีกเลี่ยงโทษของกัญชาจากความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณ
กัญชาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
จากการศึกษาที่ถูกเผยแพร่ทาง PubMed Central (PMC) พบว่า การกินใบกัญชาสดจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าต่อสุขภาพปอดและระบบประสาทและสมองของคุณ ซึ่งแตกต่างจากการวิธีการใช้กัญชาแบบสูบควันและการสูบไอน้ำ เนื่องจากสารเคมีในใบกัญชา 3 ชนิด ได้แก่ THC, CBD และ CBG เมื่อได้ผ่านกระบวนการทางเคมี ผ่านแสง ความร้อน จะมีความเข้มข้นสูงจากการเกิดกระบวนการทางเคมี ที่เรียกว่า คาร์บอกซิเลชัน (Decarboxylation) โดยได้รับในปริมาณที่สูงก็จะสามารถส่งผลข้างเคียง
การกินใบกัญชาสดหรือผสมกัญชาในอาหารและเครื่องดื่มในปริมาณที่พอเหมาะในปริมาณที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดจะมีสรรพคุณทางสารอาหารมากกว่าการสูบควันหรือไอน้ำ จะช่วยให้คุณเจริญอาหารและได้รับสรรพคุณทางสารอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในใบกัญชาสด แต่มีเงื่อนไขอยู่เล็กน้อยถ้าหากต้องการใช้เพื่อรักษาและบำบัดอาการผิดปกติบางอย่าง คุณต้องล้างระบบย่อยอาหารของคุณก่อนที่จะกินหรือดื่มเข้าสู่ร่างกาย เพราะการกินหรือดื่มกันชาจะให้ผลลัพธ์น้อยเมื่อมีอาหารอยู่ในกระเพาะเพราะฤทธิ์กัญชาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยมาก และใช้เวลานานประมาณ 30 นาที และอาจเป็นชั่วโมงได้
และคุณควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณกัญชาที่จะกินหรือผสมในอาหารเครื่องดื่มอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับคุณหรือไม่
เมนูยอดฮิตสำหรับกัญชา
- แคนนาบัตเตอร์ (Cannabutter)
- บราวนี่กัญชา
- ก๊วยเตี๋ยวน้ำกัญชา
- ยำกัญชากรอบ
- เล้งแซ่บกัญชา
- คราฟท์โซดากัญชา
- ชาไทยลั้ลล้า
- อื่นๆ
อย่างไรแล้วคุณต้องแน่ใจว่าส่วนผสมที่คุณปรุงเองหรือทางร้านปรุงให้ต้องคำนึงถึงปริมาณสาร THC (∆9-THC) ที่ต้องไม่เกินจากที่กฎหมายกำหนดที่ 0.2 % ต้องมีการกำหนดโภชนาการอย่างชัดเจนว่ามีสาร THC ปริมาณเท่าไรต่อ 100 มิลลิลิตร หรือต่อ 1 หน่วยบริโภค หากเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มควรต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานรดับสากลที่ใช้ตรวจสอบสาร ∆9-THC ในอาหาร เทคนิคที่นิยม คือ GC-MS (Gas chromatography-Mass spectroscopy) และผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)
อาหารเสริมกัญชา
ที่เป็นที่นิยมคือน้ำมันกัญชา จะใช้โดยการหยดน้ำมันใต้ลิ้น (Sublingual Drop) เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์เร็วขึ้นและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่าการให้อาหารเสริมที่อยู่ในรูปแบบแคปซูลหรือเม็ด และน้ำมันอีกทั้งยังสามารถเจือจางความเข้มข้นของยาได้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยและโรคที่กำลังบำบัดรักษาโดยแพทย์ผู้สั่งจ่าย โดยในกัญชาอาหารเสริมจะมีสารสำคัญ ดังนี้
- สาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง
- สาร THC มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร แต่ใช้ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของการใช้
โดยแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกัญชาจะต้องศึกษาวิธีการใช้และคำเตือนอย่างเข้าใจถึ่ถ้วนและชัดเจน เพื่อป้องกันการได้รับผมข้างเคียงจากการใช้ ที่สำคัญคุณควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมกัญชาสำหรับสนับสนุนการบำบัดรักษาโรคร่วมด้วยหรือไม่
คำแนะนำสำหรับการใช้กัญชา
- ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้เป็นอันดับแรก และศึกษาหาความรู้ทั้งในด้านหลักการใช้และอาการข้างเคียงที่จะสังเกตได้
- ชะลอความต้องการใช้กัญชาให้นานที่สุด คำนึงถึงผลได้ผลเสียที่อาจส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของคนรอบข้างอย่างถี่ถ้วน และไม่ควรก่อนใช้ก่อนวัยอันควร เช่น เด็กวัยกำลังเรียนรู้ และวัยรุ่นหรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นต้น
- หากคุณกำลังตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการใช้อย่างเด็ดขาด เพราะมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ หรือหากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวมีประวัติโรคทางจิตหรือเคยมีปัญหาจากระบบประสาทและสมองจากใช้ติดสารเสพติดต่างๆ ไม่ควรจะยุ่งกับกัญชาเป็นอย่างยิ่ง
- เลือกผลิตภัณฑ์กัญชา ที่มีสาร THC ต่ำ (ควรต่ำกว่า 2.0% เทียบกับประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขไทย) และมีปริมาณCBD สูง
- หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดใช้กัญชาทันที หรือหากมีอาการถอนต้องรีบไปพบแพทย์
- อยู่ห่างจากผลิตภัณฑ์กัญชาสังเคราะห์ เช่น K2 หรือ Spice
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาในลักษณะของการสูบ ให้เลือกรูปแบบการใช้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น การการกินหรือการดูดซึมใต้ลิ้น และ *ข้อสำคัญ: การผสมกัญชาในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้คุณเกิดอาการมึนเมา เซื่องซึม เกิดอารมณ์แปรปรวน และเสี่ยงเกิดอาการประสาทหลอนได้
- ห้ามใช้ยานพาหนะหรือเครื่องจักรอย่างน้อย 6 ชั่วโมงหลังใช้กัญชา เพราะต้องรอให้แน่ใจว่าคุณจะไม่มีอาการผิดปกติหรือได้รับผลข้างเคียงหลังใช้
- ควรใช้เป็นครั้งคราว เช่น หนึ่งวันต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่านั้น และควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์คุณ
- หากคุณไม่ได้รับการแนะนำให้ใช้กัญชาจากแพทย์ของคุณในด้านการบำบัดโรคหรือรักษาอาการผิดปกติบางอย่าง การไม่ใช้กัญชาเลยยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องสุขภาพของคุณจากผลข้างเคียงของกัญชา
สรุป
ในประเทศไทย กัญชาได้ถูกจัดไว้ในหมวดหมู่ของยารักษาโรคที่ได้ถูกปลดล็อคมาใช้ในด้านทางการแพทย์ และเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายควบคุม แต่ก็ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการนำกัญชาเดินทางข้ามประเทศที่จะส่งผลต่อการทำผิดกฎหมายสิ่งเสพติดให้โทษที่ร้ายแรงในต่างประเทศที่อาจจะต้องโดนทั้งจำทั้งปรับ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โรมาเนีย ตุรกี เป็นต้น และประเทศที่มีกฎหมายควบคุมสิ่งเสพติดรุนแรงอาจต้องโทษขั้นสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตได้ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
กัญชาก็เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ถกเถียงกันมากที่สุดในสัมคมไทยในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของกฎหมายและสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการใช้กัญชาอย่างผิดวิธี หากประชาชนยังได้องค์ความรู้ในการใช้อย่างไม่ถูกต้องและทั่วถึง รวมถึงการเข้ามามีอิทธิพลของพ่อค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายที่ได้กำหนดมา จะเกิดผลเสียต่อสังคม ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาเศรษฐกิจตามมาได้ และการใช้กัญชาจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชาสำหรับสุขภาพอย่างชัดเจน
การหลีกเลี่ยงการใช้กัญชา ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของใบสด ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่ม ยา หรือสารสกัดอาหารเสริมใดๆ ซึ่งรวมถึงแหล่งที่มาจากกัญชง เพื่อบำบัดรักษาหรือดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดนไม่ปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หากคุณสนใจประโยชน์ของใช้กัญชาสำหรับด้านสุขภาพและไม่เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงการใช้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คุณควรไปขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพให้แน่ใจเสียก่อน ที่จะสามารถช่วยแนะนำคุณเกี่ยวกับผลประโยชน์เทียบกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตลอดจนการใช้กัญชาให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขไทย
ข้อมูลโดย :
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
Pathlab Healthcare Center: Chaengwattana Center
Tel. [ กดโทร ] 02 573-3490-1
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ยินดีให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณได้รับการตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมที่สุด สามารถสอบถามทีมเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ของเรา เพื่อขอคำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจได้ทาง:
ศูนย์บริการพาธแล็บ [ ◕ กดโทร ] 02 619-2299 หรือ 02 619-2288
Facebook Inbox [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/inbox
LINE Official [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/LINE
Website [ ◕ กดคลิก ] www.pathlab.co.th
Location สาขาใกล้ๆ คุณ [ ◕ กดคลิก ] th.pathlab.link/google-maps
อ้างอิงจาก:
- กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. (2562). “CBD และ THC ในพืชกัญชา คืออะไร??” สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2264#:~:text=อย่างที่ทราบกันว่า,1.%20Endogenous%20cannabinoids
- กองควบคุมวัตถุเสพติด. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2563). กัญชา (Cannabis). สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/SitePages/ViewAcademic.aspx?IDitem=1#:~:text=ผู้เสพกัญชาจะมี,ลั่นเดียวสงบ%20เพราะฉะนั้นอาการ
- คณะกรรมการขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข. (2565). “สายพันธุ์กัญชา”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.medcannabis.go.th/blog/สายพันธุ์กัญชา
- คณะนิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). “จุฬาฯ วิจัยพบปริมาณสาร THC ในเครื่องดื่มกัญชาเกินกำหนด เตือนผู้บริโภคระวัง จี้รัฐควบคุม”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.chula.ac.th/highlight/70801/
- หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). “วิตามินซีกับการป้องกันหวัด”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=17
- ผศ. นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา และภาควิชาอายุรศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). “สังคมไทย การไปของกัญชา”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/sites/default/files/public/pdf/column/AtRama34_c02.pdf
- สถาบันแคนน์เฮลท์. (2562). “จากใบสด…สู่น้ำกัญชาหรือ Cannabis Juice ที่กำลังเป็นเทรนด์ใหม่สำหรับคนรักสุขภาพในต่างประเทศ” สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://www.cannhealth.org/content/6700/cannhealth#:~:text=
- สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. (2021). “ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: http://TSH.or.th/Knowledge/Details/36
- สำนักงานประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร. (2565). “มาตรการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากการใช้กัญชาหรือกัญชงในโรงเรียนสังกัด กทม.”. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565. จากเว็บไซต์: https://web.facebook.com/prbangkok/posts/342519231389566
- Debra Rose Wilson, Ph.D. Healthline Media UK. (2022). “Eating raw weed: Can it get you high?”. Retrieved July 06, 2022, from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/can-you-get-high-from-eating-raw-weed
- Femi Aremu, PharmD. Healthline Media. (2020). “Is There a Safer Way to Smoke Cannabis? How the Methods Stack Up”. Retrieved July 06, 2022, from: https://www.healthline.com/health/healthiest-way-to-smoke-weed
- MedlinePlus. National Library of Medicine (NLM). National Institutes of Health (NIH). (2021). “Medical marijuana” Retrieved July 06, 2022, from: https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000899.htm/
- National Institute on Drug Abuse (NIDA). National Institutes of Health (NIH). (2019). “Cannabis (Marijuana) DrugFacts”. Retrieved July 06, 2022, from: https://nida.nih.gov/publications/drugfacts/cannabis-marijuana
- Volkow, et al. National Library of Medicine (NLM). National Institutes of Health (NIH). (2016). “Adverse Health Effects of Marijuana Use” Retrieved July 06, 2022, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4827335/
- Wang, et al. National Library of Medicine (NLM). National Institutes of Health (NIH). “Decarboxylation Study of Acidic Cannabinoids: A Novel Approach Using Ultra-High-Performance Supercritical Fluid Chromatography/Photodiode Array-Mass Spectrometry”. Retrieved July 06, 2022, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5549281/